• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (Senior Project) ประจำปีการศึกษา 2567

7 พฤษภาคม 2568 เวลา 9.00-12.00 น. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) จัดให้มีการนำเสนอโครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (Senior Project) ประจำปีการศึกษา 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้มีการมอบรางวัล The Best Oral Presentation ให้แก่โครงการวิจัยที่ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มการจัดการทรัพยากร ผู้วิจัยได้แก่ น.ส.นูรไอณี มิงสะ น.ส.พัชชานาถ กฤตานันทน์ น.ส.ศุภิสรา สุจริต อ.ที่ปรึกษาหลัก : รศ.ดร.ปรมิตา พันธุ์วงศ์ หัวข้อวิจัย การประเมินการกักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลนพื้นที่เกาะ: กรณีศึกษา เกาะจัมและเกาะยาวใหญ่

กลุ่มการจัดการสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยได้แก่ น.ส.ปภัสสร ยอดจันดา น.ส.ปัทมาพร เฟื่องทิพย์ น.ส.ชยุตรา แซ่โง้ว อ.ที่ปรึกษาหลัก : ผศ.ดร.จิรทยา เริ่มมนตรี และ อ.ที่ปรึกษาร่วม : ผศ.ดร.นวพร กาญจนศิรานนท์ หัวข้อวิจัย การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับสัมผัสสารเบนซีนในควันธูปต่อผู้ที่ปฏิบัติงานภายในศาลเจ้า

กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้วิจัยได้แก่ น.ส.ณรัตน์ โนรี นายประกาศิต เพียรประเสริฐ อ.ที่ปรึกษาหลัก : ศ.ดร.เบญจภรณ์ ประภักดี อ.ที่ปรึกษาร่วม : ผศ.ดร.อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย และ ผศ.ดร.วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์ หัวข้อวิจัย ผลของแบคทีเรียส่งเสริมการเติบโตพืชต่อการเติบโตและสะสมโลหะหนักของดาวเรืองที่ปลูกในดินจากบ่อฝังกลบขยะชุมชน

กลุ่มเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยได้แก่ น.ส.จุฑามาศ เหมวรรณานุกูล น.ส.ซัลวาตี ยูโซะ น.ส.ฐิติมา สุวรรณวงศ์ อ.ที่ปรึกษาหลัก : ผศ.ดร.เพียงใจ พีระเกียรติขจร หัวข้อวิจัย การพัฒนาอนุภาคนาโนคาร์บอนไนไตรด์เพื่อลดคาร์บอนไดออกไซด์ในปฏิกิริยาเร่งด้วยแสง


งาน “MU GRAD Open House for SDGs: Exploring Learning Beyond Degree”

7 พฤษภาคม 2568 หลักสูตรบัณฑิตศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำหลักสูตรภายในงาน “MU GRAD Open House for SDGs: Exploring Learning Beyond Degree” ณ ลานตึกกลม และห้องบรรยาย L04 คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท


การประยุกต์ใช้ Generative AI เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน

7 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 – 12.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร ขำโสภา รองคณบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ "การประยุกต์ใช้ Generative AI เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน" โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาจินต์ ไทยพิสุทธิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ "การประยุกต์ใช้ Generative AI เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน" จัดขึ้นโดยหน่วยทรัพยากรบุคคล งานบริหารทั่วไป เพื่อให้บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีความรู้และทักษะในการใช้งาน AI ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการแก้ไขปัญหาในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น โดยการอบรมออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ วันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2568 และ วันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ENVI Mahidol นำเสนอผลงานด้าน Carbon Neutrality ในงาน “ESG Xchange 2025: ESG for Climate Actions International Summit”

7 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอผลงานในหัวข้อ “Thailand’s Education Sector Toward Carbon Neutrality” ของ Session 1: Carbon Neutrality Campus Session ภายในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ESG Xchange 2025: ESG for Climate Actions International Summit” จัดขึ้นโดย World Green Organisation (WGO) โดยมีเนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ESG (Environment, Social, และ Governance) ความเป็นกลางทางคาร์บอน และความยั่งยืน ณ Hall 5G, Hong Kong Convention and Exhibition Centre (HKCEC) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ โดยได้รับเกียรติจาก Professor Xu Tian จาก Shanghai Jiao Tong University สาธารณรัฐประชาชนจีน นำเสนอในหัวข้อ “Policy Approaches to Achieving Net-Zero” และ คุณพร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา จากบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) นำเสนอในหัวข้อ "Corporate Pathways to Carbon Neutrality in Thai Industry” ภายใน Session เดียวกัน

หลักจากนั้นเป็นการอภิปรายแบบคณะ (Panel Discussion) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง จากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก จากครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Sustainable University Network: SUN Thailand) และ Professor Xu Tian จาก Shanghai Jiao Tong University สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ร่วมอภิปรายในหัวข้อ "Carbon Neutrality in Southeast Asian Campuses" โดยมี ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

การเข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Carbon Neutrality Campus” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและการพัฒนา Joint Unit ด้าน “Carbon Neutrality Campus” ร่วมกับมหาวิทยาลัย Shanghai Jiao Tong และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอน การจัดสัมมนาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์


ENVI Mahidol เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ESG Xchange 2025: ESG for Climate Actions International Summit”

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน และ ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี ร่วมกับผู้แทนจาก สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Sustainable University Network: SUN Thailand) เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ESG Xchange 2025: ESG for Climate Actions International Summit” จัดขึ้นโดย World Green Organisation (WGO) ระหว่างวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2568 ณ Hall 5G, Hong Kong Convention and Exhibition Centre (HKCEC) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

การประชุมดังกล่าวมีเนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน ESG (Environment, Social, และ Governance) ความเป็นกลางทางคาร์บอน และความยั่งยืน โดยมีผู้นำองค์กร นักวิชาการ ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานจากทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติเข้าร่วมการประชุมเพื่อร่วมกันแสดงแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) ในหัวข้อที่เกี่ยวของกับ ESG การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน การซื้อขายคาร์บอนเครดิต และกลยุทธ์ความเป็นกลางคาร์บอนขององค์กร

ทั้งนี้ ในช่วงบ่าย คณะผู้แทนผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ Hong Kong University of Science and Technology (HKUST) เกี่ยวกับ “Sustainable Smart Campus as a Living Lab” และเรียนรู้เกี่ยวกับ แผนงานด้าน Net-Zero ของมหาวิทยาลัย


กิจกรรมนำเสนอโครงงานกลุ่ม - เสวนา Panel Discussion Power Green Camp 2025 ปลุกพลังเยาวชนไทย สู่ภารกิจลดคาร์บอน ‘The Decarb Mission – ดีค้าบ’”

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการจัดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 20 (The Power Green Camp 2025) ภายใต้แนวคิด “The Decarb Mission – ดีค้าบ" เพื่อมุ่งส่งเสริมเยาวชนนำองค์ความรู้ไปประยุกต์แก้ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจถึงความสำคัญของการลดการปล่อยคาร์บอนและผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกต่อสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการลดคาร์บอนที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่งจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนในอนาคต ผ่านการทำกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติรวมถึงการทัศนศึกษาในพื้นที่จริง รวมถึงการทัศนศึกษาในพื้นที่จริง อาทิ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จังหวัดนครราชสีมา และ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 26 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2568 โดยมีนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 จากโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯ
โดยในวันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม 2568 ได้มีการจัดกิจกรรมนำเสนอโครงงานกลุ่ม และประกาศทีมที่ได้รับรางวัลการนำเสนอโครงงาน ซึ่งในปีนี้ทีมที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
- รางวัลชนะเลิศได้แก่ทีม “สีเขียว” GREEN NEVERDIE จ๊อกจ๊อก จากผลงานในชื่อ “C-Sorb Spray” สเปรย์ใช้ฉีดพ่นบนพื้นผิวผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อดักจับคาร์บอน
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม “สีแดง” Dang Diwaaa จากผลงานชื่อ “Algae Fiber” เสื้อทำจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม “สีชมพู” Pink Power Rangerจากผลงานชื่อ “Decarb for the World” นวัตกรรมการทำคอนกรีตจาก Biochar เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- รางวัลชมเชยทีมที่ 1 ได้แก่ ทีม “สีเหลือง” อย่างสีเหลือง จากผลงานชื่อ “Super CYA” นวัตกรรมที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการใช้ Cyanobacteria (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน)
- รางวัลชมเชยทีมที่ 2 ทีม ได้แก่ “สีม่วง” เริศ เริศ เริศ โดดเด่น เด้งดึ๋ง จากผลงานชื่อ “CCUS (Carbon Capture Utilization Storage) ดึ๋ง ดึ๋ง” นวัตกรรมดักจับก๊าซคาร์บอนเพื่อการลดปริมาณคาร์บอนในอากาศและการนำคาร์บอนกลับมาใช้ใหม่เพื่อการผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน โดยทีม “สีม่วง” ยังได้รับรางวัลขวัญใจมหาชนอีกด้วย
ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย และ อาจารย์ ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการนำเสนอโครงงานกลุ่มสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) คุณอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้ก่อตั้งโครงการ Power Green Camp คุณจิรพรรณ อัญญะโพธิ์ สื่อมวลชนอาวุโสจาก SD Perspectives และ คุณพีรพล เหมศิริรัตน์ ผู้ก่อตั้งเพจ Environman ทั้งนี้โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล และ คุณรัฐพล สุคันธี กล่าวแสดงยินดีกับผู้เข้าร่วมโครงการฯ
โดยผู้สนใจสามารถรับชมการนำเสนอโครงงานแบบย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/share/v/1A5Go4bosd/?mibextid=wwXIfr
นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดกิจกรรมเสวนา Panel Discussion: Decarbonization in Thailand เสวนาในภาพรวมของประเทศ โดย
● คุณสินนท์ ว่องกุศลกิจ CEO บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) - มุมมอง Decarbonization ในภาคเอกชน
● ผศ.ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล - มุมมอง Decarbonization ในภาค Academic
● นายศิวัช แก้วเจริญ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม -มุมมอง Decarbonization ในนโยบายภาครัฐ
และ
Panel Discussion: Power Green Camp 20 : The Decarb Mission” โดย
● คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
● รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ ประธานโครงการค่ายเพาเวอร์กรีน ครั้งที่ 20
● ตัวแทนศิษย์เก่าเยาวชนค่ายเพาเวอร์กรีน (PWG Alumni)


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.