• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2565

การตรวจติดตามแผนพัฒนาและผลลัพธ์ ประจำปี 2564 ตามเกณฑ์ EdPEx

14 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมการตรวจติดตามแผนพัฒนาและผลลัพธ์ ประจำปี 2564 ตามเกณฑ์ EdPEx ในรูปแบบการตรวจประเมิน Online MU EdPEx Assessment โดยมี ผศ.ดร.ธันวดี สุเนตนันท์ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานคณะกรรมการตรวจประเมิน ซึ่งมีคณะกรรมการประกอบด้วย ผศ.ดร.นัทธี เชียงชะนา จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และ ผศ.ดร.พรทิพย์ แก่งอินทร์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


โดยภายในการประชุม คณบดีและผู้บริหารได้นำเสนอข้อมูลในหัวข้อ "การดำเนินการขององค์กร เพื่อเข้าสู่ next normal หลังสถานการณ์ COVID-19" และผลการดำเนินงานในภาพรวมของคณะในปี 2564 รวมถึงความท้าทายและการปรับตัวเชิงกลยุทธ์การดำเนินงานด้านต่างๆ ของคณะ ก่อนร่วมรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนพัฒนาและผลลัพธ์ของแผนพัฒนาของส่วนงานจากคณะกรรมการตรวจประเมิน ทั้งนี้ โดยมี รศ.ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์
รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมเพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของการตรวจติดตามแผนพัฒนาและผลลัพธ์ ประจำปี 2564 ตามเกณฑ์ EdPEx และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้านการดำเนินโครงการระดับชุมชนของคณะ การประชุมจัดขึ้นในรูปแแบออนไลน์ผ่านระบบ Webex ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand

9 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00 น. ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวต้อนรับคณะนักวิจัยจาก University of Brighton, University of Sussex, และ Ambiental Risk Analytics, Royal Haskoning DHV ประเทศสหราชอาณาจักร นำโดย Professor Cherith Moses, Head of Department of Geography จาก Edge Hill University ประเทศสหราชอาณาจักร และคณะนักวิจัยจากประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคะภากร จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมวิชาการรอบสุดท้าย (Final Conference) ในหัวข้อ “Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand”
โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการวิจัยร่วมกันระหว่างคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในประเทศสหราชอาณาจักรและคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟื้นฟูและปรับตัวของชุมชนรอบชายฝั่งในประเทศไทยต่ออุทกภัย วาตภัย และปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ภายใต้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต รวมถึงเพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้โครงการวิจัย เผยแพร่ผลลัพธ์โครงการวิจัยจากการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติชายฝั่ง ตลอดจนหลักธรรมาภิบาลในการจัดการภัยพิบัติเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของชุมชน ซึ่งการวิจัยดังกล่าวได้รับการสนุนจาก Natural Environment Research Council (NERC), the Economic and Social Research Council (ESRC) ประเทศสหราชอาณาจักร และ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้ทุน Newton Fund ประเทศไทย


Website : https://mahidol.ac.th/th/2022/en-organize-a-workshop/


การสำรวจจากระยะไกลด้วยดาวเทียมสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน (Remote Sensing from Satellite for Beginners)

8 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ เป็นผู้แทนคณบดีกล่าวเปิดการอบรมหลักสูตร “การสำรวจจากระยะไกลด้วยดาวเทียมสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน (Remote Sensing from Satellite for Beginners)” ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ COM1 อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดขึ้นโดย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรหลักสูตร เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะการประยุกต์เทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลกับงานด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการจัดการเกษตร ด้านการจัดการน้ำ ด้านการจัดการภัยพิบัติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการจัดการเมืองและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภายใต้โครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2) และนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการตัดสินใจ (Actionable Intelligence Policy: AIP) ของ สทอภ.

โดยการอบรมแบ่งออกเป็นภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และ ภาคสนาม ระหว่างวันที่ 8 - 10 มิถุนายน 2565 ในหัวข้ออาทิ หลักการวิเคราะห์และแปลตีความข้อมูลจากดาวเทียมด้วยสายตาและคอมพิวเตอร์ การประเมินความถูกต้องจากการจำแนกประเภทข้อมูลจากดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์ (Post-classification) และการสำรวจการใช้ที่ดินด้วยข้อมูลจากดาวเทียมและเครื่องบอกตำแหน่งจากระบบดาวเทียมระบุตำแหน่งบนโลก รวมทั้งศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านสภาพแวดล้อมของพื้นที่

การสำรวจจากระยะไกลด้วยดาวเทียมสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน (Remote Sensing from Satellite for Beginners)


อบรมการดับเพลิงเบื้องต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ประจำปี 2565

31 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00 – 15.30 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ประจำปี 2565 โดยมีคณะเจ้าหน้าที่จากสถานีดับเพลิงเทศบาลตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ การป้องกันและระงับอัคคีภัย การค้นหาผู้ประสบภัย การจำลองเหตุการณ์หนีไฟและเข้าควบคุมระงับเหตุ รวมถึงสาธิตการดับเพลิงประเภทต่างๆ ด้วยเครื่องดับเพลิงแบบมือถือและสายดับเพลิงประจำอาคาร
การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นโดย คณะกรรมการป้องกันและระงับอัคคีภัยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะเบื้องต้นในการป้องกันและแก้ไขเมื่อเกิดเหตุเพลงไหม้ฉุกเฉินให้แก่บุคลากรของคณะ รวมถึงการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการดับเพลิงอย่างถูกวิธี การปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ตลอดจนความเข้าใจในแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจักษณ์ หิญชีระนันทน์ เป็นประธานคณะกรรมการฯ


กิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก

27 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 น. ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ เป็นผู้แทนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกที่จัดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี โดยในปี 2565 นี้ ได้มีการกำหนดหัวข้อวันสิ่งแวดล้อมโลกคือ “Only One Earth”
โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพื่อเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ภายในมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2573 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ บริเวณทางเดินเท้าเลียบถนนดำรงวิจัย ตรงข้ามหอพักโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ปิดเทอมใหญ่ หัวใจไม่ว้าวุ่น EP1

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13.00 น. - 15.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม "ปิดเทอมใหญ่ หัวใจไม่ว้าวุ่น EP1" โดยได้รับเกียรติจาก คุณชลวรรณ ธรรมรักษา ศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 15 ผู้ซึ่งกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกที่ Technical University of Denmark (DTU)
เป็นวิทยากรบอกเล่าประสบการณ์ด้านงานวิจัยด้านบริบทของความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบ Zoom Meeting

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.