• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  25 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://mgronline.com/travel/detail/9670000016255

กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานเขตคลองเตย การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและบมจ.อิชิตัน กรุ๊ป เปิดตัวสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ได้ปรับปรุงพื้นที่ในเขตทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณซอยสุขุมวิท 50 เขตคลองเตย ให้กลายเป็น “สวน 50 สุข” ร่วมกับนโยบายสวน 15 นาทีของท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พื้นที่ได้รับการออกแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิด 3 ฮอร์โมน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความสุขอย่างเซโรโทนิน โดปามีน และออกซิโตซิน เพื่อให้คนต่างวัย ต่างความชอบได้ใช้พักผ่อน ออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้ เพื่อเพิ่มฮอร์โมนความสุขตามธรรมชาติ เสริมสร้างอารมณ์และความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่เส้นทางเดินอันเงียบสงบ ไปจนถึงลานกีฬาที่จะทำให้หัวใจสูบฉีด และมีสวนสำหรับสัตว์เล็ก เพื่อร่วมแบ่งปันความสุขกับสัตว์เลี้ยงของชุมชน

สวน 50 สุข คือสัญลักษณ์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่อยากให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพใจให้กับชุมชน ไปพร้อมกับสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของกทม. สวน 50 สุข จึงถูกออกแบบให้เป็นมากกว่าพื้นที่สีเขียว แต่เป็นพื้นที่ที่ชุมชนจะเชื่อมต่อธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ การสร้างพื้นที่ร่มเย็นสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  24 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.tnnthailand.com/news/earth/162056/

“งานลอยกระทงดิจิทัล กทม.” หรือ “Bangkok Digital Loy Krathong Festival” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก ณ คลองโอ่งอ่าง เขตพระนครและเขตสัมพันธวงศ์ ได้ถูกคัดเลือกให้รับรางวัล Asia Pinnacle Awards สาขา Best Eco – Friendly Festival จากสมาคม IFEA (ASIA) หรือสมาคม The International Festivals and Events Association (สมาคมการจัดงานอีเวนท์และเทศกาลนานาชาติ) ซึ่งเป็นสมาคมที่ไม่แสวงหาผลกำไร ปัจจุบันมีสมาชิกจากทั่วโลกประมาณ 38 ประเทศ โดยแบ่งสมาชิกออกเป็น 7 ภูมิภาค คือ แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ยุโรป ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ

เกณฑ์ที่ทำให้งานลอยกระทงดิจิทัล กทม. ได้รับคัดเลือกประกอบด้วย 1. งานที่เป็นงานดั้งเดิม (traditional) และ 2. งานที่ใช้นวัตกรรม (innovation) มาลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้แสดงจุดยืนในการผลักดันเรื่องความยั่งยืน (sustainability) ตอบโจทย์โลกและคนรุ่นใหม่ โดยทาง สมาคม IFEA (ASIA) จะจัดพิธีมอบรางวัลในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่จะถึงนี้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  23 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน (https://today.line.me/th/v2/article/8nRJVlZ)

ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ ใช้งานง่าย เก็บกลิ่น 2 เดือนเป็นปุ๋ย จากลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่ยึดติดความสะดวกสบายของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้มีปริมาณขยะอินทรีย์เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ มากมาย เกิดเป็นปัญหาขยะล้นเมือง และปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมตามมา ทั้งทางด้านทัศนียภาพ กลิ่น และแมลงพาหะนำโรค รวมถึงปัญหาด้านการขาดแคลนพื้นที่กำจัดขยะและวิธีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ในเมื่อเศษอาหารประจำวันที่ดูจะเพิ่มขึ้นทุกวัน กลายเป็นปัญหาของสังคม ทิ้งอย่างไร กำจัดอย่างไรก็ไม่รู้จักหมดสิ้น คงต้องใช้วิธีการนำเศษอาหารที่เป็นขยะประจำวันมาแปรเปลี่ยนเป็นปุ้ยใช้ปลูกพีชซะเลย งานนี้ประหยัดค่าปุ๋ย แถมได้พีชผักที่ปลอดภัยไว้รับประทานในบ้านด้วย “ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ Zero organic waste” ผลงานของภาควิชาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็นผู้ประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะล้นชุมชนในภาคตะวันออก พื้นที่ฝังกลบไม่สามารถรองรับขยะที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อสุขภาพและอนามัย จึงกลายเป็นที่มาของการประดิษฐ์ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศขึ้นมา หรือที่เรียกว่า “ถังหมักขยะอินทรีย์ รักษ์โลก“ นั่นเอง

วิธีใช้งาน

1.ใส่เศษใบไม้สดหรือแห้ง กากมะพร้าว ปัยคอก 1-2 กิโลกรัม

2.โรยกันถัง ก่อนใส่เศษอาหารโรยเชื้อ พด.1 ประมาณ 1-2 ช้อนชา หรือปุ๋ยคอกประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ให้ทั่วเพื่อช่วยเพิ่มการย่อยสลาย

3.ทิ้งเศษอาหารได้ต่อเนื่อง หากมีกลิ่นหรือหนอน แก่ไขได้โดยเติมเศษใบไม้ลงในถัง

4.ขยะที่ย่อยยาก เช่น กระดูก เปลือกหอย หรือเปลือกไข่ สามารถทิ้งลงถังหมักได้ แต่ต้องใช้เวลาหมักเพิ่มขึ้น

5.ใช้เวลาหมักประมาณ 1-2 เดือน หลังจากทิ้งครั้งแรก สามารถเปิดฝาถังด้านล่างเพื่อนำปุยอินทรีย์ไปใช้ ปัยอินทรีย์ชนิดแห้งนำไปผสมดินปลูกได้เลย

6.ไม่ควรใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว เพราะมีปริมาณธาตุอาหารสูงมาก อาจทำให้ต้นไม้ตายได้

7.ปุยชนิดน้ำต้องเจือจางก่อนนำไปใช้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  22 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/2024-45/

พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง หรือ Other Effective Conservation Measures (OECM) ถูกกล่าวถึงอย่างเป็นทางการในการประชุม CBD เมื่อปี 2018 เนื่องจากตระหนักว่า นอกจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบของพื้นที่คุ้มครอง (Protected Area) แล้ว ยังปรากฏรูปแบบการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ (Area Based Conservation) อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พื้นที่คุ้มครองตามคำนิยามของไอยูซีเอ็นด้วย เรียกว่า “พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง” หรือ Other Effective Conservation Measures : OECMs)โดยที่ประชุม CBD ได้ให้นิยามคำว่า OECMs หมายถึง พื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พื้นที่คุ้มครอง ซึ่งมีการบริหารและจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ หน้าที่และบริการของระบบนิเวศ วัฒนธรรม จิตวิญญาณ สังคมเศรษฐกิจและคุณค่าอื่น ๆ ของท้องถิ่นโดยรวมอย่างยั่งยืนในระยะยาว

พื้นที่ OECMs คือพื้นที่ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอนุรักษ์ แต่การบริหารจัดการพื้นที่นั้นเพื่อเอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระยะยาวไปพร้อมกันด้วย โดยพื้นที่ดังกล่าวจะต้องเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่นอกพื้นที่คุ้มครอง (Protected Areas)

สำหรับประเทศไทยมีการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ หรือ Area Based Conservation เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งมิได้ถูกกำหนดเป็นพื้นที่คุ้มครองตาม IUCN category ในหลายรูปแบบ เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าคุ้มครอง เขตป่าไม้ถาวร เขตลุ่มน้ำชั้น 1 เขตป่าชายเลนอนุรักษ์ เขตป่าชุมชน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามมีพื้นที่บางประเภท เช่น พื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติ พื้นที่เตรียมประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่เตรียมประกาศวนอุทยานแห่งชาติ พื้นที่เตรียมประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พื้นที่เตรียมประกาศเขตคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่ง ณ ขณะนั้นยังไม่ได้ตราเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดเป็นพื้นที่คุ้มครองอย่างสมบูรณ์แต่มีการบริหารจัดการ การดูแล รักษา เพื่อให้คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ดังกล่าวก็จะถือได้ว่าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกพื้นที่คุ้มครอง หรือ OECMs ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากต่อมาเมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีสถานะเป็นพื้นที่คุ้มครองตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์แล้ว พื้นที่ดังกล่าวก็จะสิ้นสภาพการเป็นพื้นที่ OECMsไปโดยปริยาย


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  21 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.posttoday.com/smart-city/705820

ญี่ปุ่นเตรียมประกาศเปิดตัวดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลก จากความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัย เกียวโต และ Sumitomon Forestry ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพของดาวเทียมอาจช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของโลกได้

LignoSat  เป็นดาวเทียมไม้ดวงแรกที่สร้างจากไม้แมกโนเลีย นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นมีแผนที่จะเปิดตัวดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลกในฤดูร้อนนี้ โดยนายทาคาโอะ โดอิ นักบินอวกาศและวิศวกรการบินและอวกาศชาวญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยเกียวโตกล่าวว่า ดาวเทียมทุกดวงที่กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกจะเผาไหม้และสร้างอนุภาคอลูมิน่าขนาดเล็ก ซึ่งจะลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศชั้นบนเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดมันจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลก

นักวิทยาศาสตร์ผู้อยู่เบื้องหลังดาวเทียมรายนี้ การตัดสินใจสำรวจดาวเทียมที่ทำจากไม้โดยไม่มีผลพลอยได้ที่เป็นอันตราย โดยจากการศึกษาขององค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) พบว่า อะลูมิเนียมและโลหะแปลกปลอมอยู่ในอนุภาคกรดซัลฟิวริก 10% ซึ่งมีส่วนสำคัญในชั้นสตราโตสเฟียร์ โลหะเหล่านี้เข้ากันกับโลหะผสมในยานอวกาศ ซึ่งยืนยันการกลับกลายเป็นไออีกครั้ง ระดับอลูมิเนียม ลิเธียม และทองแดงเกินกว่าปริมาณฝุ่นจักรวาล ในทางตรงกันข้าม ดาวเทียมที่ทำจากไม้อย่าง LignoSat พร้อมที่จะจัดการกับข้อกังวลเหล่านี้เมื่อพวกมันถูกเผาไหม้เมื่อกลับเข้าไปใหม่ เหลือเพียงเถ้าที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเท่านั้น

Koji Murata หัวหน้าฝ่ายวิจัยไม้อวกาศและสมาชิกของ Biomaterials Design Lab ที่ Graduate School of Agriculture แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้อธิบายถึงความทนทานต่อสภาวะวงโคจรโลกต่ำ (LEO) ของไม้ ซึ่งตัวอย่างไม้ที่ผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) พบว่า มีการเสื่อมสภาพเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยดาวเทียมจะทำการทดลองหลายครั้งเพื่อประเมินประสิทธิภาพในวงโคจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นไปที่ความไวของไม้ต่อการเสียรูปและการเปลี่ยนแปลงมิติ หากประสบความสำเร็จ ดาวเทียมไม้จะสามารถปูทางไปสู่ยุคใหม่ของการก่อสร้างดาวเทียมที่ยั่งยืน โดยตอบสนองความต้องการเร่งด่วนในการริเริ่มการสำรวจอวกาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  20 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1113921)

ข้อมูลจาก กรมสรรพสามิต ระบุว่า มีการยกเครื่องกรมชูยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ดูแลสุขภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน กรมสรรพสามิต ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG โดยในปี 2565 กรมสรรพสามิตได้ประกาศบทบาทใหม่ที่สำคัญเป็นกรม ESG เพื่อให้การดำเนินงานของกรมฯ สอดรับกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม การปรับตัวที่รวดเร็วของเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยนำกลยุทธ์ EASE..Excise..เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ (Purpose) ของกรมสรรพสามิตที่ต้องการ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรรมาภิบาล สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน” โดยกรมสรรพสามิตให้ได้ดำเนินมาตรการ ในปี 2566 ที่สำคัญ ดังนี้ 1. ดำเนินมาตรการลดภาษีน้ำมัน 2. ดำเนินมาตรการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวาน3. ดำเนินมาตรการสรรพสามิตเพื่อสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Zero Emission Vehicle: ZEV) 4. ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ปราบปรามสินค้าออนไลน์ 5. นำแนวคิดกระบวนการออกแบบเชิงระบบ (design thinking) และ User Experience (UX) ซึ่งในปี 2567 นี้กรมสรรพสามิตยังมีแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์  EASE Excise อย่างต่อเนื่องโดยมีนโยบายดังนี้  ดังนี้

ด้านนโยบาย ESG จะมุ่งเน้นนโยบายภาษีสรรพสามิตที่ส่งเสริมภาษีสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้แก่ มาตรการภาษีคาร์บอน (carbon tax) นโยบายส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า EV 3.5 มาตรการปรับโครงสร้างภาษีแบตเตอรี่เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีรถยนต์เพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุด้านพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ จะมุ่งเน้นการยกระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ทำงานได้คล่องตัว(Agile ways of working) และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในอนาคต (Future Skills) เช่น AI และ Data Analytics รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากรให้เก่ง ดี มีความสุขด้านพัฒนากระบวนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้มีมาตรฐาน (Standardization)..เช่น การวางมาตรฐานธรรมาภิบาลข้อมูล และวางมาตรฐานการปราบปรามผู้กระทำผิดเชิงรุกกับหน่วยงานปราบปรามที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการทบทวนกฎหมายภาษีสรรพสามิตที่บังคับใช้ในปัจจุบันหรือยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัยหรือลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น (Regulatory Guillotine)ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการให้บริการแบบไร้รอยต่อ (End-to-end Service)เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการได้รับความสะดวกและเจ้าหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการที่รวดเร็ว เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีกับการให้บริการของกรมสรรพสามิตมาตรการปรับโครงสร้างภาษีแบตเตอรี่เพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีรถยนต์เพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ

ทั้งหมดนี้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ ดูแลและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2764122

วันอนุรักษ์วาฬโลกเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2463 ในหมู่เกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรณรงค์ให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และการดำรงชีวิตของวาฬในมหาสมุทรตามธรรมชาติ

วาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก วาฬจึงเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่โตและมีประสิทธิภาพ ซึ่งวาฬเพียงหนึ่งตัว สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่ากับต้นไม้จำนวนถึง 1,000 ต้น ซึ่งในช่วงชีวิตหนึ่งของวาฬสามารถสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 33 ตัน ในขณะที่ต้นไม้ต้นหนึ่งสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แค่ 0.022 ตันต่อปีเท่านั้น

วาฬยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มปริมาณแพลงก์ตอนพืช ปกติแล้ววาฬใหญ่จะดำน้ำลึกเพื่อหาอาหาร และจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งเราเรียกพฤติกรรมที่เรียกว่า ‘Whale pump’ โดยของเสียเหล่านี้อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชทั้งธาตุเหล็กและไนโตรเจน ทำให้แพลงก์ตอนพืชเจริญเติบโตได้ดี

หากประชากรวาฬในท้องทะเลและมหาสมุทรลดลงเรื่อยๆ ระบบนิเวศในท้องทะเลก็จะมีผลกระทบอย่างมหาศาลแพลงก์ตอนพืชจะค่อยๆ หายไป ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศมากยิ่งขึ้น นับจากนี้เราทุกคนต้องมีส่วนในการอนุรักษ์วาฬ เริ่มจากการมีวินัยในการจัดการขยะ และห่วงใยทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ยักษ์ใหญ่แห่งมหาสมุทรคงอยู่กับท้องทะเลตลอดไป


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  18 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.reuters.com/world/asia-pacific/thailand-warns-high-pollution-capital-asks-govt-staff-work-home-2024-02-15/

รัฐบาลไทยเตือนระดับมลพิษในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงซึ่งได้ถึงระดับที่กระทบต่อสุขภาพในช่วงที่วันผ่านมา พร้อมกับสั่งพนักงานภาครัฐในเมืองหลวงให้ทำงานจากที่บ้านในวันข้างหน้า และเรียกร้องให้ผู้อื่นทำเช่นเดียวกัน

นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าการเผาพืชผลเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของมลภาวะอย่างรวดเร็ว และเสริมอีกว่า ประมาณหนึ่งในสี่ของมลพิษนั้นมาจากยานพาหนะ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้

เพื่อลดมลพิษในการจราจร นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้บอกกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการให้เริ่มทำงานจากที่บ้าน และบอกให้พนักงานคนอื่น ๆ ทำเช่นกัน โดยขณะนี้ รัฐบาลไทยได้ให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกรเพื่อป้องกันการเผาไหม้ ในขณะที่สมาชิกสภานิติบัญญัติของไทยกำลังพิจารณาพระราชบัญญัติอากาศสะอาดสำหรับการขนส่ง ธุรกิจ และการเกษตร เพื่อลดมลพิษในวงกว้าง


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.