• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  27 มีนาคม 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1119515)

ทำความรู้จัก “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” หรือ “Global Plastic Treaty” เตรียมประกาศใช้ในปี 2568 ความหวังที่จะแก้ไข “ปัญหาขยะพลาสติก” และอาจเป็นข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดตั้งแต่ความตกลงปารีส “ขยะพลาสติก” กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก หลายประเทศประสบกับปัญหา “ขยะล้นเมือง” แต่นั่นยังไม่เป็นอันตรายเท่ากับ “ไมโครพลาสติก” พลาสติกที่แตกตัวออกกลายเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งสามารถพัดพาไปทั่วโลก แม้แต่ในพื้นที่ห่างไกลที่สุดอย่างขั้วโลกเหนือก็ยังพบไมโครพลาสติก ไมโครพลาสติก กลายเป็นมลพิษที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ทั้งในแหล่งน้ำ พื้นดิน และในอากาศ แทรกแซงห่วงโซ่อาหาร มีการศึกษาหลายชนิดที่ ตรวจพบไมโครพลาสติก และนาโนพลาสติกหลายประเภทในเนื้อเยื่อของมนุษย์ รวมถึงลำไส้ใหญ่ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง รก และแม้แต่ในเลือดของมนุษย์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้นำจากประเทศทั่วโลก จึงได้พยายามผลักดันให้เกิด “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติก กำเนิด “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” 2 มีนาคม 2565 มีการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEA) ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ในโอกาสนั้น ผู้นำจากประเทศทั่วโลกได้มีมติสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติที่ 5/14 กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการเจรจาระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Negotiating Committee – INC) โดยมีภารกิจจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายว่าด้วยมลพิษพลาสติก รวมถึงในสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยตั้งอยู่บนฐานของแนวทางที่ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก หลังจากนั้นการประชุมของ INC จึงเริ่มมีการกล่าวถึง “สนธิสัญญาพลาสติกโลก” หรือ “Global Plastic Treaty” ซึ่งคาดหวังว่าจะมาตรการทางกฎหมายนี้จะต้องมีความสำคัญ และมีขอบเขตอำนาจสูง โดย อิงเจอร์ แอนเดอร์เซน ผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เคยกล่าวว่า ปัจจุบัน สนธิสัญญาพลาสติกโลก ยังอยู่ในขั้นตอนการร่างกฎหมาย เนื่องจากมีหลาย ประเด็นที่แต่ละประเทศยังตกลงกันไม่ได้ แต่คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการประชุม INC-5 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ ในช่วงปลายปี 2567 หลังจากนั้นในปี 2568 จะมีการประชุมระหว่างประเทศครั้งใหญ่เพื่อจัดตั้งมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และเปิดให้มีการลงนาม


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  26 มีนาคม 2567

ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000025677

นับตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นมา ทะเลตรังพบพะยูนเกยตื้นตายแล้ว 4 ตัว โดยที่ผ่านมาจะพบว่า พะยูนเกยตื้นมากที่สุดในช่วงปลายปีประมาณ พ.ย. – ธ.ค. ส่วนที่ตายในปีนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับปลายปีที่ผ่านมา คาดว่าในช่วงกลางๆ ปีมีโอกาสการเกิดขึ้นน้อยลง แต่ถือว่าเป็นตัวเลขค่อนข้างน่าเป็นห่วง

จากที่มีการเก็บข้อมูลมาหลายปี สาเหตุหลักของการเกยตื้นส่วนใหญ่เกิดจากอาการป่วย แต่ว่าค่อนข้างวินิจฉัยยาก เพราะส่วนใหญ่พบตอนซากเน่า อวัยวะภายในค่อนข้างที่จะพิสูจน์ยาก ซึ่งกรณีพะยูนตัวล่าสุด พบพยาธิในกระเพาะมากขึ้นชี้ชัดว่ามันป่วย พบหนองพบก้อนเนื้อที่คล้ายมะเร็งลักษณะผิดปกติในอวัยวะภายใน ซึ่งค่อนข้างจะเจอในสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของการเกยตื้น

ทั้งนี้ วิกฤตหญ้าทะเลลุกลามหนัก จ.ตรัง พบเสื่อมโทรมมาตั้งแต่ปี 2562 พบการตายของหญ้ามีเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด เช่น หญ้าคาทะเล หญ้าใบมะกรูด ซึ่งเป็นอาหารของพะยูน จากการสำรวจพบว่ามี 2 เกาะ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงคือ รอบเกาะลิบง และ บริเวณเกาะมุกด์ กินพื้นที่กว่า 10,000 ไร่

สุดท้ายยังคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด สำหรับการปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเล โดยเฉพาะในทะเล จ.ตรัง และ จ.กระบี่ ตลอดจนการขับเคลื่อนแนวทางอนุรักษ์พะยูนในทะเลไทย ที่ต้องยอมรับว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก นับเป็นภารกิจที่ต้องร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  25 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/environment/1119020

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับ บริษัท Nomura Jimusho Inc. ลงนาม MOU “โครงการศึกษาวิจัยร่วมการจัดหาเมล็ดยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า” โดยจะมุ่งวิจัยจัดหาเมล็ดยางพารา แปรรูปเป็นพลังงานทางเลือก หวังสร้างสมดุลนิเวศระยะยาว เพิ่มมูลค่าเมล็ดยางแหล่งรายได้ใหม่เกษตรกร

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท. ตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากภาคการเกษตร โดยเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยเฉพาะเมล็ดยางพารา ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเพิ่มมูลค่าผ่านการแปรรูปเป็นวัตถุดิบชีวมวลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ สร้างพลังงานทางเลือกและปรับความสมดุลทางระบบนิเวศในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางพาราสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นช่องทางสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยในอนาคต

การร่วมมือกันในครั้งนี้ว่า ในฐานะที่ กยท. เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราในประเทศทั้งระบบ ดำเนินงานโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสวนยาง โดยการยกระดับรายได้ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการทำสวนยางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพ นายณกรณ์ กล่าวต่อว่า “การร่วมกันศึกษาเมล็ดยางพาราตลอดห่วงโซ่อุปทานในครั้งนี้ จะทำให้ทราบถึงปริมาณและศักยภาพในการใช้เมล็ดยางพาราเป็นสารเติมแต่งทางชีวภาพ ซึ่งนอกจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเมล็ดยางพารา และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากภาคการเกษตรแล้ว ยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายชีวมวล ซึ่งจะพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยางได้อย่างยั่งยืน”

ด้าน Mr. Shoji Nomura ประธานบริษัท Nomura Jimusho Inc. กล่าวย้ำถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมมือกันสนับสนุนให้เกิดสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน และสนับสนุนการเติบโตของเกษตรกรชาวสวนยางผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์ยางพารา เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไป


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  24 มีนาคม 2567

ที่มา : INN News  (https://today.line.me/th/v2/article/x2BgkP6)

ชัยภูมิ ส่งเสริมชาวบ้านสร้างทักษะการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ในโครงการปิดทองหลังพระ สร้างสมดุลการพัฒนา ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ (โครงการปิดทองหลังพระ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ตามหลักการยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียง” ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยนายอริยะ เชื้อชม ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยฎมิ ได้รับนโยบายพร้อมได้สารต่อดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมตามโครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ (ปิดทองหลังพระ) มุ่งเน้นการน้อมนำแนวพระราชดำริ ของรัชกาลที่ ๙ เผยแพร่สู่ชุชน โดยบูรณาการองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริใน 6 มิติหลัก ได้แก่ มิติด้านการอนุรักษ์น้ำอนุรักษ์ดิน เกษตรทฤษีใหม่ พลังงานทดแทน ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และสิงแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องอาศัยกระบวนการความร่วมมือกับองค์กรรัฐ สถาบันวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสังคมและภาคธุรกิจ รวมทั้งยึดหลักการทรงงานเป็นแนวทางหลักในการดำเนินโครงการฯ ตลอดจนพิจารณาความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะเป็นการดำเนินกิจกรรม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  23 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2771825

“กัลปังหา” นั้นเป็นพืชใต้ทะเล แต่แท้จริงแล้ว “กัลปังหา” หรือ “Sea Fan” เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ละตัวมีขนาดเล็กมาก จัดอยู่ในพวกเดียวกับปะการัง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวกัลปังหา (polyp) ที่มีลักษณะคล้ายดอกไม้ทะเลขนาดเล็ก มีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม และมีหนวดรอบปากจำนวนแปดเส้น ฝังและกระจายตัวอยู่ตามโครงสร้างของกัลปังหา และอีกส่วนเป็นส่วนโครงสร้างที่เป็นกิ่งแตกกิ่งก้านคล้ายพัดและซี่หวีแล้วแต่ชนิด กิ่งโครงสร้างนี้ตัวกัลปังหาสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับตัวเองและเป็นสารจำพวกเขาสัตว์ (keratin) ชอบอาศัยอยู่ตามที่มีกระแสน้ำไหล เนื่องจากกระแสน้ำจะช่วยพัดพาอาหารมาให้ และจะช่วยพัดพาของเสียที่ถูกปล่อยออกจากกัลปังหาออกไป โดยจะใช้หนวดในการดักจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเพื่อนำมาเป็นอาหาร ส่วนเข็มพิษที่หนวดจะช่วยในการจับพวกแพลงก์ตอน

นอกจากนี้ กัลปังหา ยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล เนื่องจากเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ทะเลขนาดเล็กหลายชนิดโดยสัตว์เหล่านี้จะเกาะตามกิ่งก้าน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  22 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2772159

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ตอกย้ำองค์กรชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม แสดงพลังรักษ์โลกขานรับนโยบายกรุงเทพมหานครผ่านการสนับสนุนกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2024)” โดยขอเชิญชวนให้ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ชุมชน ร่วมกันปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 20.30 – 21.30 น. เพื่อลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น และหนึ่งแรงขับเคลื่อนในการมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงในปัจจุบัน

โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI กล่าวว่า พลังงานเป็นส่วนสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยปัจจุบันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือปัญหาโลกร้อนเป็นหนึ่งปัญหาระดับโลกที่ต้องเร่งแก้ไข และซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดปัญหาดังกล่าวมาจากการใช้พลังงานของมนุษย์ ดังนั้นการเข้าร่วมกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2024)” เป็นกิจกรรมที่เราสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันสถาบันฯ เองก็ตระหนักถึงการลดใช้พลังงานในทุก ๆ วัน

ดร.วิจารย์ กล่าวต่ออีกว่า การปิดไฟ 1 ชม. ถือเป็นกิจกรรมดี ๆ ที่ช่วยให้คนหันมาใส่ใจการใช้พลังงาน และถือเป็นจุดเริ่มต้นในการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าหากจะทำให้คนตื่นตัวกับเรื่องดังกล่าวและมีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนถึงแนวทางการลดใช้พลังงาน ปัญหาการใช้พลังงานสิ้นเปลือง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ประชาชนต้องเผชิญ นำไปสู่แนวทางปฏิบัติในการลดใช้พลังงานหรือปรับเปลี่ยนการใช้พลังงาน อาทิ การใช้พลังงานสะอาด พลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและประหยัดพลังงานก็น่าจะส่งผลดีในการลดใช้พลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  21 มีนาคม 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1118681)

ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย ผนึกกำลัง ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ยกระดับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ผ่านโครงการ ‘วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ : เรารักษ์น้ำ’ มุ่งส่งเสริม ‘เยาวชน’ ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต การปลูกฝั่งทัศนคติในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดการสร้างการตระหนักรู้เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเยาวชน ที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เพราะเยาวชนมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดูแลทรัพยากรต่อไปในอนาคต

            ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทที่มีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้วิสัยทัศน์ “การเติบโตอย่างยั่งยืน (Growing..for..Good)” ด้วยความตระหนักว่า “น้ำ” เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่า ทุกชีวิตล้วนแล้วแต่อาศัย “น้ำ” เพื่อการดำรงชีวิต และ “น้ำ” จำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อทุกคนและต่อโลกใบนี้ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ประเทศไทย จึงดำเนินโครงการหลากหลายเกี่ยวกับ “น้ำ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมามีการเดินหน้า โครงการ ‘มิซุอิกุ’ ซึ่งริเริ่มในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2547 ก่อนจะขยายไปในอีกกว่า 8 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ในภาษาญี่ปุ่น ‘มิซุ’ หมายถึง ‘น้ำ’ และ ‘อิกุ’ หมายถึง ‘การให้ความรู้’ โครงการมุ่งส่งเสริมให้คนในประเทศนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม รวมถึงสอนให้ทุกคนเข้าใจบทบาทของตนเองที่สามารถมีส่วนร่วมอนุรักษ์น้ำได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอและส่งต่อให้คนรุ่นหลังต่อไป

ล่าสุด บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือภายใต้โครงการ “วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ : เรารักษ์น้ำ” ประจำปี 2567 เป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายผลโครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำของทั้งสองบริษัทฯ มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน ผ่านการจัดกิจกรรม “ค่ายมิซุอิกุ ผู้พิทักษ์รักษ์น้ำ” และ การประกวด “โรงเรียนต้นแบบรักษ์ มิซุอิกุ” ประจำปี 2567 ตลอดจนกิจกรรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ให้แก่คนในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้พนักงานของบริษัทฯ ได้มีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันเสริมสร้างองค์ความรู้และสานต่อกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในมิติสิ่งแวดล้อมและมิติทางสังคม ตอกย้ำค่านิยมองค์กรของเรา คือ ‘การเติบโตอย่างยั่งยืน’ (Growing for Good) และ‘การตอบแทนกลับคืนสู่สังคม’ (Giving Back to Society) โครงการ “วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ: เรารักษ์น้ำ” ประจำปี 2567 ได้รับเกียรติจากภาคีภาครัฐร่วมเป็นพันธมิตร ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังผนึกกำลังกับ ‘ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา’ (Environmental Education Centre) องค์กรที่มุ่งหวังในการส่งเสริมให้สังคมมีความรู้ความเข้าใจต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกันขับเคลื่อนพันธกิจในการจุดประกายให้เยาวชนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  20 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.posttoday.com/smart-city/706873

ถ้าต้องลดอะไรบางอย่างลง 50% คุณคิดว่าเป็นตัวเลขที่เยอะแค่ไหน แต่นี่คือเป้าหมายในการ “ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำ Ajinomoto ให้น้อยลง 50% ภายในปี ค.ศ.2030 หรือปี พ.ศ.2573 ภายใต้วิสัยทัศน์การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่าน 5 แนวทางหลัก ประกอบด้วย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 50% การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 80% การลดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ (รีไซเคิลพลาสติกได้ 100%) การลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหารลง 50% ภายในปี 2025 และการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน 100%

Ajinomoto มองว่าปัญหาด้านอาหารและสุขภาพมีความหลากหลายมากขึ้น จึงมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาด้านโภชนาการและสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนทั่วโลก โดยเฉพาะต่อชุมชนใน 130 ประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจ

เนื่องจากธุรกิจของ Ajinomoto ต้องอาศัยแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งวัตถุดิบและพลังงาน จึงเห็นความสำคัญที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงห่วงโซ่คุณค่า เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และขยะพลาสติก ฯลฯ โดยร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่น เพื่อโลกที่ดีกว่า

ด้วยการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดคุณค่าสูงสุด ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด รวมไปถึงเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความ “อยู่ดีมีสุข” อย่างยั่งยืน


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.