• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  7 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.thaipbs.or.th/news/content/337761

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมกันประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 1/2567 โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้การนำเสนอแหล่งสงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลาเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative list) ของศูนย์มรดกโลก และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ และหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาฯ นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้ทันต่อรอบการนำเสนอคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ระหว่างวันที่ 21-31 ก.ค.นี้ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย

พล.ต.อ. พัชรวาท กล่าวว่า การนำเสนอแหล่งสงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลามี 4 พื้นที่ประกอบเข้าด้วยกัน คือ เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณพะโคะ และเมืองโบราณสีหยัง เมืองโบราณสทิงพระ เมืองป้อมค่ายซิงกอร่า ณ เขาแดง และแหลมสน และสุดท้าย เมืองเก่าสงขลาในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร และอ.เมือง จะดำเนินการโดยมูลนิธิสงขลา สู่มรดกโลกที่เป็นการรวมตัวของประชาคมภาคส่วนต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา เพื่อนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในพื้นที่ ที่เป็นตัวแทนของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับอารยธรรมอื่น ๆ ตามเส้นทางการค้าทางทะเลเลียบแนวชายฝั่งกับนานาชาติตลอดระยะเวลานับพันปี การนำเสนอแหล่งสงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  6 มีนาคม 2567

http://ที่มา : Atime.live (https://atime.live/greenwave/greenheart/7179)

พลาสติก เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และเคยหยิบจับกันอยู่แทบทุกวัน ทั้งถุงพลาสติก ขวดน้ำ แก้วน้ำ หลอด หรือแม้แต่กล่องข้าว ก็ล้วนแล้วแต่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น พลาสติกเป็นวัสดุที่นำมาใช้งานได้กว้าง และหลากหลาย สามารถทำให้อ่อนนุ่ม เหนียว ยืดหยุ่น หรือจะทำให้แข็งแรง คงทน ถึงขนาดเป็นชิ้นส่วนของยานอวกาศได้เลยทีเดียว

พลาสติก คืออะไร..พลาสติก จัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์สามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการ พอลิเมอร์ไรเซชั่น (polymerization)..โดยใช้แหล่งวัตถุดิบจากปิโตรเคมีเป็นหลัก เช่น เอธิลีน (Ethylene) , พรอพพิลีน (Propylene)..เป็นต้น เมื่อพลาสติกโดนความร้อน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ “เทอร์โมเซตติ้ง(Thermosetting)” พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic)” พลาสติกจะเกิดการอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็ง เมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ คือ “เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) ปัญหาการจำกัดขยะพลาสติกในปัจจุบันนั้นส่วนหนึ่งเกิดจาก พลาสติกเป็นวัสดุที่ต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานถึง 500 – 650 ปี หรือพูดกันง่ายๆว่า ถุงพลาสติกที่เราใช้ในวันนี้ มีอายุยืนยาวกว่าตัวเราเองจนถึงรุ่นหลานของเราเลยทีเดียว อีกทั้งหากจะนำขยะพลาติกไปรีไซเคิล เป็นปุ๋ยชีวภาพ  หรือแปลเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ก็จำเป็นต้องใช้ทั้งพลังงานแถมผลที่ได้มานั้น หากทำไม่ถูกวิธี ขยะพลาสติก ก็จะแปลเปลี่ยนเป็น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดินอีกด้วย ปัญหาของขยะพลาสติกไม่ใช่แค่การย่อยสลายที่ใช้เวลานาน หรือกำจัดยาก แต่ยังมีเรื่องของปริมาณที่เยอะขึ้นทุกวัน ทุกที่ และทุกเวลา หากเราลองคิดกันง่ายๆ ว่าใน 1 วัน เราทิ้ง 1 ชิ้น ต่อ 1 คน ประเทศไทยเรานั้นก็จะเกิด ขยะวันละ 66.9 ล้านชิ้นต่อวันเลยทีเดียว

ประเทศไทยเรานั้นมีขยะพลาสติกเกิดขึ้น โดยเฉลี่ยปีละ  2 ล้านตัน แต่กลับนำมาใช้ประโยชน์ได้แค่เพียง  0.5 ล้านตันต่อปี ขยะในส่วนที่เหลือนั้น มักเป็นขยะที่ใช้งานได้เพียงครั้งเดียว เช่น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกวิธี ขยะก็จะกลายเป็นผลเสียที่จะกลายเป็นมลพิษต่อโลกไปนี้ต่อไป แล้วเราจะมีทางไหนไหมนะ? ที่จะย่อยสลายพลาสติกได้เป็นอย่างดีไม่เกิดมลพิษต่อระบบนิเวศ มารู้จักกับ “หนอนยักษ์” ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ หนอนยักษ์คืออะไร ? โซโฟบัส โมริโอ (Zophobas morio) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หนอนนกยักษ์ หรือ ซูเปอร์เวิร์ม (superworm)..สามารถใช้ชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกโพลิสไตรีน polystyrene..เป็นอาหาร เพราะเอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของพวกซูเปอร์หนอน สามารถย่อยสลายได้หนอนนกยักษ์  มีการแพร่กระจายทั่วทุกแห่งในอเมริกากลางในบางพื้นที่ ของอเมริกาใต้ และพบมากทางตะวันตกของหมู่เกาะอินดีส (Indies)..และแม็คซิโก (Mexico)..โดยมี มูลค้างคาวและเศษซากพืชซากสัตว์ในธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หรือมีการอยู่รวมกันใต้เปลือก ของต้นไม้ที่ตายแล้วและเมื่อโตเต็มไว จะกลายเป็นด้วงปีกแข็งสีด เราอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาของเจ้า หนอนนกยักษ์ นี้กันอยู่แทบตลอดเวลา เพราะมันมักจะกลายเป็น อาหารของ นก กิ่งก่า และสัตว์ฟันแทะ ในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ มักนิยมนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เพราะมีโปรตีนที่สูง และขนาดตัวที่พอเหมาะ ย่อยขยะได้อย่างไร ? จากการทดลอง และวิจัยพบว่าเจ้าหนอนนกยักษ์นี้ สามารถกัดกินและย่อยสลาย พอลิสไตรีน (polystyrene) และสไตรีน (styrene)..ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของพลาสติกที่เป็นตัวตั้งต้นในการผลิต ถุงพลาสติก หลอด โฟม และอีกมากมาย อีกทั้งยังค้นพบเอนไซม์หลายตัวในลำไส้ของหนอนเหล่านี้ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายพลาสติก นอกจากนั้นไม่ใช่แค่การย่อยสลายเพียงอย่างเดียว เจ้าหนอนนกยักษ์นี้ยังสามารถแปรเปลี่ยนพลาสติกเป็นพลังงานที่เลี้ยงชีพตนได้ แต่เจ้าหนอนที่กินพลาสติกเป็นประจำนั้นก็ไม่ได้มีสุขภาพที่ดีซักเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับหนอนที่กินอาหารที่เหมาะสมอย่าง รำข้าว


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  5 มีนาคม 2567

ที่มา https://www.dailynews.co.th/news/3228409/

ธนาคารกรุงเทพได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการ ‘Bualuang Save the Earth : รักษ์ท่าจีน’ เนื่องจากแม่น้ำท่าจีน ถือเป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายสำคัญที่จะไหลลงสู่ทะเล และพบปัญหาขยะที่มีมากกว่า 14 ล้านชิ้น หรือประมาณ 148 ตันต่อปี ต้องเร่งกำจัดขยะเหล่านี้ออกไปโดยเร็ว จึงทำให้ธนาคารกรุงเทพ ได้จับมือร่วมกับหน่วยงานราชการท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายชุมชน จ.สมุทรสาคร ร่วมติดตั้งทุ่นดักขยะ โดยนำร่องในพื้นที่ ‘คลองหลวงสหกรณ์ และคลองพิทยาลงกรณ์’ตำบลโคกขาม เพื่อลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีนและอ่าวไทย โดยตั้งเป้าหมายแก้ปัญหาให้ถึงต้นตอสร้างรากฐานความยั่งยืนในทุกมิติของสังคมไทย

เครื่องมือดักขยะที่ติดตั้งในครั้งนี้ จะประกอบด้วย 3 ประเภทเครื่องมือ ได้แก่ ทุ่นดักขยะ ผลิตจากพลาสติก HDPE กระชังไม้ไผ่ดักขยะ และเครื่องมือดักขยะแบบปักหลัก ซึ่งเครื่องมือทั้ง 3 ประเภทเหมาะสมกับสภาพกระแสน้ำ สามารถรองรับกระแสน้ำขึ้นน้ำลงได้ จะเป็นตัวช่วยดักขยะที่ไหลมาตามน้ำไม่ให้ไหลต่อลงสู่แม่น้ำท่าจีนและทะเลอ่าวไทย ขณะเดียวกัน ได้ทำการติดตั้ง “น้องจุด” หรือ ฉลามวาฬ เป็นที่พักขยะแบบถาวร โดยเฉพาะประเภทขวดพลาสติกทั้งจากการดักจับบนผิวน้ำและเกิดขึ้นบนบก โดยจะวางไว้ 2 จุดในบริเวณลานวัดสหกรณ์โฆสิตาราม เป็นพื้นที่การจัดกิจกรรมและตลาดนัดเป็นประจำ จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลเป็นประจำ ตักขยะเพื่อนำไปคัดแยกและรีไซเคิล ส่วนขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้แล้ว หรือขยะกำพร้า จะถูกส่งไปทำเชื้อเพลิงทดแทนให้เกิดประโยชน์ต่อไป และได้ต่อยอดสู่การเพิ่มมูลค่าที่จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว เมื่อชุมชนคัดแยกขยะออกมาได้ปริมาณที่มากขึ้น ธนาคารจะก่อตั้งโครงการธนาคารขยะในชุมชนต้นแบบ ให้บริษัทรับซื้อเข้ามาซื้อขายขยะในพื้นที่ เพื่อให้จัดการขยะได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  4 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4452268

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนต้องก้าว บริษัทเจเนซิล จำกัด และบริษัทดาวเคมิคอล ได้เปิดศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ด้วยหนอนแมลงทหารดำ (Black Soldier Fly;BSF) โดยมี ดร.ชาติวุฒิ กังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสขภาพ กล่าวเปิดงาน คุณสิริ จันทะประแดง ผู้บริหารสวนต้องก้าว คุณสาริณี เสถียรภัคกุล ผู้บริหารบริษัทเจเนซิส จำกัด บรรยายการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยหนอนแมลงทหารดำ รศ.ดร.ปัญญา มินยง ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ธัญบุรี และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการแนะนำระบบและกระบวนการทำงานของโรงเรือน BSF

คุณสาริณี เสถียรภัคกุล ผู้บริหารบริษัทเจเนซิส จำกัด เผยว่า สำหรับกระบวนการการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพในสภาพควบคุมสิ่งแวดล้อมด้วยหนอนแมลงทหารดำและผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โครงการการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยหนอนแมลงทหารดำ สามารถลดการจำกัดด้วยการนำไปเผา หรือฝังกลบ ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าวิธีนำไปทำปุ๋ยหมักถึง 47 เท่า โดยไข่หนอนทหารดำ 1 กิโลกรัม ซึ่งออกมาเป็นตัวหนอนสามารถกำจัดขยะได้ 13 ตัน ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ ตลอดทั้งวงจรชีวิตในช่วงตัวหนอน โดยแมลงชนิดนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในธรรมชาติสามารถพบได้ทั่วไปในเขตอบอุ่น บริเวณพุ่มไม้ แมลงทหารดำจะกินเฉพาะน้ำและน้ำหวานเพื่อการดำรงชีวิตสั้น ๆ เพียง 7 – 12 วันเท่านั้นก่อนจะผสมพันธุ์ หาที่วางไข่และตายลง ดังนั้นจึงไม่เหมือนแมลงวันบ้านที่บินวนตอมอาหารตามบ้านเรือน และไม่มีผิดกัดต่อยเช่นต่อ แตน หรือผึ้ง จึงมีความปลอดภัย ไม่รบกวนการดำรงชีวิตของมนุษย์

รศ.ดร. ปัญญา มินยง ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ธัญบุรี และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ ผู้ออกแบบโรงเรือนชุดกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพในสภาพควบคุมสิ่งแวดล้อมใช้ย่อยสลายกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ และควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยหนอนแมลงทหารดำ เผยว่า โจทย์คือการใกล้แหล่งชุมชน โดยต้องคำนึงในส่วนของกลิ่นที่รบกวนชาวบ้านที่อยู่ใกล้ ๆ ศูนย์ หลักในการออกแบบจึงให้ความสำคัญในเรื่องของกลิ่น การควบคุมอุณหภูมิเพื่อกักกลิ่น จึงได้ออกแบบผนังโดยใช้แผ่นไอโซวอลล์ ความหนา 3 นิ้ว ในการสร้างโรงเรือน สำหรับโรงเรือนแบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 โซน 1. โซนรับขยะอาหาร และไม่บดอาหาร 2. โซนอนุบาลหนอน 3. โซนเพาะพันธุ์ 4. โซนโรงบิน สำหรับตัวแมลงวางไข่ 5. โซนเลี้ยงหนอน 6. โซนโรงปุ๋ย ซึ่งได้จดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  3 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/environment/1115293

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมถือเป็นวาระร้อนระดับโลกหนึ่งในประเด็นปัญหาสาคัญที่นานาประเทศมุ่งเป้าคือพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม และในชีวิตประจาวันอย่างไรก็ดีพลาสติกกลับถูกใช้แล้วทิ้งในทันทีขณะที่การย่อยสลายพลาสติกต้องใช้เวลานานมากทั้งยังเกิดไมโครพลาสติกปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาที่เรียกกันว่ามลพิษพลาสติก

จากบทความ ‘การแก้ปัญหา ‘ขยะพลาสติก’ ในอาเซียน’ โดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้า และการพัฒนา (ITD) ระบุว่า ข้อมูลจาก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่า ปี 2562 ทั่วโลก มีการผลิตพลาสติกต่อปี 460 ล้านตัน พุ่งขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ 20 ปีก่อน เช่นเดียวกับขยะพลาสติกที่สูงถึง 353 ล้านตัน แต่ได้รับการรีไซเคิลเพียง 9% เท่านั้น ส่วนประมาณ 19% ถูกเผาในเตาเผา ขณะที่เกือบประมาณ 50% ถูกฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล และอีกประมาณ 22% ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องหรือปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ปี 2563 จาก การแพร่ระบาดของโควิด-19 การใช้พลาสติกทั่วโลกลดลง 2.2% จากปี 2562 แต่พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวเพิ่มขึ้นสูงอย่างมากจากบรรดาอุปกรณ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขยะพลาสติกก็เพิ่มขึ้นอีกครั้งตลอดวงจรชีวิต ของพลาสติกผลิตก๊าซเรือนกระจกประมาณ 3.4% ของก๊าชเรือนกระจกทั้งโลก

6 ประเทศอาเซียนสร้างขยะทะเล TOP10 ของโลก

ขยะทะเลคือสิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตการอุปโภคบริโภคซึ่งเสื่อมสภาพจนใช้การไม่ได้หรือไม่ต้องการใช้แล้วแทนที่จะถูกกาจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสมกลับไหลรวมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทรซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากกระทาของมนุษย์โดยตรงเช่นการทิ้งขยะลงทะเลระบบการจัดการขยะด้อยประสิทธิกาพและโดยอ้อมเช่นการทิ้งขยะลงแม่น้าลาคลองลมและน้าพัดพาจากชุมชนออกสู่ทะเล

อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปล่อยพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดโดยเมื่อปี 2564 ผลการวิจัยที่เผยแพร่ภายใต้ Science Advances ระบุว่า6ประเทศอาเซียนปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลติด 10 อันดับแรกของโลกได้แก่

อันดับที่ 1 ฟิลิปปินส์ 3.6 แสนล้านตัน

อันดับที่ 3 มาเลเซีย 7.3 หมื่นล้านตัน

อันดับที่ 5 อินโดนีเซีย 5.6 หมื่นล้านตัน

อันดับที่ 6 เมียนมา 4 หมื่นล้านตัน

อันดับที่ 8 เวียดนาม 2.8 หมื่นล้านตัน

อันดับที่ 10 ไทย 2.3 หมื่นล้านตัน

ทั้งนี้นอกจากส่วนที่ผลิตในประเทศอาเซียนยังมีการนาเข้าขยะพลาสติกจานวนมากซึ่งส่วนใหญ่กลายเป็นมลพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม อาเซียนเองเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวโดยมีการประชุมอาเซียนว่าด้วยการลดขยะในทะเลที่จัดขึ้นในปี 2560 โดยในปี 2562 อาเซียนได้ร่วมกันกาหนดกรอบปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล และรับรองปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  2 มีนาคม 2567

ที่มา : https://www.prachachat.net/public-relations/news-1511991

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) หรือ DAD Asset Development ได้เริ่มดำเนินการปรับภูมิทัศน์ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 40.9 ไร่ โดยพัฒนาเป็นสวนสวย 5 แห่ง ในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยปี 2567 ทยอยลงต้นไม้ให้แล้วเสร็จ จากนั้นจะดูแลรักษาเพื่อให้เติบโตและสวยงามภายในปลายปี 2569 ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 449 ล้านบาท

เริ่มกันที่ พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 1 อาคารจอดรถ D ตั้งอยู่ด้านหน้าศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ อาคารนี้มีสวน 3 แห่ง รวมพื้นที่ 5.4 ไร่

พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 2 “สวนหลังศาล” ตรงแยกพระพรหม พื้นที่ประมาณ 5.7 ไร่

พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 3 บริเวณเกาะกลางถนนตั้งแต่ซอยแจ้งวัฒนะ 7 ถึงอาคารรัฐประศาสนภักดี เป็นพื้นที่แนวยาว รวมประมาณ 12.05 ไร่

พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 4 คือด้านหน้าอาคารรัฐประศาสนภักดี ขนาดพื้นที่ 12.65 ไร่ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับสวนหลังศาลพระพรหม โดยเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะกลายเป็นสวนสาธารณะ

พื้นที่สีเขียวแห่งที่ 5 แห่งสุดท้าย จะเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างอาคาร B กับอาคาร C ขนาดพื้นที่ 5.1 ไร่ ผู้คนที่เข้ามาติดต่อหรือทำงานในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้ใช้พักผ่อนและช่วยลดแสงสะท้อนสายตาได้อีกด้วย


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  1 มีนาคม 2567

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/society/2765984

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณนอกชายฝั่งทะเลศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งอยู่ห่างฝั่ง 4 กม. โดยสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สถานี ST6 ซึ่งไม่พบปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ฯ (ไม่น้อยกว่า 4 มิลลิกรัมต่อลิตร) และพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณหาดวอนนภาไปจนถึงแหลมแท่น จ.ชลบุรี โดยอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล

นอกจากนั้น สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา รายงานพบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวบริเวณสะพานราชนาวี จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  29 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1115317)

นักดาราศาสตร์ทั่วโลกมีความกังวลกับ “มลภาวะทางแสง” มากขึ้น เนื่องจากแสงสว่างจากอาคารบ้านเรือนยามค่ำคืน เริ่มส่งผลกระทบต่อการมองเห็นดวงดาวบนท้องฟ้าแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งคนและสัตว์ นาฬิกาชีวภาพในคนเสีย พฤติกรรมสัตว์เปลี่ยน หาที่อยู่ใหม่เพราะหนีแสงจ้า ภาพถ่ายดาวเทียมของโลกในตอนกลางคืนสว่างไสวไปด้วยแสงไฟฟ้าจากเมืองต่าง ๆ เชื่อมต่อถึงกันระยิบระยับ จนแทบจะกลายเป็นดาวเคราะห์ที่มีแสงในตัวเอง เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าอารยธรรมมนุษย์เติบโตขึ้น และความเจริญได้เข้าถึงเกือบทุกที่ทั่วทุกมุมโลก แต่ในขณะเดียวกันสิ่งเหล่านี้ก็สะท้อนเห็นถึงมลภาวะทางแสงที่กำลังเกิดขึ้นเช่นกัน

         Globe at Night องค์กรรณรงค์เรื่องผลกระทบของมลภาวะทางแสง เผยแพร่รายงานที่อิงจากข้อมูล 10 ปีบนท้องฟ้ายามค่ำคืนตั้งแต่ช่วงปี 2011-2022 พบว่า ในแต่ละปีท้องฟ้ายามค่ำคืนจะสว่างขึ้น 10% ซึ่งส่งผลให้ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าจำนวนมากถูกกลืนหายไปโดยแสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง ไฟถนน สัญญาณไฟจราจร ฯลฯ เราต่างคุ้นเคยกันดีว่าการมีไฟฟ้าส่องสว่าง ถือเป็นเครื่องหมายของการความเจริญและความปลอดภัย แต่ในตอนนี้หลายพื้นที่มีแสงสว่างเกินความจำเป็น ข้อมูลจาก Dark Sky Group จากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN พบว่า นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและการเติบโตของเมืองทำให้เกิด “แสงสว่างส่วนเกิน” ในช่วง 25 ปีระหว่างปี 1992-2017 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลจากดาวเทียมวัดข้อมูลได้ว่า มลภาวะทางแสงทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 49% แต่ตัวเลขอาจสูงกว่านี้มากถึง 270%

ในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มหันมาใช้ไฟ LED แบบฟูลสเป็กตรัมมากกว่าไฟโทนสีอุ่นสลัว ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้น โดยทราวิส ลองคอร์ นักนิเวศวิทยาของ UCLA กล่าวว่า ไฟ LED จะมีช่วงความยาวคลื่นมากกว่าหลอดโซเดียมความดันสูงแบบเก่า ทำให้สามารถปล่อยคลื่นแสงสีน้ำเงินและสีเขียวมากกว่า จนนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติสามารถมองเห็นความแตกต่างจากอวกาศได้

มลภาวะทางแสงอาจดูเหมือนเป็นปัญหารองเมื่อเทียบกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่นๆ แต่ก็สามารถลดลงได้ง่าย ๆ เดวิด เวลช์ ประธานกลุ่มที่ปรึกษาท้องฟ้ามืดของ IUCN แนะนำให้หรี่แสงไฟในพื้นที่กลางแจ้งลง หรือใช้แสงในระดับที่จำเป็นสามารถสร้างความแตกต่างได้มาก รวมถึงหันมาใช้ไฟโทนอุ่น หลีกเลี่ยงการใช้หลอดไฟ LED แบบฟูลสเป็กตรัม ที่มีแสงสีฟ้าเป็นอันตรายต่อผู้คนและสัตว์ต่าง ๆ โดยแสงไฟสีเหลืองนวลเป็นสีที่อันตรายต่อสายตาของสิ่งมีชีวิตน้อยที่สุด ช่วยให้สัตว์ส่วนใหญ่สามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้ การติดตั้งตัวจับเวลาและเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ให้เปิดไฟเฉพาะเวลาที่มีคนอยู่ก็สามารถช่วยลดมลพิษทางแสงได้เช่นกัน ในปัจจุบันหลายประเทศเริ่มมีการก่อตั้งเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดขึ้น เพื่อเป็นพื้นที่ปลอดแสงประดิษฐ์และสกายโกลว และสร้างความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าต่อพื้นที่ธรรมชาติที่ไร้แสงรบกวน สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์และดวงดาวได้อย่างชัดเจน ซึ่งนับวันยิ่งหาพื้นที่แบบนี้ได้ยากขึ้นทุกที


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.