• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2566

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 22 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธานินทร์  คงศิลา รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในฐานะรักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย สำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานบริการวิชาการชุมชนผ่านการจัดโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้ การพัฒนาองค์ความรู้ และส่งเสริมการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรผ่านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมในโครงการในการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ และ คุณวสันต์ ชุณห์วิจิตรา รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ โดยมีผู้แทนจากทั้งสองสถาบันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


โครงการบริการวิชาการ หลักสูตร "ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing for Beginners)"

เมื่อวันที่ 12 - 14 กันยายน 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย และผู้ช่วยอาจารย์ศิรสิทธิ์ วงศ์วาสนา พร้อมทีมเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร และศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการบริการวิชาการ หลักสูตร "ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing for Beginners)" ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 20 อาคาร ท.102 สำนักงานใหญ่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมีบุคลากรจาก กฟผ. เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 35 ท่าน


โครงการนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ (Newskill) ให้แก่บุคลากรของ กฟผ. โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลแบบครบวงจร ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตั้งแต่หลักการการรับรู้ระยะไกล การรับสัญญาณภาพดาวเทียม การจัดเตรียมข้อมูล การประมวลผล การแปลความหมายข้อมูลดาวเทียมด้วยสายตาและคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบผลการจำแนกข้อมูล ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีการฝึกปฏิบัติการใช้งานซอฟต์แวร์แบบรหัสเปิด (Open source software) ที่มีความทันสมัย ทำให้บุคลากรของ กฟผ. สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง และสร้างมูลค่าจากฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ตามภารกิจในด้านต่าง ๆ ของ กฟผ. ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


พิธีมอบเข็มมหาวิทยาลัยมหิดลและเกียรติบัติแก่ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างมหาวิทยาลัยมหิดลผู้เกษียณอายุฯ

14 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดี เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบช่อดอกไม้เพื่อแสดงความยินดีแด่ผู้เกษียณอายุราชการและอายุงาน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจักษณ์ หิญชีระนันทน์ อาจารย์ ดร.บัณฑิต ชาญณรงค์ คุณไพศาล ไชยศรีรัมย์ และ คุณบุญธรรม นัทธีศรี ภายในงาน “พิธีมอบเข็มมหาวิทยาลัยมหิดลและเกียรติบัติแก่ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างมหาวิทยาลัยมหิดลผู้เกษียณอายุฯ” ประจำปีงบประมาณ 2566 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล


พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ บ.สตีม ออฟ ธิงส์ จำกัด และ บ.เดฟโดรนแมพเปอร์ จำกัด

วันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 14.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณธนวันต์ ผาดำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตีม ออฟ ธิงส์ จำกัด และ คุณสุรางคนา ตาน้อย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดฟโดรนแมพเปอร์ จำกัด ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาของคณะควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ความชำนาญเชิงปฏิบัติการในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาด้านการพัฒนาอาชีพ เสริมทักษะและประสบการณ์ให้พร้อมในการเข้าสู่ระบบการทำงาน ตลอดจนการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) เข้ามาเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่นอกเหนือจากในห้องเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการเข้าสู่ระบบการทำงาน มีทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน โดยพิธีลงนามฯ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ฯ กับ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ฯ

วันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ แพทย์หญิงมนทกานติ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง “การสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 7 จังหวัด และการขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน” ระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันสร้างความร่วมมือทางวิชาการในด้านเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน บนหลักของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ ตลอดจนร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษาผ่านกิจกรรม การศึกษาดูงาน การฝึกงาน และการพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีการเกษตร และการพัฒนานวัตกรและผู้ประกอบการ 


โดยพิธีลงนามฯ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


การประชุมตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระดับมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2566

7 กันยายน 2566 เวลา 08.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เข้าร่วมการประชุมตรวจประเมินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระดับมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2566 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ไชยวิทย์ ธนไพศาล อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา ธรรมรักษา อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร ชุติมาสกุล อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นคณะกรรมการตรวจประเมิน โดยการตรวจประเมิน คณบดีและผู้บริหารได้นำเสนอผลการดำเนินงานและตอบข้อซักถามในภาพรวมเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม  ด้าน Carbon Credit ในการสนับสนุนมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ คณะกรรมการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ต่อคณะในด้านความท้าทายและความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ การเปรียบเทียบข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก รวมถึงการจัดทำแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นระบบ ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.