• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  20 ตุลาคม 2567

ที่มา Posttoda(https://www.posttoday.com/international-news/714652)

        ศูนย์วิจัยกสิกร วิเคราะห์ทิศทางจากนโยบายสิ่งแวดล้อมจาก 2 ผู้สมัคร ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ว่าข้อดีข้อเสียจากทั้ง 2 มีผลต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมของโลก รวมถึงผลกระทบที่อาจจะส่งผลต่อประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังใกล้เข้ามา ทั่วโลกกำลังจับตานโยบายของ ผู้ลงสมัครประธานาธิบดีของ 2 พรรค ได้แก่ 1.รองประธานาธิบดี Kamala..Harris จากพรรค เดโมแครต และ 2. อดีตประธานาธิบดี Donald..Trump จากพรรคริพับลิกัน

เปรียบเทียบนโยบายด้านภูมิอากาศของผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะมาถึงจะกำหนดทิศทางการลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net..zero..ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่แน่นอนตามนโยบายของผู้ลงสมัคร โดยมาตรการสำคัญที่อาจกระทบการลงทุนเพื่อลด GHG..ของสหรัฐฯ ได้แก่ การแก้ไขมาตรการอุดหนุนตาม Inflation Reduction Act (IRA) ในขณะที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอาจลุกลามไปยังแร่สำคัญที่จีนเป็นเจ้าของอุปทานในตลาดโลก

กฎหมาย Inflation Reduction Act (IRA) นโยบายที่เป็นที่พูดถึงของ 2 ผู้ลงสมัครคือ มาตรการ IRA..ที่สนับสนุนการลงทุนเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และลด GHG เช่น การลงทุนแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น โดยนโยบายของ Trump มีแนวโน้มแก้ไขระเบียบการให้เงินสนับสนุนตามกฎหมาย IRA..และกฎระเบียบเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทิศทางการลงทุนเทคโนโลยีลด GHG ในอนาคต ในขณะที่ Harris มุ่งมั่นที่จะสานต่อมาตรการ IRA การลงทุนด้านสภาพภูมิอากาศในสหรัฐฯ เร่งตัวขึ้นหลังมาตรการ IRA..โดยการลงทุนด้านภูมิอากาศในสหรัฐฯ ก่อนที่มาตรการ IRA..จะมีผลบังคับใช้ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไตรมาสละ 7% ขณะที่หลังจากที่มาตรการ IRA..มีผลบังคับใช้อัตราการเติบโตเฉลี่ยของการลงทุนเร่งตัวสูงขึ้นเป็น 9% (รูปที่ 1) โดยเป็นการลงทุนที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นหลังมาตรการ IRA..ได้แก่ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและการผลิตแบตเตอรี่ ที่มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมาตรการให้เครดิตภาษี 

ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้เป็นผลมาจาก IRA ทั้งหมด แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในสหรัฐมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจาก 14% ในปี 2014 เป็น 26% ในปี 2023 โดยมีแนวโน้มเร่งตัวตั้งแต่มาตรการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจาก แสงอาทิตย์สมัยประธานาธิบดี Obama (2009....2017)..อย่างไรก็ดีการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ยังคงมาจากก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น (รูปที่ 3) การแก้ไขมาตรการ IRA..อาจจะส่งผลต่อการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่มากกว่าการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นที่นิยมมากกว่า ดังนั้น หาก Trump ชนะการเลือกตั้งที่จะมาถึง การลงทุนในเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่อาจชะลอตัวลงจากการปรับเกณฑ์อุดหนุนของ IRA ขณะที่การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนอาจไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากแนวโน้มการลงทุนปัจจุบันที่มุ่งเน้นไปที่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติมากกว่า มาตรการกีดกันการค้าจะขยายวงกว้างไปยังแร่สำคัญที่ใช้ในเทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจก  ในสมัย Trump..เป็นประธานาธิบดี สินค้าที่ขึ้นภาษีในช่วงสงครามการค้ากับจีน เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สิ่งทอ เป็นต้น ขณะที่ในปัจจุบันมาตรการกีดกันการค้าได้ขยายวงกว้างไปสู่สินค้าเทคโนโลยีเพื่อลด GHG เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า แผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ แร่สำคัญต่าง ๆ เป็นต้น โดยแนวโน้มนโยบายการค้าของผู้ลงสมัครทั้ง 2 ท่านจะยังคงกีดกันการค้าจากจีนและมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีลด GHG โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นแร่ธาตุสำคัญที่นำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ ได้แก่ Graphite Nickel Cobalt และ Lithium ในอนาคตแร่ Lithium จะเป็นจุดศูนย์กลางสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ แร่ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่นำไปผลิตแบตเตอรี่คือแร่ Lithium ซึ่งสหรัฐฯ ยังไม่มีการเก็บภาษีแร่ที่ใช้ผลิตอย่าง Lithium oxide และ Lithium carbonate โดยในปี 2023 สหรัฐฯ มีการนำเข้าแร่ Lithium จำนวน 3,400 ตันคิดเป็น 85% ของอุปทานในสหรัฐฯ และมากกว่า 90% นำเข้ามาจากทวีปอเมริกาใต้ 


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 ตุลาคม 2567

ที่มา https://tna.mcot.net/politics-1434647

รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญกับผลกระทบต่อภาวะอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มที่ปรากฏขึ้น การเตรียมการรองรับ สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด ถึงอยากให้ช่วยกันหามาตรการและแนวทางให้ฝุ่น PM 2.5 ลดลงอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาการลักลอบฝังกลบกากของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมามีโรงงานหรือว่าธุรกิจบางอย่างที่มีปัญหาตรงนี้อยู่ ทำให้เกิดมลพิษ จนทำให้ประชาชนได้รับความกระทบความเสียหาย

รวมทั้งการแก้ไขปัญหา อุทกภัย น้ำเน่าเสีย ขยะมูลฝอย ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายหลังการเกิดอุทกภัย โดยยกตัวอย่างจากการลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย หลังเกิดอุทกภัยพบว่ามีของเสีย ไม่ว่าจะเป็นน้ำเน่าเสีย ขยะจำนวนมาก และการอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต้องพิจารณาอย่างรอบคอบภายใต้พื้นฐานการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์


NBT CONNEXT  18 ตุลาคม 2567

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีกลุ่มคนไร้บ้านจำนวนหนึ่งรวมตัวกันอยู่บริเวณด้านหน้าคอนโดแห่งหนึ่ง ย่านจตุจักร กรุงเทพฯ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม อาทิ ดื่มสุรา และทิ้งเศษอาหาร ว่า ตนได้สั่งการไปยังศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน(ศรส.) กระทรวง พม. ส่งหน่วยปฏิบัติการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 67 หน่วยปฏิบัติการของ ศรส. โดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกับเทศกิจเขตพญาไท กทม. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณดังกล่าว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อเวลา 10.00 น. เจ้าหน้าที่ไม่พบกลุ่มคนไร้บ้านบริเวณหน้าคอนโดตามที่ได้รับแจ้ง และทราบว่ากลุ่มคนไร้บ้านกลุ่มนี้จะมารวมตัวกันในช่วงเย็นจนถึงช่วงค่ำ จึงได้นัดกันเดินทางไปตรวจสอบอีกครั้งในเวลา 19.00 น.  

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่า บริเวณใกล้กันนั้นพบคนไร้บ้าน จำนวน 2 คน เป็นชายอายุ 68 ปี และชายอายุ 32 ปี ซึ่งอาศัยหลับนอนในที่สาธารณะ มีอาชีพเก็บของเก่า และสะสมของจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ ศรส. จึงได้เข้าพูดคุยเพื่อให้เข้ารับการคุ้มครองดูแลในหน่วยงานของกระทรวง พม. ซึ่งชายคนไร้บ้านทั้ง 2 ราย ยินดีเข้ารับการคุ้มครองดูแล และได้ช่วยเหลือในเบื้องต้น ด้วยการพาไปทำบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมวางแผนการช่วยเหลือต่างๆ และ จะติดตามหาญาติและครอบครัวต่อไป  

และในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่ ศรส. โดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับเทศกิจเขตพญาไท กทม. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบหน้าคอนโดดังกล่าวอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่พบกลุ่มคนไร้บ้าน จึงเดินสำรวจบริเวณใกล้เคียง พบเพียงกลุ่มคนขายของเก่าที่นอนเฝ้าร้านค้า ซึ่งให้ข้อมูลว่ากลุ่มคนไร้บ้านจะมาเป็นประจำ แต่วันนี้ยังไม่มา ทั้งนี้ เทศกิจเขตพญาไทได้วางแผนลงพื้นที่กวดขันอย่างเข้มงวดบริเวณดังกล่าวและใกล้เคียง ตั้งแต่เวลา 06.00 - 23.00 น. เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน  อีกทั้ง เจ้าหน้าที่ ศรส. ได้วางแผนลงพื้นที่ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางซื่อ เพื่อจัดระเบียบบุคคลไร้ที่พึ่ง และขอทานอย่างต่อเนื่อง


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  17 ตุลาคม 2567

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์ (https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_9462161)

“ประเสริฐ” นั่งหัวโต๊ะ กก.วล. ชู 4 ประเด็นสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันฝุ่น –. กองทุนสิ่งแวดล้อม –คุมสิ่งแวดล้อมโรงงาน –..พัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำเมื่อวันที่ 16 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 2/2567 โดยมีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รองประธานกรรมการ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการและเลขานุการ และนายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

โดยประธานได้ให้นโยบายใน 4 ประเด็นหลักๆ คือ 1.การให้ความสำคัญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก 2. การเร่งรัดแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม 3.การแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ขยะมูลฝอย ภายหลังการเกิดอุทกภัย และ4.สนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนความสมดุลทางสิ่งแวดล้อม

โดยที่ประชุมมีการเห็นชอบเรื่องที่สำคัญ 4 เรื่อง ดังนี้

1. หลักการสัญญารับเงินอุดหนุน (Grant Agreement) ภายใต้โครงการ Thai – German Cooperation on Energy, Mobility, and Climate (TGC EMC) จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน 234 ล้านบาท โดยเป็นเงินอุดหนุนเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม 150 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) ให้กับภาคธุรกิจโรงแรมที่พัก ธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และการปรับตัวและลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) ให้แล้วเสร็จภายในปี 2570

2. โครงการพัฒนาต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำ เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่ ด้วยภาคประชาชนเป็นต้นแบบขยายผลและสร้างการรับรู้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศ มุ่งเป้าการมีส่วนรวมเครือข่ายภาคประชาชนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

3. มาตรการควบคุมและกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมที่รับดำเนินการของเสียอันตรายและโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาสังคม จากข่าวการรั่วไหลของสารแคดเมียม เมื่อช่วงเม.ย. 2567

4. มาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ปี 2568 ประกอบด้วย มาตรการจัดการไฟในพื้นที่เกษตร การควบคุมฝุ่นละอองในเขตเมือง การจัดการหมอกควันข้ามแดน รวมถึงกลไกในการบริหารจัดการในการตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค และศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ระดับจังหวัด

นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม 5 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อรองรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว 2.โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สกึ๋น 2 อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 3.โครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน –..พระราม 9) 4.โครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและชนิดหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด และ5.โครงการทางหลวงหมายเลข 118 ตอน บ.แม่เจดีย์ –..อ.แม่สรวย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานระหว่างประเทศ และบรรเทาปัญหาการจราจรให้กับประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และเชียงราย


NBT CONNEXT  16 ตุลาคม 2567

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 มี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสวัสดิการเด็ก ผู้ทรงคุณวุฒิวิชาชีพ อาทิ สังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา และกฎหมาย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ  กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ และผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom Meeting) 

นายวราวุธ กล่าวว่า คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติประชุมเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2568 โดยมีเรื่องสำคัญสืบเนื่อง และเรื่องเพื่อพิจารณา ที่ประชุมได้พูดถึงความก้าวหน้าของการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ... รวมไปถึงกฎหมายที่จะต้องเร่งดำเนินการด้วยเช่นกัน ซึ่งทุกฝ่ายกำลังดำเนินการดูแลเด็กที่มีจำนวนน้อยลงทุกวัน ให้มีคุณภาพมากขึ้น แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในมาตรการและแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมทางถนนที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ เป็นสิ่งที่สืบเนื่องจากการที่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการในการประชุมให้ดูแลเรื่องความปลอดภัยของเด็ก เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุอย่างเช่นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมาซ้ำขึ้นอีก ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มีการตั้งข้อสังเกตที่มีประโยชน์อย่างยิ่งและหลากหลาย ถึงมาตรการต่างๆนั้น ขอฝากให้ทุกหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ทางฝ่ายเลขานุการนั้นเร่งดำเนินการ และทางกระทรวง พม. จะได้ดำเนินการนำข้อสรุปมาตรการทั้งหลาย นำเสนอต่อคณะทำงานที่รัฐบาล จัดตั้งเพื่อดำเนินมาตรการความปลอดภัยบนท้องถิ่น ซึ่งกำหนดประชุมวันที่ 25 ตุลาคม 2567   

นายวราวุธ กล่าวว่า ตนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรการที่ได้ประชุมกันในวันนี้ บวกกับข้อสังเกตทั้งหลายที่ผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการแต่ละคนได้นำเสนอนั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุหรือโศกนาฏกรรมขึ้นซ้ำรอยกับอนาคตของเด็กไทยทุกๆ คน ที่นับวันจะมีจำนวนน้อยลง เราจะต้องช่วยกันดูแลเด็กๆ ให้ดี ทั้งกาย ทั้งใจ และความปลอดภัยบนท้องถนนนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ และเป็นการประชุมที่หวังเป็นอย่างยิ่งว่ามาตรการต่างๆนี้ จะได้รับการรับรองและเสนอต่อรัฐบาลต่อไป   

สำหรับมาตรการและแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็ก แบ่งเป็น 1) ด้านการฟื้นฟูเยียวยาแก่เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โดยมีการวางแผนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระยะวิกฤต ระยะสั้น ระยะยาว มอบหมายทีมให้วางแผนและช่วยเหลือรายครัวเรือน (CM) ครอบคลุม 5 มิติ ได้แก่ สุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา รายได้ ที่อยู่อาศัย และการเข้าถึงบริการของรัฐ และ 2) ด้านการป้องกัน มีการเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 2.1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างสภาพแวดล้อมของถนนที่ปลอดภัย ผ่านกลไกศูนย์ชุมชนคุ้มครองเด็ก และส่งเสริม สนับสนุนสภาเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการ และแนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็ก 2.2) กระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารโรงเรียนสถานศึกษามีส่วนร่วมในเรื่องการเดินทางไปทัศนศึกษานอกสถานที่ รวมทั้งการบังคับให้การปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งโรงเรียนควรมีแผนงานในเรื่องการจัดระบบและจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และ 2.3) กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม เพิ่มมาตรการควบคุมการดัดแปลงสภาพรถโดยผิดกฎหมาย มาตรการในการแก้ไขป้องกันการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มจากที่กฎหมาย มาตรการสำหรับรถรับจ้างสาธารณะ ทั้งรถรับส่งนักเรียน รถทัศนศึกษา


NBT CONNEXT  15 ตุลาคม 2567

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ โรงพยาบาลศิริราช จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “Triple Burden of Disease: Nurse-Led Game Changer to Optimize the Outcomes of Care” ช่วงต้นปีหน้า ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

    รองศาสตราจารย์ ดร.เอมพร รตินธร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “Triple Burden of Disease: Nurse-Led Game Changer to Optimize the Outcomes of Care”จัดโดย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช ว่า เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการจัดการภาระโรคซ้ำซ้อนมุ่งเน้นการใช้ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นหลัก โดยมีพยาบาลเป็นผู้นำในการดูแลสุขภาวะของประชาชนและประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการทางการพยาบาล รวมทั้งเพื่อพัฒนานวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการภาระโรคซ้ำซ้อน เพื่อสุขภาวะประชาชนต่อไป ซึ่งจะจัดการประชุมดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 7 - 9 มกราคม 2568 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

     ทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมประชุมวิชาการฯ และร่วมส่งบทคัดย่อนำเสนอผลงาน ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567  โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครออนไลน์ได้ทางเว็ปไซต์ https://ns.mahidol.ac.th/TBD2025/ หรือโทร. 02-441-5333 ต่อ 2460, 2465 และ 0-8180-43957


NBT CONNEXT  14 ตุลาคม 2567

สถานการณ์ของตัวเมืองเชียงใหม่ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในประวัติศาตร์ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือนของประชาชนเป็นวงกว้าง และปัญหาขยะหลังน้ำท่วมที่มีจำนวนมหาศาลยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการที่ทั้งเมืองกำลังเร่งฟื้นฟู โดยขยะที่เกิดจากน้ำท่วมทุกแห่งถูกนำมากองรวมบริเวณหน้าบ้านและอาคารที่เห็นได้แทบทุกจุดของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งผ่านไปร่วมสัปดาห์แล้วแต่ขยะเหล่านี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เช่นเดียวกันกับที่บริเวณลานกว้าง สวนสาธารณะรถไฟ อ.เมืองเชียงใหม่ ที่ตอนนี้ถูกนำมาใช้เป็นจุดพักและจุดรวบรวมขยะน้ำท่วม จากทั่วทุกสารทิศที่อยู่ในพื้นที่ ส่งผลทำให้บริเวณจุดนี้กลายเป็นสุสานขยะชั่วคราวที่ตอนนี้ปริมาณขยะนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วัน และกองเป็นภูเขาสูงหลายสิบเมตรทอดยาวไปเป็นทางที่ยังรอการขนย้ายไปทำลายตามขั้นตอน โดยในตลอดทั้งวันยังคงมีรถบรรทุกหกล้อ และรถยนต์กระบะวิ่งเข้าออก นำขยะที่ถูกเก็บตามบ้านเรือน และจุดต่างๆ เข้ามาทิ้งรวมไว้ตรงบริเวณจุดนี้ตลอด

ขณะเดียวกันจุดนี้ยังพบว่า มีประชาชนชาวบ้านที่ทำอาชีพเก็บของเก่า ต่างพากันมาชุมนุมเพื่อคัดแยก หาสิ่งของที่ถูกทิ้งจากน้ำท่วมที่ทางชาวบ้านนำมาทิ้ง แต่ยังพอใช้ได้ขนกลับไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อีกจำนวนไม่น้อย ทั้งแผ่นไม้ โครงเหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ยังชำรุดไม่มาก รวมไปถึงเสื้อผ้า และทรัพย์สิ้นหลายๆ อย่างที่ถูกน้ำมาทิ้ง ทำให้ตลอดทั้งวันตรงจุดนี้มีรถขับวิ่งเข้าออกอย่างไม่ขาดสาย

สำหรับมวลขยะปริมาณมหาศาลจากผลกระทบน้ำท่วมครั้งนี้ ยังต้องใช้ระยะเวลาการแยกทำลายอีกค่อนข้างนาน และคาดว่าจากความเสียหายที่เกิดขึ้น พบว่าน่าจะมีค่ามหาศาลจากกองขยะที่ถูกรวบรวมนำมาทิ้ง โดยบางส่วนก็จะมีการคัดแยกเพื่อนำไปฝังหลบ และบางส่วนก็จะมีการขนย้ายไปยังสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย เทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.หายยา อ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการกำจัดอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะคาดว่าจะยังคงมีขยะอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องเก็บนำมารวบรวมไว้ตรงจุดนี้ และคาดว่าการดำเนินการกำจัดให้หมดไปนั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร จนกว่าขยะทั้งหมดที่เกิดจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้จะหมดไปในที่สุด


กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม  13 ตุลาคม 2567

ปัญหาขยะได้กลายเป็นวิกฤตระดับโลกที่ทุกประเทศต้องเผชิญ ส่งผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การแสวงหาวิธีแก้ไขอย่างยั่งยืนจึงเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสนใจคือเมืองเล็ก ๆ อย่าง Kamikatsu (คามิคัตสึ) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นเมืองต้นแบบด้านการจัดการขยะ ด้วยการริเริ่มโครงการ "Zero Waste" ที่มุ่งลดปริมาณขยะเป็นศูนย์ โดยความสำเร็จของโครงการนี้เห็นได้ชัดจากการที่ภายในระยะเวลาเพียงสองทศวรรษ Kamikatsu สามารถลดปริมาณขยะที่ต้องเผาลงกว่า 80% เมื่อเทียบกับการจัดการขยะในอดีต                    Kamikatsu ตั้งอยู่ในจังหวัด Tokushima บนพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 700 เมตร ล้อมรอบด้วยภูเขาและนาขั้นบันได มีประชากรประมาณ 1,457 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2563) ในอดีต Kamikatsu ประสบปัญหาการจัดการขยะที่รุนแรง ประชาชนทิ้งขยะอย่างไม่เป็นระเบียบ อีกทั้งวิธีการกำจัดขยะก็สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เมืองตัดสินใจปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการขยะ จึงเป็นที่มาของการริเริ่มโครงการ Zero Waste ในปี 2003 ด้วยเป้าหมายที่จะกลายเป็นเมืองปลอดขยะ                     ในช่วงเริ่มต้นของโครงการ เมืองให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เริ่มจากการให้ความรู้เรื่องการแยกขยะภายในครัวเรือนอย่างถูกต้อง พร้อมทั้งจัดตั้งสถานีแยกขยะทั่วเมือง นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้ง "Zero Waste Academy" ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และเป็นกลไกสำคัญที่นำพา Kamikatsu ไปสู่ความสำเร็จในการเป็นเมืองปลอดขยะต้นแบบ นอกจากนี้ Kamikatsu ได้พัฒนาระบบการแยกขยะที่มีเอกลักษณ์ โดยเริ่มต้นจากการที่ชาวเมืองแยกขยะที่บ้านตนเองเป็น 4 - 5 ประเภท โดยการลดขยะ (reduce) รีไซเคิล (recycle) และการใช้ซ้ำ (reuse) แล้วนำขยะไปคัดแยกต่อที่ Komi Station (สถานีแยกขยะ) ซึ่งมีจุดแยกขยะละเอียดมากถึง 45 ประเภท จากนั้นขยะที่ถูกแยกจะถูกจัดเก็บในกล่องตามประเภทที่กำหนดไว้ และจะจัดส่งไปยัง ศูนย์รวบรวมขยะ (Waste Collection Center) เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ตัวอย่างเช่น ข้าวของเครื่องใช้บางอย่างที่ยังสามารถใช้งานได้ จะถูกส่งต่อไปยังร้าน Kuru-Kuru Re-use Shop เพื่อจำหน่ายเป็นสินค้ามือสอง หรือส่งไปที่ Kuru-Kuru Upcycling Craft Center เพื่อทำการซ่อมหรือดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดหมุนเวียนทรัพยากรภายในชุมชน                    ความสำเร็จอันน่าประทับใจของโครงการนี้คือ ในปี 2020 Kamikatsu สามารถลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัดได้กว่า 80% โดยนำขยะไปรีไซเคิล ซึ่งมีเพียง 20% เท่านั้นที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ และจัดการด้วยการเผายังเตาเผาขยะในเมืองใหญ่ ขยะที่เป็นขยะอินทรีย์ถูกนำไปหมักทำเป็นปุ๋ย โดยใช้ถังพลาสติกสำหรับการหมักแบบธรรมชาติและถังไฟฟ้าสำหรับการย่อยสลายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งวิธีนี้ทำให้ขยะอินทรีย์ของที่นี่ถูกกำจัดได้หมด นอกจากนี้ Kamikatsu ยังได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยถูกนำไปใช้เป็นต้นแบบในการจัดการขยะให้กับเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกอีกด้วย                    การจัดการขยะของเมือง Kamikatsu เป็นโมเดลที่น่าสนใจและได้รับการยอมรับจากหลายประเทศเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการจัดการขยะ อย่างไรก็ดี ความสำเร็จของการดำเนินการนี้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะที่บ้าน เนื่องจากความร่วมมือของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญในการแยกขยะ การรีไซเคิล และการลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทาง ภาครัฐควรมีบทบาทในการสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้หรือจัดหาทรัพยากรหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เมืองคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.