• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  28 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : https://thai.cri.cn/2024/02/27/ARTIV0NIYo1dHEiLBdG18Pur240227.shtml

การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 1 มีนาคม ภายใต้หัวข้อหลักคือใช้ปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล มีความอดทน และมีความยั่งยืน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และการก่อเกิดมลพิษ

การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเป็นกลไกการตัดสินสูงสุดสำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินการร่วมในระดับโลก ในการจัดการกับความท้าทายต่างๆเช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มลพิษ การเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ และอื่นๆ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  27 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2765477

กรุงเทพมหานคร, บมจ. อิชิตัน กรุ๊ป และพันธมิตร ร่วมปรับปรุงพื้น เขตทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณซอยสุขุมวิท 50 เป็นสวนสาธารณะ “สวน 50 สุข” เพิ่มพื้นที่สีเขียว เชื่อมโยงให้กับคนในชุมชน โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “สวน 50 สุข” เป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ตั้งใจเหมือนกันในการให้ความสำคัญกับสุขภาพกายสุขภาพใจของชุมชนพร้อมกับสุขภาพของสิ่งแวดล้อม

นายชัชชาติ ได้กล่าวอีกว่า สวน 50 สุข ถูกออกแบบมาให้เป็นมากกว่าพื้นที่สีเขียว เป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมให้เกิดความสุขที่เกิดจากร่างกายแข็งแรง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในระดับครอบครัวและระดับชุมชน และยังตั้งใจจะทำให้ชุมชนได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ไปพร้อมกับการปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และก็ขอบคุณที่สวนแห่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนโครงการปลูกต้นไม้หนึ่งล้านต้น ร่วมกันต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ สร้างพื้นที่ร่มเย็นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับภูมิทัศน์กรุงเทพฯ อยากจะขอเชิญชวนคนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะชุมชนข้างเคียง ร่วมกันดูแลสวนนี้ เพื่อให้สวนนี้ดูแลชุมชนของเรา และสร้างความสุขให้เกิดขึ้นทุกวัน

สำหรับ “สวน 50 สุข” อยู่ในบริเวณใกล้จุดลงทางด่วนในซอยสุขุมวิท 50 เกิดจากแนวคิด 3+2×10 พื้นที่ได้รับการออกแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิด 3 ฮอร์โมนแหล่งกำเนิดความสุข เซโรโทนิน โดปามีน และออกซิโตซิน เพื่อให้คนต่างวัย ต่างความชอบได้ใช้พักผ่อน ออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้ และยังมีลานกีฬา สวนสำหรับสัตว์เล็ก เพื่อร่วมแบ่งปันความสุขกับสัตว์เลี้ยงของชุมชน รวมกับ 2 องค์ประกอบด้านจิตใจคือ Art & Earth ที่จะสามารถเดินชมงานศิลปะกลางแจ้ง จุดประกายจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ กลางต้นไม้เขียว และภูมิทัศน์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชื่อมคนเข้ากับโลก แล้วขยายความสุข x10

ด้าน คุณตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงเจตนารมณ์การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐด้านสิ่งแวดล้อม และแนวคิดในการปรับปรุงสวน 50 สุข ว่า เป็นความภูมิใจที่ได้มีส่วนเล็ก ๆ ในการช่วยลดอุณหภูมิให้กับโลก และเป็นส่วนหนึ่งใน New Year Resolution ที่จะปลูกต้นไม้ 10,000 ต้น โดยอีก 9,000 ต้น ตนได้ปลูกเสร็จเรียบร้อยที่เขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  26 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1114391)

“น้ำเสีย” เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของประเทศไทยเพราะน้ำเสีย ไม่เพียงแต่ส่งกลิ่นเหม็นเท่านั้น แต่ยังสร้างคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากขึ้นไป ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก จึงเกิดนวัตกรรม “ออกซิเจนบริสุทธิ์” ที่จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างยั่งยืน

       ปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่าโครงการ GENERATING A CLEANER FUTURE เป็นนวัตกรรม และเทคโนโลยีสำหรับการดูแลคุณภาพน้ำ ด้วยกระบวนการเพิ่มออกซิเจนในแหล่งน้ำ ลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านต้นทุน และประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมช่วยให้ปรับปรุงกระบวนการบําบัดน้ำ และน้ำเสียได้มีประสิทธิภาพ โดยการทำงานของเทคโนโลยีนี้จะสามารถเติมอากาศด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ โอโซน และการเกิดออกซิเดชันขั้นสูงด้วยเทคโนโลยีการถ่ายเทมวลสูงที่มีประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำ และยังมีโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมสําหรับการรีไซเคิลน้ำเสีย การปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการบําบัดด้วยระบบทําความเย็น เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ได้ประมาณ 18,000 ต้นต่อปี และลดคาร์บอน 275 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี สำหรับโครงการแรกเริ่มต้นที่สวนเบญจกิติที่รับน้ำมาจากคลองไผ่สิงโต ซึ่งมีคุณภาพน้ำค่าออกซิเจนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก พอมีออกซิเจนให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะปล่อยน้ำเข้าไปในบึงได้ โดยปริมาณออกซิเจนซึ่งละลายอยู่ในน้ำ (DO) ปริมาณการละลายออกซิเจนในน้ำสามารถบอกถึงคุณภาพของน้ำที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตต้องมีค่าออกซิเจนละลายไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ ระบบการเติมออกซิเจนนั้นจะต้องใช้ออกซิเจนเหลวซึ่งมีคุณภาพเทียบเท่าออกซิเจนของโรงพยาบาล แต่การจะใช้ออกซิเจนเติมลงไปในน้ำนั้นต้องเปลี่ยนของเหลวเป็นก๊าซก่อนผ่านตัวระเหยผ่านอากาศแล้วอัดลงไปในน้ำโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการคำนวณโมเลกุลของขนาดออกซิเจนลงไปในน้ำเพื่อให้ปริมาณที่เหมาะสมตามคุณภาพ ณ ตอนนั้น โดยปกติแล้วออกซิเจนหนึ่งถังจะสามารถใช้ในการบำบัดน้ำได้ 1 สัปดาห์ในช่วงหน้าแล้งแต่ในช่วงฤดูฝนจะสามารถอยู่ได้เป็นเดือนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในฤดูกาลนั้นๆ สามารถแบ่งการดำเนินงานของระบบเป็น 4 ด้าน ดังนี้

1.โซลูชันด้านพลังงาน จะมีข้อมูลแบบ Real-Time..และเทคโนโลยี AI เพื่อควบคุมจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนด้านการจัดการพลังงาน โดยจะช่วยให้ควบคุม จัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงาน พร้อมลดต้นทุนพลังงานด้วยการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด​​

2.การบำบัดน้ำ โดยจะมีโซลูชันการบำบัดน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย เป็นไปตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม อย่างการเพิ่มประสิทธิภาพของหอทำความเย็น (Cooling Tower) รวมถึงการรีไซเคิลน้ำ​​

3.การบริหารจัดการคอมเพรสเซอร์ การจัดการคอมเพรสเซอร์ที่เหมาะด้วยระบบขั้นสูงของบีไอจีที่ประสานคอมเพรสเซอร์ เครื่องทำลมแห้ง และตัวกรองหลายตัวเข้าด้วยกันเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

4.​​การเติมออกซิเจน เพื่ออัปเกรดระบบบำบัดน้ำเสียด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 99.5% แทนอากาศกำจัดไนโตรเจน ด้วยเทคโนโลยี Halia..ที่สามารถผสมอย่างละเอียดโดยไม่ต้องใช้อากาศ และการป้องกันปัญหาสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC)


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  25 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://mgronline.com/travel/detail/9670000016255

กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานเขตคลองเตย การทางพิเศษแห่งประเทศไทยและบมจ.อิชิตัน กรุ๊ป เปิดตัวสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ได้ปรับปรุงพื้นที่ในเขตทางพิเศษเฉลิมมหานครบริเวณซอยสุขุมวิท 50 เขตคลองเตย ให้กลายเป็น “สวน 50 สุข” ร่วมกับนโยบายสวน 15 นาทีของท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พื้นที่ได้รับการออกแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิด 3 ฮอร์โมน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความสุขอย่างเซโรโทนิน โดปามีน และออกซิโตซิน เพื่อให้คนต่างวัย ต่างความชอบได้ใช้พักผ่อน ออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้ เพื่อเพิ่มฮอร์โมนความสุขตามธรรมชาติ เสริมสร้างอารมณ์และความเป็นอยู่ที่ดี ตั้งแต่เส้นทางเดินอันเงียบสงบ ไปจนถึงลานกีฬาที่จะทำให้หัวใจสูบฉีด และมีสวนสำหรับสัตว์เล็ก เพื่อร่วมแบ่งปันความสุขกับสัตว์เลี้ยงของชุมชน

สวน 50 สุข คือสัญลักษณ์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่อยากให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพใจให้กับชุมชน ไปพร้อมกับสุขภาพของสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของกทม. สวน 50 สุข จึงถูกออกแบบให้เป็นมากกว่าพื้นที่สีเขียว แต่เป็นพื้นที่ที่ชุมชนจะเชื่อมต่อธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ การสร้างพื้นที่ร่มเย็นสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  24 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.tnnthailand.com/news/earth/162056/

“งานลอยกระทงดิจิทัล กทม.” หรือ “Bangkok Digital Loy Krathong Festival” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก ณ คลองโอ่งอ่าง เขตพระนครและเขตสัมพันธวงศ์ ได้ถูกคัดเลือกให้รับรางวัล Asia Pinnacle Awards สาขา Best Eco – Friendly Festival จากสมาคม IFEA (ASIA) หรือสมาคม The International Festivals and Events Association (สมาคมการจัดงานอีเวนท์และเทศกาลนานาชาติ) ซึ่งเป็นสมาคมที่ไม่แสวงหาผลกำไร ปัจจุบันมีสมาชิกจากทั่วโลกประมาณ 38 ประเทศ โดยแบ่งสมาชิกออกเป็น 7 ภูมิภาค คือ แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ยุโรป ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ

เกณฑ์ที่ทำให้งานลอยกระทงดิจิทัล กทม. ได้รับคัดเลือกประกอบด้วย 1. งานที่เป็นงานดั้งเดิม (traditional) และ 2. งานที่ใช้นวัตกรรม (innovation) มาลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้แสดงจุดยืนในการผลักดันเรื่องความยั่งยืน (sustainability) ตอบโจทย์โลกและคนรุ่นใหม่ โดยทาง สมาคม IFEA (ASIA) จะจัดพิธีมอบรางวัลในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่จะถึงนี้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  23 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน (https://today.line.me/th/v2/article/8nRJVlZ)

ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ ใช้งานง่าย เก็บกลิ่น 2 เดือนเป็นปุ๋ย จากลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่ยึดติดความสะดวกสบายของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้มีปริมาณขยะอินทรีย์เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ มากมาย เกิดเป็นปัญหาขยะล้นเมือง และปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมตามมา ทั้งทางด้านทัศนียภาพ กลิ่น และแมลงพาหะนำโรค รวมถึงปัญหาด้านการขาดแคลนพื้นที่กำจัดขยะและวิธีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ในเมื่อเศษอาหารประจำวันที่ดูจะเพิ่มขึ้นทุกวัน กลายเป็นปัญหาของสังคม ทิ้งอย่างไร กำจัดอย่างไรก็ไม่รู้จักหมดสิ้น คงต้องใช้วิธีการนำเศษอาหารที่เป็นขยะประจำวันมาแปรเปลี่ยนเป็นปุ้ยใช้ปลูกพีชซะเลย งานนี้ประหยัดค่าปุ๋ย แถมได้พีชผักที่ปลอดภัยไว้รับประทานในบ้านด้วย “ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ Zero organic waste” ผลงานของภาควิชาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็นผู้ประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะล้นชุมชนในภาคตะวันออก พื้นที่ฝังกลบไม่สามารถรองรับขยะที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อสุขภาพและอนามัย จึงกลายเป็นที่มาของการประดิษฐ์ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศขึ้นมา หรือที่เรียกว่า “ถังหมักขยะอินทรีย์ รักษ์โลก“ นั่นเอง

วิธีใช้งาน

1.ใส่เศษใบไม้สดหรือแห้ง กากมะพร้าว ปัยคอก 1-2 กิโลกรัม

2.โรยกันถัง ก่อนใส่เศษอาหารโรยเชื้อ พด.1 ประมาณ 1-2 ช้อนชา หรือปุ๋ยคอกประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ให้ทั่วเพื่อช่วยเพิ่มการย่อยสลาย

3.ทิ้งเศษอาหารได้ต่อเนื่อง หากมีกลิ่นหรือหนอน แก่ไขได้โดยเติมเศษใบไม้ลงในถัง

4.ขยะที่ย่อยยาก เช่น กระดูก เปลือกหอย หรือเปลือกไข่ สามารถทิ้งลงถังหมักได้ แต่ต้องใช้เวลาหมักเพิ่มขึ้น

5.ใช้เวลาหมักประมาณ 1-2 เดือน หลังจากทิ้งครั้งแรก สามารถเปิดฝาถังด้านล่างเพื่อนำปุยอินทรีย์ไปใช้ ปัยอินทรีย์ชนิดแห้งนำไปผสมดินปลูกได้เลย

6.ไม่ควรใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว เพราะมีปริมาณธาตุอาหารสูงมาก อาจทำให้ต้นไม้ตายได้

7.ปุยชนิดน้ำต้องเจือจางก่อนนำไปใช้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  22 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/2024-45/

พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง หรือ Other Effective Conservation Measures (OECM) ถูกกล่าวถึงอย่างเป็นทางการในการประชุม CBD เมื่อปี 2018 เนื่องจากตระหนักว่า นอกจากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบของพื้นที่คุ้มครอง (Protected Area) แล้ว ยังปรากฏรูปแบบการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ (Area Based Conservation) อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พื้นที่คุ้มครองตามคำนิยามของไอยูซีเอ็นด้วย เรียกว่า “พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง” หรือ Other Effective Conservation Measures : OECMs)โดยที่ประชุม CBD ได้ให้นิยามคำว่า OECMs หมายถึง พื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่พื้นที่คุ้มครอง ซึ่งมีการบริหารและจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาติ หน้าที่และบริการของระบบนิเวศ วัฒนธรรม จิตวิญญาณ สังคมเศรษฐกิจและคุณค่าอื่น ๆ ของท้องถิ่นโดยรวมอย่างยั่งยืนในระยะยาว

พื้นที่ OECMs คือพื้นที่ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการอนุรักษ์ แต่การบริหารจัดการพื้นที่นั้นเพื่อเอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระยะยาวไปพร้อมกันด้วย โดยพื้นที่ดังกล่าวจะต้องเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่นอกพื้นที่คุ้มครอง (Protected Areas)

สำหรับประเทศไทยมีการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ หรือ Area Based Conservation เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งมิได้ถูกกำหนดเป็นพื้นที่คุ้มครองตาม IUCN category ในหลายรูปแบบ เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าคุ้มครอง เขตป่าไม้ถาวร เขตลุ่มน้ำชั้น 1 เขตป่าชายเลนอนุรักษ์ เขตป่าชุมชน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามมีพื้นที่บางประเภท เช่น พื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติ พื้นที่เตรียมประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่เตรียมประกาศวนอุทยานแห่งชาติ พื้นที่เตรียมประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พื้นที่เตรียมประกาศเขตคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่ง ณ ขณะนั้นยังไม่ได้ตราเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดเป็นพื้นที่คุ้มครองอย่างสมบูรณ์แต่มีการบริหารจัดการ การดูแล รักษา เพื่อให้คงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ดังกล่าวก็จะถือได้ว่าเป็นพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกพื้นที่คุ้มครอง หรือ OECMs ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากต่อมาเมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีสถานะเป็นพื้นที่คุ้มครองตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์แล้ว พื้นที่ดังกล่าวก็จะสิ้นสภาพการเป็นพื้นที่ OECMsไปโดยปริยาย


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  21 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา: https://www.posttoday.com/smart-city/705820

ญี่ปุ่นเตรียมประกาศเปิดตัวดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลก จากความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัย เกียวโต และ Sumitomon Forestry ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพของดาวเทียมอาจช่วยรักษาสภาพแวดล้อมของโลกได้

LignoSat  เป็นดาวเทียมไม้ดวงแรกที่สร้างจากไม้แมกโนเลีย นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นมีแผนที่จะเปิดตัวดาวเทียมไม้ดวงแรกของโลกในฤดูร้อนนี้ โดยนายทาคาโอะ โดอิ นักบินอวกาศและวิศวกรการบินและอวกาศชาวญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยเกียวโตกล่าวว่า ดาวเทียมทุกดวงที่กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกจะเผาไหม้และสร้างอนุภาคอลูมิน่าขนาดเล็ก ซึ่งจะลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศชั้นบนเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดมันจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลก

นักวิทยาศาสตร์ผู้อยู่เบื้องหลังดาวเทียมรายนี้ การตัดสินใจสำรวจดาวเทียมที่ทำจากไม้โดยไม่มีผลพลอยได้ที่เป็นอันตราย โดยจากการศึกษาขององค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) พบว่า อะลูมิเนียมและโลหะแปลกปลอมอยู่ในอนุภาคกรดซัลฟิวริก 10% ซึ่งมีส่วนสำคัญในชั้นสตราโตสเฟียร์ โลหะเหล่านี้เข้ากันกับโลหะผสมในยานอวกาศ ซึ่งยืนยันการกลับกลายเป็นไออีกครั้ง ระดับอลูมิเนียม ลิเธียม และทองแดงเกินกว่าปริมาณฝุ่นจักรวาล ในทางตรงกันข้าม ดาวเทียมที่ทำจากไม้อย่าง LignoSat พร้อมที่จะจัดการกับข้อกังวลเหล่านี้เมื่อพวกมันถูกเผาไหม้เมื่อกลับเข้าไปใหม่ เหลือเพียงเถ้าที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเท่านั้น

Koji Murata หัวหน้าฝ่ายวิจัยไม้อวกาศและสมาชิกของ Biomaterials Design Lab ที่ Graduate School of Agriculture แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้อธิบายถึงความทนทานต่อสภาวะวงโคจรโลกต่ำ (LEO) ของไม้ ซึ่งตัวอย่างไม้ที่ผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) พบว่า มีการเสื่อมสภาพเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยดาวเทียมจะทำการทดลองหลายครั้งเพื่อประเมินประสิทธิภาพในวงโคจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นไปที่ความไวของไม้ต่อการเสียรูปและการเปลี่ยนแปลงมิติ หากประสบความสำเร็จ ดาวเทียมไม้จะสามารถปูทางไปสู่ยุคใหม่ของการก่อสร้างดาวเทียมที่ยั่งยืน โดยตอบสนองความต้องการเร่งด่วนในการริเริ่มการสำรวจอวกาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.