• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

NBT CONNEXT  16 กุมภาพันธ์ 2567

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  กำชับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละลอง PM2.5 อย่างเร่งด่วน ตามนโยบายที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบไว้และให้ความสำคัญในระดับสูง เพราะในขณะนี้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ถือเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน โดยให้เน้นการลงพื้นที่และสั่งการให้มีการลดการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะฝุ่นพิษ ขอให้มีการออกมาตรการตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ให้เห็นเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา (2567) นายอนุทิน ได้เป็นประธานประชุมมอบนโยบายและติดตามการปฏิบัติราชการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ที่ อ.เมือง จ.เชียงราย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทยประจำจังหวัดเชียงราย ผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น (อปท.) และนายอำเภอทั้ง 18 อำเภอ ของจังหวัดเชียงรายเข้าร่วม ซึ่งนายอนุทินได้กำชับในที่ประชุมให้ผู้บริหารส่วนราชการในพื้นที่ให้ความสำคัญกับปัญหาฝุ่นละอองข้ามแดน เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วนและกำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมากขึ้นทุกปี 


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  15 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://en.tempo.co/read/1831091/singapore-scientists-innovate-with-artificial-worm-gut-to-combat-plastic-pollution

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ (NTU Singapore) ได้คิดค้นระบบ ‘ไส้หนอน’ เทียม ที่สามารถทำลายพลาสติกได้ เพื่อจัดการกับปัญหาระดับโลกจากมลภาวะพลาสติก โดยใช้แบคทีเรียจากลำไส้ของหนอนเพื่อเร่งการย่อยสลายพลาสติก

เดิมทีแล้ว หนอน Zophobas atratus หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘หนอนนกยักษ์’ มีความสามารถในการย่อยพลาสติกจากแบคทีเรียในลำไส้ถูกจำกัดด้วยอัตราการบริโภคที่ช้า โดยวิธีการของ NTU หลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านี้คือการแยกแบคทีเรียที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การใช้งานจริงของแบคทีเรียเหล่านี้ในการย่อยสลายพลาสติกออกจากลำไส้ของหนอน ซึ่งจะทำไม่ให้จำเป็นต้องอาศัยตัวหนอนเลย

รองศาสตราจารย์ Cao Bin จาก School of Civil and Environmental Engineering (CEE) และนักวิจัยหลักที่ Singapore Centre for Environmental Life Sciences Engineering (SCELSE) อธิบายว่า ตลอดช่วงชีวิตของหนอนตัวนึงสามารถย่อยพลาสติกได้น้อยมาก ดังนั้น การมุ่งเน้นไปที่แบคทีเรียที่ช่วยย่อยพลาสติกภายในลำไส้ของหนอน และสร้างสภาพแวดล้อมเทียมให้กับพวกมัน จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายพลาสติกได้

ทีมวิจัยได้การให้อาหารหนอนด้วยพลาสติกประเภทต่าง ๆ ได้แก่โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) โพรพิลีน (PP) และโพลีสไตรีน (PS) จากนั้นจึงเพาะเลี้ยงไมโครไบโอมในลำไส้ที่สกัดออกมาในสภาพแวดล้อมนี้ได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ย่อยสลายพลาสติก เป็นผลให้แบคทีเรียเหล่านี้จำนวนเพิ่มขึ้น


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  14 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1112864)

ทะเล คือแหล่งอาหารและทรัพยากรที่สำคัญกับทุกชีวิตบนโลก แต่ตอนนี้ทะเลกำลังเป็นแหล่งของขยะซึ่งขยะที่พบมากที่สุดคือ “ขยะพลาสติก“

ภาพสมาชิกความร่วมมือ  Seecleaners เมื่อปีก่อน ที่กำลังเก็บขยะจากท้องทะเลในเมื่อชายทะเล Viviers ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ซึ่งปัญหาขยะในท้องทะเลไม่เพียงแต่เป็นเรื่องใหญ่ในต่างประเทศเท่านั้น สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เสนอรายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ เมื่อพ.ศ. 2564 ที่ระบุว่า ขยะที่ตกค้างออกจากระบบนิเวศชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 443,987 กิโลกรัม ขยะที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ขวดเครื่องดื่มพลาสติก ถุงพลาสติก เศษโฟม ขวดเครื่องดื่มแก้ว นอกจากนี้ พบขยะที่ไหลผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยามากที่สุด จำนวนเฉลี่ย 52.65 ล้านชิ้น/ปี อย่างไรก็ตาม ความพยายามจัดการปัญหาขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกก็มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ระบุถึงโครงการงานบำรุงถนนทางหลวงชนบทสาย อย.2039 แยก ทล.33 – บ้านไก่จ้น อำเภอภาชี ท่าเรือ และหนองแค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการสร้างถนน พร้อมติดตามพฤติกรรม และสมรรถนะทางวิศวกรรมในการพัฒนาผิวทางชนิดดังกล่าว ปัจจุบันโครงการฯ ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ โดยปรับปรุงโครงสร้างพื้นทาง และไหล่ทางเดิมด้วยวิธี Cement Stabilized In – Place พร้อมปูผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตผสมขยะพลาสติก โดยใช้ขยะพลาสติก 5 ตัน ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรช่วง กม. ที่ 10+100 – 15+200 ระยะทางรวม 5.1 กิโลเมตรใช้งบประมาณ 21 ล้านบาทเพื่อช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของประชาชนให้สะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สำหรับการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีตผสมขยะพลาสติกกับผิวทางแอสฟัลท์ติกคอนกรีตในสภาพแวดล้อม และสภาพการจราจรเดียวกัน เพื่อวิจัย และพัฒนางาน ซึ่งเป็นนวัตกรรมผิวถนนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  13 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://www.dailynews.co.th/news/3163860/

รัฐบาลจีนเผยแพร่เอกสารแนวปฏิบัติ ที่ระบุถึงเป้าหมายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อเร่งการจัดทำระบบรีไซเคิลขยะ และเสริมสร้างพื้นฐานด้วนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคาร์บอนต่ำของประเทศ เพื่อบรรลุการพัฒนาซึ่งมีคุณภาพสูง

แนวปฏิบัติข้างต้นเน้นย้ำถึงการปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีหลัก 3Rs ได้แก่ ลดการใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ผ่านการจัดการที่แม่นยำ การรีไซเคิล และใช้ประโยชน์จากขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ แนวปฏิบัติระบุถึงความจำเป็นของการพัฒนาอุตสาหกรรมรีไซเคิลทรัพยากรที่ครอบคลุมในทุกด้านของการผลิตและวิถีชีวิต และการบรรลุเป้าหมายผลผลิตอุตสาหกรรมรายปีที่ 5 ล้านล้านหยวน(ราว 25.21 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2568 และจีนจะจัดตั้งระบบรีไซเคิลขยะที่ครอบคลุมมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบระเบียบในประเทศ ภายในปี 2573


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  12 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://thaipublica.org/2024/02/bangchak-low-emission-support-scheme-pr-12022024/

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผลักดันแนวคิด “ลดขยะต้นทางกับบางจากฯ” อย่างเป็นรูปธรรม หนุนมูลนิธิใบไม้ปันสุข และพันธมิตร รับใบประกาศเกียรติคุณ “โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซ เรือนกระจก” หรือ โครงการ LESS: Low Emission Support Scheme จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นผลจากการรณรงค์ให้ผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ร่วมลดขยะจากต้นทาง ผ่าน 2 โครงการสำคัญ ได้แก่ รักษ์ ปัน สุข จูเนียร์ และโครงการเก็บกล่องสร้างบ้านเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สามารถรวบรวม ของเสียเกือบ 10 ตัน ให้กลับเข้าสู่ระบบด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นางกลอยตา ณ ถลาง รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการมูลนิธิใบไม้ปันสุข กล่าวว่า บางจากฯ มีความมุ่งมั่นในการรณรงค์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจตระหนักถึงวิกฤตภูมิอากาศและการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ผ่านหลากหลายภารกิจเพื่อร่วม “ลดขยะต้นทางกับบางจากฯ” โดยการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เช่น บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจีซี (SCGC) และ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้มีแนวปฏิบัติและเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม การได้รับใบประกาศเกียรติคุณนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ สามารถประเมินการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการจัดเก็บวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ นำไปหมุนเวียนใช้ประโยชน์อื่น ๆ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ ด้วย Circular Economy ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมผ่านหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่

โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme) หรือ LESS โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก มีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการดำเนินกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยกย่องผู้ทำความดีโดยการมอบใบประกาศเกียรติคุณ (Letter of Recognition: LOR)


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  11 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1112254)

เวที CAL Forum รุ่น 3 สู่เป้าหมายลดโลกร้อนพิชิต “Net Zero” สานต่อภารกิจรุ่นสู่รุ่น เร่งกระบวนการปรับแก้กฎหมายช่วยโลกให้ดีขึ้น ลดสัดส่วนฟอสซิล เพิ่มพลังงานสะอาด เดินหน้านโยบายสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ราคาที่เป็นธรรม ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม “องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (TGO)..โดยสถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA) จัดเวทีผู้นำ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 3” หรือ CAL Forum #3 ครั้งที่ 1 จำนวน 69 ท่าน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา สื่อมวลชน และองค์กรอิสระร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ประสบการณ์ โดยเฉพาะการเปลี่ยแปลบงสภาพภูมิอากาศ การกีดกันทางการค้า สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รักษาระดับราคา และดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

           นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า โครงการ CAL Forum เป็นการรวมตัวของผู้นำภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน รวมถึงเอ็นจีโอ ต่าง ๆ ที่มีบริบทและ DNA เดียวกันถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรทั่วโลก “ที่ผ่านมาได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์มาแล้ว 2 รุ่น โดยรุ่นที่ 1 มีผู้เข้าร่วม 49 ท่าน รุ่นที่ 2 มีจำนวน 63 ท่าน ส่วนรุ่นที่ 3 นี้มีจำนวน 69 ท่าน” อย่างไรก็ตาม จากการที่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลก หากย้อนกลับไปเวที่ COP 26 ได้เริ่มมีความจริงจังในเรื่องนี้ที่เข้มข้นขึ้น และประเทศไทยก็ได้ปรับเป้าหมาย Carbon Neutrality หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2550 และ เป้าหมาย Net zero emissions หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2065 เพื่อสอดรับกับทั่วโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยจะต้องดำเนินการหลายอย่างทั้งในเรื่องของกฎหมาย กระบวนการ ที่ภาครัฐต้องปรับปรุง กระทรวงพลังงานได้ปรับแผนพลังงานชาติ ซึ่งสิ่งสำคัญคือเรื่องของกฎหมายเมื่อขยับเข้ามาเวที COP 27 มีวิวัฒนาการต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงการ CAL Forum#2 มีเรื่องของการเงินการลงทุน และการค้าข้ามพรมแดนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น พอมารุ่นที่ 3 มีการจัดเวที COP 28 ที่ต้องสร้างประสิทธิภาพการใช้พลังานในรูปแบบพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเป็น 3 เท่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นผลลัพธ์ของการประชุมทั่วโลก


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  10 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://www.dailynews.co.th/news/3156643/

รถยนต์ไฟฟ้า กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ ความประหยัด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่เบื้องหลังภาพลักษณ์ที่ดูดี ยังมีปัญหาใหญ่ซ่อนอยู่ นั่นคือ “ขยะพิษจากแบตเตอรี่”

ปริมาณขยะพิษจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 จะมีขยะแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน มากถึง 1.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเป็น 7.8 ล้านตันภายในปี 2030

รถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ แต่ปัญหาขยะพิษจากแบตเตอรี่ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน อนาคตของรถยนต์ไฟฟ้าจะยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขึ้นอยู่กับการจัดการปัญหาขยะพิษอย่างมีประสิทธิภาพ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  9 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.kaohoon.com/news/654198

NEX เดินหน้ายานยนต์ไฟฟ้า EV Bus ไร้คนขับต้นแบบเทคโนโลยี 5G คันแรกของประเทศไทย สื่อสารร่วมกับโมบายแอปพลิเคชัน ยกระดับการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่กับการสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน

นายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX ได้เปิดเผยว่า รถบัสไฟฟ้าไร้คนขับต้นแบบ เทคโนโลยี 5G คันแรกของไทย ที่ยกระดับการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะเปิดให้บริการในพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สื่อสารร่วมกับโมบายแอปพลิเคชันด้วยเทคโนโลยี 5G ระหว่างรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับกับประชาชน และนักท่องเที่ยวในเขตโบราณสถานเป็นการทดลองใช้งานรถบัสไฟฟ้าไร้คนขับต้นแบบที่วิ่งร่วมกับรถทั่วไปในท้องถนนจริง โดยนำเอาระบบสื่อสารภายใต้โครงข่าย 5G มาใช้งาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด นับเป็นนวัตกรรมการขนส่งไร้คนขับด้วยศักยภาพ 5G ที่สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

นางสาวศุภมาศ อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เริ่มเป็นที่นิยม และถูกพูดถึงบ่อยครั้งในปัจจุบัน เมื่อมีการเผชิญปัญหาโลกร้อน มลพิษทางอากาศ PM 2.5 และทิศทางพลังงานโลกที่มุ่งไปสู่การผลิตและใช้พลังงานที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบสุทธิเป็นศูนย์ จึงทำให้รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีข้อดี คือ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษทางเสียง ประสิทธิภาพสูงด้านอัตราเร่ง และประหยัดค่าใช้จ่าย

สำหรับความร่วมมือพัฒนาโครงการฯ ในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่สามารถพัฒนาให้ทัดเทียมต่างประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และความร่วมมือในการผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่เติบโตสูงในอนาคต


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.