• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  20 กันยายน 2567

ที่มา https://www.matichon.co.th/politics/news_4800607

วันที่ 19 กันยายน 2567 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอบกระทู้ถาม ที่ 313 เรื่องปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก

คำถามที่หนึ่ง รัฐบาลจะออกพระราชกฤษฎีกาให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่และทำกินในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 64 เมื่อใด

รมว.ทรัพยากรฯ กล่าวตอบว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการไปตามกระทู้ถาม ได้แก่ 1.คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบหลักการในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาเป็นจำนวน 14 ป่าอนุรักษ์ 2. อยู่ระหว่างเตรียมการเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติจำนวน 50 ป่าอนุรักษ์ และอยู่ในส่วนระหว่างดำเนินการปรับแก้ตามที่กรมการปกครองแนะนำจำนวน 160 ป่าอนุรักษ์ ซึ่งตามกฎหมายทั้งหมดจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 นี้

คำถามที่สอง รัฐบาลจะออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และป่าเสื่อมโทรม ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดูแลพื้นที่ในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรมได้ เมื่อใด

นายเฉลิมชัย กล่าวตอบว่า ตนเคยเป็น ส.ส.พื้นที่มาก่อน เข้าใจความรู้สึกของผู้แทนดีเมื่อได้รับปัญหาจากพี่น้องในพื้นที่มา ในส่วนของคำถามเรื่องเอกสารสิทธิ์นั้น ด้วยมติของคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2567 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ จึงไม่สามารถที่จะออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชนที่อยู่ในสหกรณ์ที่เข้าไปดำเนินการตรงนี้ได้ เนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ และมติคณะรัฐมนตรียังมีผลใช้บังคับอยู่ ตนเข้าใจถึงปัญหานี้ดีว่าวันนี้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้ยังมีอีกหลายจังหวัด ยังมีปัญหาอยู่แม้แต่กระทั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นพื้นที่ของตนก็ปัญหานี้อยู่ แต่เมื่อกฎหมายกำหนด


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 กันยายน 2567

ที่มา https://readthecloud.co/cn-community-toyota/

ชุมชนสิ่งแวดล้อมยั่งยืน คือ รูปธรรมของการที่ธุรกิจลุกขึ้นมาเปลี่ยนสังคมให้ยั่งยืน เบื้องหลังโครงการนี้มีวิธีคิดและกระบวนการอย่างไร มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย

โครงการชุมชนสิ่งแวดล้อมยั่งยืน คือ การพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชน โดยหยิบยกวิธีคิดด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมมาจากศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้าเมืองสีเขียว อยุธยา มาประยุกต์ใช้

ทีมโตโยต้าประเทศไทยได้แบ่งวิธีการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็น 4 องค์ความรู้ เพื่อให้ชุมชนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ได้แก่ Clean Air การเดินทางอย่างยั่งยืน Green Village การเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการอนุรักษ์น้ำ Zero Waste การคัดแยกและจัดการขยะครัวเรือน และ Renewable Energy การขับเคลื่อนพลังงานทดแทนในชุมชน

ทีมงานโตโยต้าประเทศไทย ได้ลงพื้นที่ไปยังชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อเข้าใจบริบทชุมชนนั้น ๆ ว่าชาวบ้านมีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่อยากต่อยอดและพัฒนาเป็นกิจกรรม เพื่อสิ่งแวดล้อมประเด็นไหนบ้าง แล้วเข้าไปเติมเต็มให้ได้มากที่สุด จากนั้นทีมงานจะนำไอเดียกิจกรรม เพื่อสิ่งแวดล้อมของแต่ละชุมชนมาปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทชุมชน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  18 กันยายน 2567

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_9416979

ททท. จับมือพันธมิตรสื่อฯ – ภาคเอกชน สร้างกิจกรรมท่องเที่ยวแบบไร้คาร์บอนดูแลสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวแบบ EV ทัวร์ริ่ง – แคมป์ปิ้ง ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวในรูปแบบแคมป์ปิ้งชูกลุ่มรถ EV ที่ร่วมเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนพร้อมทำกิจกรรมต่าง ๆ ณ The Escape Hill Camping อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และแวะทำกิจกรรมกับโรงเรียนกลางดงปุณณวิทยา เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

นายณัฐปคัลภ์ อัครวิชญ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ททท. มีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่เป็นการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งนอกจากจะเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นการดูแลสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดรายได้ในพื้นที่ ในชุมชนต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและประชาชนสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนหันมาให้ความสนใจกับพลังงานทดแทน

ทั้งนี้ นายปณต คงเที่ยง ผู้ร่วมก่อตั้ง อีวีพลาซ่า และ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ มีพร้อมท์ซีเลคทีฟ กล่าวว่า ในปัจจุบันการท่องเที่ยวแคมป์ปิ้ง – ทัวร์ริ่ง ในรูปแบบการเดินทางด้วยรถ EV กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากเป็นการเดินทางที่ประหยัดไร้มลพิษ อีวีพลาซ่าและพันธมิตรมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมรูปแบบนี้ และขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมสนับสนุน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  17 กันยายน 2567

ที่มา : amarintv.com (https://www.amarintv.com/spotlight/sustainability/detail/69231)

ในยุคที่โลกกำลังเผชิญวิกฤตขยะล้นเมือง เราต่างตระหนักดีว่า “ขยะ” ไม่ใช่แค่ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่คือโอกาสทางธุรกิจที่รอการปลดล็อค! มาร่วมสำรวจเส้นทางสู่ความสำเร็จของธุรกิจยุคใหม่ ที่ไม่เพียงสร้างกำไร แต่ยังช่วยรักษาโลกใบนี้ ผ่านแนวคิด “อัพไซเคิล” ที่จะเปลี่ยน “ของเหลือใช้” ให้กลายเป็น “เงิน” และสร้าง “มูลค่า” ให้ธุรกิจอย่างยั่งยืน

วิธีเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน สร้างมูลค่าใหม่ให้ธุรกิจ

โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตขยะครั้งใหญ่ โดยมีปริมาณขยะเกิดขึ้นมากกว่า 2 พันล้านตันต่อปีทั่วโลก ประเทศไทยเองก็ประสบปัญหาเดียวกัน โดยมีปริมาณขยะสูงถึง 27 ล้านตันต่อปี อย่างไรก็ตาม มีเพียง 31% ของขยะเหล่านี้ที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลและอัพไซเคิล สถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วน แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญยิ่ง

จากปัญหาสู่โอกาส ธุรกิจยุคใหม่กับการรีไซเคิลและอัพไซเคิล

แม้ปัญหาขยะล้นโลกจะเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่การเปลี่ยนขยะให้เป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าสูงผ่านกระบวนการรีไซเคิลและอัพไซเคิลได้กลายเป็นทางออกที่ยั่งยืน ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจในยุคปัจจุบัน

เทคโนโลยี ปัจจัยขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ การนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาประยุกต์ใช้ในการรีไซเคิลและอัพไซเคิลกำลังเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกขยะ โดยสามารถระบุประเภทวัสดุได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ลดข้อผิดพลาดและเพิ่มอัตราการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ การพัฒนาวัสดุใหม่จากขยะพลาสติกยังช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ยากต่อการย่อยสลายในธรรมชาติ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจในยุคที่ความยั่งยืนกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขัน

4 แนวทางปรับตัวเพื่อความยั่งยืน ธุรกิจก้าวสู่อนาคตผ่านการรีไซเคิลและอัพไซเคิล

ในยุคที่การเติบโตทางเศรษฐกิจต้องดำเนินไปควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจทุกภาคส่วนล้วนส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก ภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับตัวและแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อก้าวสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืนอย่างจริงจัง

1. นวัตกรรมเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน

2. พลังงานจากขยะ

3. สร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน

4. ลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียว

การปรับตัวเพื่อความยั่งยืนไม่ใช่เพียงแค่กระแส แต่เป็นความจำเป็นสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบัน การรีไซเคิล อัพไซเคิล การใช้พลังงานจากขยะ การสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน และการลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียว ล้วนเป็นกลยุทธ์ที่ภาคธุรกิจสามารถนำไปปรับใช้เพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนได้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  16 กันยายน 2567

ที่มา https://www.thaipost.net/columnist-people/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%81-news/656390/

ในยุคที่โครงสร้างพื้นฐาน เริ่มเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน และวงการก่อสร้างถนนถูกท้าทายด้วยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้คิดค้น “NEWTLAC” นวัตกรรมล้ำสมัยที่เป็นการผสมผสานระหว่างพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ นำมาผสมกับยางมะตอยเพื่อใช้ในการสร้างถนนอย่างเป็นรูปธรรม ที่ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาขยะ แต่ยังสร้างถนนที่แข็งแรงทนทานยิ่งกว่าเดิม พร้อมปฏิวัติวงการก่อสร้างถนนในประเทศไทย โดยนำร่องที่ถนนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 

การพัฒนาดังกล่าวไม่เพียงเป็นนวัตกรรมที่จะปฏิวัติวงการก่อสร้างถนนเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ระยะยาวของบริษัทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด มีเป้าหมายสู่ความยั่งยืนในปี 2583 เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ด้วยการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเป็นศูนย์ และบรรลุเป้าหมายให้ขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติกเป็นศูนย์ กล่าวคือ ปริมาณพลาสติกที่ใช้ต้องเท่ากับปริมาณพลาสติกที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ หรือถูกนำมารีไซเคิล ดังนั้น NEWTLAC จึงเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่สอดคล้องกับเป้าหมายนี้อย่างชัดเจนในการสร้างนวัตกรรมนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาใช้ในการสร้างถนน ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะถูกทิ้งกลับสู่สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ และการสร้างสังคมที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต


NBT CONNEXT  15 กันยายน 2567

พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ประชุมเตรียมการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในเขตเทศบาลตำบลแม่สายและเทศบาลตำบลแม่สายมิตรภาพ หลังจากพื้นที่ดังกล่าวปริมาณน้ำเริ่มลดลงแล้ว โดยนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายโกเมศ พุทธสอน ผอ.สบอ.11 (พิษณุโลก) นายพุทธพจน์ คูประสิทธิ์ ผอ.สบอ. 15 (เชียงราย) ร่วมประชุม ซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ รับผิดชอบฟื้นฟูพื้นที่ชุมชนหัวฝาย-สายลมจอย กิจกรรมกู้คืนแหล่งผลิตน้ำประปาหัวฝาย 

ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายอรรถพล อธิบดีกรมอุทยานฯ พร้อมด้วยพล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติภารกิจฟื้นฟูทำความสะอาด ล้างดินโคลนที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองแม่สาย ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน้ำปาด เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

สถานีควบคุมไฟป่าดอยตุงฯ สถานีควบคุมไฟป่าดอยแม่สลอง เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ 5 สปป.3(ภาคเหนือ) เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) เจ้าหน้าที่สวนอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากร สบอ.11 เจ้าหน้าที่ด่านตรวจแม่สาย เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน (เตรียมการ) ที่ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนหลังน้ำลด ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งในการบรรเทาความเดือดให้ประชาชนชาวอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  14 กันยายน 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/tech/1144324)

การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในภาคเอกชนและภาครัฐ ได้เปิดยุคใหม่ของการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซึ่งทวีความรุนแรงจากการแย่งชิงทรัพยากรในการประมวลผล พัฒนาและปรับใช้ตัวแบบ AI ขั้นสูงหรือ Generative AI  ที่เชื่อมโยงกับการใช้พลังงานและน้ำอย่างสุดขีด

          เทคโนโลยี AI ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นรากฐานสำคัญของนวัตกรรมทางการทหาร การแข่งขันอิทธิพลของมหาอำนาจและการแย่งชิงพลังงาน (ไฟฟ้า) ไม่เพียงเป็นความพยายามเพื่อผลกำไร นวัตกรรมและความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี แต่ยังเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับความมั่นคงแห่งชาติ ความต้องการใช้พลังงานอย่างเข้มข้นของ Generative AI เชื่อมโยงกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูล (data center) บริการระบบคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายออนไลน์ (cloud service) และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก (chips) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การสืบค้นข้อมูลบน ChatGPT อาจใช้พลังงานมากกว่าการสืบค้นจาก Google ถึง 25 เท่า

วงจรชีวิตการสร้างตัวแบบ AI มีขั้นตอนที่กระทบสิ่งแวดล้อมมากที่สุด คือ การฝึกตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) โดยอัลกอริธึมเรียนรู้ข้อมูลการฝึกเพื่อคาดการณ์และหรือตัดสินใจด้วยการอนุมาน (inference) ข้อสรุปที่ได้มาจากความรู้และความเข้าใจ รองศาสตราจารย์ Mosharaf Chowdhury แห่งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่า การฝึกตัวแบบ GPT-3 หนึ่งรอบใช้พลังงานไฟฟ้า 1,287 MWh ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในครัวเรือนทั่วไปของสหรัฐฯ เป็นเวลา 120 ปี ขณะที่ World Economic Forum ระบุว่าขั้นตอนการอนุมานของตัวแบบ AI มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมถึงร้อยละ 80 ส่วนขั้นตอนการฝึกกระทบร้อยละ 20

Petr Spelda และ Vit Stritecky แห่งมหาวิทยาลัย Charles ได้ศึกษาวิจัยต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของการเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับ AI พบว่า ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการประมวลผล ML เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก ๆ 3-4 เดือนตั้งแต่ปี 2012 การประมวลผลในปัจจุบันใช้เวลาหลายร้อยเพตาฟลอป/วินาที  ตัวแบบ ML ถูกปรับให้มีความแม่นยำเกินกว่าที่จำเป็น ส่งผลให้การดำเนินการไม่มีประสิทธิภาพและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ Rene Haas ผู้บริหารบริษัท Arm เตือนว่าภายในสิ้นทศวรรษนี้ ศูนย์ข้อมูล AI อาจใช้พลังงานไฟฟ้า ร้อยละ 20 – 25 ของความต้องการพลังงานของสหรัฐฯ ปัจจุบันความต้องการพลังงานอยู่ที่ร้อยละ 4 หรือ ต่ำกว่า

สหรัฐฯ เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่อันดับสองของโลกรองจากจีน ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นหากทั้งสองประเทศยังคงแข่งขันกันในด้านเทคโนโลยีและการทหาร ประเทศอื่นๆ ที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด ได้แก่ รัสเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น บราซิล และเกาหลีใต้

ในปี 2022 กระทรวงกลาโหม (DoD) สหรัฐฯ ประเทศเดียวเป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุด โดยใช้พลังงานร้อยละ 76 ของการใช้พลังงานของรัฐบาลกลาง ระบบป้องกันประเทศของสหรัฐฯใช้ AI ประมวลผลต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ ยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการดำเนินงานข่าวกรอง

สำหรับไทย การเติบโตของศูนย์ข้อมูลและ AI ยังคงเผชิญความท้าทายจากทรัพยากรพลังงานมีจำกัด ค่าไฟฟ้าสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านและที่ตั้งไม่โดดเด่นทางยุทธศาสตร์ คาดว่าความจุของศูนย์ข้อมูลในอาเซียนจะเพิ่มขึ้น 9 เท่าภายในปี 2035 นำโดยมาเลเซียและอินโดนีเซีย ส่วนแบ่งตลาดของไทยจะลดลงเล็กน้อย ทั้งนี้มาเลเซียจะได้ประโยชน์จากอุปสงค์เพิ่มขึ้นของสิงคโปร์ที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่และการจัดหาพลังงานไม่เพียงพอ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  13 กันยายน 2567

ที่มา https://www.khaosod.co.th/politics/news_9407284

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยถึงนโยบายในการกำกับดูแลและบริหารงานว่า การขับเคลื่อนการทำงานของกระทรวง ทส. จะเน้นการขับเคลื่อน ภายใต้คำว่า ครอบครัว ที่เห็นอกเห็นใจ เข้าใจ ใส่ใจ ผิดพลาดแก้ไข ให้อภัยกัน มุ่งให้ข้าราชการในสังกัดทำงานอย่างมีความสุข และสนุกกับงานที่ทำ

จึงขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อกระทรวง เพื่อประเทศชาติ เพื่อประชาชน นับจากนี้ไปจะเดินต่อไปพร้อมกัน ในการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของไทย และโลกอย่างยั่งยืนให้ได้


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.