• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  3 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/environment/1115293

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นวาระร้อนระดับโลกหนึ่งในประเด็นปัญหาสาคัญที่นานาประเทศมุ่งเป้าคือพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม และในชีวิตประจาวันอย่างไรก็ดีพลาสติกกลับถูกใช้แล้วทิ้งในทันทีขณะที่การย่อยสลายพลาสติกต้องใช้เวลานานมากทั้งยังเกิดไมโครพลาสติกปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาที่เรียกกันว่ามลพิษพลาสติก

จากบทความ ‘การแก้ปัญหา ‘ขยะพลาสติก’ ในอาเซียน’ โดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้า และการพัฒนา (ITD) ระบุว่า ข้อมูลจาก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่า ปี 2562 ทั่วโลก มีการผลิตพลาสติกต่อปี 460 ล้านตัน พุ่งขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ 20 ปีก่อน เช่นเดียวกับขยะพลาสติกที่สูงถึง 353 ล้านตัน แต่ได้รับการรีไซเคิลเพียง 9% เท่านั้น ส่วนประมาณ 19% ถูกเผาในเตาเผา ขณะที่เกือบประมาณ 50% ถูกฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล และอีกประมาณ 22% ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องหรือปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ปี 2563 จาก การแพร่ระบาดของโควิด-19 การใช้พลาสติกทั่วโลกลดลง 2.2% จากปี 2562 แต่พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวเพิ่มขึ้นสูงอย่างมากจากบรรดาอุปกรณ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขยะพลาสติกก็เพิ่มขึ้นอีกครั้งตลอดวงจรชีวิต ของพลาสติกผลิตก๊าซเรือนกระจกประมาณ 3.4% ของก๊าชเรือนกระจกทั้งโลก

6 ประเทศอาเซียนสร้างขยะทะเล TOP10 ของโลก

ขยะทะเลคือสิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตการอุปโภคบริโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้วแทนที่จะถูกกาจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสมกลับไหลรวมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทรซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากกระทาของมนุษย์โดยตรงเช่นการทิ้งขยะลงทะเลระบบการจัดการขยะด้อยประสิทธิกาพและโดยอ้อมเช่นการทิ้งขยะลงแม่น้าลาคลองลมและน้าพัดพาจากชุมชนออกสู่ทะเล

อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปล่อยพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดโดยเมื่อปี 2564 ผลการวิจัยที่เผยแพร่ภายใต้ Science Advances ระบุว่า6ประเทศอาเซียนปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลติด 10 อันดับแรกของโลกได้แก่

อันดับที่ 1 ฟิลิปปินส์ 3.6 แสนล้านตัน

อันดับที่ 3 มาเลเซีย 7.3 หมื่นล้านตัน

อันดับที่ 5 อินโดนีเซีย 5.6 หมื่นล้านตัน

อันดับที่ 6 เมียนมา 4 หมื่นล้านตัน

อันดับที่ 8 เวียดนาม 2.8 หมื่นล้านตัน

อันดับที่ 10 ไทย 2.3 หมื่นล้านตัน

ทั้งนี้นอกจากส่วนที่ผลิตในประเทศอาเซียนยังมีการนาเข้าขยะพลาสติกจานวนมากซึ่งส่วนใหญ่กลายเป็นมลพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม อาเซียนเองเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวโดยมีการประชุมอาเซียนว่าด้วยการลดขยะในทะเลที่จัดขึ้นในปี 2560 โดยในปี 2562 อาเซียนได้ร่วมกันกาหนดกรอบปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล และรับรองปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  2 มีนาคม 2567

ที่มา : https://www.prachachat.net/public-relations/news-1511991

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) หรือ DAD Asset Development ได้เริ่มดำเนินการปรับภูมิทัศน์ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 40.9 ไร่ โดยพัฒนาเป็นสวนสวย 5 แห่ง ในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยปี 2567 ทยอยลงต้นไม้ให้แล้วเสร็จ จากนั้นจะดูแลรักษาเพื่อให้เติบโตและสวยงามภายในปลายปี 2569 ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 449 ล้านบาท

เริ่มกันที่ พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 1 อาคารจอดรถ D ตั้งอยู่ด้านหน้าศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ อาคารนี้มีสวน 3 แห่ง รวมพื้นที่ 5.4 ไร่

พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 2 “สวนหลังศาล” ตรงแยกพระพรหม พื้นที่ประมาณ 5.7 ไร่

พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 3 บริเวณเกาะกลางถนนตั้งแต่ซอยแจ้งวัฒนะ 7 ถึงอาคารรัฐประศาสนภักดี เป็นพื้นที่แนวยาว รวมประมาณ 12.05 ไร่

พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 4 คือด้านหน้าอาคารรัฐประศาสนภักดี ขนาดพื้นที่ 12.65 ไร่ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับสวนหลังศาลพระพรหม โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะกลายเป็นสวนสาธารณะ

พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 5 แห่งสุดท้าย จะเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างอาคาร B กับอาคาร C ขนาดพื้นที่ 5.1 ไร่ ผู้คนที่เข้ามาติดต่อหรือทำงานในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ใช้พักผ่อนและช่วยลดแสงสะท้อนสายตาได้อีกด้วย


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  1 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/society/2765984

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณนอกชายฝั่งทะเลศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งอยู่ห่างฝั่ง 4 กม. โดยสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สถานี ST6 ซึ่งไม่พบปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ฯ (ไม่น้อยกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร) และพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณหาดวอนนภาไปจนถึงแหลมแท่น จ.ชลบุรี โดยอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล

นอกจากนั้น สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา รายงานพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวบริเวณสะพานราชนาวี จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  29 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1115317)

นักดาราศาสตร์ทั่วโลกมีความกังวลกับ “มลภาวะทางแสง” มากขึ้น เนื่องจากแสงสว่างจากอาคารบ้านเรือนยามค่ำคืน เริ่มส่งผลกระทบต่อการมองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งคนและสัตว์ นาฬิกาชีวภาพในคนเสีย พฤติกรรมสัตว์เปลี่ยน หาที่อยู่ใหม่เพราะหนีแสงจ้า ภาพถ่ายดาวเทียมของโลกในตอนกลางคืนสว่างไสวไปด้วยแสงไฟฟ้าจากเมืองต่าง ๆ เชื่อมต่อถึงกันระยิบระยับ จนแทบจะกลายเป็นดาวเคราะห์ที่มีแสงในตัวเอง เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าอารยธรรมมนุษย์เติบโตขึ้น และความเจริญได้เข้าถึงเกือบทุกที่ทั่วทุกมุมโลก แต่ในขณะเดียวกันสิ่งเหล่านี้ก็สะท้อนเห็นถึงมลภาวะทางแสงที่กำลังเกิดขึ้นเช่นกัน

         Globe at Night องค์กรรณรงค์เรื่องผลกระทบของมลภาวะทางแสง เผยแพร่รายงานที่อิงจากข้อมูล 10 ปีบนท้องฟ้ายามค่ำคืนตั้งแต่ช่วงปี 2011-2022 พบว่า ในแต่ละปีท้องฟ้ายามค่ำคืนจะสว่างขึ้น 10% ซึ่งส่งผลให้ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าจำนวนมากถูกกลืนหายไปโดยแสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง ไฟถนน สัญญาณไฟจราจร ฯลฯ เราต่างคุ้นเคยกันดีว่าการมีไฟฟ้าส่องสว่าง ถือเป็นเครื่องหมายของการความเจริญและความปลอดภัย แต่ในตอนนี้หลายพื้นที่มีแสงสว่างเกินความจำเป็น ข้อมูลจาก Dark Sky Group จากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN พบว่า นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการเติบโตของเมืองทำให้เกิด “แสงสว่างส่วนเกิน” ในช่วง 25 ปีระหว่างปี 1992-2017 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลจากดาวเทียมวัดข้อมูลได้ว่า มลภาวะทางแสงทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 49% แต่ตัวเลขอาจสูงกว่านี้มากถึง 270%

ในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มหันมาใช้ไฟ LED แบบฟูลสเป็กตรัมมากกว่าไฟโทนสีอุ่นสลัว ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้น โดยทราวิส ลองคอร์ นักนิเวศวิทยาของ UCLA กล่าวว่า ไฟ LED จะมีช่วงความยาวคลื่นมากกว่าหลอดโซเดียมความดันสูงแบบเก่า ทำให้สามารถปล่อยคลื่นแสงสีน้ำเงินและสีเขียวมากกว่า จนนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติสามารถมองเห็นความแตกต่างจากอวกาศได้

มลภาวะทางแสงอาจดูเหมือนเป็นปัญหารองเมื่อเทียบกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่นๆ แต่ก็สามารถลดลงได้ง่าย ๆ เดวิด เวลช์ ประธานกลุ่มที่ปรึกษาท้องฟ้ามืดของ IUCN แนะนำให้หรี่แสงไฟในพื้นที่กลางแจ้งลง หรือใช้แสงในระดับที่จำเป็นสามารถสร้างความแตกต่างได้มาก รวมถึงหันมาใช้ไฟโทนอุ่น หลีกเลี่ยงการใช้หลอดไฟ LED แบบฟูลสเป็กตรัม ที่มีแสงสีฟ้าเป็นอันตรายต่อผู้คนและสัตว์ต่าง ๆ โดยแสงไฟสีเหลืองนวลเป็นสีที่อันตรายต่อสายตาของสิ่งมีชีวิตน้อยที่สุด ช่วยให้สัตว์ส่วนใหญ่สามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้ การติดตั้งตัวจับเวลาและเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ให้เปิดไฟเฉพาะเวลาที่มีคนอยู่ก็สามารถช่วยลดมลพิษทางแสงได้เช่นกัน ในปัจจุบันหลายประเทศเริ่มมีการก่อตั้งเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดแสงประดิษฐ์และสกายโกลว และสร้างความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าต่อพื้นที่ธรรมชาติที่ไร้แสงรบกวน สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์และดวงดาวได้อย่างชัดเจน ซึ่งนับวันยิ่งหาพื้นที่แบบนี้ได้ยากขึ้นทุกที


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  28 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : https://thai.cri.cn/2024/02/27/ARTIV0NIYo1dHEiLBdG18Pur240227.shtml

การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1 มีนาคม ภายใต้หัวข้อหลักคือใช้ปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล มีความอดทน และมีความยั่งยืน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และการก่อเกิดมลพิษ

การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเป็นกลไกการตัดสินสูงสุดสำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินการร่วมในระดับโลก ในการจัดการกับความท้าทายต่างๆเช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มลพิษ การเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ และอื่นๆ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  27 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2765477

กรุงเทพมหานคร, บมจ. อิชิตัน กรุ๊ป และพันธมิตร ร่วมปรับปรุงพื้น เขตทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณซอยสุขุมวิท 50 เป็นสวนสาธารณะ “สวน 50 สุข” เพิ่มพื้นที่สีเขียว เชื่อมโยงให้กับคนในชุมชน โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “สวน 50 สุข” เป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ตั้งใจเหมือนกันในการให้ความสำคัญกับสุขภาพกายสุขภาพใจของชุมชนพร้อมกับสุขภาพของสิ่งแวดล้อม

นายชัชชาติ ได้กล่าวอีกว่า สวน 50 สุข ถูกออกแบบมาให้เป็นมากกว่าพื้นที่สีเขียว เป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดความสุขที่เกิดจากร่างกายแข็งแรง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชน และยังตั้งใจจะทำให้ชุมชนได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ไปพร้อมกับการปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และก็ขอบคุณที่สวนแห่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนโครงการปลูกต้นไม้หนึ่งล้านต้น ร่วมกันต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ สร้างพื้นที่ร่มเย็นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับภูมิทัศน์กรุงเทพฯ อยากจะขอเชิญชวนคนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะชุมชนข้างเคียง ร่วมกันดูแลสวนนี้ เพื่อให้สวนนี้ดูแลชุมชนของเรา และสร้างความสุขให้เกิดขึ้นทุกวัน

สำหรับ “สวน 50 สุข” อยู่ในบริเวณใกล้จุดลงทางด่วนในซอยสุขุมวิท 50 เกิดจากแนวคิด 3+2×10 พื้นที่ได้รับการออกแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิด 3 ฮอร์โมนแหล่งกำเนิดความสุข เซโรโทนิน โดปามีน และออกซิโตซิน เพื่อให้คนต่างวัย ต่างความชอบได้ใช้พักผ่อน ออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้ และยังมีลานกีฬา สวนสำหรับสัตว์เล็ก เพื่อร่วมแบ่งปันความสุขกับสัตว์เลี้ยงของชุมชน รวมกับ 2 องค์ประกอบด้านจิตใจคือ Art & Earth ที่จะสามารถเดินชมงานศิลปะกลางแจ้ง จุดประกายจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ กลางต้นไม้เขียว และภูมิทัศน์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชื่อมคนเข้ากับโลก แล้วขยายความสุข x10

ด้าน คุณตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเจตนารมณ์การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐด้านสิ่งแวดล้อม และแนวคิดในการปรับปรุงสวน 50 สุข ว่า เป็นความภูมิใจที่ได้มีส่วนเล็ก ๆ ในการช่วยลดอุณหภูมิให้กับโลก และเป็นส่วนหนึ่งใน New Year Resolution ที่จะปลูกต้นไม้ 10,000 ต้น โดยอีก 9,000 ต้น ตนได้ปลูกเสร็จเรียบร้อยที่เขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  26 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1114391)

“น้ำเสีย” เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของประเทศไทยเพราะน้ำเสีย ไม่เพียงแต่ส่งกลิ่นเหม็นเท่านั้น แต่ยังสร้างคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากขึ้นไป ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก จึงเกิดนวัตกรรม “ออกซิเจนบริสุทธิ์” ที่จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างยั่งยืน

       ปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่าโครงการ GENERATING A CLEANER FUTURE เป็นนวัตกรรม และเทคโนโลยีสำหรับการดูแลคุณภาพน้ำ ด้วยกระบวนการเพิ่มออกซิเจนในแหล่งน้ำ ลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน และประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมช่วยให้ปรับปรุงกระบวนการบําบัดน้ำ และน้ำเสียได้มีประสิทธิภาพ โดยการทำงานของเทคโนโลยีนี้จะสามารถเติมอากาศด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ โอโซน และการเกิดออกซิเดชันขั้นสูงด้วยเทคโนโลยีการถ่ายเทมวลสูงที่มีประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำ และยังมีโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมสําหรับการรีไซเคิลน้ำเสีย การปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการบําบัดด้วยระบบทําความเย็น เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ได้ประมาณ 18,000 ต้นต่อปี และลดคาร์บอน 275 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี สำหรับโครงการแรกเริ่มต้นที่สวนเบญจกิติที่รับน้ำมาจากคลองไผ่สิงโต ซึ่งมีคุณภาพน้ำค่าออกซิเจนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก พอมีออกซิเจนให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะปล่อยน้ำเข้าไปในบึงได้ โดยปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายอยู่ในน้ำ (DO) ปริมาณการละลายออกซิเจนในน้ำสามารถบอกถึงคุณภาพของน้ำที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตต้องมีค่าออกซิเจนละลายไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ ระบบการเติมออกซิเจนนั้นจะต้องใช้ออกซิเจนเหลวซึ่งมีคุณภาพเทียบเท่าออกซิเจนของโรงพยาบาล แต่การจะใช้ออกซิเจนเติมลงไปในน้ำนั้นต้องเปลี่ยนของเหลวเป็นก๊าซก่อนผ่านตัวระเหยผ่านอากาศแล้วอัดลงไปในน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณโมเลกุลของขนาดออกซิเจนลงไปในน้ำเพื่อให้ปริมาณที่เหมาะสมตามคุณภาพ ณ ตอนนั้น โดยปกติแล้วออกซิเจนหนึ่งถังจะสามารถใช้ในการบำบัดน้ำได้ 1 สัปดาห์ในช่วงหน้าแล้งแต่ในช่วงฤดูฝนจะสามารถอยู่ได้เป็นเดือนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในฤดูกาลนั้นๆ สามารถแบ่งการดำเนินงานของระบบเป็น 4 ด้าน ดังนี้

1.โซลูชันด้านพลังงาน จะมีข้อมูลแบบ Real-Time..และเทคโนโลยี AI เพื่อควบคุมจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนด้านการจัดการพลังงาน โดยจะช่วยให้ควบคุม จัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงาน พร้อมลดต้นทุนพลังงานด้วยการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด​​

2.การบำบัดน้ำ โดยจะมีโซลูชันการบำบัดน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย เป็นไปตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม อย่างการเพิ่มประสิทธิภาพของหอทำความเย็น (Cooling Tower) รวมถึงการรีไซเคิลน้ำ​​

3.การบริหารจัดการคอมเพรสเซอร์ การจัดการคอมเพรสเซอร์ที่เหมาะด้วยระบบขั้นสูงของบีไอจีที่ประสานคอมเพรสเซอร์ เครื่องทำลมแห้ง และตัวกรองหลายตัวเข้าด้วยกันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

4.​​การเติมออกซิเจน เพื่ออัปเกรดระบบบำบัดน้ำเสียด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 99.5% แทนอากาศกำจัดไนโตรเจน ด้วยเทคโนโลยี Halia..ที่สามารถผสมอย่างละเอียดโดยไม่ต้องใช้อากาศ และการป้องกันปัญหาสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC)


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  25 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://mgronline.com/travel/detail/9670000016255

กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานเขตคลองเตย การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและบมจ.อิชิตัน กรุ๊ป เปิดตัวสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ได้ปรับปรุงพื้นที่ในเขตทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณซอยสุขุมวิท 50 เขตคลองเตย ให้กลายเป็น “สวน 50 สุข” ร่วมกับนโยบายสวน 15 นาทีของท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พื้นที่ได้รับการออกแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิด 3 ฮอร์โมน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความสุขอย่างเซโรโทนิน โดปามีน และออกซิโตซิน เพื่อให้คนต่างวัย ต่างความชอบได้ใช้พักผ่อน ออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้ เพื่อเพิ่มฮอร์โมนความสุขตามธรรมชาติ เสริมสร้างอารมณ์และความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่เส้นทางเดินอันเงียบสงบ ไปจนถึงลานกีฬาที่จะทำให้หัวใจสูบฉีด และมีสวนสำหรับสัตว์เล็ก เพื่อร่วมแบ่งปันความสุขกับสัตว์เลี้ยงของชุมชน

สวน 50 สุข คือสัญลักษณ์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่อยากให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพใจให้กับชุมชน ไปพร้อมกับสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของกทม. สวน 50 สุข จึงถูกออกแบบให้เป็นมากกว่าพื้นที่สีเขียว แต่เป็นพื้นที่ที่ชุมชนจะเชื่อมต่อธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ การสร้างพื้นที่ร่มเย็นสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.