• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2566

นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เยี่ยมชมและศึกษาการตรวจวัดคุณภาพอากาศฯ

17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 – 11.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กฤตณะ พฤกษากร อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการในการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (นานาชาติ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในรายวิชา EGCG 231 Environmental and Everyday Life โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรวุฒิ ชัยวัฒน์ จากภาควิชาเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชา ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬหห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ ก่อนเข้าเยี่ยมชมสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


การประชุมวิชาการประจำปีด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2566

15 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วม “การประชุมวิชาการประจำปีด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ปี 2566” ณ ห้องศรีจันทร์ 2 โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา เรื่อง “บทสรุปผู้บริหาร…การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ” ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา ไชยสวัสดิ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์การจัดการด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนา สนั่นเมือง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ คุณภัทรภร ธนะภาวริศ หัวหน้ากลุ่มรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ 1 กองบริการและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ นาวานุเคราะห์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินรายการ
การประชุมวิชาการดังกล่าวจัดขึ้นโดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านต่าง ๆ ในภูมิภาคให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของภูมิภาค

Symposium for Research Collaboration

14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15.00 – 17.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.แพรวา วงษ์บุรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบายและแผนและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์ และ อาจารย์ ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี อาจารยประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานวิจัย รวมถึงข้อมูลความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ภายในคณะกับ Associate Prof. Dr. Park Jongkwan, Head of the Department of Environmental Engineering, Professor Dr. Moon Byung-hyun, Professor Dr. Kim Tae-hyeung, และ Assistant Prof. Dr. Lee Jongkeun จาก Changwon National University (CWNU) ประเทศเกาหลีใต้ ในกิจกรรม “Symposium for Research Collaboration” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางความเป็นไปได้การดำเนินงานวิจัยร่วมกันในหัวข้อต่างๆ อาทิ การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับของเสีย มลพิษทางน้ำและทางอากาศ พื้นที่ชุ่มน้ำ และพลังงาน โดยการประชุมจัดขึ้น ณ ห้องนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


วันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบปีที่ 52

14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบปีที่ 52 พร้อมร่วมบริจาคเงินสมทบทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนในเขตอำเภอพุทธมณฑล ณ อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม


ต้อนรับและหารือความร่วมือกับ Changwon National University (CWNU) ประเทศเกาหลีใต้

13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตณะ พฤกษากร อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Associate Prof. Dr. Park Jongkwan, Head of the Department of Environmental Engineering พร้อมด้วย Professor Dr. Moon Byung-hyun, Professor Dr. Kim Tae-hyeung, และ Assistant Prof. Dr. Lee Jongkeun จาก Changwon National University (CWNU) ประเทศเกาหลีใต้ ในโอกาสเดินทางมายังประเทศไทยระหว่างวันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2566 เพื่อหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ รวมถึงการประชุมร่วมกับคณาจารย์ในคณะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัย และแนะนำ Department of Environmental Engineering ให้แก่นักศึกษาผู้สนใจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ณ Changwon National University


โดยในที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพรวมการดำเนินงานทางวิชาการทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรสายวิชาการ ก่อนหารือแนวทางการพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยในหัวข้อที่สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของคณาจารย์จากทั้งสองสถาบัน รวมถึงสาขาวิชาที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินงานวิจัยร่วมกันในอนาคต อาทิ ด้านพลังงานสีเขียว (Green Energy) ด้านคุณภาพน้ำและคุณภาพอากาศ (Water and Air Quality) รวมถึงด้าน เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ การกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage : CCUS) และ Climate Change and Net Zero (CN) Platform ตลอดจนงานวิจัยในหัวข้ออื่นๆ ทีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน


ทั้งนี้ ได้มีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนากิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ อาทิ โครงการกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากรภายใต้ทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล และ Changwon National University ทั้งในรูปแบบ inbound และ outbound รวมถึงการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างทั้งสองสถาบันต่อไป


การประชุมจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 1215 สำนักงานคณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ต้อนรับ University of Technology Sydney เครือรัฐออสเตรเลีย

9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 - 11.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร ขำโสภา รองคณบดีฝ่ายบริหาร ในฐานะผู้แทนคณบดี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.แพรวา วงษ์บุรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบายและแผนและวิเทศสัมพันธ์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Distinguished Professor Alaina Amnit, Associate Dean for Research, Faculty of Science จาก University of Technology Sydney เครือรัฐออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ และเยี่ยมชมส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม 1215 สำนักงานคณบดี


ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร อาจารย์ ดร.แพรวา และ Professor Amnit ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลภาพรวมการดำเนินงานทางวิชาการของคณะ ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรสายวิชาการ รวมถึงหารือความเป็นไปได้ในการพัฒนางานวิจัยร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน Climate Change and Net Zero (CN) Platform ภายใต้ทุนสนับสนุนการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนเครือข่าย Worldwide Universities Network (WUN) ก่อนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจน ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล และสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล และอาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.