• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

วิสาขบูชา ปลูกสมุนไพรให้เต็มวัด ลดโลกร้อน

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 17 พฤษภาคม 2567

ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์  (https://www.matichonweekly.com/column/article_767775)

หลายจังหวัดได้พายุฤดูร้อนพาน้ำฝนช่วยคลาย “ร้อนจัด” ลงมาให้เหลือแค่ “ร้อน” บ้าง (บางที่ก็เห็นใจบ้านเรือนเสียหายจากพายุ) และฤดูฝนกำลังมาช่วยคลายร้อนลงอีก แต่ก็ต้องเตรียมใจว่าอุณหภูมิความร้อนชื้นก็ยังอยู่ในไทยไปอีกหลายเดือนโลกที่เราอาศัยกำลังร้อนขึ้นเรื่อยๆ เพราะมนุษย์ผู้สร้างและผู้ทำให้เสื่อมในเวลาเดียวกัน หากเราไม่ย่อท้อต่อสู้กับภาวะโลกร้อนนี้ก็ยังมีหนทางอยู่เสมอ องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ให้ข้อมูลเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ คือปราการธรรมชาติที่ดีที่สุดของเราในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Biodiversity – our strongest natural defense against climate change) เนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวไว้น่าสนใจว่า กิจกรรมที่มนุษย์ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกนั้น มีปริมาณครึ่งหนึ่งถูกดูดซับโดยพื้นดินและมหาสมุทร ซึ่งมาจากระบบนิเวศและเพราะความหลากหลายทางชีวภาพเป็นตัวช่วยเหมือนแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ เท่ากับแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยธรรมชาติมนุษย์จึงจำเป็นต้องรักษาปกป้อง การจัดการ และฟื้นฟูป่าไม้ไว้ให้มากที่สุด ที่น่าทึ่ง คือ พื้นที่พรุ (ป่าพรุ) และพื้นที่ชุ่มน้ำ แม้ว่าในโลกนี้จะมีพื้นที่เช่นนี้ไม่มากเพียง 3% ของพื้นที่โลก แต่มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนไว้ถึง 2 เท่าของป่าทั้งหมด การอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุ พื้นที่ชุ่มน้ำจะช่วยเก็บคาร์บอนไม่ให้ลอยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศโลก พื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย นักวิชาการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1) พื้นที่ชุ่มน้ำทางทะเลและชายฝั่งทะเล (Marine and Coastal Wetlands) เช่น แนวปะการังชายฝั่ง หาดทราย แหล่งน้ำกร่อย หาดโคลน หาดเลน ป่าชายเลน ฯลฯ 2) พื้นที่ชุ่มน้ำภายในแผ่นดินใหญ่ (Inland Wetlands) เช่น ทะเลสาบ หนอง บึง ห้วย ป่าพรุ ฯลฯ 3) พื้นที่ชุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (Human-made Wetlands) เช่น อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่เกษตรกรรมซึ่งมีน้ำท่วมขัง ฯลฯข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติยังบอกอีกว่า พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าชายเลนและหญ้าทะเลมีความสามารถในการดักจับและกักเก็บคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศได้ในอัตราที่สูงกว่าป่าบนบกถึง 4 เท่า แต่น่าห่วงใยมากในช่วงอากาศร้อนจัดที่ผ่านอุณหภูมิน้ำทะเลร้อนสุดสุด จนหญ้าทะเลในไทยตายไปจำนวนมากอย่างไรก็ตาม ป่าชายเลนและหญ้าทะเลที่ยังเหลืออยู่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสู้กับสภาพภูมิอากาศแปรปรวนในวันวิสาขบูชาที่จะถึงนี้ นอกจากมีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังนับเป็น “วันต้นไม้แห่งชาติ” ด้วย ถ้าปีนี้เราช่วยกันคิกออฟ มาช่วยกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปลูกเพิ่มพืชพันธุ์ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและในน้ำ จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการดูดซับก๊าซคาร์บอนและลดความรุนแรงของความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ มูลนิธิสุขภาพไทยเคยจัดทำข้อมูลสมุนไพรในพระไตรปิฎก โดยสำรวจและวิเคราะห์ต้นไม้หรือสมุนไพรที่กล่าวไว้ ในพระไตรปิฎกของไทย 45 เล่ม นับพืชได้ 321 ชนิด ต่อมาได้มีการทบทวนพบว่ามีการเรียกชื่อต่างกันแต่เป็นพืชชนิดเดียวกัน เช่น บัว จึงนับจำนวนใหม่ได้ 311 ชนิด ในขณะที่เอกสารอินเดียในตำรายาอายุรเวทที่เกี่ยวพันกับพืชในพระไตรปิฎกนับได้ถึง 435 รายการ แม้จำนวนนับไม่เท่ากันซึ่งอาจมาจากการแปลและระบุชื่อพืชต่างกันก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพียงให้ช่วยปลูกสมุนไพรในวัดกันมากๆ น่าจะดีตัวอย่างแนะนำให้ปลูกเริ่มจากอักษร ก. ต้นกรรณิการ์ (Nyctanthes arbor-tristis L.) และนอกจากกระบากแล้ว ชวนปลูกสมุนไพรที่กล่าวถึงทุกชนิดที่ออกผลแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้า พืชเหล่านี้ใช้ประโยชน์ทั้งอาหารและยาสมุนไพรลองนึกเล่นๆ (ทำจริงๆ) ข้อมูลเข้าถึงทางเว็บไซต์ (วันที่ 7 พฤษภาคม 2567) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (http://binfo.onab.go.th/Temple/Dashboard.aspx)..วัดที่มีพระสงฆ์ทั่วประเทศ จำนวน 43,848 วัดหากตั้งเป้าหมายว่าทุกวัดควรมีพื้นที่สีเขียวหรือปลูกต้นไม้ ปลูกสมุนไพรให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่วัด เช่น วัดมีขนาด 10 ไร่ ก็ต้องมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 3 ไร่ มากกว่านี้ยิ่งดี และเน้นความหลากหลายทางชีวภาพด้วยสมุนไพรในพระไตรปิฎกมี 300 กว่าชนิด ปลูกให้ได้อย่างน้อย 150 ชนิดยิ่งดีวัดใดมีพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติ หนอง บึง ห้วย หรือพื้นที่ชุ่มน้ำสร้างเอง อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ บ่อน้ำ ก็ให้พืชขึ้นตามธรรมชาติ อาจดูรกๆ แต่คือเครื่องดูดก๊าซคาร์บอนช่วยลดโลกร้อนที่ดีวิสาขบูชาปีนี้ เวียนเทียนด้วยต้นไม้ ถวายสมุนไพรให้เต็มวัด และจะเป็นเด็กวัดอาสาช่วยลงแรงปลูกรดน้ำให้ต้นไม้งอกงามให้ความร่มเย็นทางใจและลดโลกร้อนก็อนุโมทนาสาธุ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.