• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2565

พิธีเปิดโครงการยุวชนวิ่งแวดล้อม

8 พฤษภาคม 2565 รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ นักวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประธานคณะกรรมการโครงการฯ ได้ทำการเปิดโครงการยุวชนมหิดลสิ่งแวดล้อม ภายใต้หัวข้อ “รักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกที่ยั่งยืน”

โครงการฯ ได้ทำการคัดเลือกนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จากทั่วประเทศจำนวน 45 คนแบ่งออกเป็น 15 ทีม เข้าร่วมโครงการฯ นี้ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2565 ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการให้ความรู้ในประเด็นพื้นฐานเกี่ยวกับระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการลงพื้นที่จริง เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เยาวชนจะเป็นกลุ่มผู้นำที่สำคัญที่จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับส่งต่อไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ


บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท อี-สแควร์ สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม จำกัด

วันที่ 29 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณจิรพันธ์ โชติรัตนศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อี-สแควร์ สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม จำกัด และ อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท อี-สแควร์ สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม จำกัด ในการพัฒนาระบบและกลไกในการผลิตบัณฑิตของคณะที่มีทักษะและความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการทำงาน ผ่านรูปแบบการเรียนการสอนและการฝึกงานที่ทันสมัย ตลอดจนความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์และนักวิจัยของคณะเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการของคณะ การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอนและการอบรมทางวิชาการของคณะ เพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณจำลอง จันทร์มิตร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 1 บริษัท อี-สแควร์ สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม จำกัด ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีลงนามฯ คุณจิรพันธ์ ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท อี-สแควร์ สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม จำกัด” โดยได้ร่วมแบ่งปันเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจและประสบการณ์การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของบริษัทที่ออกแบบมาเพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ การจัดการของเสียและน้ำเสียในระบบอุตสาหกรรม ร่วมกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อช่วยส่งเสริมให้ประเทศก้าวไปสู่ความยั่งยืน กิจกรรมพิธีลงนามฯ และ การบรรยายพิเศษ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting

ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่อยทอดพิธีลงนามฯ และการบรรยายพิเศษแบบย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/cHd70DKK5S/
และดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยายได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1PZ17iXdlOuAMTyKv7safsKSSnrWvZM6O/view?usp=sharing


โครงการค่ายเยาวชนเทคโนโลยีอวกาศ (Space Camp)

28 เมษายน 2565 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนเทคโนโลยีอวกาศ (Space Camp) ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. และ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างความตระหนักด้านเทคโนโลยีอวกาศให้แก่เยาวชนของประเทศ ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในด้านเทคโนโลยีอวกาศ
โดยการอบรมภายในโครงการจะมีทั้งภาคทฎษฎีและภาคปฏิบัติในหัวข้อต่างๆ อาทิ ฟิสิกส์ในเทคโนโลยีอวกาศ ระบบดาวเทียมระบุตำแหน่งบนโลก และกิจกรรมประกอบกล้องโทรทรรศน์ เป็นต้น โดยมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 4-6 จากโรงเรียนในจังหวัดภาคกลางและภาคตะวันตก เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 27 คน จัดขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชั้น 3 อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ต้อนรับ Professor Peter Lennie ผู้อำนวยการเครือข่าย The Worldwide Universities Network (WUN) สหราชอาณาจักร

27 เมษายน 2565 เวลา 10.30 – 11.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ และ ดร.บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ นักวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Professor Peter Lennie ผู้อำนวยการเครือข่าย The Worldwide Universities Network (WUN) สหราชอาณาจักร ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะและหารือแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างคณะกับ WUN ในการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยกับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในการประชุม รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี ได้นำเสนอโครงการวิจัยของบุคลากรสายวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงกลุ่มวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ของคณะ ทั้งนี้โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นาฎสุดา ภูมิจำนงค์ ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตณะ พฤกษากร อาจารย์ประจำคณะ เข้าร่วมหารือในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom


การเยี่ยมชมคณะและเข้าร่วมหารือกับผู้บริหารในครั้งนี้ของ Professor Peter Lennie เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อบรรยายพิเศษหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย Worldwide Universities Network (WUN): Climate Change Global Challenge” จัดขึ้นโดย กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย WUN เป็นเครือข่ายที่มุ่งสนับสนุนมหาวิทยาลัยสมาชิกทั้งทางด้านการเงินและโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัย การเคลื่อนย้ายของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา (Academic Mobility) ในกรอบหลักสี่ด้านได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาธารณสุข อุดมศึกษาและการวิจัยในระดับโลก และวัฒนธรรม


2022 Asia Hub/Nexus Annual Meeting

วันที่ 18 เมษายน 2565 เวลา 13.00 – 17.30 น. รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี และ อ.ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิทยบริการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมสัมมนาทางวิชาการในงาน 2022 Asia Hub/Nexus Annual Meeting หัวข้อ SYNCHRONIZED IN-PERSON AND VIRTUAL WORKSHOPS ACROSS THE ASIA HUB NETWORK เพื่อแสดงผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Future Earth ประเทศไทย และ NEXUS ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการติดตามตรวจสอบและส่งเสริมความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


การสัมมนาทางวิชาการ 2022 Asia Hub/Nexus Annual Meeting นี้จัดขึ้นในระยะเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 ถึง 20 เมษายน 2565 โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 105 คน จากมหาวิทยาลัย 20 แห่งทั่วโลก ทั้งนี้ ในวันที่ 19 เมษายน 2565 รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ จะนำเสนอผลงานทางวิชาการเรื่อง “การติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำมูล ชี” ใน Session 3: Asia Hub Research Progress Updates เวลา 14.40 – 15.00 น.


ม.มหิดล ร่วมกู้วิกฤติสิ่งแวดล้อมจ.นครปฐม พลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวชุมชนแม่น้ำท่าจีน

"ม.มหิดล ร่วมกู้วิกฤติสิ่งแวดล้อมจ.นครปฐม พลิกฟื้นคุณภาพชีวิตชาวชุมชนแม่น้ำท่าจีน" โดย ผศ.ดร.จงดี โตอิ้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล และ "ลุงอ๊อด" นายวิรัช จำปานิล ประธานเครือข่ายส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมนครปฐม และประธานจิตอาสาพุทธมณฑล แกนนำชุมชนนครปฐม ซึ่งการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยหวังให้องค์ความรู้และประสบการณ์ 2 ทศวรรษจากการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ "เครือข่ายการวิจัยบูรณาการลุ่มน้ำท่าจีน

1.รายการคุยกันเช้านี้ วิทยุครอบครัวข่าว TV3 (คุณโอ๊ค-นิธินาฏ ราชนิยม สัมภาษณ์ผศ.ดร.จงดี โตอิ้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ออกอากาศสด ทาง ส.ทร.FM106 8-4-65 (นาทีที่ 10.44 - 25.50) https://fb.watch/cfo_MLh4ZL/

2.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 4-4-65 https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_212626

https://op.mahidol.ac.th/th/twitter/news-2022-4-11-1.pdf

3.The Glocal 4-4-65 https://www.facebook.com/100720421465047/posts/512999176903834/?d=n

4.ThaiPR.NET 4-4-65 https://www.thaipr.net/general/3176089

5.RYT9.COM 4-4-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3312005

6.นิตยสารสาระวิทย์ 4-4-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/tha-chin-river-environment/

https://www.facebook.com/303532493326553/posts/1706700666343055/?d=n

https://www.blockdit.com/posts/624ace902313ea0419c05573


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.