• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชี้ “โลกเดือด” ทำให้เครื่องบินมีโอกาสตกหลุมอากาศมากขึ้น

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  23 พฤษภาคม 2567

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์  (https://www.thairath.co.th/news/society/2787602)

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชี้ “ภาวะโลกเดือด” ทำให้เครื่องบินมีโอกาสตก “หลุมอากาศ” เพิ่มมากขึ้น พร้อมอธิบายปัจจัยที่ส่งผลกระทบ..วันที่ 22 พฤษภาคม 2567 มีรายงานว่า ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi..Kotchawat ระบุว่า โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไร?..1. เครื่องบินที่บินในบริเวณซีกโลกตะวันตก หรือบินจากโลกตะวันตกมายังซีกโลกตะวันออก มีโอกาสที่จะตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้น ทำให้ลมกรด หรือ Jet..stream..ซึ่งเป็นลมที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการบินแปรปรวน 2. Jet Streams หรือลมกรดเป็นกระแสลมที่ไหลเวียนในระดับความสูง ประมาณ 7.0 ถึง 16 กม. เหนือจากพื้นโลก มีความเร็วสูงมากถึง 200-400 กม./ชม. เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกของโลก ดังนั้นถ้าเครื่องบินบินจากซีกตะวันตกมาทางซีกตะวันออก ก็ควรวางแผนการบินให้บินตามกระแสของ Jet stream..จะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้น ช่วยประหยัดพลังงาน และลดเวลาในการบินสั้นลง แต่หากจะบินจากตะวันออกมาทางตะวันตก ก็ควรบินหลบ Jet stream ให้มากที่สุด เพราะจะสวนกระแสลม ทำให้ใช้เวลาการบินมากขึ้น..อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ทำให้ลมกรด หรือ Jet stream ลดความเร็วลงในบางช่วง มีงานวิจัยระบุว่าอุณหภูมิในบรรยากาศที่สูงขึ้น ในแถบทวีปอาร์กติกซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก กำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet..stream)..ซึ่งเป็นลมที่มีกำลังแรงพัดอยู่บนชั้นบรรยากาศในบางช่วงมีความเร็วลดลง ทำให้เกิดอากาศแปรปรวน ในขณะที่อากาศปลอดโปร่ง (Clear..Air Turbulance) มากขึ้น (ทั้งที่ไม่ได้บินผ่านเมฆหรือพายุ)..เนื่องจากช่วงที่ความเร็วของลมกรดลดลง จะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศในช่วงบริเวณดังกล่าวบางลง ซึ่งทำให้เกิด “หลุมอากาศ” ขึ้น ในขณะที่เครื่องบินได้บินผ่านหลุมอากาศ แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกะทันหัน ทำให้ตัวเครื่องตกลงไปในหลุมอากาศ ซึ่งจะตกมากหรือน้อย อยู่ที่ขนาดของความหนาแน่นของมวลอากาศ นักวิจัยชี้ว่าอัตราการเกิดหลุมอากาศ จะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในปี 2050 และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้นถึง 40% ทั้งนี้ ดร.สนธิ คชวัฒน์ ยังโพสต์อีกว่า เครื่องบินอาจตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น แม้บินอยู่ในท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง..สัมพันธ์กับการที่โลกเข้าสู่ภาวะ “โลกเดือด“..1. โลกร้อนทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงขึ้น 1.2 ถึง 1.4 องศา จากยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ยิ่งระดับความสูงจากผิวโลกขึ้นไปเกือบ 20 กม. อุณหภูมิบรรยากาศยิ่งร้อนขึ้น จึงไปทำให้ลมระดับบน ที่ระยะความสูงระหว่าง 7.0 ถึง 16 กม. จากผิวโลกที่เรียกว่าลมกรด หรือ Jet stream ซึ่งมีความเร็วเฉลี่ย 200 ถึง 400 กม. ต่อ ชม. และเคลื่อนที่จากซีกโลกตะวันตกไปยังตะวันออก มีความเร็วลดลงในบางช่วงบางขณะ..ซึ่งจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศบริเวณนั้นลดลงด้วย ทำให้เกิดความแปรปรวนของอากาศ ทั้งที่อากาศช่วงนั้นปลอดโปร่ง ไม่มีพายุหรือเมฆฝนใดๆ เรียกว่า Clear Air Turbulance หรือ CAT หากมีเครื่องบินบินผ่าน แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกะทันหัน และเครื่องจะตกลงไปในมวลอากาศที่บางลงซึ่งเรียกว่า การตกหลุมอากาศ (Air Pocket) 2. โลกร้อนขึ้น อุณหภูมิในบรรยากาศโลกสูงขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะเครื่องบินตกหลุมอากาศมากขึ้น ทั้งๆ ที่เครื่องบินบินอยู่ในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งได้ ซึ่งเรื่องนี้เกิดบ่อยขึ้น นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า ตั้งแต่ปี 1979 ถึง ปี 2020 มีเครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้น จากก่อนหน้านั้นถึงร้อยละ 55 และมีความสัมพันธ์ โดยตรงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นโลก สู่บรรยากาศทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ดำเนินการใดๆ ในปี 2050 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเรียกว่า “สภาวะโลกเดือด” อาจจะทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงมากขึ้นถึง 40% จากปี 2023 แม้ในขณะที่บินผ่านในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งก็ตาม


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.