สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 กุมภาพันธ์ 2568
ที่มา : https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2838871
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่มีองค์ความรู้ และงานวิจัยครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ งานเสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 30 ในหัวข้อ “จุฬาฯ ระดมคิด พลิกวิกฤติ PM 2.5” จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลสุขภาพในสถานการณ์มลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 รวมถึงการเตรียมความพร้อมรับมือในระยะยาว
รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า“การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศต้องเริ่มจากการตรวจวัดและวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจต้นเหตุของปัญหา และต้องมีการแก้ไขที่แหล่งกำเนิด ควบคู่ไปกับการจัดการแบบบูรณาการในทุกมิติ เพราะแต่ละแหล่งกำเนิดมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย การจัดการแบบแยกส่วนจะไม่ได้ผล นอกจากนี้ควรเป็นการจัดการที่มีส่วนร่วมจากชุมชน และมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม”
การสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะข้อมูลเชิงคาดการณ์ที่สามารถช่วยให้ประชาชนเตรียมตัวรับมือกับปัญหาได้ล่วงหน้า และภาครัฐควรให้ความสำคัญกับวิกฤติ PM 2.5 ในทุกมิติ ไม่ใช่แค่ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ต้องรวมถึงมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน