• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2566

กิจกรรม “แตงโม และเฉลยสายรหัส สายโคว ประจำปีการศึกษา 2566”

6 พฤศจิกายน 2566 หน่วยกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ ร่วมกับ สโมสรนักศึกษาปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แตงโม และเฉลยสายรหัส สายโคว ประจำปีการศึกษา 2566” เพื่อส่งเสริมความผูกพันระหว่างนักศึกษารุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อนร่วมรุ่น และสถานศึกษา


พิธีเปิดโครงการค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม (โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี)

2 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม (โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ประธานโครงการฯ กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี จำนวน 181 คน และครูผู้ควบคุม จำนวน 9 คน ณ ห้องบรรยายรวม 4224 (ห้องเธียเตอร์) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม (โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี) จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี มีความรู้และความสนใจต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม วิเคราะห์หาเหตุผลในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ได้ประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมถึงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ฝึกทักษะของการอยู่ร่วมกัน และการทำงานเป็นทีม
สำหรับกิจกรรมที่สำคัญของโครงการประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยายและการนำองค์ความรู้ไปลงมือปฏิบัติจริง ในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals (SDGs)) โดยเฉพาะ เป้าหมายที่ 12 การสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน อาทิ กิจกรรมในหัวข้อ “การคัดแยกขยะในชีวิตประจำวัน / เทคนิคการลดปริมาณขยะ” และ เป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับกิจกรรมในหัวข้อ “การสู้วิกฤตโลกร้อน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ” ตลอดจนกิจกรรมทัศนศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ ณ สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 (เพชรบุรี) และ โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดาริ อ. ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 2 - 4 พฤศจิกายน 2566 ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สวนสนประดิพัทธ์ หัวหิน


Mahidol University International Demonstration School (MUIDS) Thai University Fair 2023

27 ตุลาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.แพรวา วงษ์บุรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบายและแผนและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยบุคลากรและนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) (NM) เข้าร่วมงาน “Mahidol University International Demonstration School (MUIDS) Thai University Fair 2023” ณ โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแนะแนวหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและผู้ปกครองที่สนใจข้อมูลศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย


MUEN ต้อนรับ Associate Professor Dr. Marcin Koprowski จาก Faculty of Biological and Veterinary Science at Nicolaus Copernicus University ประเทศโปแลนด์

27 ตุลาคม 2566 เวลา 13.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Associate Professor Dr. Marcin Koprowski จาก Faculty of Biological and Veterinary Science at Nicolaus Copernicus University ประเทศโปแลนด์ ในโอกาสเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อดำเนินงานวิจัยในหัวข้อ “Climate reconstruction by using oxygen isotope tree - ring width of Pine from Poland” ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ภายใต้โครงการ ERASMUS+ Staff Training Mobility Assignment ระหว่างวันที่ 23 ถึง วันที่ 27 ตุลาคม 2566


ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร และ Associate Professor Koprowski ได้ร่วมกันหารือความคืบหน้าการดำเนินงานวิจัยในหัวข้อดังกล่าว รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการ ERASMUS+ Staff Training Mobility ตลอดจนพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการพัฒนากิจกรรมทางวิชาการด้านต่างๆ ร่วมกันในอนาคต อาทิ โครงการแลกเปลี่ยน/ ฝึกงานนักศึกษา ความร่วมมือด้านการวิจัย (Collaborative Research) ระหว่างบุคลากรสายวิชาการของคณะและ Nicolaus Copernicus University เพื่อเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์คุณภาพสูงในวารสารทางวิชาการที่มีอันดับสูงสุดในฐานข้อมูลชั้นนำระดับนานาชาติ และการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citation) ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงการขยายขอบข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับองค์กรไปยังวิทยาศาสตร์สิงแวดล้อมในสาขาอื่นๆ
การประชุมจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 1215 สำนักงานคณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


พิธีปิด Power Green Camp ครั้งที่ 18

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการ จัดโครงการค่ายเยาวชน วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 18 (The Power Green Camp 18) ภายใต้หัวข้อ “Waste Warriors – ภารกิจพิทักษ์โลก – Green Cloud – Green Tech – Green Influencer” เพื่อมุ่งส่งเสริมเยาวชนนำองค์ความรู้ไปประยุกต์แก้ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนในอนาคต โดยมอบประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ ทั้งภาคทฤษฎีผ่านกิจกรรมการบรรยาย รวมถึงการทัศนศึกษาในพื้นที่จริง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม - 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยมีนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 จากโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศเข้าร่วม จำนวน 50 คน

โดยในวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2566 ได้มีการจัดกิจกรรมนำเสนอโครงงานกลุ่ม และประกาศทีมที่ได้รับรางวัลการนำเสนอโครงงาน ซึ่งในปีนี้ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ทีม “สีเหลืองรักพ่อ” จากผลงานในชื่อ “แอพพลิเคชั่น Greender” เพื่อการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ทีม “ส้มรักบ้านปู” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากผลงานชื่อ “ถาดเพาะกล้าย่อยสลาย” และทีม “Green Earth Heroes” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากผลงานชื่อ “BioBoneBlend” โดยรางวัลขวัญใจมหาชนในปีนี้เป็นของทีม “สีแดงทายาทบ้านปู” จากผลงาน “Microplastic in Aquatic Plants” และ คุณพรรณกาญจน์ ลี้ภัย จากโรงเรียนพิมายวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
ได้รับรางวัล Green Influencer

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการนำเสนอโครงงานกลุ่มสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) อาจารย์ ดร.จิดาภา คุ้มกลาง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตณะ พฤกษากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปิดโครงการฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตณะ พฤกษากร ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดค่ายฯ รายงานผลการดำเนินโครงการ และ คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวแสดงยินดีกับผู้เข้าร่วมโครงการในพิธีปิดการแข่งขัน
โดยผู้สนใจสามารถรับชมการนำเสนอโครงการแบบย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/nPgcymnZFq/

รับฟังข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการคณะฯ

20 ตุลาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมฯ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังข้อเสนอแนะในประเด็นต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการคณะฯ ให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การขอรับรองเพื่อยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการของคณะฯ จากคณะผู้ตรวจประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการ มาตรฐาน ISO17025 : 2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นำโดย คุณวสันต์ ทองประไพ หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบ และ คุณณฐลมนต์ ปัญญวัฒนกิจ ผู้ตรวจประเมินด้านวิชาการ ณ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.