• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2567

การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER

อบรมเชิงปฏิบัติการ "การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER"

วันที่ 27-28 สิงหาคม 2567 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและพัฒนาโครงการ T-VER โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะฯ กล่าวเปิดงาน

การอบรมนี้จัดขึ้นโดยสำนักงานวิจัยและวิทยบริการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีผู้เข้าร่วม 50 คน จากภาครัฐ, เอกชน, และรัฐวิสาหกิจ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย เป็นหัวหน้าโครงการ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างระบบการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง


ตรวจเยี่ยมโครงการ CWIE+EEC Model Type A

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ รองศาสตราจารย์ ดร. สุกัญญา เสรีนนท์ชัย ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานของโครงการเร่งรัดและขยายผลการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง CWIE+EEC Model Type A (CWIE+EEC Model Type A Master Class) ณ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง

ทั้งนี้ โดยได้รับเกียรติจาก คุณพร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้บริหารของบริษัทฯ ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจเยี่ยมและแนะนำพี่เลี้ยงของบริษัทฯ พร้อมรับฟังนักศึกษานำเสนอความคืบหน้าโครงการฯ และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานจริงในภาคสนาม

นอกจากนี้ คณะผู้เยี่ยมชมยังได้เข้าชมการดำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งเป็นโอกาสดีในการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมที่ยั่งยืน

การประชุมหารือในครั้งนี้ยังได้สร้างความร่วมมือระหว่างบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น


คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ฯ ร่วมกิจกรรม "ก็มาดิ..Craft" ครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.กัมปนาท ภักดีกุล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรียาพร เกิดฤทธิ์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรม "ก็มาดิ..Craft" ครั้งที่ 1 จัดขึ้นโดยกรมป่าไม้โดยโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ร่วมกับหอการค้าจังหวัดตาก และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนเพื่อเป็นส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยออดนวัตกรรมด้าน BCG ระหว่างนักวิจัยร่วมกับนักเรียน และชุมชนโดยรอบจนนำไปสู่แหล่งรายได้รูปแบบใหม่ รวมถึงการช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเข้าระบบ Carbon Neutral โดยรอบพื้นที่โครงการฯ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย โรงเรียน สถาบันการศึกษานักวิจัยจาก BIOTEC ตัวแทน Young Enterpreneur Chamber of Commerce (YEC) หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ แม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก


คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ฯ หารือความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับโรงเรียนนาคประสิทธิ์ (มูลนิธิวัดบางช้างเหนือ)

23 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะผู้แทนคณบดี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.แพรวา วงษ์บุรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบาย แผนและวิเทศสัมพันธ์ และบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าพบคณะผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนนาคประสิทธิ์ (มูลนิธิวัดบางช้างเหนือ) นำโดย ดร.เครือวัลย์ เผ่าผึ้ง ผู้อำนวยการโรงเรียน และ นายสุรชัย จามรเนียม รองผู้อำนวยการแผนกมัธยมศึกษา เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน อาทิ ด้านการแนะแนวหลักสูตรและการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อ กิจกรรมทางวิชาการต่าง ๆ การสร้างเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางวิชาการ รวมถึงการประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ


ENMU หารือความร่วมมือกับหอการค้าจังหวัดลำปาง

23 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดี พร้อมด้วย คณะผู้บริหารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการหารือเพื่อประชาสัมพันธ์งานบริการวิชาการ และงานพันธกิจเพื่อสังคมของคณะ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างเครือข่ายพันธกิจเพื่อสังคมจังหวัดลำปาง ร่วมกับ คุณกิติพันธ์ นวลจันทร์ฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย คุณพีระรักษ์ พิชญกุล รองประธานหอการค้าฯ คุณพชรดนัย จานชา รองเลขาธิการฯ/เลขาธิการ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หอการค้าจังหวัดลำปาง (Young Entrepreneur Chamber of Commerce: YEC) คุณมนต์นรินทร์ เรืองจิตต์ รองเลขาธิการฯ คุณรัตนาพร เทพปินตา กรรมการฯ และ คุณพัทธ์ธีรา เทพปินตา สมาชิก YEC ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานหอการค้าจังหวัดลำปาง

(ภาพจาก https://www.facebook.com/chamber.lp)


ต้อนรับคณาจารย์และบุคลากรจาก Universiti Putra Malaysia ประเทศมาเลเซีย

22 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต ประธาน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) พร้อมด้วย คณะกรรมการหลักสูตรฯ และบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณาจารย์และบุคลากรจาก Universiti Putra Malaysia ประเทศมาเลเซีย นำโดย Associate Professor Dr. Norhafizah Abdullah Head of Department of Chemical and Environmental Engineering, Faculty of Engineering, ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานในรูปแบบเทียบเคียง (Benchmark) ระหว่าง Programme Master in Environmental Technology Management, Universiti Putra Malaysia กับ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ของคณะ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนของทั้งสองหลักสูตร เพื่อการปรับปรุงการดำเนินงาน และหาแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาในอาเซียน  AUN-QA (Asean University Network Quality Assurance) การประชุมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.