• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  8 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : The Bangkok insight (https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/general/1269409/)

ปลัด ทส. สั่งเข้มทุกหน่วย แก้ปัญหา “PM2.5”..ย้ำพุงระดับสีแดงติดกัน 3 วัน ยกระดับ 6 มาตรการคุมเผา นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการเพื่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ ครั้งที่ 1/2567 ร่วมกับ ผู้ทรงคุณวุฒิ และอนุกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการฯ ณ ห้องประชุม 202 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผ่านระบบ Video..Conference เน้นย้ำการบูรณาการร่วมกัน ทำงานเชิงรุกโดยให้ทุกหน่วยงานพิจารณากำหนดมาตรการให้มีความเข้มข้นและเป็นรูปธรรมบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเร่งเดินหน้าคืนอากาศสะอาดให้ประชาชน 6 มาตรการแก้ฝุ่นที่ประชุมฯ ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ปี 2567 ใน 6 ประเด็น คือ

สถานการณ์การเกิดไฟในพื้นที่ ( ป้าอนุรักษ์ 10 ป๋าสงวนแห่งชาติ และผลการควบคุม อาทิ ประสิทธิภาพการควบคุมการเกิดไฟในป่า การควบคุมผู้ข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ การจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า การปฏิบัติ การดับไฟป่า ข้อมูล ข้อเสนอพื้นที่ 11 ป่าอนุรักษ์ 10 ป้าสงวนแห่งชาติ เพื่อให้เอกชนร่วมลงทุนในการแก้ไขไฟในป่า ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)การกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตการเผาและการบริหารจัดการการเผาในพื้นที่เกษตรผลการกำกับควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตร ทั้งในพื้นที่ปลูกข้าว ข้าวโพดลี้ยงสัตว์ พื้นที่ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ แผนลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่สูง และการเชื่อมโยงเงื่อนไขการไม่เผากับสิทธิประโยชน์ของภาครัฐ ละพื้นที่ปลูกอ้อย การบริหรจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การจัดตั้งศูนย์รับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและการสนับสนุนรถบรรทุกขนส่งมาตรการเพิ่มเงื่อนไขเรื่องการเผาในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรในการนำเข้า – ส่งออกสินค้า แนวทางการดำเนินการกรณีการใช้มาตรการด้านการค้าและมาตรการด้านภาษี เพื่อควบคุมภาคเอกชนของประเทศไทยที่ไปทำธุรกิจหรือนำเข้าสินค้าเกษตรที่มีการเผาจากประเทศเพื่อนบ้านการบังคับใช้กฎหมายภาคการจราจรและผู้กระทำผิดลักลอบการเผาในที่โล่งการประกาศหลักเกณฑ์ในการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินยกกระดับมาตรการ ฝุ่นพุ่งสีแดงติดกัน 3 วัน นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณามาตรการฉุกเฉินยกระดับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงสถานการณ์วิกฤต ประจำปี 2567 เมื่อปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่มากกว่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย (AQ)..อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) ต่อเนื่อง 3 วัน โดยยกระดับความเข้มข้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  7 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://www.thaipbs.or.th/now/content/740

“เห็ดเผาะสิรินธร” หรือ 𝘴𝘵𝘳𝘢𝘦𝘶𝘴 𝘴𝘪𝘳𝘪𝘯𝘥𝘩𝘰𝘳𝘯𝘪𝘢𝘦 Watling, C. Phosri, N. Suwannasai, A.W. Wilson & M.P. Martin จะมีขนาดใหญ่กว่า “เห็ดเผาะ” ทั่วไปประมาณ 2-3 เท่า ขนาดของดอกเห็ดบางดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 5.5 เซนติเมตร เมื่อเจริญเติบโตผิวภายนอกจะแตกออกเป็นแฉกรูปดาว เห็ดเผาะสิรินธรเป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาซึ่งมีความสัมพันธ์กับไม้ในวงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) สามารถนำมาบริโภคได้และเริ่มมีชาวบ้านเก็บหามาจำหน่าย โดยเรียกว่า “เห็ดเผาะผา” พบครั้งแรกของโลกในไทย และพบได้เพียง 2 แห่งเท่านั้น

ทั้งนี้ “เห็ดเผาะสิรินธร” ถูกค้นพบกระจายอยู่บนพื้นดินในป่าภูเขียว ซึ่งเป็นกลุ่มในป่าธรรมชาติร่วมกับไม้วงศ์ยางในระหว่างการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดขนาดใหญ่ในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน ปี 2555จากผลการศึกษาและตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ทางพันธุกรรม ฯ ทำให้ยืนยันได้ว่าเห็ดชนิดนี้เป็นเห็ดชนิดใหม่ ซึ่งพบครั้งแรกของโลกในประเทศไทย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้กับเห็ดชนิดใหม่นี้ว่า “เห็ดเผาะสิรินธร”

ในปัจจุบันพบ “เห็ดเผาะสิรินธร” ได้เพียง 2 แห่งในประเทศไทย คือ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และ ป่าชุมชนใกล้โรงเรียนประชานุเคราะห์ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  6 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8083106

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 ที่ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดทส. พร้อมด้วย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) ตลอดจนคณะกรรมการฯ และผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมประชุม

พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งนี้มีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องร่วมกันพิจารณาถึง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะทะเลระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาขยะทะเลแบบบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเร่งพิจารณา (ร่าง) แผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2568) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการดำเนินอนุรักษ์และคุ้มครองพะยูนแหล่งที่อยู่อาศัยพะยูนในประเทศไทยให้มีความต่อเนื่อง ซึ่งต้องถือว่า การดำเนินแผนงานดังกล่าวในระยะที่ 1 นั้น ผลออกมาเป็นที่น่ายินดีเพราะสามารถออกกฎกระทรวงประกาศให้แหล่งอาศัยของพะยูนใน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เป็นพื้นที่คุ้มครอง ซึ่งถือว่ามีสำคัญต่อการจัดการเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะการจัดการแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งอาศัยต่อจำนวนพะยูน ซึ่งขอให้เรารักษาบ้านของพะยูน ในทุกมิติของการอนุรักษ์พะยูน เพื่อการรักษาความสมบูรณ์ของท้องทะเลไทย

ด้าน ดร. ปิ่นสักก์ กล่าวว่า ผลการประชุม ครั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแผนในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจำนวน 4 แผน ประกอบด้วย นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2570 แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะทะเลระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) แผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2568) และแผนอนุรักษ์โลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลา (พ.ศ. 2567 – 2576) พร้อมทั้งเห็นชอบการกำหนดแนวเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในพื้นที่ ต.เกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ และเห็นชอบแผนที่ข้อมูลวิชาการของระบบกลุ่มหาดประเทศไทย ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2567) เพิ่มเติมอีกจำนวน 21 กลุ่มหาด รวมปัจจุบัน 44 กลุ่มหาด ถือว่าเป็นการยกระดับการคุ้มครองสัตว์ทะเลหายากและการจัดการปัญหาขยะทะเลที่สำคัญของประเทศไทย


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากระรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  5 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : News.ch7 (https://news.ch7.com/detail/703566)

เศรษฐศาสตร์ตลาดสด วันนี้จะมาเล่าถึงปัญหา “ขยะ” ที่อยู่คู่ประเทศไทยมานานหลายปี..จากตัวเลขสถิติที่รายงานในเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ประเทศไทยมีขยะเกิดขึ้นจากการอุปโภคบริโภคและการผลิตทั่วประเทศรวม 25.7 ล้านตันในปี 2565 (เพิ่มขึ้นจาก 24.98 ล้านตันในปีก่อนหน้า) และมีปริมาณขยะตกค้าง 9.91 ล้านตัน โดยมีการนำกลับมาใช้ใหม่เพียง 8.8 ล้านตัน และมีการกำจัดอย่างถูกวิธี 9.8 ล้านตัน นั่นหมายความว่ามีปริมาณขยะที่ไม่ได้ถูกกำจัดอย่างถูกวิธีหรือตกค้างในปี 2565 รวม 17.01 ล้านตัน..ในปี 2565 กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่สร้างขยะใหม่ในแต่ละวันมากที่สุด คือ 1.289 หมื่นตันต่อวัน!! หรือก็คือ 4.705 ล้านตันต่อปี (18.3% ของขยะทั้งประเทศ) มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ 0.384 หมื่นตันต่อวัน ขยะที่เหลือมีการกำจัดอย่างถูกวิธี..ถัดมา คือ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีการสร้างขยะใหม่วันละ 3.12 พันตันต่อวัน มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ 290 ตันต่อวัน และด้วยศักยภาพที่จำกัดในการกำจัดขยะ ทำให้มีขยะเพียง 300 ตันถูกกำจัดอย่างถูกวิธี และในแต่ละวัน มีขยะที่ถูกกำจัดอย่างไม่เหมาะสมอยู่ถึง 2.53 พันตันต่อวัน โดยมีขยะตกค้างสะสมอยู่ 1.93 ล้านตันในปี 2565 อันดับที่สาม คือ จังหวัดชลบุรี มีการสร้างขยะใหม่วันละ 3.107 พันตันต่อวัน มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์เพียง 250 ตันต่อวัน แต่มีการกำจัดขยะ 2.37 พันตัน อย่างถูกวิธี ขยะที่ถูกกำจัดอย่างไม่เหมาะสมมีอยู่ 470 ตันต่อวัน ทำให้เหลือขยะตกค้าง 4.706 แสนตันในปี 2565..ขยะที่ตกค้างเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของขยะที่ลอยมาติดป่าชายเลนในบริเวณอ่าวไทย อย่างเช่น ที่บ้านขุนสมุทรจีน ณ ตำบลแหลมฟ้าผ่า ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่าวกอไก่ ที่มีน้ำไหลจากแหล่งน้ำหลายแหล่งไหลเวียนทั้งปี..การทิ้งขยะในแม่น้ำ หรือการทิ้งขยะจำนวนมากจนล้นสู่แหล่งน้ำ รวมถึงการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม ทำให้ขยะเหล่านี้รั่วไหลลงสู่ทะเล และขยะพลาสติกเหล่านี้ทำให้เกิดไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ กลายเป็นมลพิษทางทะเลและส่งผลต่อระบบนิเวศน์และสิ่งมีชีวิตในน้ำ..งานวิจัยสำรวจนานาชาติหลายชิ้นมีการระบุว่าประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกที่มีขยะรั่วไหลลงทะเลมากที่สุด

จากรายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขยะที่พบในทะเลไทยมากที่สุด ได้แก่ ขวดพลาสติกเครื่องดื่ม (ร้อยละ 22.00%) ถุงพลาสติก (ร้อยละ 19.42%) ขวดเเก้ว (10.96%) ห่อ/ถุงขนม (7.97%) เศษโฟม (7.55%) กระป๋องเครื่องดื่ม (7.46%) กล่องอาหารประเภทโฟม (6.92%) หลอด (6.45%) ฝาพลาสติก (5.67%)  เชือก (5.61%) บ้านขุนสมุทรจีนที่มีลักษณะเป็นอ่าวกอไก่ ต้องเผชิญกับปัญหาขยะที่ไหลมากับแหล่งน้ำที่เข้ามาไหลเวียน ขยะจำนวนมากที่ไหลมาติดอยู่ที่หมู่บ้าน มีทั้งขวดพลาสติก ถุงพลาสติก แก้วพลาสติก กล่องนม ขวดแก้ว ถังพลาสติก ถุงขนม เศษโฟม และอื่นๆ ด้วยกระแสน้ำจากทางใต้ไหลเข้าสู่อ่าว ขยะที่ไหลมาติดที่บ้านขุนสมุทรจีน ไม่เพียงแต่เป็นขยะที่ไหลลงมากับแม่น้ำ แต่ยังมีขยะที่ไหลมาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย ปัจจุบันชาวบ้านจึงแก้ปัญหาด้วยการเก็บขยะพลาสติกที่ลอยอยู่เต็มแหล่งน้ำของหมู่บ้าน แล้วนำมาบดอัดรวมกับปูนทำแผ่นปูนอัดเพื่อทำถนนและทางเดินภายในหมู่บ้าน ซึ่งนอกจากจะเป็นการรีไซเคิลขยะพลาสติกแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายต้นทุนในการทำถนน และสร้างงานให้กับคนในพื้นที่การแก้หรือลดปัญหาขยะรั่วไหลลงทะเลสามารถทำได้ด้วยความร่วมมือของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่เพียงแต่คนในพื้นที่ชุมชนป่าชายเลน นั่นคือ เราทุกคนช่วยกันลดปริมาณขยะในแต่ละวันด้วยวิธีง่ายๆ  เช่น หันมาใช้ภาชนะบรรจุอาหาร-เครื่องดื่มของตัวเองในการซื้ออาหาร-เครื่องดื่ม หรือปฏิเสธถุงฟรีที่ร้านสะดวกซื้อและร้านข้างทางต่างๆ ใส่มาให้ และแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นต้น รวมถึงช่วยกันส่งเสริมการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี เช่น ทิ้งขยะในถังขยะ ไม่ทิ้งขยะข้างทางหรือลงแหล่งน้ำ นอกจากนี้ภาครัฐเองควรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะเหล่านี้ เพื่อลดภาระของชุมชนชายทะเล และรักษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน การควบคุมการทิ้งขยะและกำจัดขยะอย่างเหมาะสมทั่วประเทศเพื่อลดปัญหาขยะล้นและรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  4 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://news.trueid.net/detail/blWnJVBVk77m

บริษัทฯ มีความพร้อมสำหรับเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 หลังจากในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ชนะประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบที่ 1 เป็นจำนวน 88.66 เมกะวัตต์ ซึ่งการประมูลรอบใหม่นี้ตั้งเป้าหมายจะได้งานราว 100 – 150 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ COD (Commercial Operation Date) ในปี 2568

ปี 2567 เรามุ่งมั่นทำธุรกิจอย่างเต็มที่ ทั้งด้าน Wellness รับกระแสการดูแลใส่ใจสุขภาพ เพื่อสร้าง New S-Curveให้บริษัทฯ รวมทั้งเรายังเตรียมทำ M&A โรงไฟฟ้าโซลาร์ และ JV ในงานโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะชุมชน พร้อมเดินหน้าลุยธุรกิจ Private PPA และเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบที่ 2 และรอบที่ 3เพื่อสร้างรายได้ให้เติบโตอย่าง มั่นคง ควบคู่กับการให้ความสำคัญต่อ ESG อย่างที่สุด

ปัจจุบัน TSE มีกำลังการผลิตเสนอขายรวมกว่า 150 เมกะวัตต์ ซึ่งยังไม่นับรวมกับโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in Tarif (FT) ปี 2565-2573 ที่บริษัทฯ ชนะประมูล รอบที่ 1 เป็นจำนวนรวม 88.66เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทยอยลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในไตรมาส 1 นี้มา


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  3 กุมภาพันธ์ 2566

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-1492915

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า หลังจากกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานค่าฝุ่น PM 2.5 พบว่าระยะนี้มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ กทม. ปริมณฑล จึงเรียกหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ให้ฝุ่นเบาบางลงและลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

ทีมนักวิชาการจาก คพ. มีข้อเสนอว่า ปัญหาเรื่องฝุ่นในระยะเร่งด่วนสามารถแก้ปัญหาด้วยการทำฝนหลวง ดังนั้นจึงได้ประสานไปยัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ทำฝนหลวง ซึ่ง ร.อ.ธรรมนัส ได้สั่งกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเพื่อเตรียมลงมือปฏิบัติการและได้มอบหมายให้ คพ. ประสานกับกรมฝนหลวงฯ เพื่อปฏิบัติการสยบฝุ่น PM 2.5 ร่วมกัน โดย คพ. ต้องชี้เป้าให้กับฝนหลวงฯ ว่าในแต่ละวัน หรือแต่ละสัปดาห์จะมีการเคลื่อนย้ายของฝุ่นไปจังหวัดใดบ้าง เพื่อให้กรมฝนหลวงฯ ประเมินความชื้นและเมฆหรือปัจจัยอื่นที่จะทำให้การทำฝนหลวงได้สำเร็จตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ คพ. ได้รายงานให้ทราบว่าช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ว่า ชาวกทม. – ปริมณฑล จะหายใจกันโล่งขึ้น จากปริมาณฝุ่นเริ่มลดลงเนื่องจากมีลมเข้ามา แต่สถานการณ์ในสัปดาห์หน้าที่น่าเป็นห่วงคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ ดังนั้นขอให้ประชาชนเฝ้าระวังป้องกันตัว และงดเรื่องการเผาพื้นที่เกษตรกรรมด้วย


สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  2 กุมภาพันธ์ 2567

นางสาวตริตาภรณ์ สนใจ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลวันนี้ (2 ก.พ.67) ทุกพื้นที่ปรับตัวลดลงไม่พบสูงในระดับสีแดงแล้ว เนื่องจากอัตราการระบายอากาศดีขึ้น มีลมพัดแรง และอากาศเปิดช่วยลดการสะสมของฝุ่นในระดับใกล้ผิวพื้นลงได้ คาดการณ์จะดีต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์นี้ แต่ยังพบมีบางพื้นที่ยังเกินมาตรฐานในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร ริมถนนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 95 เขตวังทองหลาง ริมถนนพหลโยธิน แยก ม.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร  ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ทั้งนี้ หลังวันที่ 8 กุมภาพันธ์ต้องกลับมาเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดอีกครั้งฝุ่นละอองมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะจะเกิดความกดอากาศต่ำและลบสงบ

ส่วนพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือค่าฝุ่นยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นบางพื้นที่ทางตอนล่างยังสูงในระดับสีส้ม ส่วนภาพรวมวันนี้พบจุดความร้อน (Hotspot) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 203 จุด เกิดจากการเผาในพื้นที่ป่าและพื้นที่นาข้าว จึงจำเป็นต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลและควบคุมการเผาในพื้นที่โล่งซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของฝุ่นละออง                  

สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่มีฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ โดยสามารถติดตามตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ได้ทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Air4thai และ AirBKK


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  1 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://ngthai.com/environment/53706/world-wetlands-day-rewilding/

วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wetlands Day) และเมื่อเอ่ยถึงคำว่าพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) เราก็มักนึกถึงพื้นที่เขียวขจีอันกว้างใหญ่ และเต็มไปด้วยสัตว์ป่าน้อยใหญ่หลากหลายชนิด

อันที่จริงแล้วลักษณะของความเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ใกล้กับเรามากกว่าที่คิด และหากใครยังนึกไม่ออกให้คิดถึงพื้นที่รกๆแฉะๆ ที่ไม่ไกลจากบ้าน พื้นที่ว่างซึ่งเต็มไปด้วยต้นไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สวนสาธารณะ ไร่ นา ฯลฯ ซึ่งแม้จะไม่ได้มีขนาดใหญ่แต่ก็มีองค์ประกอบของทั้งน้ำและดิน มีทั้งหญ้า ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์อย่างแมลง สัตว์เลื้อยคลาน นก ฯลฯ

ความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำยังเป็นจุดเชื่อมต่อนิเวศทางน้ำและบกเข้าหากัน เป็นแนวเชื่อมต่อตามธรรมชาติซึ่งความเป็นพื้นที่ซึ่งกระจายตัวไปตรงนั้นตรงนี้ มันสำคัญต่อพวกพืชและสัตว์ที่จะเดินทาง ใช้ชีวิต แพร่พันธุ์กันได้ เปรียบได้กับการเป็นบ้านของสัตว์ระหว่างทาง เช่น นกอพยพซึ่งต้องเดินทางไกลมาก พวกพื้นที่เหล่านี้จึงสำคัญมาก ยิ่งอยู่ในเขตเมืองซึ่งนับวันพื้นที่เช่นนี้เหลือน้อยก็ยิ่งให้ประโยชน์กับสัตว์ในการพักอาศัย

การสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำในความหมายของการรื้อฟื้น ‘ป่าในเมือง’ จึงเป็นแนวทางที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ และแน่นอนว่าคำว่าป่าไม่ใช่การยกป่าดงดิบเขียวชอุ่มมาไว้กลางเมืองใหญ่ แต่คือการฟื้นระบบนิเวศเดิมให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง สามารถทำได้ตั้งแต่ระดับหน่วยย่อยบุคคลหรือครอบครัว อาทิ การเลือกปลูกพืชพรรณท้องถิ่นไว้ในสวนหรือระเบียงบ้าน ก็ช่วยให้ระบบนิเวศดั้งเดิมของเมืองใหญ่ค่อยๆ ปรับสมดุลกลับมาเป็นที่พำนักอาศัยให้กับสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.