• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Master of Science in Sustainable Enterprise Management

สาขาวิชาการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน (หลักสูตรสหวิทยาการ)

ปรัชญา หลักสูตร

“หลักสูตรมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการพัฒนาความยั่งยืน ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประโยชน์จากการดำเนินการความยั่งยืนขององค์กร ด้วยการจัดกระบวนการสอนการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ตามแนวทางสหวิทยาการ เพื่อให้สามารถ

บูรณาการองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีธรรมาภิบาล และบรรษัทภิบาล

โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีทักษะการจัดการความรู้และการจัดการตนเองเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ความยั่งยืนที่เหมาะสมกับบริบทความหลากหลายของพหุปัจจัยเชิงสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจ เป็นที่ยอมรับตามกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนระดับชาติและสากล”

Image

แนวคิด ของหลักสูตร

ผู้ประกอบการ นักวิเคราะห์/ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนขององค์กร

ความรู้

  • พื้นฐานเรื่อง ESG การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์และการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล การจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน การจัดการสิ่งแวดล้อมทั่วไป การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกำกับดูแลกิจการ สิทธิมนุษยชนและการดำเนินธุรกิจ
  • การจัดการหัวข้อจูงใจงานที่ยั่งยืน การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแบบ Double Materiality การตั้งเป้าหมายและการปรับรุงเพื่อ ขีดประสิทธิภาพการทำงาน
  • การสร้างมูลค่าให้องค์กรและสังคมโดยรวม โดยเน้นย้ำการผสานเป้าหมายขององค์กรและสังคมเข้าด้วยกัน
  • การเข้าใจกรอบการทำงานการจัดการเชิงกลยุทธ์ ที่ช่วยให้องค์การเข้าใจกระบวนการและกิจกรรรมที่สร้างมูลค่าในผลิตภัณฑ์และบริการ
  • การวัดและการจัดการผลกระทบการคำนวณผลการตอบแทนทางการเงินและผลตอบแทนที่ไม่ได้อยู่ในรูปการเงินที่สนับสนุนโครงการ ESG
  • การพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน การจัดกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน
  • ความสามารถในการใช้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยสมัครใจและมาตรฐานต่างๆ อาทิ เช่น GRI การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของดาวโจนส์

ทักษะ

  • ทักษะการบริหารโครงการ
  • ทักษะการทำงานร่วมกัน
  • การเสนอความคิดเห็นและความมุ่งมั่น
  • ทักษะการวิเคราะห์
  • การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • ออกแบบเนื้อหาและการเล่าเรื่องที่ให้เห็นภาพชัดเจน
  • ทักษะความเข้าใจภาษาอังกฤษ
  • การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • ทักษะในการบริหารบุคคลที่ทำงานด้วยยาก

ที่มา: คุณสมบัติ 'คนทำงานด้านความยั่งยืน' จากมุมมองนายจ้าง, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

วิธีคิด (Mindset)

  • วิธีคิดที่เห็นภาพองค์รวม และเห็นความสำคัญของการเป็นสมาชิกของโลก
  • วิธีคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • มุ่งสู่การเติบโต โดยส่งเสริมให้เกิดความต้องการเรียนรู้และการนำไปปรับใช้
  • เปลี่ยนผ่านจากระบบการทำงานคนเดียวไปสู่การทำงานเป็นทีม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้แล้ว นักศึกษาจะสามารถ

  • ประเมินองค์กรด้วยหลักการ กระบวนการ และเครื่องมือด้านความยั่งยืนที่เหมาะสมกับบริบทองค์กรได้อย่างเป็นระบบ ภายใต้แรงขับเคลื่อนสำคัญจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ทั้งระดับพื้นที่ ภูมิภาค ประเทศ และนานาชาติ
  • บริหารจัดการโครงการและกำหนดแผนการขับเคลื่อนองค์กรที่ยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ภายใต้แนวคิดสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ จริยธรรม และบริบทของสังคม
  • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูลในการสื่อสารข้อมูลความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ประโยชน์จากการดำเนินการความยั่งยืนขององค์กรได้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนระดับชาติและสากล
  • สร้างผลงานวิจัยด้านการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนที่เป็นที่ยอมรับอย่างมีจริยธรรมและจรรยาบรรณการวิจัย
  • ทำงานร่วมกับผู้อื่นให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลักการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจริยธรรม

พัฒนาศักยภาพของตนเองทางวิชาการและความเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา

  • นักวิเคราะห์ด้านความยั่งยืน
  • เจ้าหน้าที่พัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการบริหารจัดการความยั่งยืนขององค์กร
  • นักวิชาการด้านการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรอิสระ
  • เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมในสาขาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • เจ้าหน้าที่พัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม
  • ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรทางการศึกษา

สมัครเรียน

ประกาศรับสมัครและกำหนดการ https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/

โครงสร้างหลักสูตร

แผน 2 แบบวิชาชีพ

(ศึกษารายวิชาและการค้นคว้าอิสระ)

หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต 

หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

รวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

วัน-เวลาในการดําเนินการเรียนการสอน

จัดการเรียนการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ (ภาคพิเศษ) เวลา 9.00-16.00 น.

ช่วงเวลาภาคการศึกษา

  • ภาคการศึกษาต้น เดือน สิงหาคม – ธันวาคม
  • ภาคการศึกษาปลาย เดือน มกราคม – พฤษภาคม
  • ภาคฤดูร้อน เดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม
Image

รายวิชาในหลักสูตร

1.หมวดวิชาบังคับ จำนวน 18 หน่วยกิต

*สวยย

๖๐๑

ทฤษฎีความยั่งยืน

๓ (๓-๐-๖)

ENST

601

Principle of Sustainability 

 

*สวยย

๖๐๒

นวัตกรรมที่ยั่งยืน และ ภาวะการเป็นผู้ประกอบการ

๓ (๓-๐-๖)

ENST

602

Sustainable Innovation and Entrepreneurship

 

*สวยย

๖๐๓

การจัดทำรายงานและการประเมินความยั่งยืน

๓ (๓-๐-๖)

ENST

603

Sustainability Reporting and Assessment

 

*สวยย

๖๐๔

การวิจัยและสัมมนาด้านความยั่งยืน

๓ (๓-๐-๖)

ENST

604

Sustainability Research and Seminar

 

*สวยย

๖๐๕

การประเมินและบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

๓ (๓-๐-๖)

ENST

605

Greenhouse gas assessment and management

 

*สวยย

๖๐๖

ความยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร

๓ (๓-๐-๖)

ENST

606

Strategic Sustainability for Enterprise

 

2. หมวดวิชาเลือก
3. การค้นคว้าอิสระ แผน ๒ แบบวิชาชีพ

แผนการศึกษา

 

ชั้นปี

แผน ๒ แบบวิชาชีพ

(ศึกษารายวิชาและการค้นคว้าอิสระ)  

ภาคเรียนที่  ๑

 

สวยย ๖๐๑ ทฤษฎีความยั่งยืน  ๓(๓-๐-๖)

สวยย ๖๐๒ นวัตกรรมที่ยั่งยืน และ ภาวะการเป็นผู้ประกอบการ  ๓(๓-๐-๖)

สวยย ๖๐๓ การจัดทำรายงานและการประเมินความยั่งยืน  ๓(๓-๐-๖)

สวยย ๖๐๔ การวิจัยและสัมมนาด้านความยั่งยืน  ๓(๓-๐-๖)

รวม  ๑๒  หน่วยกิต

 

ภาคเรียนที่  ๒

 

สวยย ๖๐๕ การประเมินและบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก  ๓(๓-๐-๖)

สวยย ๖๐๖ ความยั่งยืนเชิงกลยุทธ์ระดับองค์กร  ๓(๓-๐-๖)

วิชาเลือก    ๖ หน่วยกิต

รวม   ๑๒ หน่วยกิต

 

ภาคฤดูร้อน

วิชาเลือก ๖ หน่วยกิต

ภาคเรียนที่  ๑

สอบประมวลความรู้

สวทม ๖๙๖ การค้นคว้าอิสระ                    ๓(๐-๙-๐)

รวม   ๓ หน่วยกิต

 

ภาคเรียนที่  ๒

สวทม ๖๙๖ การค้นคว้าอิสระ                    ๓(๐-๙-๐)

รวม   ๓ หน่วยกิต


กิจกรรมประกอบการดำเนินการ การค้นคว้าอิสระ ในแต่ละภาคการศึกษา
  • ภาคการศึกษาที่ ๑ กำหนดหัวข้อและพัฒนาโครงร่าง และสอบโครงร่างการค้นคว้าอิสระ
  • ภาคการศึกษาที่ ๒ ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและจัดทำรายงาน และสอบการค้นคว้าอิสระ

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

แบบฟอร์มคณะ https://en.mahidol.ac.th/curriculum/info
แบบฟอร์มบัณฑิตวิทยาลัย https://graduate.mahidol.ac.th/thai/current-students/?p=download-forms

จริยธรรมการวิจัย

จริยธรรมการวิจัยในคน https://sp.mahidol.ac.th/th/ethics-human/index.html
จริยธรรมการวิจัยในสัตว์ https://sp.mahidol.ac.th/th/ethics-animal/index.html
แบบฟอร์มประเมินตนเอง เข้าข่ายการวิจัยในคนหรือไม่ https://sp.mahidol.ac.th/th/ethics-human/index.html

เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ

Image
กำหนดการ/สมัครสอบภาษาอังกฤษ

Contact

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน
ประธานกรรมการ
โทรศัพท์ 0-2441-5000 ต่อ 1222
โทรสาร 0-2441-9507
E-mail: allansriratana.tab@mahidol.ac.th, allanstabucanon@gmail.com
นางวันทนีย์ โพธิ์กลาง
สถานที่ติดต่อห้อง 1109 (ห้องงานบริการการศึกษ)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0-2441-5000 ต่อ 1107, 1109 โทรสาร 0-2441-9507
E-mail: wantanee.pho@mahidol.ac.th
© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.