• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2566

Adapting to Climate Change: Facing the Consequence

25 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.30 น. รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปิดการอบรมนานาชาติในหัวข้อ “Adapting to Climate Change: Facing the Consequence” จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ระหว่างวันที่ 9 -25 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้โดยมี คุณอรุณี ไฮม์ม รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ รศ.ดร.นาฎสุดา ภูมิจำนงค์ ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ในฐานะผู้อำนวยการฝึกอบรม กล่าวแสดงความยินดีผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทการปรับตัวในมิติของมนุษย์ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก รวมถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความสามารถในการปรับตัวของมนุษย์ที่เชื่อมโยงเข้ากับระบบสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่สังคมมนุษย์ต่างต้องพึ่งพา โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของทั้งภาครัฐและเอกชนจาก 11 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการอบรม ซึ่งจัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจาก กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency: TICA) และ  กองทุน  Perez-Guerrero Trust Fund (PGTF)


คณะฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยมหิดล

24 พฤษภาคม 2566 เวลา 9.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้น ณ ห้องประชุม ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์นที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco Webex Meetings ทั้งนี้ ก่อนเริ่มการประชุม รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ให้การต้อนรับคณะกรรมการพร้อมมอบของที่ระลึกที่จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 26 กันยายน 2566 นี้


ร่วมการประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบันครั้งที่ 24 หัวข้อ “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development”

อาจารย์ ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล เส้นทางสู่เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเสวนาในประเด็น “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development”

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน กองทัพเรือ-ธรรมศาสตร์-เกษตรศาสตร์-มหิดล ครั้งที่ 24 หัวข้อ “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development”
วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดการประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน กองทัพเรือ-ธรรมศาสตร์-เกษตรศาสตร์-มหิดล ครั้งที่ 24 หัวข้อ “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development” โดยมี พลเรือโท วสันต์ สาทรกิจ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งในปีนี้กองทัพเรือได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ ณ ห้องชมวัง หอประชุมกองทัพเรือ และอาคารราชนาวิกสภา กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์
ในช่วงเช้า มีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยพันธุ์ ประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ได้กล่าวถึง แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินเพื่อความมั่นคงของทรัพยากรทางทะเลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ข้อที่ 14 Life below water โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น การทำประมง การขนส่งทางทะเล การท่องเที่ยว แหล่งพลังงาน ฯลฯ ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิต การบริโภค เพื่อผลประโยชน์และความยั่งยืนในอนาคต โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งเป็นสำคัญ
จากนั้น มีการเสวนาในประเด็น “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้ง 4 สถาบัน ดังนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล สุธรรมกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “Blue Economy สังคมไทย กับแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “ความท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเลอย่างยั่งยืนและยิ่งใหญ่” นาวาเอก ดรณ์ ทิพนันท์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ และอาจารย์ ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล เส้นทางสู่เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” บรรยายในหัวข้อ “Blue Economy Navy : บทบาทใหม่ของกองทัพเรือในศตวรรษที่ 21” ช่วงบ่าย มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 4 สถาบัน ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ภายใต้ชื่อกิจกรรม “ประภาคารแห่งการเรียนรู้” หัวข้อหลัก มุมมอง บทบาท หน้าที่ และความท้าทายของนักศึกษาและนิสิต ต่อ Blue Economy for Thailand Sustainable Development จากนั้น เป็นพิธีปิดการประชุมโดย พลเรือโท วสันต์ สาทรกิจ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ พร้อมทั้งมอบธง 4 สถาบันให้กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน ครั้งที่ 25 ต่อไป

Policy Advocacy 2023

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดตัวโครงการ Policy Advocacy 2023 พร้อมมอบสัญญารับทุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (Policy Advocacy 2023) และมอบนโยบายพันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมให้แก่ผู้รับทุนในโครงการ Policy Advocacy 2023 โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานในรายละเอียด โครงการฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และรักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนผู้บริหารส่วนงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 530 ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ภายในงาน มีการนำเสนอโครงการ Conceptual frameworks จากหัวหน้าโครงการผู้ได้รับทุน อาทิ
โครงการที่ 1: การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล กาญจนสุธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการที่ 2: กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคมในโรงพยาบาลชุมชน นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาดัม นีละไพจิตร วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการที่ 3: เพื่อนรักต่างศาสนากับการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก นำเสนอโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการที่ 4: แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการที่ 5: “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาพใจวัยรุ่น: ผลงานวิจัยสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง นำเสนอโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พวงเพชร เกสรสมุทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดยุทธศาสตร์ Policy Advocacy and Leaders in Professional/ Academic Services โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นผู้นำด้านสุขภาวะเชิงนโยบายระดับชาติและนานาชาติ ด้วยการสร้างระบบขับเคลื่อนและสนับสนุน Policy Advocacy จากการนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลหลากหลายสาขาวิชาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่นโยบายระดับประเทศ ยังเป็นการนำไปสู่การชี้นำสังคมและขับเคลื่อน 17 เป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติเพื่อสังคมที่ดีขึ้นในโอกาสต่อไป

https://www.facebook.com/mahidol


ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

19 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น. อาจารย์ ดร.วีรฉัตร์ ฉัตรปัญญาเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและกายภาพ เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ครบรอบ 14 ปี ณ อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT มหาวิทยาลัยมหิดล


นายกสมาคมส่งเสริมพัฒนากำลังคนสเต็มเพื่ออนาคตเข้าร่วมหารือคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร นายกสมาคมส่งเสริมพัฒนากำลังคนสเต็มเพื่ออนาคต (International Association for the Future  STEM Workforce: IAFSW) พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้าร่วมหารือกับ รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล (GISTMU) พร้อมด้วย รศ.ดร.ชาลี นาวานุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) กรมพัฒนาที่ดิน และที่ปรึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้สมาชิกและโรงเรียนในเครือข่ายมีแนวคิดและรูปแบบการสอนในการออกแบบ (prototype) ในการจัดการปัญหาเรื่องคาร์บอนและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas emission) เพื่อการจัดเก็บคาร์บอน ทำคาร์บอนให้เป็นกลาง (carbon neutrality) หรือลดการปลดปล่อย GHG หรือพัฒนาเป็นหลักสูตรในการฝึกอบรม (protocols) โดยใช้ prototype ที่ค้นคิดขึ้นอย่างง่ายๆ ในการจัดเก็บคาร์บอนและลดการปลดปล่อย GHG ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบในการผลิตคู่มือ เพื่อการกักเก็บและลดการปล่อย GHG ต่อไป การประชุมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมเทพนม เมืองแมน อาคารอาจารย์จิระศักดิ์ พูนผล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.