สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20 ตุลาคม 2567
ที่มา : Posttoday (https://www.posttoday.com/international-news/714652)
ศูนย์วิจัยกสิกร วิเคราะห์ทิศทางจากนโยบายสิ่งแวดล้อมจาก 2 ผู้สมัคร ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ว่าข้อดีข้อเสียจากทั้ง 2 มีผลต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมของโลก รวมถึงผลกระทบที่อาจจะส่งผลต่อประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังใกล้เข้ามา ทั่วโลกกำลังจับตานโยบายของ ผู้ลงสมัครประธานาธิบดีของ 2 พรรค ได้แก่ 1.รองประธานาธิบดี Kamala..Harris จากพรรค เดโมแครต และ 2. อดีตประธานาธิบดี Donald..Trump จากพรรคริพับลิกัน
เปรียบเทียบนโยบายด้านภูมิอากาศของผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะมาถึงจะกำหนดทิศทางการลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net..zero..ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่แน่นอนตามนโยบายของผู้ลงสมัคร โดยมาตรการสำคัญที่อาจกระทบการลงทุนเพื่อลด GHG..ของสหรัฐฯ ได้แก่ การแก้ไขมาตรการอุดหนุนตาม Inflation Reduction Act (IRA) ในขณะที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอาจลุกลามไปยังแร่สำคัญที่จีนเป็นเจ้าของอุปทานในตลาดโลก
กฎหมาย Inflation Reduction Act (IRA) นโยบายที่เป็นที่พูดถึงของ 2 ผู้ลงสมัครคือ มาตรการ IRA..ที่สนับสนุนการลงทุนเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และลด GHG เช่น การลงทุนแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยนโยบายของ Trump มีแนวโน้มแก้ไขระเบียบการให้เงินสนับสนุนตามกฎหมาย IRA..และกฎระเบียบเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทิศทางการลงทุนเทคโนโลยีลด GHG ในอนาคต ในขณะที่ Harris มุ่งมั่นที่จะสานต่อมาตรการ IRA การลงทุนด้านสภาพภูมิอากาศในสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นหลังมาตรการ IRA..โดยการลงทุนด้านภูมิอากาศในสหรัฐฯ ก่อนที่มาตรการ IRA..จะมีผลบังคับใช้ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไตรมาสละ 7% ขณะที่หลังจากที่มาตรการ IRA..มีผลบังคับใช้อัตราการเติบโตเฉลี่ยของการลงทุนเร่งตัวสูงขึ้นเป็น 9% (รูปที่ 1) โดยเป็นการลงทุนที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นหลังมาตรการ IRA..ได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและการผลิตแบตเตอรี่ ที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมาตรการให้เครดิตภาษี
ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้เป็นผลมาจาก IRA ทั้งหมด แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจาก 14% ในปี 2014 เป็น 26% ในปี 2023 โดยมีแนวโน้มเร่งตัวตั้งแต่มาตรการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจาก แสงอาทิตย์สมัยประธานาธิบดี Obama (2009..–..2017)..อย่างไรก็ดีการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ยังคงมาจากก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น (รูปที่ 3) การแก้ไขมาตรการ IRA..อาจจะส่งผลต่อการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่มากกว่าการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นที่นิยมมากกว่า ดังนั้น หาก Trump ชนะการเลือกตั้งที่จะมาถึง การลงทุนในเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่อาจชะลอตัวลงจากการปรับเกณฑ์อุดหนุนของ IRA ขณะที่การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนอาจไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากแนวโน้มการลงทุนปัจจุบันที่มุ่งเน้นไปที่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติมากกว่า มาตรการกีดกันการค้าจะขยายวงกว้างไปยังแร่สำคัญที่ใช้ในเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจก ในสมัย Trump..เป็นประธานาธิบดี สินค้าที่ขึ้นภาษีในช่วงสงครามการค้ากับจีน เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สิ่งทอ เป็นต้น ขณะที่ในปัจจุบันมาตรการกีดกันการค้าได้ขยายวงกว้างไปสู่สินค้าเทคโนโลยีเพื่อลด GHG เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า แผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ แร่สำคัญต่าง ๆ เป็นต้น โดยแนวโน้มนโยบายการค้าของผู้ลงสมัครทั้ง 2 ท่านจะยังคงกีดกันการค้าจากจีนและมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีลด GHG โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นแร่ธาตุสำคัญที่นำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ ได้แก่ Graphite Nickel Cobalt และ Lithium ในอนาคตแร่ Lithium จะเป็นจุดศูนย์กลางสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ แร่ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่นำไปผลิตแบตเตอรี่คือแร่ Lithium ซึ่งสหรัฐฯ ยังไม่มีการเก็บภาษีแร่ที่ใช้ผลิตอย่าง Lithium oxide และ Lithium carbonate โดยในปี 2023 สหรัฐฯ มีการนำเข้าแร่ Lithium จำนวน 3,400 ตันคิดเป็น 85% ของอุปทานในสหรัฐฯ และมากกว่า 90% นำเข้ามาจากทวีปอเมริกาใต้