• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2567

พิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพฯ

2 ธันวาคม 2567 เวลา 06.45 น. ผู้บริหารและบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา


ENVI Mahidol จับมือหอการค้าจังหวัดลำปาง, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง, และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เพื่อมุ่งสู่ลำปางคาร์บอนเป็นศูนย์

🌱 29 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณกิติพันธ์ นวลจันทร์ฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง คุณบุญศักดิ์ ชัยสุทธิวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และคุณตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ หอการค้าจังหวัดลำปาง, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง, และองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
📌 เป้าหมาย:
✨ ส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 🌬️
✨ ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งในระดับองค์กรและผลิตภัณฑ์ 🌐
✨ ยกระดับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
✨ สนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัย การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และพัฒนากิจกรรมทางวิชาการร่วมกัน
🤝 ผลลัพธ์ที่คาดหวัง: สนับสนุนนโยบายของประเทศในการมุ่งสู่ ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และ Net Zero GHG Emissions รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและสังคมในระยะยาว
กิจกรรมหลังพิธีลงนาม:
1️⃣ การบรรยายหัวข้อ “มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต่อภาคอุตสาหกรรม” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต 🌱
2️⃣ การสนทนากลุ่ม หัวข้อ “ทิศทางพัฒนาจังหวัดลำปางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์
📍 สถานที่จัดงาน: ห้องเจเจ 4, โครงการเจเจปาร์ค จังหวัดลำปาง


นำเสนอผลการดำเนินงานวิจัยและเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการสนับสนุนโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดกิจกรรม “นำเสนอผลการดำเนินงานวิจัยและเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการสนับสนุนโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์” เพื่อถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่หน่วยงานบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานปฏิบัติการวิจัย เมื่อวันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมสิริรำไพพรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี โดยมี พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี และประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวเสาวนีย์ มุ่งสุจริตการ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ผศ.ดร.ไวกูณฑ์ ทองอร่ามอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายธานินทร์ ผะเอม อดีตรองเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายสมบูรณ์ วงค์กาด อดีตรองเลขาธิการสำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นายสุพจน์ อาวาส อดีตกรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงค์ ดร.ศุภกิจ วินิตพรสวรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมมาตรฐานลาดตะเวนเชิงคุณภาพ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช และนางสาวช่อแพร ทินพรรณ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาตามแนวพระราชดำริ กรมป่าไม้
โดยคณะนักวิจัย นายสัตวแพทย์ ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าโครงการ การศึกษาช้างป่าแบบบูรณาการเพื่อลดผลกระทบความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่า ภาคตะวันออกอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้นำเสนอผลการวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จให้องคมนตรี ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ร่วมงานกว่า 200 คนได้ทราบถึงผลการศึกษาและการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยจากช้างป่า ด้วยข้อมูลตำแหน่งและเส้นทางการเคลื่อนที่ของช้างป่าจำนวน 5 ตัวที่คณะผู้วิจัยได้ทำการติดปลอกคอ GPS ที่รับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และได้ร่วมเวทีเสวนาเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาช้างป่ากับเครือข่ายพันธมิตร
จากนั้น รศ.ดร.รองลาภ สุขมาสรวง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ.ดร.วิชาญ ทุมทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หัวหน้าโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ได้รายงานความก้าวหน้าให้แก่คณะผู้ทรงคุณวุฒิทราบ โดยคณะผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิจาก วช. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์คชานุรักษ์ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเกรา จ. ฉะเชิงเทรา และ พื้นที่ทดลองการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่ อ. สอยดาว จ. จันทบุรี
ในงานนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมได้เริ่มขับเคลื่อนและประสานการดำเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ได้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในการแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า รวมทั้งการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก โดยได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ให้กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อดำเนินโครงการในด้านนิเวศวิทยา ในเรื่องการศึกษาถิ่นที่อยู่อาศัย โครงสร้างประชากร ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายและออกนอกพื้นที่ของช้างป่า ให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งนำไปสู่แนวทางการบริหารจัดการการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและช้างป่า เกิดเทคโนโลยีตรวจจับและแจ้งเตือนช้างป่าออกนอกพื้นที่ เพื่อให้ชุดอาสาสมัครเตรียมความพร้อมและใช้วิธีการผลักดันช้างกลับสู่พื้นที่อย่างถูกวิธี และลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดการดำเนินงานต่างๆ ที่บรรลุผลสำเร็จในอนาคต ซึ่งจะทำให้งานวิจัยเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น ตลอดจนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนได้อย่างแท้จริง
เครดิตภาพ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี


งานวันรำลึก รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ประจำปี 2567

28 พฤศจิกายน 2567 เวลา 8.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ศิษย์เก่า นักศึกษาและบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานวันรำลึก รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ประจำปี 2567 โดยกิจกรรมประกอบด้วยพิธีสักการะพระพุทธรัตนมงคลนาถ ไหว้ศาลพระภูมิและเจ้าที่ เคารพรูปเหมือน รศ.ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และพิธีทำบุญถวายสังฆทานเครื่องไทยธรรม และภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ 10 รูป ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


กิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษาด้านกฏระเบียบข้อบังคับและไซเบอร์ซิเคียวริตี้

27 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. งานบริการการศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายในหัวข้อ “ข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี” วิทยากรโดย คุณณัฐวุฒิ ยวดยิ่งยง หัวหน้างานทะเบียนและประมวลผล  และคุณเอธิกา เอกวารีสกุล หัวหน้างานพัฒนาการศึกษา กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์มีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษา อาทิ การลงทะเบียน การคิดเกรด การจำแนกสภาพนักศึกษา การจบการศึกษา และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการศึกษา จากนั้นเป็นการบรรยายในหัวข้อ “การป้องกันตัวจากภัยไซเบอร์” โดย คุณวรงค์ บุญเชิดชู หน่วยสารสนเทศ เพื่อให้ตระหนักและรู้วิธีการป้องกันจากภัยไซเบอร์ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและอาจเกิดขึ้นได้


ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี

23-24 พฤศจิกายน 2567 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล จัดค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วัตถุประสงค์ในการค่ายนี้จัดขึ้นเพื่อ:
💡 ส่งเสริมกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
🌱 ให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
📘 เรียนรู้ผ่านภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ
🔬 ศึกษาดูงานพร้อมนำวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมที่น่าสนใจ:
🌏 เรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น หิน ดิน แร่
♻ สำรวจขยะไมโครพลาสติก
🚁 ฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับกับงานด้านสิ่งแวดล้อม
🍃 ศึกษาสิ่งแวดล้อมโดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา


💼✨ ใครอยากสัมผัสประสบการณ์สุดเจ๋งในค่ายสิ่งแวดล้อม ติดต่อเลย!
🔹 Line OA: https://lin.ee/McveltE
📞 โทร: 0-2441-5000 ต่อ 2223

#YouthScienceCamp #EnvironmentalEducation #มหิดล #MahidolUniversity #Sustainability #DroneTechnology


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.