• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

NBT CONNEXT  22 ตุลาคม 2567

โครงการชลประทานนครปฐม สำนักงานชลประทานที่ 13 ร่วมกับสำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำท่าจีน บริเวณสะพานรวมเมฆ ต.นครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จำนวน 6 เครื่อง  เพื่อช่วยให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดผลกระทบปัญหาน้ำท่วมขังทั้งนี้ ปัจจุบันมีการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำในเขตจังหวัดนครปฐมแล้วทั้งสิ้น 38 เครื่อง เร่งระบายน้ำด้านปลายน้ำในแม่น้ำท่าจีน ออกสู่อ่าวไทยให้เร็วที่สุด


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  21 ตุลาคม 2567

ที่มา: https://www.matichon.co.th/publicize/news_4847004

การเคหะแห่งชาติร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จัดโครงการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการพลังงาน หัวข้อ “วิกฤตโลกร้อนและการปรับตัวสู่ทศวรรษพลังงานสีเขียวระดับองค์กรและผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ” โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และประธานคณะกรรมการด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการอบรม

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีภารกิจหลักในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จัดสร้างที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐาน พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้นโยบายของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มอบหมายให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการตามนโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร ด้านที่ 5 เรื่องการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความมั่นคงของครอบครัว เน้นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการหยุดทำร้ายธรรมชาติ และส่งเสริมการใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้พลังงาน จัดหาพลังงานทดแทนเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษาวิจัยสนับสนุนการดำเนินงาน ตระหนักและให้ความสำคัญในการประหยัดพลังงาน การลดใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเชื้อเพลิง วัสดุสำนักงานต่าง ๆ รวมถึงช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในสำนักงานและก่อสร้างที่อยู่อาศัยอีกด้วย

สำหรับโครงการอบรมให้ความรู้ด้านบริหารจัดการพลังงานครั้งนี้ มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของการใช้พลังงานที่เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการนำไปใช้ ตลอดจนการบริหารจัดการพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในด้านที่เกี่ยวข้องกับการลดใช้พลังงาน เสริมสร้างภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพลังงาน ซึ่งเป็นโจทย์ท้าทายที่สำคัญสำหรับทุก ๆ ภาคส่วนจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านพลังงาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมถึงลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอื่น ๆ สร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพลังงาน ในภาวะที่มีผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่ได้รับผลกระทบทั้งในระดับครัวเรือนระดับประเทศไปจนระดับโลกอีกด้วย


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  20 ตุลาคม 2567

ที่มา Posttoda(https://www.posttoday.com/international-news/714652)

        ศูนย์วิจัยกสิกร วิเคราะห์ทิศทางจากนโยบายสิ่งแวดล้อมจาก 2 ผู้สมัคร ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ว่าข้อดีข้อเสียจากทั้ง 2 มีผลต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมของโลก รวมถึงผลกระทบที่อาจจะส่งผลต่อประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังใกล้เข้ามา ทั่วโลกกำลังจับตานโยบายของ ผู้ลงสมัครประธานาธิบดีของ 2 พรรค ได้แก่ 1.รองประธานาธิบดี Kamala..Harris จากพรรค เดโมแครต และ 2. อดีตประธานาธิบดี Donald..Trump จากพรรคริพับลิกัน

เปรียบเทียบนโยบายด้านภูมิอากาศของผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะมาถึงจะกำหนดทิศทางการลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net..zero..ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่แน่นอนตามนโยบายของผู้ลงสมัคร โดยมาตรการสำคัญที่อาจกระทบการลงทุนเพื่อลด GHG..ของสหรัฐฯ ได้แก่ การแก้ไขมาตรการอุดหนุนตาม Inflation Reduction Act (IRA) ในขณะที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอาจลุกลามไปยังแร่สำคัญที่จีนเป็นเจ้าของอุปทานในตลาดโลก

กฎหมาย Inflation Reduction Act (IRA) นโยบายที่เป็นที่พูดถึงของ 2 ผู้ลงสมัครคือ มาตรการ IRA..ที่สนับสนุนการลงทุนเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และลด GHG เช่น การลงทุนแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยนโยบายของ Trump มีแนวโน้มแก้ไขระเบียบการให้เงินสนับสนุนตามกฎหมาย IRA..และกฎระเบียบเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทิศทางการลงทุนเทคโนโลยีลด GHG ในอนาคต ในขณะที่ Harris มุ่งมั่นที่จะสานต่อมาตรการ IRA การลงทุนด้านสภาพภูมิอากาศในสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นหลังมาตรการ IRA..โดยการลงทุนด้านภูมิอากาศในสหรัฐฯ ก่อนที่มาตรการ IRA..จะมีผลบังคับใช้ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไตรมาสละ 7% ขณะที่หลังจากที่มาตรการ IRA..มีผลบังคับใช้อัตราการเติบโตเฉลี่ยของการลงทุนเร่งตัวสูงขึ้นเป็น 9% (รูปที่ 1) โดยเป็นการลงทุนที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นหลังมาตรการ IRA..ได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและการผลิตแบตเตอรี่ ที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมาตรการให้เครดิตภาษี 

ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้เป็นผลมาจาก IRA ทั้งหมด แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจาก 14% ในปี 2014 เป็น 26% ในปี 2023 โดยมีแนวโน้มเร่งตัวตั้งแต่มาตรการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจาก แสงอาทิตย์สมัยประธานาธิบดี Obama (2009....2017)..อย่างไรก็ดีการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ยังคงมาจากก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น (รูปที่ 3) การแก้ไขมาตรการ IRA..อาจจะส่งผลต่อการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่มากกว่าการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นที่นิยมมากกว่า ดังนั้น หาก Trump ชนะการเลือกตั้งที่จะมาถึง การลงทุนในเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่อาจชะลอตัวลงจากการปรับเกณฑ์อุดหนุนของ IRA ขณะที่การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนอาจไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากแนวโน้มการลงทุนปัจจุบันที่มุ่งเน้นไปที่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติมากกว่า มาตรการกีดกันการค้าจะขยายวงกว้างไปยังแร่สำคัญที่ใช้ในเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจก  ในสมัย Trump..เป็นประธานาธิบดี สินค้าที่ขึ้นภาษีในช่วงสงครามการค้ากับจีน เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สิ่งทอ เป็นต้น ขณะที่ในปัจจุบันมาตรการกีดกันการค้าได้ขยายวงกว้างไปสู่สินค้าเทคโนโลยีเพื่อลด GHG เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า แผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ แร่สำคัญต่าง ๆ เป็นต้น โดยแนวโน้มนโยบายการค้าของผู้ลงสมัครทั้ง 2 ท่านจะยังคงกีดกันการค้าจากจีนและมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีลด GHG โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นแร่ธาตุสำคัญที่นำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ ได้แก่ Graphite Nickel Cobalt และ Lithium ในอนาคตแร่ Lithium จะเป็นจุดศูนย์กลางสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ แร่ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่นำไปผลิตแบตเตอรี่คือแร่ Lithium ซึ่งสหรัฐฯ ยังไม่มีการเก็บภาษีแร่ที่ใช้ผลิตอย่าง Lithium oxide และ Lithium carbonate โดยในปี 2023 สหรัฐฯ มีการนำเข้าแร่ Lithium จำนวน 3,400 ตันคิดเป็น 85% ของอุปทานในสหรัฐฯ และมากกว่า 90% นำเข้ามาจากทวีปอเมริกาใต้ 


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 ตุลาคม 2567

ที่มา https://tna.mcot.net/politics-1434647

รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญกับผลกระทบต่อภาวะอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มที่ปรากฏขึ้น การเตรียมการรองรับ สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด ถึงอยากให้ช่วยกันหามาตรการและแนวทางให้ฝุ่น PM 2.5 ลดลงอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาการลักลอบฝังกลบกากของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมามีโรงงานหรือว่าธุรกิจบางอย่างที่มีปัญหาตรงนี้อยู่ ทำให้เกิดมลพิษ จนทำให้ประชาชนได้รับความกระทบความเสียหาย

รวมทั้งการแก้ไขปัญหา อุทกภัย น้ำเน่าเสีย ขยะมูลฝอย ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายหลังการเกิดอุทกภัย โดยยกตัวอย่างจากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย หลังเกิดอุทกภัยพบว่ามีของเสีย ไม่ว่าจะเป็นน้ำเน่าเสีย ขยะจำนวนมาก และการอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต้องพิจารณาอย่างรอบคอบภายใต้พื้นฐานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์


NBT CONNEXT  18 ตุลาคม 2567

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีกลุ่มคนไร้บ้านจำนวนหนึ่งรวมตัวกันอยู่บริเวณด้านหน้าคอนโดแห่งหนึ่ง ย่านจตุจักร กรุงเทพฯ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาทิ ดื่มสุรา และทิ้งเศษอาหาร ว่า ตนได้สั่งการไปยังศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน(ศรส.) กระทรวง พม. ส่งหน่วยปฏิบัติการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 67 หน่วยปฏิบัติการของ ศรส. โดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับเทศกิจเขตพญาไท กทม. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณดังกล่าว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อเวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่ไม่พบกลุ่มคนไร้บ้านบริเวณหน้าคอนโดตามที่ได้รับแจ้ง และทราบว่ากลุ่มคนไร้บ้านกลุ่มนี้จะมารวมตัวกันในช่วงเย็นจนถึงช่วงค่ำ จึงได้นัดกันเดินทางไปตรวจสอบอีกครั้งในเวลา 19.00 น.  

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า บริเวณใกล้กันนั้นพบคนไร้บ้าน จำนวน 2 คน เป็นชายอายุ 68 ปี และชายอายุ 32 ปี ซึ่งอาศัยหลับนอนในที่สาธารณะ มีอาชีพเก็บของเก่า และสะสมของจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ ศรส. จึงได้เข้าพูดคุยเพื่อให้เข้ารับการคุ้มครองดูแลในหน่วยงานของกระทรวง พม. ซึ่งชายคนไร้บ้านทั้ง 2 ราย ยินดีเข้ารับการคุ้มครองดูแล และได้ช่วยเหลือในเบื้องต้น ด้วยการพาไปทำบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมวางแผนการช่วยเหลือต่างๆ และ จะติดตามหาญาติและครอบครัวต่อไป  

และในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ ศรส. โดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับเทศกิจเขตพญาไท กทม. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบหน้าคอนโดดังกล่าวอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่พบกลุ่มคนไร้บ้าน จึงเดินสำรวจบริเวณใกล้เคียง พบเพียงกลุ่มคนขายของเก่าที่นอนเฝ้าร้านค้า ซึ่งให้ข้อมูลว่ากลุ่มคนไร้บ้านจะมาเป็นประจำ แต่วันนี้ยังไม่มา ทั้งนี้ เทศกิจเขตพญาไทได้วางแผนลงพื้นที่กวดขันอย่างเข้มงวดบริเวณดังกล่าวและใกล้เคียง ตั้งแต่เวลา 06.00 - 23.00 น. เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน  อีกทั้ง เจ้าหน้าที่ ศรส. ได้วางแผนลงพื้นที่ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางซื่อ เพื่อจัดระเบียบบุคคลไร้ที่พึ่ง และขอทานอย่างต่อเนื่อง


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  17 ตุลาคม 2567

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์ (https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_9462161)

“ประเสริฐ” นั่งหัวโต๊ะ กก.วล. ชู 4 ประเด็นสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันฝุ่น –. กองทุนสิ่งแวดล้อม –คุมสิ่งแวดล้อมโรงงาน –..พัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำเมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 2/2567 โดยมีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รองประธานกรรมการ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการและเลขานุการ และนายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

โดยประธานได้ให้นโยบายใน 4 ประเด็นหลักๆ คือ 1.การให้ความสำคัญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก 2. การเร่งรัดแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม 3.การแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ขยะมูลฝอย ภายหลังการเกิดอุทกภัย และ4.สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนความสมดุลทางสิ่งแวดล้อม

โดยที่ประชุมมีการเห็นชอบเรื่องที่สำคัญ 4 เรื่อง ดังนี้

1. หลักการสัญญารับเงินอุดหนุน (Grant Agreement) ภายใต้โครงการ Thai – German Cooperation on Energy, Mobility, and Climate (TGC EMC) จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน 234 ล้านบาท โดยเป็นเงินอุดหนุนเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม 150 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) ให้กับภาคธุรกิจโรงแรมที่พัก ธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และการปรับตัวและลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) ให้แล้วเสร็จภายในปี 2570

2. โครงการพัฒนาต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำ เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่ ด้วยภาคประชาชนเป็นต้นแบบขยายผลและสร้างการรับรู้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศ มุ่งเป้าการมีส่วนรวมเครือข่ายภาคประชาชนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

3. มาตรการควบคุมและกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมที่รับดำเนินการของเสียอันตรายและโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาสังคม จากข่าวการรั่วไหลของสารแคดเมียม เมื่อช่วงเม.ย. 2567

4. มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ประกอบด้วย มาตรการจัดการไฟในพื้นที่เกษตร การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง การจัดการหมอกควันข้ามแดน รวมถึงกลไกในการบริหารจัดการในการตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค และศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ระดับจังหวัด

นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 5 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อรองรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว 2.โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สกึ๋น 2 อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 3.โครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน –..พระราม 9) 4.โครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและชนิดหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด และ5.โครงการทางหลวงหมายเลข 118 ตอน บ.แม่เจดีย์ –..อ.แม่สรวย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานระหว่างประเทศ และบรรเทาปัญหาการจราจรให้กับประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และเชียงราย


NBT CONNEXT  16 ตุลาคม 2567

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 มี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสวัสดิการเด็ก ผู้ทรงคุณวุฒิวิชาชีพ อาทิ สังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา และกฎหมาย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ  กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ และผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom Meeting) 

นายวราวุธ กล่าวว่า คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติประชุมเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2568 โดยมีเรื่องสำคัญสืบเนื่อง และเรื่องเพื่อพิจารณา ที่ประชุมได้พูดถึงความก้าวหน้าของการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ... รวมไปถึงกฎหมายที่จะต้องเร่งดำเนินการด้วยเช่นกัน ซึ่งทุกฝ่ายกำลังดำเนินการดูแลเด็กที่มีจำนวนน้อยลงทุกวัน ให้มีคุณภาพมากขึ้น แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในมาตรการและแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมทางถนนที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ เป็นสิ่งที่สืบเนื่องจากการที่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการในการประชุมให้ดูแลเรื่องความปลอดภัยของเด็ก เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอย่างเช่นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมาซ้ำขึ้นอีก ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มีการตั้งข้อสังเกตที่มีประโยชน์อย่างยิ่งและหลากหลาย ถึงมาตรการต่างๆนั้น ขอฝากให้ทุกหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ทางฝ่ายเลขานุการนั้นเร่งดำเนินการ และทางกระทรวง พม. จะได้ดำเนินการนำข้อสรุปมาตรการทั้งหลาย นำเสนอต่อคณะทำงานที่รัฐบาล จัดตั้งเพื่อดำเนินมาตรการความปลอดภัยบนท้องถิ่น ซึ่งกำหนดประชุมวันที่ 25 ตุลาคม 2567   

นายวราวุธ กล่าวว่า ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรการที่ได้ประชุมกันในวันนี้ บวกกับข้อสังเกตทั้งหลายที่ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการแต่ละคนได้นำเสนอนั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือโศกนาฏกรรมขึ้นซ้ำรอยกับอนาคตของเด็กไทยทุกๆ คน ที่นับวันจะมีจำนวนน้อยลง เราจะต้องช่วยกันดูแลเด็กๆ ให้ดี ทั้งกาย ทั้งใจ และความปลอดภัยบนท้องถนนนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ และเป็นการประชุมที่หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรการต่างๆนี้ จะได้รับการรับรองและเสนอต่อรัฐบาลต่อไป   

สำหรับมาตรการและแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็ก แบ่งเป็น 1) ด้านการฟื้นฟูเยียวยาแก่เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โดยมีการวางแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระยะวิกฤต ระยะสั้น ระยะยาว มอบหมายทีมให้วางแผนและช่วยเหลือรายครัวเรือน (CM) ครอบคลุม 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา รายได้ ที่อยู่อาศัย และการเข้าถึงบริการของรัฐ และ 2) ด้านการป้องกัน มีการเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 2.1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างสภาพแวดล้อมของถนนที่ปลอดภัย ผ่านกลไกศูนย์ชุมชนคุ้มครองเด็ก และส่งเสริม สนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการ และแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็ก 2.2) กระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารโรงเรียนสถานศึกษามีส่วนร่วมในเรื่องการเดินทางไปทัศนศึกษานอกสถานที่ รวมทั้งการบังคับให้การปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งโรงเรียนควรมีแผนงานในเรื่องการจัดระบบและจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และ 2.3) กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เพิ่มมาตรการควบคุมการดัดแปลงสภาพรถโดยผิดกฎหมาย มาตรการในการแก้ไขป้องกันการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มจากที่กฎหมาย มาตรการสำหรับรถรับจ้างสาธารณะ ทั้งรถรับส่งนักเรียน รถทัศนศึกษา


NBT CONNEXT  15 ตุลาคม 2567

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ โรงพยาบาลศิริราช จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “Triple Burden of Disease: Nurse-Led Game Changer to Optimize the Outcomes of Care” ช่วงต้นปีหน้า ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

    รองศาสตราจารย์ ดร.เอมพร รตินธร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “Triple Burden of Disease: Nurse-Led Game Changer to Optimize the Outcomes of Care”จัดโดย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ว่า เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการจัดการภาระโรคซ้ำซ้อนมุ่งเน้นการใช้ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นหลัก โดยมีพยาบาลเป็นผู้นำในการดูแลสุขภาวะของประชาชนและประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการทางการพยาบาล รวมทั้งเพื่อพัฒนานวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการภาระโรคซ้ำซ้อน เพื่อสุขภาวะประชาชนต่อไป ซึ่งจะจัดการประชุมดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 7 - 9 มกราคม 2568 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

     ทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการฯ และร่วมส่งบทคัดย่อนำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567  โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครออนไลน์ได้ทางเว็ปไซต์ https://ns.mahidol.ac.th/TBD2025/ หรือโทร. 02-441-5333 ต่อ 2460, 2465 และ 0-8180-43957


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.