• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เรียบเรียงข้อมูลและงานวิจัยระดับโลก ชี้ ความหลากหลายทางชีวภาพไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เชื่อมโยงคุณภาพชีวิต

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  28 พฤษภาคม 2567

ที่มา : Thaipr.net  (https://www.thaipr.net/general/3476260)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันการถูกคุกคามและการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แทบไม่น่าเชื่อโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลเปิดเผยข้อมูลช่วงพ.ศ. 2513-2561 ชนิดพันธุ์ในกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง ลดลงกว่าร้อยละ 68 ความหลากหลายทางชีวภาพในโลกจึงกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยง สอดคล้องกับรายงาน Global Risks Report 2024 ที่ระบุว่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการล่มสลายของระบบนิเวศเป็นความเสี่ยงของโลกในอันดับต้น ๆ ร่วมกับสภาพภูมิอากาศสุดขั้วและการเปลี่ยนแปลงระบบของโลกในระดับวิกฤต ซึ่งกำลังส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีและความอยู่รอดของมนุษย์เรา ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เกษตรและเมือง และกิจกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะมีการขุดเจาะน้ำมัน การทำเหมืองแร่ การตัดไม้ทำลายป่า และกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งบนบกและในทะเล อาจส่งผลกระทบต่อความชุกชุม การกระจาย และการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด และแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษ การใช้ประโยชน์มากเกินไป และการรุกรานจากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น ล้วนขับเคลื่อนให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจึงเรียกว่าเป็นยุคเสี่ยงของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และไม่ใช่เรื่องของธรรมชาติเท่านั้น คุณธนิรัตน์ ธนวัฒน์ นักวิจัย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ได้เรียบเรียงข้อมูลข้อมูลและงานวิจัยโดยหยิบยกประเด็นใกล้ตัวเรามาฝากคือ การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ดีต่อสุขภาพของมนุษย์

มนุษย์เราล้วนพึ่งพาอาหารจากพืชและสัตว์ทั้งบนบกและในทะเล แล้วทราบกันหรือไม่ว่า การบริโภคอาหารในแต่ละวันให้มีความหลากหลายทางชีวภาพหรือหลากหลายสายพันธุ์จะช่วยให้เราได้รับสารอาหารรอง (Micronutrients) อย่างเพียงพอ ซึ่งมีความสำคัญพอ ๆ กับการบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ ผักผลไม้ที่มีสายพันธุ์ต่างกันแม้เพียงน้อยนิดจะมีสารอาหารรองที่แตกต่างกัน หรือแม้แต่ผักผลไม้ในสายพันธุ์เดียวกัน แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ก็จะมีสารอาหารรองแตกต่างกัน ดังนั้นพื้นที่ทางธรรมชาติเป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าป่าไม้ แม่น้ำ คูคลอง บึง พื้นที่สีเขียวในเมือง ได้เอื้อประโยชน์ด้านต่างๆ พื้นที่ทางธรรมชาติยังมีคุณค่าทางจิตใจของคนเมือง ทำให้สภาพแวดล้อมน่าอยู่ ช่วยผ่อนคลายจากความเครียด สร้างเสริมสุขภาพกายที่ดีจากมีพื้นที่เปิดโล่งที่มีอากาศถ่ายเท เป็นพื้นที่ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมนันทนาการรูปแบบต่าง ๆ และช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีของเด็กรุ่นใหม่ แต่น่าเสียดายว่าพื้นที่ทางธรรมชาติหลายแห่งถูกเปลี่ยนไปเพราะมองว่าเป็น “พื้นที่รกร้าง” ไม่ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ หารู้ไม่ว่า พื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่รองรับและซับน้ำ ช่วยลดผลกระทบจากน้ำท่วมและภัยแล้งในหลายเมืองทั่วโลก ขณะเดียวกันก็ให้ความชุ่มชื้นและความร่มรื่นช่วยลดอุณหภูมิของเมืองจากปรากฎการณ์เกาะความร้อนเมือง (Urban heat island : UHI) ส่วนพื้นที่ธรรมชาติขนาดใหญ่ ได้ช่วยในด้านน้ำสะอาด อากาศสะอาด ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชและเชื้อโรค และควบคุมสภาพภูมิอากาศหลายเมืองทั่วโลกจึงเริ่มคิดและออกแบบเมืองคู่กับการรักษาพื้นที่ทางธรรมชาติ เพราะตระหนักถึงความจำเป็นในการคุ้มครองแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ล้วนช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่ดี เพราะเชื่อว่าพื้นที่ทางธรรมชาติ เมืองน่าอยู่ สู่สุขภาพดี


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.