• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 มกราคม 2566

ที่มา: https://thaipublica.org/2024/01/or-sustainability-sdg-in-action-pr-17012024/

นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า OR มีวิสัยทัศน์และแนวคิดในการสร้างความยั่งยืน โดยมีการนำประเด็นความยั่งยืนตามแนวทาง SDG ในแบบฉบับของ OR คือ S-Small โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก D-Diversified โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ และ G-Green โอกาสเพื่อสังคมสะอาด มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน พร้อมทั้งนำเป้าหมาย OR 2030 Goals มาติดตามและทบทวนอย่างต่อเนื่อง

OR ได้นำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง แบบ In Action ตั้งแต่กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและเป้าหมายธุรกิจจนเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น วิภาวดี 62 โครงการไทยเด็ด การพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ OR ได้รับการยอมรับให้เป็นต้นแบบในการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งในระดับสากลและระดับประเทศในปี 2566 โดยเป็นสมาชิกของ DJSI ที่มีผลคะแนนเป็นลำดับที่ 1 ของโลกในกลุ่มอุตสาหกรรม Retailing ได้รับรางวัล Best Sustainability Awards จาก SET Sustainability Awards 2023 และได้รับผลการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating 2023 ระดับสูงสุด AAA ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจและตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจของ OR เพื่อสร้างความเข้มแข็งและการเติบโตอย่างยั่งยืน เคียงข้างชุมชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทาง ESG ทั้ง 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองเรื่องของ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดบูธนิทรรศการแสดงผลงานแบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ บูธด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) บูธเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และบูธการดำเนินงานเพื่อสังคม เพื่อบอกเล่าเรื่องราว การลงมือทำจริงของ OR ที่สะท้อนการดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลที่ดี ไปพร้อมกับการให้ความสำคัญและใส่ใจสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  18 มกราคม 2567

พื้นที่สีเขียวไม่ได้มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกในเด็ก ลดความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคต จะเป็นเพราะอะไรงานวิจัยมีคำตอบ ปัญหา “โรคกระดูกพรุน” ไม่ได้เกิดแค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เด็กก็มีสิทธิ์เป็นได้จากปัญหาทางพันธุกรรม ที่จะส่งผลเสียต่อกระดูกมากยิ่งขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

งานวิจัยล่าสุดของเบลเยียมเปิดเผยว่า “พื้นที่สีเขียว” มีส่วนช่วยเพิ่มความแข็งแรงในมวลกระดูกของเด็ก ไปจนถึงป้องกันปัญหากระดูกพรุนที่อาจตามมาในอนาคต เด็กที่มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 25% ในรัศมี 1,000 เมตรจากบ้าน มีโอกาสที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงน้อยลงกว่าเด็กที่อยู่ห่างไกลจากพื้นที่สีเขียวถึง 66%

เมื่อมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน วารสาร JAMA Network Open โดย ทิม นอว์รอต (Tim Nawrot), ฮานน์ สลัวร์ส (Hanne Sleurs) และทีมงานจากมหาวิทยาลัยในเบลเยียมพบว่าเด็กที่มีพื้นที่สีเขียวใกล้บ้านมักมีกระดูกที่แข็งแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจนำไปสู่ประโยชน์ต่อสุขภาพตลอดชีวิต โดยเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สีเขียวเป็นส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 20-25) มีความแข็งแรงของกระดูกมากขึ้นเมื่อเทียบกับการเติบโตตามธรรมชาติในเวลาครึ่งปี รวมถึงมีความเสี่ยงที่มวลหนาแน่นของกระดูกจะลดลง น้อยกว่าเด็กทั่วไปถึงร้อยละ 65 เพราะพื้นที่สีเขียวสามารถป้องกันไม่ให้เด็กกระดูกหักได้ง่าย ไปจนถึงลดความเสี่ยงในการเกิด “โรคกระดูกพรุน” เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่สำหรับความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่สีเขียวและความแข็งแรงของมวลกระดูก ทีมนักวิจัยพบว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่เด็กเหล่านั้นได้มีโอกาสออกกำลังกายมากกว่าเด็กที่โตขึ้นในตัวเมืองหรือจุดที่เข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ยาก เพราะการออกกำลังเป็นประจำคือปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก นอกจากนี้สถานที่สีเขียวเหล่านี้ยังดึงดูดใจเด็กๆ ให้ออกไปวิ่งเล่นอีกด้วย “ยิ่งมวลกระดูกแข็งแรงขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็กเท่าไร คุณก็จะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ง่ายขึ้นเท่านั้น” ทิม ระบุ ก่อนหน้านี้ก็เคยมีงานวิจัยที่อธิบายว่า การเข้าถึงพื้นที่สีเขียวมากขึ้นเพื่อช่วยให้เด็กได้มีกิจกรรมทางกายมากขึ้นนั้น มีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กมากกว่าที่คิดเอาไว้มาก เช่น ลดความเสี่ยงภาวะน้ำหนักเกินที่อาจก่อให้เกิดโรคอ้วน ความดันโลหิตลดลง ไอคิวสูงขึ้น รวมไปถึงมีสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ในราชอาณาจักรยังพบว่า “พื้นที่สีเขียว” ไม่ได้ส่งผลดีแค่กับเด็กเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ใหญ่มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยมีการคาดการณ์ว่าการเดินป่าจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตไปได้ถึง 185 ล้านปอนด์ต่อปี หรือประมาณ 8 พันล้านบาท การศึกษาของ ทิม นอว์รอต และ ฮานน์ สลัวร์ส ใช้วิธีสำรวจจากการติดตามเด็ก 1,492 คน ในแถบฟลานเดอร์ส ประเทศเบลเยียม ที่มีอายุ 4-6 ปี ทั้งในตัวเมือง ชานเมือง และชนบท ตั้งแต่ปี 2014-2021 หลังจากนั้นก็ทำการอัลตราซาวนด์เพื่อวัดความหนาแน่นของ มวลกระดูกในเด็ก โดยใช้อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง เชื้อชาติ และอื่นๆ มาเป็นตัวชี้วัดผลวิจัยพบว่าเด็กที่มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 25% ภายในรัศมี 1,000 เมตรจากบ้าน มีโอกาสที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงน้อยกว่าเด็กที่อยู่ห่างไกลจากพื้นที่สีเขียวถึงร้อยละ 66 ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ท้ายที่สุดนี้ทีมนักวิจัยได้ให้ข้อสรุปว่าผลจากการศึกษานั้นพบว่า “พื้นที่สีเขียว” มีความสำคัญต่อเด็กอย่างมาก เพราะถ้าการเจริญเติบโตของมวลกระดูกต่ำตั้งแต่อายุยังน้อย ก็ถือว่าเสี่ยงต่อการเกิด “โรคกระดูกพรุน” ไม่ต่างกับการสูญเสียมวลกระดูกเมื่ออายุเพิ่มขึ้น

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1108914)


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาิตและสิ่งแวดล้อม  17 มกราคม 2567

ที่มา : https://www.matichon.co.th/region/news_4371620

ตัวแทนภาคีคนรักเมืองสงขลา และ 30 องค์กร ในจังหวัดสงขลา ร่วมจัดทำแผนกลยุทธ์สงขลาสู่มรดกโลก นำส่งนายสมนึก พรมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อขับเคลื่อนสงขลาสู่มรดกโลกอย่างเป็นรูปธรรม

แผนตามหลักวิชาการ ซึ่งเป็นผลพวงจากการดำเนินการหลังจากการเสนอรายชื่อเมืองเก่าสงขลา เป็นเมืองมรดกโลกเบื้องต้น และ ตัวแทนจากอีโคโมส ได้เดินทางมาตรวจสอบสภาพพื้นที่โบราณสถาน เมืองเก่าสงขลาและได้แสดงความเห็น ข้อแนะนำ 50-60 ข้อ ก่อนที่จะมีการระดมทุกภาคส่วนจาก 30 องค์กร มาร่วมกันจัดทำแผน เพื่อก้าวไปสู่เมืองมรดกโลกต่อไป

โดยแผนดังกล่าวมีการกำหนดกรอบกว้าง ๆ 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สอดรับกับเมืองมรดกโลก การพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภค และ งานทางด้านวิชาการที่ได้รวมสถาบันทางการศึกษาในพื้นที่ มาร่วมในคณะทำงาน

ส่วนปัญหาการบุกรุกโบราณสถานเขาแดง และ โบราณสถานเขาน้อย อ.สิงหนคร ทำให้เกิดความเสียหายในหลายจุด นั้น ความเสียหายดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อการพิจารณา เนื่องจากเมืองมรดกโลกหลายแห่งทั่วโลกก็เคยประสบปัญหาเหล่านี้ แต่สิ่งสำคัญในการพิจารณา คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน แผนการบูรณะ ซึ่งจะพิจารณาจากความเป็นไปได้ในการดำเนินการ รวมถึงแผนในการรักษาโบราณสถานและเมืองเก่าเอาไว้ ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  16 มกราคม 2566

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/environment/1107790

รอยัล ภูเก็ต มารีน่า (RPM) ได้ประกาศตัวในฐานะท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกของเอเชีย ซึ่งเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่ถูกสร้างขึ้นจากความมุ่งมั่นที่ผ่านมาในการเปลี่ยนแปลงมากมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การได้รับการรับรองในครั้งนี้ RPM ไม่เพียงแต่ตอกย้ำตัวเองในฐานะผู้นำถึงการพัฒนาด้านความยั่งยืน กำหนดมาตรฐานในการเป็นผู้นำในการสร้างแนวทางปฏิบัติทางเรือที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไปสู่ทั่วทั้งเอเชียอีกด้วย

RPM เปรียบเสมือนประตูสู่อ่าวพังงาและทะเลอันดามัน ท่าเรือมาตรฐานระดับสากล ผู้บุกเบิกด้านการบริการท่าจอดเรือที่ได้รับรางวัลและการรับรองมาตรฐานสูงสุดของภูเก็ต สะอาด ปลอดภัย ทันสมัยท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ โดยตั้งแต่ปี 2559 RPM ได้หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยแผงโซลาร์เซลล์บนอาคารที่จอดเรือในร่ม ซึ่งสามารถจ่ายพลังงานได้มากกว่า 40% ต่อวัน ได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย หรือ อบก. ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เกิดโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศเพื่อต่อสู้กับปัญหาภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ RPM ยังทำงานร่วมกับพันธมิตร ในการลดการใช้ขวดพลาสติกในกิจกรรมการเดินเรือทุกประเภท ตั้งเป้าหากสำเร็จจะสามารถช่วยลดขวดพลาสติกไปได้ราว ๆ กว่า 4 ล้านขวดต่อปี

ในฐานะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน RPM มีจุดประสงค์ในการสร้างแรงบันดาลใจที่กระตุ้นและเน้นย้ำให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ท่าจอดเรือควรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ของประเทศไทยมีความสอดคล้องกับแนวทางกับหลักสากลด้วย ความมุ่งมั่นนี้สอดคล้องกับเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทยในการบรรลุความเป็นกลางของคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608

นายกูลู ลัลวานี ประธานบริษัท รอยัล ภูเก็ต มารีน่า (RPM) กล่าวว่านอกเหนือจากบทบาททั่วไปในฐานะท่าจอดเรือแล้ว RPM เป็นเหมือนจุดหมายปลายทางที่ผสมผสานความหรูหราและความยั่งยืนได้อย่างลงตัว ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่มอบไลฟ์สไตล์ที่กลมกลืนกับความงามดั้งเดิมของภูเก็ต ในฐานะท่าจอดเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย


สำนักงานนโบยายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  15 มกราคม 2567

ที่มา : สยามรัฐออนไลน์  (https://siamrath.co.th/n/506491)

นางวราภรณ์ เอื้ออารีย์ รองผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง เปิดเผยเป้าหมายของร่างผังเมืองรวม กรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4) ว่า สาระสำคัญหนึ่งในร่างผังเมืองรวมฉบับนี้ คือการผลักดันการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่มีจำกัดอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ภายใต้มาตรการสนับสนุน FAR Bonnus (Floor Area Ratio หรือ อัตราส่วนอาคารต่อพื้นที่ดิน) ส่งเสริมให้เจ้าของที่ดินแบ่งปันพื้นที่บางส่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทอาคารและที่ดิน เช่น เจ้าของที่ดินจัดให้มีที่อยู่อาศัย ผู้มีรายได้น้อย สถานดูแลเด็กและผู้สูงอายุ สวนสาธารณะริมถนนริมแม่น้ำ ลำคลอง จัดให้มีที่จอดรถยนต์รอบสถานีรถไฟฟ้า จัดระเบียบทางเท้า  เป็นต้น ยกตัวอย่าง คอนโดมิเนียมที่จัดให้มีถนน ทางเท้าสาธารณะ หรือพื้นที่หาบเร่แผงลอย หรือให้สาธารณะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จะได้รับ FAR Bonus ตามการคิดคำนวณส่วนอาคารต่อพื้นที่ดิน เช่น สิทธิในการสร้างความสูงของอาคารเพิ่มขึ้นจาก 10 ชั้น เป็น 12 ชั้น จาก 20 ชั้น เป็น 24 ชั้น หรือ อาคารที่จัดให้มีพื้นที่รับน้ำส่วนรวม 1 ลบ.ม./50 ตร.ม. จะได้รับสิทธิต่อเติมเพิ่ม 5% หากให้พื้นที่รับน้ำมากกว่า 1 ลบ.ม./50 ตร.ม. จะได้รับสิทธิต่อเติมเพิ่มมากกว่า 5% แต่สูงสุดไม่เกิน 20%

สำหรับประเด็น FAR Bonus ที่หลายฝ่ายอาจมีข้อกังวลนั้น นางวราภรณ์ กล่าวว่า FAR Bonus มีการผลักดันมานานแล้ว ตัวอย่างอาคารที่เข้าร่วมคือ อาคารเมืองไทยภัทร ย่านรัชดาภิเษก จัดให้มีพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อถึงด้านหน้าอาคาร โดยไม่มีรั้ว รวมถึงอาคารด้านพลังงาน ย่านถนนพระราม 6 ซึ่งไม่สร้างรั้วกั้น ทำให้ สามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่สาธารณะได้โดยตรง สิ่งที่ กทม.อยากให้มีการแบ่งปันพื้นที่ เช่น จุดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อจะได้ไม่ต้องตั้งบนทางเท้า ทำให้ทางเท้าโล่งและกว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม การทำ FAR Bonus สามารถทำได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเจ้าของพื้นที่ โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะอาคารขนาดใหญ่พิเศษ 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป มักจะมีมาตรการประหยัดพลังงาน พื้นที่สีเขียว และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว สามารถใช้โอกาสนี้รับ FAR Bonus เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงอาคารต่อไปได้..สำหรับการปรับสีของการใช้ประโยชน์จากที่ดิน โดยพื้นที่หลัก ๆ ที่จะเปลี่ยนไป เช่น พื้นที่ศรีนครินทร์ จะปรับจากที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง เนื่องจากมีเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีแดง และ สายสีเหลือง ซึ่งเปิดให้บริการแล้ว รวมทั้งพื้นที่รับน้ำ (เขียวลาย) ด้านตะวันออกที่เขตมีนบุรี หนอกจอก คลองสามวา และลาดกระบัง เดิมเป็นพื้นที่สีเขียวเกษตรกรรม ซึ่งใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำขนาด 250 ตารางกิโลเมตร จะถูกปรับเปลี่ยนให้เหลือเพียง 50 ตารางกิโลเมตร เพื่อลดภาระประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว แต่จะมีการพัฒนาระบบคลองแนวเหนือ-ใต้อย่างเป็นระบบทดแทน มีการขยายคลองเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ รวมถึง พื้นที่เขตทวีวัฒนา มีการปรับจากพื้นที่เขียวลาย (อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) เป็นพื้นที่สีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) มากขึ้น “สาระสำคัญหลักของร่างผังเมืองฉบับนี้ คือ 1.การปรับสีการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2.ปรับให้มีการใช้ที่ดินเพื่อส่วนรวมมากขึ้น FAR Bonus เพื่อส่วนรวมอย่างเดียว โดยการปรับผังเมืองดังกล่าว กทม.มีโครงการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานของเมืองรองรับ ซึ่งจะก่อสร้างไปพร้อมการพัฒนาของภาคเอกชนที่ไปใช้ประโยชน์ที่ดินตรงนั้น ซึ่งดำเนินการควบคู่กันไป” นางวราภรณ์ กล่าว


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  14 มกราคม 2567

ที่มา : https://mgronline.com/infographic/detail/9670000002791

“หมอกจางๆ และควัน คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้” ที่เห็นว่าเป็นหมอก ที่จริงแล้วอาจจะเป็นควันอย่างที่ในเพลงว่า และไม่ได้มาเพื่อบดบังทัศนวิสัยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังพาความเสี่ยงต่อสุขภาพมาให้กับเราด้วย

จริงๆ แล้วค่าฝุ่นละออง PM2.5 ในประเทศไทยก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ อยู่แล้วโดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งมีทั้งฝุ่นและควันแต่สำหรับสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในกรุงเทพและปริมณฑลนี้ มาจากหลายสาเหตุ เช่น การเผาป่า การเผาขยะ การเผาในที่โล่ง การเพิ่มพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ แม้แต่การประกอบอาหารที่ใช้เตาถ่านก็ทำให้ฝุ่นละอองเหล่านี้เพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศในปีนี้ค่อนข้างนิ่ง ทำให้ฝุ่นอยู่ในที่แคบๆ ไม่มีการไหลเวียนระบายไปที่อื่น จึงทำให้ค่าฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานในปีนี้เกิดขึ้นเร็วและอยู่กับเรานานกว่าปีก่อนๆ

ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่พบเห็นฝุ่นละอองที่มีลักษณะคล้ายหมอกควัน หรือมีการแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

1. ลด/หลีกเลี่ยงเวลาที่อยู่กลางแจ้งในบริเวณที่มลพิษค่าอากาศอยู่ระดับไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะริมถนนใหญ่ ที่มีการก่อสร้างมาก

2. หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใส่หน้ากากประเภทที่สามารถกรองฝุ่นขนาดเล็กกว่า“0.3 ไมครอน” ได้ เช่น N95, P100

3. หลีกเลี่ยงหรือลดจำนวนชั่วโมงการออกกำลังกายกลางแจ้งในบริเวณมลพิษอากาศไม่ปลอดภัย

4. เมื่ออยู่ในอาคาร ควรปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย และหมั่นทำความสะอาดบ้านทุกวัน

5. เมื่ออยู่ในอาคาร หลีกเลี่ยงการจุดเทียน ตะเกียงในอาคาร เพื่อลดการเผาไหม้ในอาคาร

6. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำงานนานกว่า 12 ชั่วโมง ในที่โล่งแจ้ง

หากต้องการออกกำลังกายจริงๆ แนะนำเปลี่ยนประเภทการออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นประเภทที่ใช้พลังงานน้อยลง เช่น จากวิ่งจอกกิ้งเป็นเดินช้าๆ แทน โดยกลุ่มคนที่ต้องระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ และเด็ก


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  13 มกราคม 2566

ที่มา: https://thaipublica.org/2024/01/muangthai-life-plastic-bottle-waste-pr-10012024/

เมืองไทยประกันชีวิต และมูลนิธิเมืองไทยยิ้ม ยืนความเป็นหนึ่งการตอบแทนสังคม ได้ประกาศนโยบายสนับสนุนการลดปริมาณขยะขวดพลาสติกนำมาผลิตเป็นผ้าห่ม สานต่อในโครงการ  “ห่มรัก” ปีที่ 13 มอบผ้าห่มอัพไซคลิง (Upcycling) เมืองไทยประกันชีวิตและมูลนิธิเมืองไทยยิ้มแก่ผู้ประสบภัยหนาว ผ้าห่มกันหนาว 1 ผืน ผลิตจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้วขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 11 ขวด

นายสาระ ล่ำซำ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการสร้างความสมดุลทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ในโอกาสนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับมูลนิธิเมืองไทยยิ้ม ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมสานต่อโครงการ “ห่มรัก” ปีที่ 13 มอบผ้าห่มอัพไซคลิงให้แก่ประชาชนที่ประสบภัยหนาวในหลายจังหวัด เพื่อขานรับนโยบายภาครัฐในการลดปริมาณขยะจากขวดน้ำพลาสติกที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน บริษัทฯ จึงได้ผลิตผ้าห่มขึ้นใหม่ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการตระหนักถึงปัญหาด้านขยะและการใช้พลาสติกมากมาย  สำหรับผ้าห่มอัพไซคลิงกันหนาวเมืองไทยประกันชีวิตและมูลนิธิเมืองไทยยิ้มนั้น  นำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการนำวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้วกลับมามีคุณค่าในการใช้งานอีกครั้งอย่างมีคุณภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ ผ้าห่มดังกล่าวผลิตขึ้น โดยวิสาหกิจชุมชนบ้านวัดจากแดงเศรษฐกิจพอเพียง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ซึ่งผ้าห่มกันหนาว 1 ผืน จะผลิตจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้วขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 11 ขวด นอกจากนี้ยังมีผลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงถึง 0.99 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้ผ้าห่มไม่เพียงแค่อบอุ่นและมีคุณภาพดีต่อผู้ใช้งาน แต่ยังมีผลในการส่งเสริมความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการผลิตผ้าห่มอัพไซคลิง (Upcycling) 1 ผืนเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ใหญ่ถึง 0.11 ต้น


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  12 มกราคม 2567

ที่มา : Sarakadee (https://www.sarakadee.com/2024/01/11/on-the-edge-of-extinction/)

“คนมักคิดว่าสัตว์ป่าอันตรายทั้งที่มันก็หนีเราจนหัวซุกหัวซุนเหมือนกัน พอมนุษย์ไม่ยอมให้อยู่ ก็หาวิธีกำจัดมันออกจากธรรมชาติไปเอง”..วัชระ สงวนสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารคลังตัวอย่างทางธรรมชาติวิทยาและสัตว์สตัฟฟ์ เล่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สัตว์ในธรรมชาติสูญพันธุ์..ในห้องโถงกว้างมีสัตว์นานาชนิดจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ NSMคลองห้า ปทุมธานี ในลักษณะขบวนพาเหรด ให้ความรู้สึกคล้ายผู้มาเยือนกำลังชมโชว์จากคณะละครสัตว์ ทว่าพวกมันปราศจากลมหายใจแล้ว จุดมุ่งหมายของนิทรรศการ “สู่สูญพันธุ์” นี้แสดงให้เห็นความหลากหลายทางชีวภาพ เล่าผ่านสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วและกำลังจะสูญพันธุ์ โดยอ้างอิงหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการจำแนกชนิดพันธุ์ จาก IUCN Red List Categories and Criteria ภายในห้องจัดแสดงแบ่งกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเล่าเรื่องและเป็นการแสดงสถานภาพของสัตว์ชนิดนั้น ๆ ไปในตัวว่าในขณะนี้อยู่ในสถานการณ์แบบใด โดยแบ่งเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และปลา

ด้านหนึ่งของห้องปรากฏหุ่น “สมัน” ตัวสีขาวสง่าอยู่บนแท่นวางซึ่งมีระดับความสูงเหนือหัวมนุษย์ให้ต้องแหงนมอง ลำตัวของสมันประทับอักษรสีแดง ด้านหนึ่งเป็นคำว่า “สูญพันธุ์” อีกด้านคือ “Extinct” ตอกย้ำความหมายเดียวกัน แท่นสมันขนาดใหญ่กว่าหนึ่งคนโอบ ปรากฏเรื่องราวเกี่ยวกับสมัน ตั้งแต่ยังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์จนไทมไลน์ของสมันตัวสุดท้ายที่มีชีวิตอยู่บนโลก กระทั่ง 50 ปีต่อมาได้รับการยืนยันว่าสมันนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว สิ่งที่พิเศษของสมันจำลองนี้คือ “เขาจริงสีน้ำตาล” หลักฐานของสิ่งมีชีวิตก่อนสูญพันธุ์ด้วยฝีมือมนุษย์..อีกสิ่งจัดแสดงน่าสนใจคือ “ปลาฉนาก” เด่นด้วยลักษณะตรงส่วนปากคล้ายเลื่อย ขนาดเท่าตัวจริง ซึ่งในประเทศไทยเคยพบเจออยู่ 3 ชนิด ก่อนถูกบันทึกว่าสูญพันธุ์แล้วทั้งในไทยและทั่วโลก เนื่องจากเป็นปลาน้ำตื้น อยู่ตามปากแม่น้ำ พอถึงฤดูวางไข่ผสมพันธุ์ ก็จะว่ายเข้ามาทางปากแม่น้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง ความที่ปากเป็นซี่แหลมทำให้ติดอวนของชาวบ้านโดยง่าย เป็นเหตุให้ถูกจับและนำไปตัดปากเพื่อใช้บูชาเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์..กลุ่มข้างกันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “เต่า” สัตว์ผู้ถูกคุกคามอย่างหนัก จนหลายชนิดใกล้สูญพันธุ์เต็มทีแล้ว อย่างเช่น เต่าดาวรัศมี ที่คนนิยมนำไปขาย หรือ “ตะพาบม่านลาย” ที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ก็ถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยโดยสร้างเขื่อนที่กั้นขวางแม่น้ำแม่กลอง ทำให้หาดทรายที่เหมาะสมต่อการวางไข่บนบกหายไป จำนวนประชากรที่ลดน้อยในธรรมชาตินับวันยิ่งเสี่ยงสูญพันธุ์ในที่สุด


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.