• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในเมืองผ่านการดีไซน์

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  21 ธันวาคม 2567

ที่มา https://www.baanlaesuan.com/353642/advertorial/redesign-metro-city/

บ้านและสวน ชวนไปพูดคุยกับนักวิชาการจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับนักวิชาการผังเมือง เกี่ยวกับสถานการณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูความหลากหลายผ่านการ Redesign เมือง รวมทั้งทำความรู้จักระบบฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและพื้นที่สีเขียว (Thai Green Urban : TGU) เครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชุมชนทั่วประเทศ เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คุณสุรีย์พร เกิดแก่นแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มงานพื้นที่เฉพาะและพื้นที่พัฒนาพิเศษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) สรุปภาพรวมของความหลากหลายในเมืองว่าไม่เพียงทำให้เกิดการหมุนเวียนของระบบนิเวศทางกายภาพเท่านั้น ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนและสัตว์ที่อาศัยภายในเมือง

ความหลากหลายทางชีวภาพ เราพูดถึงพืช สัตว์ รวมทั้งจุลินทรีย์ ถ้าเริ่มต้นจากจุลินทรีย์ในดิน ก็มีหลากชนิด หลายสายพันธุ์ ที่เกื้อกูลกัน และเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ดินมีคุณภาพดี เมื่อดินมีคุณภาพดีก็ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เมื่อมีพืชหลากหลาย ก็จะดึงดูดสัตว์เข้ามากินเป็นอาหาร ไม่ใช่แค่นั้น ยังมีพวกแมลงเข้ามาด้วย และก็ดึงดูดสัตว์ที่กินสัตว์เข้ามาอีก แล้วพื้นที่สีเขียวตรงนั้นก็จะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เกิดวัฏจักรของระบบนิเวศที่ครบวงจรขึ้นมา”

หน้าที่ของ สผ. คือ สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และพื้นที่สีเขียว เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคน ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจและชุมชนดีขึ้น รวมทั้งคุณภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม และกายภาพของเมืองโดยรวม และอีกส่วนหนึ่งคือการส่งเสริมให้ชุมชนในแต่ละท้องถิ่น ระหนักถึงภูมินิเวศที่อาศัยอยู่ว่ามีลักษณะอย่างไร การปฏิบัติตัว รวมทั้งปรับพฤติกรรมภายใต้สภาพแวดล้อมเหล่านั้นอย่างเหมาะสมเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมั่นคงและมีความสุข


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.