• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
การประชุมรับฟังข้อคิดเห็นภายใต้โครงการจัดทำเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติตามหลักภูมินิเวศ

วันที่ 1 เมษายน 2568 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการประชุมรับฟังข้อคิดเห็นภายใต้โครงการจัดทำเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติตามหลักภูมินิเวศ โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวเปิดการประชุม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะฯ เป็นหัวหน้าโครงการ การจัดประชุมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ (4228) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


นักศึกษา ENVI Mahidol คว้ารางวัลจากการแข่งขัน MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025

30 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. - 16.00 น. นักศึกษาผู้เข้าร่วมการแข่งขัน MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025 หัวข้อ "Digital Innovation for Carbon Neutrality Society" จำนวน 14 ทีม ได้ทำการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อลดการปลดปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ก่อนที่คณะกรรมการจะประกาศทีมที่ได้รับรางวัลการนำเสนอฯ ซึ่ง 4 ทีมที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันในครั้งนี้ ได้แก่ (รายชื่อไม่ได้เรียงตามลำดับคะแนน)

- Carbonyx จากผลงานแพลตฟอร์มเพื่อติดตามการปลดปล่อยคาร์บอนในระดับองค์กร
- CARbon Killer จากผลงาน Carbon Sphere 360 ระบบดักจับคาร์บอนบนยานพาหนะด้วย Chemical Absorption แบบหมุนเวียนร่วมกับสถานีกักเก็บคาร์บอน
- Envi-Green-CT จากผลงานGREEN W A Y โปรแกรมเพื่อการตำนวนและเปรียบเทียบการปล่อยคาร์บอนเพื่อการดินทางที่ปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด และแอปพลิเคชันตรวจวัดและแจ้งเตือนคุณภาพอากาศแบบรีลไทม์
- EcoHack Team x Moodeng จากผลงาน Traffic Flow Optimization and CO2 Emission Minimization Using SUMO-RL
เพื่อการปรับปรุงและจัดการสัญญาณไฟจราจรเพื่อให้การจราจรดีขึ้น และลดการปล่อย CO2 ของรถยนต์

ทั้งนี้ โดยคุณสว่างพงษ์ หมวดเพชร เจ้าของธุรกิจ Komomi Co., Ltd. ได้มอบรางวัลพิเศษ (Special Prize) รางวัลละ 5,000 บาท จำนวน 2 ราวัล ให้แก่ EcoHack Team x Moodeng และ ทีมนี้ Anti AI

ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการนำเสนอโครงการฯ ร่วมกับ คุณสว่างพงษ์ หมวดเพชร เจ้าของธุรกิจ Komomi Co., Ltd. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ ศรีสุภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนพล นรเสฏฐ์ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ อาจารย์ ดร.ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์ จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์


การแข่งขัน MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025 หัวข้อ "Digital Innovation for Carbon Neutrality Society"

30 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีเปิดการแข่งขัน MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025 หัวข้อ "Digital Innovation for Carbon Neutrality Society" โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาจินต์ ไทยพิสุทธิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กล่าวรายงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ อาจารย์ ดร. พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กล่าวต้อนรับผู้เข้าแข่งขัน ก่อนที่ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนกลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพ และพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดการแข่งขัน ณ ห้อง Grand Auditorium ชั้น 4 อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการ MUICT & ENVI Mahidol Hackathon 2025: Digital Innovation for Carbon Neutrality Society" จัดขึ้นพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มาผสมผสานสร้างเป็นนวัตกรรมเพื่อลดการปลดปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างทั้งสองคณะอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันโดยแต่ละทีมประกอบด้วยนักศึกษาจาก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนทั้งสิ้น 14 ทีม


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมหลักสูตรการประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับเมือง

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรวันที่ 27 มีนาคม 2568 นายไทเทเนียม พุทธสม รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตรการประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับเมือง ณ ห้องประชุมปิยวสาง อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติร่วมกล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ

การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประเมินภัยคุกคาม การประเมินความเสี่ยง และการปรับตัวบนแผนและโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ภายใต้แนวคิด "การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย" และแผนการปรับตัวระดับประเทศ (National Adaptation Plan: NAP) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจากทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 342 คน


[ภาพกิจกรรม] โครงการวิเคราะห์ต้นทุนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพกิจกรรม "โครงการวิเคราะห์ต้นทุนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล"  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” วันที่ 26 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ นาท ตัณฑวิรุฬห์


วันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ ครบรอบ 39 ปี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา ยุติธรรม รองคณบดีฝ่ายนโยบาย แผนและคลัง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ ครบรอบ 39 ปี ณ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล


  1. อบรม"ความรู้พื้นฐาน AI : Artificial Intelligence กับการศึกษามิติใหม่แห่งการเรียนรู้"
  2. งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป เข้าหารือข้อมูลด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สำหรับกิจกรรม "Mahidol Gen S"
  3. ENVI Mahidol จัดโครงการอบรมหลักสูตร “การประเมินตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำสำหรับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำ”
  4. พิธีปิดโครงการร่วม "MU-NU Spring Training Program 2025"
  5. ENVI Mahidol ผนึกกำลัง สผ. ลงนาม MoU เพื่อการอนุรักษ์นกน้ำอพยพและถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างอย่างยืนในเส้นทางการบินเอเชียตะวันออก - ออสเตรเลีย
  6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาองค์กร Mahidol CORE VALUES ในหัวข้อ "ข่าวสารวิทยาศาสตร์กับประเด็นทางสิ่งแวดล้อม"
© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.