• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ


Image

วิสัยทัศน์

ผู้นำทางวิชาการและงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมความยั่งยืนในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก

(Leader in Environmental Academic & Research Promoting Local, Regional and Global Sustainability)

 

พันธกิจ

สร้างความเป็นเลิศด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม

(Advancing Excellence in Environmental Education, Research, and Academic Service)

ยุทธศาสตร์

1. ความเป็นเลิศด้านการวิจัย (Research Excellence)

1. สร้างผลงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์คุณภาพสูง (Producing High-Quality Research and Publication)
2. ส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการและความท้าทายในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และภาครัฐ
(Promoting Demand-Driven Research and Innovation to Address the Needs and Challenges in the Business, Industrial, and Government Sectors)
3. ส่งเสริมงานวิจัยแบบสหสาขา
(Advancing Integrated and Multidisciplinary Research)
4. ส่งเสริมการผลิตงานวิจัยที่มีผลกระทบและมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Fostering Research Impact Aligned with Sustainable Development Goals (SDGs))

2. การศึกษาที่ยั่งยืน (Sustainable Education)

1. สร้างและพัฒนาหลักสูตรความยั่งยืน โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางการศึกษา อุตสาหกรรม และภาคเอกชน
(Developing a Sustainable Curriculum through Collaboration with Academic, Industrial, & Private Sector Partners)
2. ผลักดันการเรียนรู้ตลอดชีวิต (เพิ่มและพัฒนาทักษะ) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป
(Promoting Lifelong Learning (Upskilling & Reskilling) Aligned with Government, Private Sector
& Public Demands)
3. ยกระดับหลักสูตรของคณะ ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาในระดับสากล และผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมและสามารถทำงานด้านสิ่งแวดล้อมได้ทันที
(Elevating the Curriculum to Meet International Educational Standards &
Producing Graduates Prepared for Immediate Employment in the Environmental Field)
4. สร้างความเป็นเลิศด้านการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยและสากล
(Achieving Teaching Excellence in Accordance with Mahidol University & UK Professional Standards Framework (MUPSF & UKPSF)

3. การให้บริการและฝึกอบรมแบบมืออาชีพ (Professional Services & Training)

กลยุทธ์ (Strategic Initiatives)
1. ให้คำปรึกษา และบริการด้านสิ่งแวดล้อมแบบมืออาชีพ
(Providing Professional Environmental Consultation & Services)
2. ผลักดัน / สนับสนุนการฝึกอบรมที่ตอบโจทย์สังคม และประเทศ
(Promoting / Supporting Training Initiatives that Addresses Public & National Demands)
3. ผลักดันความร่วมมือด้านบริการวิชาการร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและภาคเอกชน
(Fostering Collaboration in Academic Services with the Industrial & Private Sectors)
4. ส่งเสริม / สนับสนุนการดำเนินการด้านพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม
(Promoting / Supporting Social Engagement Initiatives)

4. ความเป็นเลิศในการดำเนินงานและความยั่งยืนทางการเงิน (Operational Excellence & Financial Sustainability)

กลยุทธ์ (Strategic Initiatives)
1. ส่งเสริมพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนตามแนวทางโมเดล ESG
(Promoting Sustainable Organizational Development in Accordance with the ESG (Environment, Social, & Governance) Model)
2. พัฒนาคุณภาพองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
(EdPEx) (Enhancing Organizational Quality Based on the Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx))
3. เพิ่มศักยภาพบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนโดยมุ่งเน้นให้เป็น Global Talent และ เพิ่มขีดความสามารถด้าน Digital ให้กับบุคลากร
(Empowering Academic & Support Personnel to Become Global Talents & Enhance Digital Competencies)
4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินอย่างยั่งยืน
(Optimizing Sustainable Financial Management Practices)
5. ยกระดับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้านการทำงานและห้องปฏิบัติการ
(Strengthening Occupational Health & Safety in Workplaces & Laboratories)

ค่านิยมองค์กร

Image
E Effectiveness มีประสิทธิผล
N Networking สร้างเครือข่าย
M Multidisciplinary สหวิทยาการ
U Unity เป็นหนึ่งเดียวกัน

ประวัติคณะฯ

นับแต่ช่วงทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการขยายตัวของปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ กรณีเรือน้ำมันล่มในอ่าวไทย การล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่นเรศวรและแม่น้ำแม่กลองเน่า เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึง สถานการณ์ดังกล่าวและเล็งเห็นความสำคัญด้านการศึกษา วิจัยและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดตั้ง โครงการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Education and Research Project) ขึ้น เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยมีที่ทำการชั่วคราวที่อาคาร 72 ปี โรงพยาบาลศิริราช หลังจากนั้นโดยการสนับสนุนด้านงบประมาณเริ่มต้นจากมูลนิธิฟอร์ด

โครงการฯ ได้ย้ายไปเช่าโรงแรมราชศุภมิตร ถนนหลานหลวง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นโรงแรมรอยัลปริ๊นเซส) เพื่อเปิดการเรียนการสอนในระดับมหาบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม ใน ปี พ.ศ.2521 โครงการฯ ได้พัฒนาเป็น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (Faculty of Environment and Resource Studies) โดยมีสถานที่ของตนเอง ณ อาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ณ ศาลายา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา คณะ ฯ ได้ให้บริการด้านการศึกษา วิจัย ฝึกอบรม และการบริการวิชาการ ทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และนานาชาติ และในปีการศึกษา 2546 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่างๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมาจนถึงปัจจุบัน

 

This image for Image Layouts addon

รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์

ผู้ก่อตั้งและอดีตคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ทำเนียบคณบดี

รศ.ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์
ปี 2520 – 28 พฤศจิกายน 2527
ผศ.ดร.ธนากร อ้วนอ่อน
28 กุมภาพันธ์ 2528 – 13 กันยายน 2533
รศ.ดร.อรพินท์ เอี่ยมศิริ
18 กันยายน 2533 – 15 กรกฎาคม 2535
ศ.ดร.นพ.เทพนม เมืองแมน
16 กรกฎาคม 2535 – 30 กันยายน 2538
รศ.ดร.รุ่งจรัส หุตะเจริญ
1 ตุลาคม 2538 – 30 กันยายน 2542
รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี
1 ตุลาคม 2542 – 30 กันยายน 2550
ผศ.ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช
1 ตุลาคม 2550 -30 กันยายน 2554
รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล
1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2562
รองศาสตราจารย์ ดร. สุระ พัฒนเกียรติ
1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2566
© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.