• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2566

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (University Council Visit: 3)

21 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 - 10.00 น. คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมต้อนรับ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (University Council Visit: 3) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้นำเสนอผลสำเร็จการดำเนินงานของคณะตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ การดำเนินงานวารสาร Environment and Natural Resources Journal (EnNRJ) การพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานสากล การดำเนินงานติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ กิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ การติดตั้งสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่กระจายครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดลำปาง ตลอดจนความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โดย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนผลการดำเนินงานต่างๆ ที่ผ่านมา รวมถึงอุปสรรค แนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยกิจกรรมจัดขึ้นก่อนเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการประจำส่วนงาน ครั้งที่ 6/2566 ณ ห้องประชุม 4228 ศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx Meetings 

 


อบรมหัวข้อ Tik Tok Magic สร้างเนื้อหาสุดเทพ

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 13.30 - 15.30 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการอบรมหัวข้อ Tik Tok Magic สร้างเนื้อหาสุดเทพ โดยได้รับเกียรติจากคุณปัฐมาภรณ์ ใสทา ศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) รุ่น 26 และ TikTok Content Creator ที่มีผู้ติดตามกว่า 120,000 คน เป็นวิทยากร ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (GIS) อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนากร อ้วนอ่อน (อาคาร 3) ชั้น 3 โดยการอบรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยงานสารสนเทศเพื่อพัฒนาทักษะ (Reskill/Upskill)  ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) ให้กับผู้เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อ 


โครงการค่ายเยาวชนเทคโนโลยีอวกาศ (MU-Youth Space Camp)

ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มูลนิธิอาณาสยาม SUVIT-TELESCOPE และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จัดโครงการค่ายเยาวชนเทคโนโลยีอวกาศ (MU-Youth Space Camp) ขึ้น ระหว่างวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศในมิติต่าง ๆ ให้แก่เยาวชนจากโรงเรียนในภาคกลางและภาคตะวันตก จำนวน 10 แห่ง โดยมีนักเรียนและครูเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 39 คน

โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี กล่าวต้อนรับนักเรียนและครู และรองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก กล่าวเปิดกิจกรรม และมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล ดร.กุลภา ไชยวงศ์คต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ยิ้มวาสนา พลอากาศตรีฐากูร เกิดแก้ว คุณสุวิทย์ พิพิธวณิชธรรม ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ คุณอธิภัทร วรรธอนันตชัย คุณปริพรรษ ไพรัตน์ คุณสุภัทร ประสพศิลป์ และคุณกันตณัฐ ตระกูลวีระยุทธ เป็นวิทยากรบรรยายและร่วมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในหัวข้อฟิสิกส์ในเทคโนโลยีอวกาศ ระบบดาวเทียมระบุตำแหน่งบนโลก กิจกรรมประกอบกล้องโทรทรรศน์ การวิจัยพืชสำหรับภารกิจด้านอวกาศของประเทศไทย กระบวนการทำชิ้นส่วนอวกาศยานและดาวเทียมธีออส 2 และโอกาสการศึกษาด้านเทคโนโลยีอวกาศ ตลอดจนการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธรณีศาสตร์ (Geoscience Museum) และพิพิธภัณฑ์พืชแห่งภูมิภาคตะวันตก (MUKA Herbarium)

ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของนักเรียนที่ได้รับจากค่ายเยาวชนเทคโนโลยีอวกาศ จะทำให้นักเรียนมีศักยภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมด้านอวกาศระดับชาติและนานาชาติกับ สทอภ. ตลอดจนการเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในด้านเทคโนโลยีอวกาศในอนาคต


รับฟังผลการตรวจประเมิน MU AUN-QA Assessment Tier 1 (ระดับส่วนงาน)

16 มิถุนายน 2566 เวลา 15.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจภรณ์ ประภักดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้บริหารคณะ พร้อมด้วยคณะกรรมการวิชาการ คณาจารย์ และบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอสรุปผลและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมิน MU AUN-QA Assessment Tier 1 (ระดับส่วนงาน) จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.เชต ใจกัลยา ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจประเมินฯ รองศาสตราจารย์ ดร.ปาหนัน พิชยภิญโญ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุคนธา คงศีล โดยหลักสูตรของคณะที่เข้ารับการตรวจประเมินในครั้งนี้ ได้แก่
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES)
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม ภาคปกติ (ET) และภาคพิเศษ (ETS)
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมเพื่อความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อม ภาคปกติ (AT) และภาคพิเศษ (ATS)
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ภาคปกติ (LE) และภาคพิเศษ (LES)
5. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาคปกติ (MT) และภาคพิเศษ (MTS)
และ 6. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (PhD)


การตรวจประเมิน MU AUN-QA Assessment Tier 1 (ระดับส่วนงาน)

15 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการวิชาการ คณาจารย์ และบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมิน MU AUN-QA Assessment Tier 1 (ระดับส่วนงาน)  จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.เชต ใจกัลยา ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจประเมินฯ  รองศาสตราจารย์ ดร.ปาหนัน พิชยภิญโญ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุคนธา คงศีล เป็นคณะกรรมการ โดยการประเมินฯ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาท ตัณฑวิรุฬห์ และในรูปแบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2566 โดยมีหลักสูตรปริญญาตรี จำนวน 1 หลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาโททั้งภาคปกติและภาคพิเศษ จำนวน 4 หลักสูตร และหลักสูตรปริญญาเอก จำนวน 1 หลักสูตร เข้ารับการตรวจประเมินฯ


บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด

วันที่ 12 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณประสงค์ ปทีปเพิ่มพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด และศิษย์เก่าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาของคณะควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและความชำนาญเชิงปฏิบัติการในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการพัฒนาอาชีพ เสริมทักษะและประสบการณ์ให้พร้อมในการเข้าสู่ระบบการทำงาน ตลอดจนการสร้างกลไกการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะและบริษัทในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนการสร้างความร่วมมือในการวิจัยและสร้างนวัตกรรมต่อไปในอนาคต ทั้งนี้โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ และนายพงศกร อุดมบัว เจ้าหน้าที่ผู้บริหารเทคโนโลยี บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว โดยในพิธีลงนามฯ คุณประสงค์ ได้มอบโปรแกรม Vallaris Maps เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศแบบรหัสเปิดตามมาตรฐานระบบภูมิสารสนเทศ (Open Geospatial Consortium: OGC) รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เกิดจากการทํางานจริงให้แก่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนด้านภูมิศาสตร์ ภูมิสารสนเทศ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์  อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.