• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
พิธีปิดโครงการร่วม "MU-NU Spring Training Program 2025"

21 มีนาคม 2568 เวลา 14.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Environmental Science, Nagasaki University จัดพิธีปิดโครงการร่วม "MU-NU Spring Training Program 2025" ณ ห้องประชุมนาทตันฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภายในพิธี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ ในฐานะประธานโครงการฯ เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักศึกษา และกล่าวปิดโครงการ ก่อนที่ Associate Professor Dr. Tomoki NAKAYAMA อาจารย์ผู้ดูแลนักศึกษาจาก Nagasaki University จะกล่าวแสดงความยินดี โดยมีนักศึกษาร่วมแบ่งปันความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการฯ

โครงการ "MU-NU Spring Training Program" เป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาไทย-ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีนักศึกษาและคณาจารย์จากทั้งสองมหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในสาขาต่างๆ โดยใช้หลักการ Learning by Doing ทำให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ทั้งภายในและนอกห้องเรียน ตลอดจนเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ


ENVI Mahidol ผนึกกำลัง สผ. ลงนาม MoU เพื่อการอนุรักษ์นกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างอย่างยืนในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก - ออสเตรเลีย

🌱 20 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ชญานันท์ ภักดีจิตต์ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การอนุรักษ์นกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืนในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก - ออสเตรเลีย ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์) กับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ และคุณ กตัญชลี ธรรมกุล ผู้อำนวยการกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คำปรึกษาด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าว พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา ในการบริหารจัดการพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพ เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูนกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัย ตลอดจนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเชี่ยวชาญ และข้อมูลเพื่อยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่เครือข่ายนกน้ำอพยพ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ประสานงานหลักในการพัฒนาความร่วมมือนี้


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาองค์กร Mahidol CORE VALUES ในหัวข้อ "ข่าวสารวิทยาศาสตร์กับประเด็นทางสิ่งแวดล้อม"

18 มีนาคม 2568 เวลา 11.00 น. อาจารย์ ดร.แทนไท ประเสริฐกุล บรรยายพิเศษเรื่อง "ข่าวสารวิทยาศาสตร์กับประเด็นทางสิ่งแวดล้อม" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาองค์กร Mahidol CORE VALUES


รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ให้เกียรติบรรยายพิเศษ เรื่อง "นโยบายด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล"

19 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 09.00-09.30 น. คณะกรรมการประจำส่วนงาน พร้อมด้วยบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง "นโยบายด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา โดยมีเนื้อหลักประกอบด้วยกลไกที่ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning ได้แก่ Graduates with Desired Characteristics of Mahidol University and the World Class Talents อาทิ เกณฑ์มาตราฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Professional Standards Framework: MUPSF) โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ด้านการศึกษา (Mahidol University Academic Development Program : MU-ADP) โครงการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) การสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต (Center for Life-Integrated Learning) และ MU Extension (MUx) โดยเป็นคอร์สเรียนออนไลน์ของทางมหิดลที่เปิดให้คนเข้าเรียนฟรี โดยมีรายวิชาจากหลากหลายคณะ ตลอดจนโครงการริเริ่มเชิงกลยุทธ์ เช่น การสร้างและพัฒนาหลักสูตร รวมถึง Non-degree เพื่อเพิ่มสมรรถนะตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตเพื่อเพิ่มโอกาสทางอาชีพ ตลอดจนการยกระดับการเรียนการสอนด้วย MUPSF และการพัฒนา Ecosystem เพื่อส่งเสริม Authentic Learning ร่วมกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
การบรรยายพิเศษดังกล่าวจัดขึ้นก่อนเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการประจำส่วนงาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 3/2568 ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ WEBEX MEETING เพื่อเป็นการสื่อสารนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลให้บุคลากรทราบโดยตรง

ENVI Mahidol ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University of Bremen เยอรมนี หารือความร่วมมือทางวิชาการ พร้อมสร้าง Real-World Impact

18 มีนาคม 2568 เวลา 11.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากร ให้การต้อนรับ Professor Dr.  Anna Forster, Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสเข้าพบเพื่อหารือความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสองสถาบัน โดยในที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานวิจัยและความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน Environmental monitoring, Smart farming และเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งหารือความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยร่วมกันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระดับโลก รวมถึงหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร การฝึกงานและการลงพื้นที่ภาคสนามในการทำวิจัยร่วมกัน


ENVI Mahidol จัดอบรมหลักสูตร “ผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบ Peer-Evaluation (Train of trainer for Peer-Evaluation Laboratory Safety Auditor)” ในรูปแบบ On-site

17 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวต้อนรับและชี้แจงหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับวิทยากร (TOT) หลักสูตร “ผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบ Peer-Evaluation (Train of trainer for Peer-Evaluation Laboratory Safety Auditor)” ซึ่งหลักสูตรฯ จัดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะผู้เข้าร่วมการอบรมให้สามารถเป็นวิทยากรมืออาชีพในการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบ Peer-Evaluation โดยผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎี เครื่องมือการตรวจประเมิน และทักษะในการถ่ายทอดความรู้ผ่านประสบการณ์จริง (Experiential Learning) พร้อมฝึกทักษะการออกแบบหลักสูตรและการเป็นวิทยากรเพื่อเตรียมความพร้อมในการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการปลอดภัยในอนาคต โดยการอบรมแบ่งออกเป็นสองช่วง ประกอบด้วย การอบรมรูปแบบ Online ผ่านระบบ Zoom meeting ระหว่างวันที่ 10 ถึง 11 มีนาคม 2568 และ การอบรมเชิงปฏิบัติการ สำหรับวิทยากรและกระบวนการในรูปแบบ On-site วันที่ 17 มีนาคม 2568 ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.