• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  24 กรกฎาคม 2567

ที่มา https://news.trueid.net/detail/10XqoY18G79O

จากการที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะมลพิษ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นผลกระทบจากรูปแบบเศรษฐกิจเดิมที่เน้นการผลิต การใช้ และการทิ้งของเสียโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ได้ประกาศทิศทางใหม่เพื่อใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแนวคิด “I-EA-T Next Move : Fast & Furious“ เน้นใช้พลังงานสะอาด และระบบไฟฟ้าที่มั่นคง เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ซึ่งเป็นก้าวสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนในภูมิภาค ด้วยการขับเคลื่อนที่รวดเร็วและดุดัน กนอ. มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทย และสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  23 กรกฏาคม 2567

ที่มา: https://www.thansettakij.com/news/general-news/602156

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ. ได้ดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว คลองสวยน้ำใส จิตอาสาพัฒนาคลองแสนแสบ นิคมอุตสาหกรรมบางชันต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยปีนี้เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว กนอ. ได้จัดกิจกรรมโครงการจิตอาสาทำความสะอาดคลองแสนแสบ บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ซึ่ง กนอ.ร่วมกับพันธมิตรหน่วยงานราชการ ทั้งกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตคันนายาว สำนักงานเขตมีนบุรี สำนักระบายน้ำ โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ วัดบำเพ็ญเหนือ

ด้านนางสาวนลินี กาญจนามัย รองผู้ว่าการ (บริหาร) กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมบางชัน เป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของ กนอ. ซึ่งดำเนินการพัฒนาลำน้ำที่อยู่ใกล้เคียงกับคลองแสนแสบ และฟื้นฟูคลองแสนแสบมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกลุ่มจิตอาสาพระราชทานคลองแสนแสบ ภายใต้แผน CSR ของ กนอ.

สำหรับโครงการคลองสวยน้ำใส จิตอาสาพัฒนาคลองแสนแสบ นิคมอุตสาหกรรมบางชันเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้โครงการจิตอาสา พัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม 2567


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  22 กรกฎาคม 2567

ที่มา: https://www.posttoday.com/smart-life/711316

มหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ณ กรุงปารีสจะไม่ได้เป็นการแข่งกีฬาที่วัดกันแค่เหรียญรางวัลอีกต่อไป แต่ยังวัดความรับผิดชอบของประเทศเจ้าภาพที่มีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม โอลิมปิก 2024 ที่จะเปิดฉากขึ้น ณ กรุงปารีส ในวันที่ 26 กรกฎาคมนี้ ทางเจ้าภาพอย่างฝรั่งเศสตั้งเป้าว่าจะลดการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ๆ ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากฝรั่งเศสเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมาแล้วสองครั้งในปี 1900 และ 1924 รวมถึงเคยเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 1998 ประเทศจึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกเกือบทั้งหมดที่จำเป็นอยู่แล้ว และแทนที่จะทุ่มงบไปกับการสร้างสนามกีฬาใหม่ ภาครัฐเลือกที่จะปรับปรุงสิ่งก่อสร้างเดิมที่มีอยู่ราว 95% ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและดำเนินการตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ทางผู้จัดยังให้คำมั่นว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 จะเป็นการแข่งขันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเมื่อเทียบกับครั้งก่อนๆ โดยปารีสจะลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ให้เหลือประมาณ 1.75 ล้านตัน หรือราวครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการแข่งขันโอลิมปิกที่ลอนดอน 2012 และริโอ 2016 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์

ขณะที่อดีตรองนายกเทศมนตรีฝ่ายการวางผังเมืองกรุงปารีสให้ความเห็นว่า โอลิมปิกเปรียบเสมือนโอกาสอันดีที่เร่งให้เมืองเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภาครัฐได้ปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ เช่น การทำความสะอาดแม่น้ำแซนครั้งใหญ่ การปลูกต้นไม้ใหม่เพิ่ม 300,000 ต้น ขณะที่ระบบขนส่งสาธารณะก็ถูกปรับปรุงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เลนสำหรับจักรยานที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยระยะทางกว่า 250 ไมล์ การขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินเพื่ออำนวยความสะดวกการเชื่อมต่อพื้นที่ชานเมืองกับตัวเมือง ฯลฯ ซึ่งหากฝรั่งเศสไม่ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันโอลิมปิกโครงการเหล่านี้อาจใช้เวลานานถึง 10 หรือ 20 ปี นอกจากนี้ ยังมีการใช้วัสดุรีไซเคิลอย่างลูกขนไก่ในการผลิตโต๊ะข้างเตียงในหมู่บ้านนักกีฬา การใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิลผลิตเป็นเก้าอี้ในสเตเดี้ยมต่างๆ การปรับปรุงหลังคาสนามกีฬาบางแห่งให้ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ ซึ่งถือเป็นการยกระดับมาตรฐานใหม่ในอีเวนท์การแข่งขันกีฬาระดับโลก

หมู่บ้านนักกีฬา กับวัสดุ Eco-Friendly สำหรับหมู่บ้านนักกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิก 2024 ทางผู้จัดระบุว่าจะออกแบบให้เป็นย่านเมืองใหม่ใน Saint-Denis ซึ่งเป็นชานเมืองตอนเหนือของกรุงปารีส และจะเป็นผลดีต่อชาวเมืองในท้องถิ่นจากมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกหยิบมาใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 หลังการแข่งขันเสร็จสิ้น หมู่บ้านนักกีฬาราว 1 ใน 3 จะถูกใช้เป็นโครงการบ้านพักของรัฐบาล กระจายอยู่ตามเขตชานเมืองฝั่งเหนือของกรุงปารีส ครอบคลุมพื้นที่ Saint-Ouen, Saint-Denis และ L’Ile Saint Denis โดยโครงการนี้ถูกออกแบบให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ ประกอบด้วยอาคาร 82 หลัง เหมาะสำหรับการพักอาศัยในอนาคตที่อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงออกแบบอาคารให้ส่งเสริมและดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น หลังคาที่ออกแบบมาให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกและสัตว์ขนาดเล็ก ภายในโครงการจะมีศูนย์บำบัดน้ำเสียขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เก็บและกรองน้ำเสียที่สามารถนำไปใช้สำหรับการเกษตรภายในครัวเรือนได้ นอกจากนี้ ยังมีอาคารกรองน้ำฝนสำหรับการใช้ด้านสุขภัณฑ์ และระบบคัดแยกของเสียเพื่อนำไปแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป ประเด็นสำคัญสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปีนี้คือ เครื่องปรับอากาศในหมู่บ้านนักกีฬา ที่ถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากตัวอาคารมีฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งแตกต่างจากการแข่งขันกีฬาครั้งก่อนๆที่ห้องพักนักกีฬาจะมีเครื่องปรับอากาศอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ด้วยวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งปารีส ทำให้บางทีมชาติต้องหอบหิ้วเครื่องปรับอากาศแบบพกพามากันเอง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อมมองว่า หากโลกต้องการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 การจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกทุกรายการจำเป็นต้องมีการพิจารณาแนวทางใหม่อย่างจริงจัง เช่น การกระจายสถานที่จัดงาน จากเดิมที่ผู้ชมหลายล้านคนต้องเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อไปกระจุกตัวในเมืองเมืองเดียว โอลิมปิก 2024 นับเป็นก้าวแรกในการจุดประกายให้โลกเห็นถึงความมุ่งมั่นของฝรั่งเศสในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นแรงบันดาลใจให้งานอีเวนท์อื่นๆ ระดับโลก ทั้งยังเป็นบทพิสูจน์ว่ามหกรรมกีฬาขนาดใหญ่สามารถจัดขึ้นควบคู่กับความยั่งยืนได้จริงหรือไม่


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  21 กรกฎาคม 2567

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9670000061137

ปัจจุบันเรื่องของความยั่งยืน ไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแสอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ธุรกิจจำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจ เพื่อช่วยกันแก้และชะลอปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญในขณะนี้ ซึ่งประเด็นเรื่องความยั่งยืนนี้นับเป็นสิ่งที่ ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกๆ ทำให้มีการวางแผนเพื่อสร้างระบบการดำเนินงาน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ และวางแผนเปิดตัว โดยมีโครงการสำคัญได้แก่ “กรีน ทาร์เก็ต” (Green Target) ซึ่งประกอบไปด้วยหัวใจสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม ทรัพยากร ชุมชน บุคลากร และ การจัดซื้อจัดจ้าง

ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ ไม่ได้ประเมินความยั่งยืนจากการรับรางวัลเพียงเท่านั้น แต่เรายังมุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กับการมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้ลูกค้าของเรา” คุณทิม โบดา กรรมการผู้จัดการ ท็อปกอล์ฟ ประเทศไทย กล่าว “เราเชื่อว่าการผสมผสานความยั่งยืนเข้ากับทุกสิ่งที่เราทำ จะสามารถสร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารและความบันเทิง รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน มาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับเราได้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  20 กรกฎาคม 2567

ที่มา: https://www.prachachat.net/tourism/news-1610786

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ The Cloud จัดเทศกาล Amazing Green Fest 2024 และงานเสวนา The Hotelier 2024 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เชิญชวนการเดินทางท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ สนับสนุนพันธมิตรที่ดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและสร้างความเข้าใจเรื่องการกิน – อยู่ กับธรรมชาติอย่างสมดุล โดยงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 2567 ที่พารากอนฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่ใช่เทรนด์ หรือการท่องเที่ยวของคนเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป แต่เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ และภูมิคุ้มกันระยะยาวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ ททท. มุ่งเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาแบรนด์ Amazing Thailand ให้เป็นแบรนด์ท่องเที่ยวไทยที่มุ่งสู่ความยั่งยืนบนรากฐานของเสน่ห์ไทยอันเป็นเอกลักษณ์ สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 2 ประเทศไทย เป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวคุณภาพที่เน้นความยั่งยืน

ในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เบื้องหลังของความสำเร็จคือการผลักดันห่วงโซ่การท่องเที่ยวยั่งยืนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยไปสู่การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและยั่งยืน (High Value and Sustainability) การให้ความสำคัญกับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ใช้จ่ายสูง มีระยะพำนักนาน และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการยกระดับห่วงโซ่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Shape Supply) ให้มีความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว และผลักดันเกณฑ์มาตรฐานความยั่งยืน ตลอดจนการส่งเสริมเมืองน่าเที่ยว เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง โดยคาดหวังว่า การจัดงาน Amazing Green Fest 2024 จะจุดประกายให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งนักท่องเที่ยว ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาต้นทุนทางการท่องเที่ยว เข้าใจ และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนและธรรมชาติ เพื่อใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสมดุล


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 กรกฎาคม 2567

ที่มา: https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2801656

มติเห็นชอบ กรอบการจัดประชุม TCAC..2024..ช่วงเดือนตุลาคมนี้ ร่วมขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 ชูโครงการพระราชดำริ ลดโลกร้อน ร่วมเทิดพระเกียรติฯ ปีมหามงคล วานนี้ (17 ก.ค.) นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเตรียมการจัดการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference : TCAC) ครั้งที่ 1/2567 โดยมีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ และมีอนุกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เพื่อพิจารณาแนวทางการจัดการประชุมภาคี การขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 3 หรือ TCAC 2024 ที่จะมีขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2567 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบต่อกรอบแนวทางการจัดการประชุม TCAT 2024 เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ผ่านการมีส่วนร่วม มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon..Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero GHG emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการติดตามการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ทั่วประเทศ มานำเสนอเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานในภาพรวมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่การเสนอความก้าวหน้าของประเทศไทยในการประชุม COP 29 ต่อไป และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ เพิ่มเติมการนำเสนอโครงการพระราชดำริ และโครงการในพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติและแสดงถึงความจงรักภักดี เป็นจุดเด่นของการจัดงานในปีนี้ด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ เตรียมการจัดการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินการจัดประชุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เพิ่มเติมผู้แทนจากเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทยในองค์ประกอบของคณะทำงาน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดการสื่อสารในวงกว้างสู่เครือข่ายทั่วประเทศ


สำนักข่าว เอ็นบีที คอนเนค  18 กรกฎาคม 2567

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะผู้อำนวยการกลาง เผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ขอความร่วมมือหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง ในระดับพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยใน ปี 2567 ร่วมกันให้เกิดความเป็นเอกภาพ เป็นไปตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ดังนี้

การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ให้ใช้กลไกทั้งท้องถิ่นและท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชุม ตลอดจนอาสาสมัครภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง ติดตามแนวโน้มสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ทุกช่องทางการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยการ “ทำที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้ไป” ให้จัดเตรียมพื้นที่รองรับน้ำ พื้นที่ทุ่งรับน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ รวมทั้งเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอกคูคลองสาธารณะ ท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงที่เกิดอุทกภัยเป็นประจำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้เต็มศักยภาพการดูแลสถานที่สำคัญ ให้เตรียมการป้องกันพื้นที่ โดยการจัดทำแนว/คันกั้นน้ำ วางแผนติดตั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัยไว้ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการล่วงหน้า เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ โดยเฉพาะในสถานที่สำคัญ อาทิ สถานพยาบาล โรงเรียน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ฯลฯการสร้างการรับรู้สู่ประชาชน ให้ใช้ช่องทางที่สามารถส่งข่าวสารไปถึงประชาชนในพื้นที่เสี่ยงได้โดยตรง อาทิ หอกระจายข่าว เครือข่ายภาคประชาชน ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนทราบสถานการณ์และทราบถึงสิทธิการได้รับความช่วยเหลือและหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ รวมถึงให้มีการเตรียมความพร้อมหากจำเป็นต้องอพยพได้อย่างทันท่วงทีการเตรียมพร้อมรองรับการอพยพ ให้จัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับเป็นที่พักอาศัยของผู้ประสบภัยในกรณีสถานการณ์มีความรุนแรงจนต้องอพยพกลุ่มเปาะบาง ประชาชนออกจากบ้านเรือนที่อาศัยอยู่เป็นประจำ โดยต้องพิจารณาสถานที่ที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และไม่อยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง กรณีเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ในทุกระดับ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งประสานการเผชิญเหตุระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ และอาสาสมัครในพื้นที่ได้อย่างมีเอกภาพ7. การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ให้ความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและการดำรงชีพก่อนเป็นอันดับแรก อาทิ การจัดหาอาหาร ยารักษาโรค การรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน การจัดหน่วยแพทย์คอยดูแลสภาพร่างกายและสภาพจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว ตลอดจนขอให้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัดการขอรับการสนับสนุนทรัพยากร ขอให้ประสานการปฏิบัติการกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ผ่านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานในพื้นพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต หรือผ่านสายด่วน 1784 หรือLINE @1784DDPM โดยพร้อมออกปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  17 กรกฎาคม 2567

ที่มา: https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2800366

“โป๊ยเซียน” สานต่อเจตนารมณ์มุ่งสร้างสรรค์สังคมแห่งการแบ่งปันสู่ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน เปิดรับบริจาคพลาสติกเหลือใช้ สร้างถนน UPCYCLING มอบให้อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ลานหน้าวัดพระศรีสรรเพชญ์ สนับสนุนโครงการ GREEN ROAD ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการแปรรูปพลาสติก และเป็นศูนย์กลางรวบรวมและคัดแยกพลาสติกเหลือใช้จากทั่วประเทศ โดยใช้พลาสติกเหลือใช้ในการสร้างกว่า 9 ตัน

ดร.ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์ กรรมการและที่ปรึกษาบริษัท โกลด์ มิ้นท์ โปรดักส์ จำกัด เผยว่า ในวาระครบ 88 ปี โป๊ยเซียน มีกิจกรรมแบ่งปันส่งต่อความสุขไปสู่ทุกคน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคน และการได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดเป็นกิจกรรมรณรงค์ลดใช้พลาสติกและส่งพลาสติกเหลือใช้ ลดปัญหาขยะพลาสติกในชุมชน และใช้พลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างถนนจากพลาสติกเหลือใช้ให้กับอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ลานหน้าวัดพระศรีสรรเพชญ์ จึงขอเชิญชวนทุกคนมาช่วยกันส่งพลาสติกเหลือใช้ รวมถึงหลอดยาดมโป๊ยเซียน มาร่วมสร้างถนนด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดยขยะพลาสติกที่สามารถบริจาคได้ ได้แก่

หลอดยาดมตราโป๊ยเซียนถุงพลาสติกยืดได้ทั่วไปขยะพลาสติกประเภทบรรจุภัณฑ์ห่อสิ่งของขยะพลาสติกประเภท แก้วน้ำขยะพลาสติกประเภท ถุงวิบวับ หรือถุงอลูมิเนียมฟอยล์ขยะพลาสติกประเภทหลอดบีบ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.