• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.นาฎสุดา ภูมิจำนงค์ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Geoscience เป็นผลงานในวารสารระดับ Top1% โดยอาจารย์ทำงานร่วมกับนักวิจัยจากหลายประเทศ เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำและตีพิมพ์ร่วมกันในวารสารที่มีชื่อเสียง

    ที่มา: รายการ [RERUN] EP.18 MUREX Live Podcast ประจำวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565

  • วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 13.00 น. - 15.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม "ปิดเทอมใหญ่ หัวใจไม่ว้าวุ่น EP1" โดยได้รับเกียรติจาก คุณชลวรรณ ธรรมรักษา ศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 15 ผู้ซึ่งกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกที่ Technical University of Denmark (DTU)
    เป็นวิทยากรบอกเล่าประสบการณ์ด้านงานวิจัยด้านบริบทของความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบ Zoom Meeting
  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Solar Powered Boat to Promote Sustainable Tourism Policy)

     

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันต์ ปานประยูร

    ผู้ดำเนินการร่วม

    - องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 3

    - กลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก (ชุมชนชายฝั่ง ตาม พรบ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558)

     

    คำอธิบาย

    การถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับ อพท. และชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจัดการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ปะการัง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของเรือยนต์ โดยปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน การปนเปื้อนเขม่าจากการเผาไหม้ลงสู่แนวปะการัง และส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    เกาะหมากเป็นพื้นที่ต้นแบบขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ในการยกระดับพื้นที่เกาะหมากเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) โดยขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ผู้ประกอบการโรงแรม/รีสอร์ท ชาวบ้าน/ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเกาะหมากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการขนส่งและการท่องเที่ยวด้วยเรือยนต์ โดยเมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้แล้วจะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศส่งผลต่อการเกิดภาวะเรือนกระจก รวมถึงคราบเขม่าและคราบน้ำมันที่ตกลงสู่ทะเลจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและปะการัง

    การลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการท่องเที่ยว จึงเป็นอีกแนวทางที่สำคัญในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเป็นกลไกผลักดันเกาะหมากเข้าสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  โดยเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประชาคมเกาะหมาก และสร้างแผนยุทธศาสตร์และแผนการนำเทคโนโลยีเรือพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป

    การดำเนินการ

    1) ต่อเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แสดงขั้นตอนการทำงาน ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย

    2) จัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อพท. และชุมชนชายฝั่ง

    ผลการดำเนินงาน
    โครงการเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้ทำการสร้างเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบคาตามารานขนาดยาว 7.5 เมตร กว้าง 3.5 เมตร ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 2.4 kWp ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ PMSM ขนาด 4 kW จำนวน 2 เครื่อง ส่วนผลจากการทดสอบวิ่งในเส้นทางอ่าวนิด-เกาะขายหัวเราะ มีระยะทาง 8.15 กิโลเมตร รวมทั้งการเข้าออกท่าเรือ และการบังคับเรือไปตามแนวสภาพร่องน้ำของเกาะในสภาพมีคลื่นลมเล็กน้อยถึงปานกลาง พบว่า เรือมีการตอบสนองต่อการขับเคลื่อนที่ดีในเกณฑ์ปกติ มีสมดุลดี ผู้โดยสารยังสามารถเดินไปมายังส่วนต่าง ๆ ทำกิจกรรมได้ในช่วงการทดสอบ เรือสามารถทำความเร็วสูงสุดในการเดินทางได้ 8.33 km/h มีความเร็วเฉลี่ย 6.26 km/h ใช้พลังงานไฟฟ้า 2.54 kWh ใช้กำลังมอเตอร์เฉลี่ยที่ 1.89 kW มีค่าความเข้มแสงเฉลี่ย 405.97 W/m2 ค่า insolation 6.97 kWh ประจุแบตเตอรี่ได้ 1.31 kWh ระบบมีประสิทธิภาพ 18.80% เรือสามารถวิ่งต่อเนื่องโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวได้ 5 ชั่วโมง 45 นาที และเดินทางได้ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร ครอบคลุมเส้นทางท่องเที่ยวทั่วไปของเกาะหมาก

    สำหรับการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบาย สัมมนาเชิงปฏิบัติการ สร้างแผน ยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดทางเลือกแผนการบริการเชิงพื้นที่การนำเรือไปประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติเพื่อส่งเสริม นโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรภาครัฐ หน่วยงานกำกับ และผู้มีส่วนได้เสียกับการพัฒนาพื้นที่ ด้วยประชาคมเกาะหมากต้องการพัฒนาการท่องเที่ยว แบบ Low carbon เพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากการวิเคราะห์ทางเลือกยุทธศาสตร์ 4 ทางเลือก สรุปได้ว่าทางเลือกที่เหมาะสม คือ ทางเลือกยุทธศาสตร์ที่ 4: B2 “การท่องเที่ยววิถีชุมชนคาร์บอนต่ำ (Local Autonomous Low-carbon Tourism)”


    การพัฒนาแนวทางการยกระดับขีดความสามารถการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะหมาก ภายใต้เงื่อนไขทัศนภาพ B2 มีเป้าหมายคือ “ลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนของเกาะหมาก” เมื่อเทียบกับข้อมูลการปลดปล่อยคาร์บอนของเกาะหมากในปี 2555 โดยมีแนวทางในการที่จะบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้


    1. แนวทางด้านสังคม: 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในมิติที่ครอบคลุม 2) ส่งเสริมการสร้างความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แนวคิด การดำเนินงาน ให้แก่ทุกองค์กร/ภาคส่วน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่การลดการปลดปล่อยคาร์บอน


    2. แนวทางด้านเทคโนโลยี: 1) พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนลและผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะช่วยสร้างแหล่งเพาะปลูก เพาะเลี้ยง ตลอดจนตลาดซื้อ ขาย-แลกเปลี่ยน สินค้าอาหารสดพืชผักที่ผลิตบนเกาะหมากเอง ลดปริมาณคาร์บอนจากการขนส่งข้ามทะเล
    2) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมภายในบริเวณเกาะ และพื้นที่ชายฝั่ง เป็นยานพาหนะที่มีการปลดปล่อย คาร์บอนต่ำ เช่น การใช้รถไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า 3) การพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงาน เช่น สนับสนุนโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิต biodiesel จากน้ำมันพืชใช้แล้ว 4) พัฒนาระบบจัดการของเสียที่เหมาะสม เช่น การคัดแยกขยะ บำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะ เพื่อลดการปลดปล่อยมีเทน มาตรการลดการใช้ขวดแก้วซึ่งมีน้ำหนักมาก มูลค่าต่ำ ไม่คุ้มค่าในการนำกลับไปกำจัดที่ฝั่ง


    3.แนวทางด้านสิ่งแวดล้อม: 1) ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์แหล่งกักเก็บคาร์บอน เช่น การอนุรักษ์ป่าสนับสนุนทุ่นจอดเรือเพื่ออนุรักษ์แนวปะการัง อนุรักษ์พื้นที่หญ้าทะเล 2) ส่งเสริมกิจกรรมฟื้นฟู และเพิ่มเติม แหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ เช่น กิจกรรมปลูกปะการัง ปลูกหญ้าทะเล 3) ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 3.1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการปกป้องแนวปะการัง เช่น ฐานทุ่นซีเมนต์ ทุ่นผูกเรือ ทุ่นไข่ปลา 3.2) ส่งเสริมมาตรฐานต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Green hotel เมนูอาหาร low carbon สนับสนุนเกณฑ์การท่องเที่ยวยั่งยืนโลก


    4. แนวทางด้านเศรษฐศาสตร์: 1) การสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยวและส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ 1.1) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ low carbon เช่น เรือใบ เรือไฟฟ้า 1.2) พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การดำน้ำ การล่องเรือ การปลูกหญ้าทะเล การปลูกปะการัง ด้วยเรือใบ เรือไฟฟ้า


    5. แนวทางด้านการจัดการ (นโยบาย และการเมือง): 1) สร้างแผนยุทธศาสตร์สำหรับการท่องเที่ยวยั่งยืนของเกาะหมาก 2) พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการใช้ยานพาหนะทางทะเล โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการของ พรบ. ส่งเสริมการบริหารจัดการ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 เช่น สนับสนุนการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าในการดำเนินกิจกรรมทางทะเล เครื่องมือ กลไก การดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องมือ กลไก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของเกาะหมากแบ่งเป็น
    - เชิงนโยบาย ได้แก่ 1) การออกกฎกระทรวงให้บริเวณทะเล ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูดเป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ... ตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ซึ่งชุมชนสามารถมีส่วนร่วมเสนอข้อห้ามต่าง ๆ ไว้ในกฎกระทรวงได้ เช่น การห้ามทำประมงในเขตแนวปะการัง หรือห้ามเรือประมงพาณิชย์เข้ามาทำประมงภายใน อาณาเขตทางทะเลของเกาะหมาก หรือห้ามไม่ให้มีกิจกรรมสันทนาการด้วยเรือยนต์ เจ็ทสกีภายในแนวปะการัง เป็นต้น
    - เชิงการจัดการ ได้แก่ 1) การสร้างมาตรการจูงใจ เช่น การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดประกวดรีสอร์ท low carbon 2) จัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ภาคเอกชนในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
    การนำไปใช้ประโยชน์
    1) การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องเทคโนโลยีเรือไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายเพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์ โดยมี ตัวแทนองค์กรภาครัฐ หน่วยงานกำกับ และผู้มีส่วนได้เสียกับการพัฒนาพื้นที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 30 คน
    2) มีการพัฒนายุทธศาสตร์ “การท่องเที่ยววิถีชุมชนคาร์บอนต่ำ (Local Autonomous Low-carbon Tourism)” ให้แก่ ชุมชน โดยเสนอเครื่องมือและกลไกทั้งในเชิงการบริหารจัดการและเชิงนโยบายเพื่อเป็นแผนแม่บท (Master Plan) ซึ่งเป็นแผนที่เกิดจากการรวมแผนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน

    อยู่ระหว่างจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

    Abstract
    The Solar Powered Boat to Promote Sustainable Tourism Policy project aims to transfer solar-powered boat technology to the Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization) and Koh Mak community and to create a strategic plan and plan for utilizing solar-powered boat technology to promote sustainable tourism policy. The solar-powered catamaran size 7.5 m x 3.5 m was built and installed a 2.4 kWp solar power generation system. The boat can be continuously operated, powered by a battery for 5:45 hours with 35 km of distance, covering the general tourist routes of Koh Mak. The workshop was organized to transfer solar-powered boat technology to the target group, the activity also included local policy development process. The solar-powered boat technology was an activity under the strategy of transition to electric vehicles to reduce CO2 emissions. The analysis of four strategic alternatives found that the appropriate strategic alternative was strategic alternative 4: B2 “Local Autonomous Low-carbon Tourism”. The goal was to reduce the amount of CO2 emission of Koh Mak”, compared with the database of Koh Mak’s CO2 emissions in 2012. There were two main approaches to achieving strategic goals directly related to the transition to electric vehicles to reduce CO2 emissions of tourism. Technology approach was the modification of the transportation within the island and coastal areas to low-carbon emission vehicles, such as electric vehicles, electric motorcycles, and electric boats. Environmental approach was promoting the use of electric boats in marine activities such as corals and seagrasses plantation for sustainable tourism. The implementation of the project promoted knowledge, understanding, and success in conservation, restoration, and biodiversity enhancement to Koh Mak Coral Conservation Group. High-value tourism initiatives emerged based on social and environmental responsibility tourism. Quality tourists were impressed and needed to come back again. The tourism income of Koh Mak increased, and Koh Mak tourism developed to be quality tourism that focused on value and sustainability.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    เรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เป็นเรือที่ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล  ในขณะใช้งานจะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้มากกว่าเรือยนต์ รวมถึงเรือไฟฟ้าที่เป็นระบบชาร์จอีกด้วย

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    1) ในเชิงพื้นที่: ชุมชนชายฝั่งใช้เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ และการฟื้นฟูปะการังรอบเกาะหมาก

    2) ในเชิงนโยบาย: สร้างตัวอย่างและรูปแบบการใช้งานเรือไฟฟ้าให้หน่วยงานที่มีการใช้งานเรือ เช่น ใช้เรือไฟฟ้าเข้าสู่เขตปะกะรังที่มีความอ่อนไหวในพื้นที่อุทยานฯ หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศ การใช้ประโยชน์สาธารณะของ อพท. ในการส่งเสริมเกาะหมากเป็นตามเกณฑ์การท่องเที่ยวยั่งยืน และขยายผลในพื้นที่อื่น และประชาคมเกาะหมากใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่โดยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการท่องเที่ยว และสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบ Low carbon

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    7 14

     

    Key Message

    การดำเนินการกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่ง   เป็นเรือที่ไม่ใช้เชื้อเพลิง และในขณะที่ใช้งานไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอน จึงเป็นส่วน หนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    https://www.dmcr.go.th/detailAll/57918/nws/257

    https://th.postupnews.com/2022/04/nrct-solar-electric-boat.html

    https://dkmmap.nrct.go.th/dkmmap-2021/project-detail.php?pid=64-087

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

       

    Partners/Stakeholders

    - อพท.8 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)
    - สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
    - ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด
    - องค์การบริหารส่วน ตำบลเกาะหมาก
    - วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก
    - กลุ่มอนุรักษ์ปะการัง ชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    7.4.1, 7.4.4, 14.3.4, 14.5.4

  • 18 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วย คณะกรรมการประจำส่วนงาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ งานปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสากล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดี เป็นผู้แทนหน่วยงานในโอกาสได้รับโล่รางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบด้านความปลอดภัย ประจำปี 2564 และ งานกายภาพและบริการพื้นฐาน โดยมี คุณอภิรมย์ อังสุรัตน์ หัวหน้างานกายภาพและบริการพื้นฐาน ในโอกาสได้รับป้ายรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2564 โดยคณะได้รับรางวัลดีเด่นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งการมอบรางวัลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Safety Day รณรงค์ชีวอนามัยและความปลอดภัยครั้งที่ 6 จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety We Care) รวมถึงตั้งเป้าหมายไม่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ลดสถิติการประสบอันตรายภายในมหาวิทยาลัย เพื่อการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมจัดขึ้นก่อนเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการประจำส่วนงาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 5/ 2565 ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • MU-SDGs Case Study*

    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

    (Ecology and Population of Wild Elephant (Elephas maximus) in Phu Luang and Phu Khieo Wildlife Sanctuary)

    ผู้ดำเนินการหลัก*

    รองศาสตราจารย์ ดร. รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

    ส่วนงานหลัก*

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

    ผศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

    นายจิรชัย อาคะจักร

    ดร.ศรินธร ไชยรัตน์

    นางสาวศิริกรณ์ ศรีโพธิ์

    ส่วนงานร่วม

    -กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    -มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

    เนื้อหา*

              โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง704.77 ตร.กม. (27.22%)

     

              การศึกษาวิจัยเชิงสังคมด้านการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันระหว่างคนกับช้างป่า พบว่าปัญหาระหว่างคนกับช้างป่ามีมาอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรงมากขึ้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้วางแนวทางการจัดการและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การจัดการช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ และการจัดการช้างป่านอกพื้นที่อนุรักษ์ มีการจัดการต่าง ๆ เช่น การใช้รั้วผึ้ง โครงการฟื้นฟูอาหารช้าง ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า เป็นต้น แนวทางการประกันภัยพืชผล เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรที่ส่งผลต่อการประกอบอาชีพและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากช้างป่า รวมทั้งแนวทางการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างยั่งยืน โดยการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วย เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่ได้นำแผนการจัดการและแนวทางต่าง ๆ นี้ ไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและช่วยให้คนกับช้างป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ต่อไป

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

    SDG15

    เป้าประสงค์ย่อยในSDG หลัก*

    15.5, 15.7, 15.c

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    SDG13

    เป้าประสงค์ย่อยในSDG อื่นๆ

    13.3

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม*

    https://www.youtube.com/watch?v=JFCwyvbSzsY

    MU-SDGs Strategy*

    ยุทธศาสตร์ที่ 1

    Partners/Stakeholders*

    - คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม. มหิดล

    - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

    - สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย

    - อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์

    - เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี

    - องค์กรชุมชน ต. พวา อ. แก่งหางแมว จ. จันทบุรี

    ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

          

    Key Message*

    การสร้างองค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาและประชากรของช้างป่าจากสองพื้นที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการลงมือปฏิบัติจริงของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น

    ตัวชี้วัดTHE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

    15.2.3, 15.2.4 และ 13.3.3  

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

    (Drought impact assessment on agricultural security in Mae Chang watershed Lampang province)

    แหล่งทุน

    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานร่วม

     

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร. สุระ พัฒนเกียรติ

    ผู้ดำเนินการร่วม

    พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    คำอธิบาย

     

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินและคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งประเมินความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางเลือก เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จางอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

                ภาคเกษตรกรรมต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งซ้ำแล้วซ้ำอีกเกือบทุกปี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ตลอดจนการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรมและคาดการณ์สถานการณ์พื้นที่เปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคต พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือผลกระทบจากภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

                การประเมินผลกระทบของการเกิดภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง ผ่านวิธีการประเมินและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ การจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต การระบุปีที่เกิดเหตุการณ์แล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำโดยใช้ดัชนีความแห้งแล้ง Standardized Precipitation Index (SPI) รวมถึงประเมินปริมาณน้ำท่าและการขาดแคลนน้ำตามรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสภาพภูมิอากาศในอนาคต ตามแบบจำลองIntegrated Valuation of Ecosystem Services and Tradeoffs (InVEST) พร้อมทั้งการประเมินพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืช ตลอดจนการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะกับเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เหมืองแร่ และพื้นที่ชุมชนสิ่งปลูกสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพื้นที่ป่าผลัดใบลดลงจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จางจากปี พ.ศ. 2532 ถึง 2564 ส่วนการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2580 พบว่าการลดลงของพื้นที่ป่าผลัดใบยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม จากการวิเคราะห์ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จางจะมีความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้น ด้วยการระบุปีที่เกิดเหตุการณ์แล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำโดยใช้ดัชนี SPI ซึ่งค่าSPI คาบ 12 เดือน ในปีที่มีฝนตกน้อยที่สุดได้แก่ พ.ศ. 2558 2567 และ 2570 โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ที่เกิดภัยแล้งซ้ำซากในอดีต ปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว รองลงมาคือพืชไร่และไม้ยืนต้น

                ส่วนแบบจำลอง InVEST กรณีในปี พ.ศ. 2567 จะมีความแห้งแล้งปานกลางถึงมาก เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน และในปี พ.ศ. 2570 จะมีความแห้งแล้งมากที่สุดและต่อเนื่องยาวนาน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงธันวาคม ในส่วนการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกข้าวจากข้อมูลน้ำฝนปี พ.ศ. 2564-2580 พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพดินที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในทางกลับกันผลการประเมินความเหมาะสมของพืชเกษตรต่อสภาพพื้นที่จากการศึกษานี้ พบว่ามีพื้นที่ในหลายตำบลที่มีสภาพดินเหมาะแก่การปลูกไผ่ และพืชเกษตรอื่น ๆ ที่ใช้น้ำน้อย (300 – 700 ลบ.ม./ไร่/ฤดูกาลผลิต) อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำแม่จาง พบว่าร้อยละ 42 ได้รับผลกระทบมากจากภัยแล้งมาก

                ด้านข้อเสนอแนะพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อความมั่นคงด้านการเกษตรนั้นมีข้อจำกัดด้านอื่นที่ควรพิจารณาร่วมด้วยกันคือความคุ้มค่าในการลงทุนเช่นเดียวกันกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้แนวทางการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่ต้องมีความหลากหลาย ควรมีการผสมผสานพืชหลายชนิด ส่วนที่สำคัญคือการส่งเสริมการขยายผลวิจัยให้ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จะช่วยให้สามารถวางแผนเพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

                สำหรับหน่วยงานที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่

    1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 ได้ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ เชิงชุมชน และเชิงวิชาการ โดยข้อมูลจากงานวิจัยถูกใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำวัง คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดลำปาง และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค

    2. สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลำปาง ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและชุมชน โดยใช้ประโยชน์ในด้านการนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแผนเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านและแผนพัฒนาจังหวัดด้านสิ่งแวดล้อม                                                      

    3. โรงเรียนบ้านนาดู่ ใช้ประโยชน์ในเชิงชุมชน โดยนำเนื้อหาสาระไปใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตร สถานศึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำจาง ให้เยาวชนและชาวบ้านได้เกิดความตระหนัก ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและควรเกิดการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรในลุ่มน้ำจาง                                                              

    4. โรงเรียนแม่ทะพัฒนาศึกษา ใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ นำเนื้อหาสาระไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษารายวิชาเพิ่มเติมในส่วนของสาระท้องถิ่นของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำจาง ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำจางได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยแล้งในอนาคตและควรเร่งส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ                                                    

    5. โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและเชิงชุมชน โดยมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่1) ใช้ข้อมูลในการจัดทำนโยบายผลกระทบภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและนำองค์ความรู้สู่นักเรียน2) มีการเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้เรื่องผลกระทบภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรสู่ผู้ปกครอง และชุมชน                                     

    6. วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ เชิงพาณิชย์ เชิงชุมชน และเชิงวิชาการ โดยมีการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ 1) นำองค์ความรู้ไปสังเคราะห์เป็นนโยบาย เพื่อส่งเสริมพี่น้องสมาชิกและประชาชน เพิ่มการปลูกต้นไม้ไม่ผลัดใบ2) สมาชิก และประชาชน เปลี่ยนวิธีคิด และพฤติกรรมเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต 3) ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อรักษาความชื้นในระบบนิเวศ และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4) นำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมขน และสมาชิก 5) ต่อยอดงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมคุณภาพเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของสมาซิก และประชาชน

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    1, 2, 6

    Key Message

     

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งเสนอพืชทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวและลดผลกระทบจากภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    1. เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง

    2. สำนักงานเกษตรอำเภอแม่เมาะ

    3. สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ

    4. สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง

    5. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1

    6. สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลำปาง

    7. วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม

    8. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.2, 13.3.3, 2.5.1, 6.5.5

    กำหนดวันที่ในการแสดงผล

    วันเริ่มต้น

    วันสิ้นสุด

  • วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จังหวัดลำปาง ได้เดินทางส่งมอบใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับพืชอาหาร เพื่อรับรองผลผลิตการเกษตรภายใต้โครงการศึกษาวิจัยและการจัดการสวนป่าเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ณ พื้นที่ศูนย์ การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ (ศทสล.) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

     

  • ความเข้าใจพฤติกรรมของผู้คนเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในช่วงการระบาดของโควิด-19

    Understanding Food Security Behaviors during the COVID-19 Pandemic in Thailand: A Review

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำและประมาณการผลผลิตแบบแม่นยำสำหรับการปลูกอ้อย

    (Precision system of water resource management and yield estimation for sugarcane cultivation)

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

     

    อ.ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    1. บริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สาขา3

    2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    3. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     

    คำอธิบาย

     

    บูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนการเกษตร สำหรับการปลูกอ้อยเสริมแบบแม่นยำ ด้วยระบบสนับสนุนการตัดสินใจและโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT Infrastructure) ภายใต้แนวคิดการกำหนดความต้องการใช้น้ำของพืช ร่วมกับสามารถเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อยด้วยการพัฒนาวิธีการใช้ชีวภัณฑ์ระดับไร่นา และพัฒนาวิธีการผลิตชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยเชื่อมโยงกับการติดตามปริมาณการผลผลิตอ้อยด้วยอากาศยานไร้คนขับ

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ปริมาณผลผลิตอ้อยมีความผันแปรกับปริมาณน้ำในดินในทิศทางบวก ในสภาพการปลูกอ้อยที่มีการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพให้พอเพียงกับการคายระเหยน้ำของอ้อยตลอดการเพาะปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยจาก 8-10 ตันต่อไร่ เป็น 15-17 ตันต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ดังนั้นการจัดการระบบน้ำชุมชนและเกษตรสำหรับการปลูกอ้อยจึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยต่อพื้นที่และประสิทธิภาพเชิงนิเวศของทรัพยากรน้ำ (Eco-efficiency of water resource)  ชุมชนพึ่งตนเองได้ภายใต้การดำเนินการที่มีต้นทุนต่ำ ให้ผลตอบแทนสูง และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ด้วยการบูรณาการรูปแบบและวิธีการจัดการน้ำชุมชนของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยนอกเขตชลประทานและมีต้นทุนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินสำหรับใช้ในชุมชนอย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการวิจัยปริมาณความต้องการใช้น้ำของอ้อยเพื่อการคายระเหยตลอดช่วงเวลาการเจริญเติบโตของพืช สำหรับการหาจุดอุตมภาคการชลประทาน ณ ช่วงเวลาและปริมาณการใช้น้ำ หรือการให้น้ำเสริม ที่จะให้ผลผลิตและความเข้มข้นของน้ำตาล (%brix) มีค่าสูงสุด แต่ใช้ทรัพยากรน้ำประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้แนวคิดสมดุลน้ำและการกำหนดความต้องการใช้น้ำของพืชจากความสัมพันธ์ระหว่าง ดิน พืช และ ภูมิอากาศ  ในการณีที่เกิดภาวะแล้งหรือเกษตรที่ไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอ การเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อยด้วยแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต เป็นวิธีการที่จะลดผลกระทบจากภัยแล้งเพื่อคงผลิตอ้อยไม่ให้ลดลงหรือลดลงน้อยที่สุด นอกจากนี้ การประยุกต์อากาศยานไร้คนขับเพื่อประมาณการผลผลิตอ้อย จะสนับสนุนการวางแผนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายในระบบห่วงโซ่อุปทานการผลิตอ้อย

    ผลการดำเนินงาน

    1. จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์)  และ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด  เรื่อง การจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ระบบโครงสร้างพื้นฐาน Internet of things และระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำและประมาณการผลผลิตอ้อยแบบแม่นยำ

    2. การใช้ประโยชน์จากระบบโครงสร้างพื้นฐาน Internet of things และระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำแบบแม่นยำ ในพื้นที่นำร่องอำเภอเก้าเลี้ยวในรัศมี 10 กิโลเมตร

    3.  การใช้ IoT ดำเนินการวิจัยการให้น้ำอ้อยแบบประหยัด ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด  ซึ่งเป็นการวิจัยต่อเนื่อง

    4. การติดตามการเจริญเติบโตและผลผลิตอ้อย ในพื้นที่แปลงอ้อยตัวอย่าง ของหน่วยส่งเสริมการปลูกอ้อยของบริษัทฯ จำนวน 17 เขต ครอบคลุมจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร และกำแพงเพชร  โดยวางแปลงอ้อยตัวอย่าง ในการปลูกอ้อยแบบน้ำราด ข้ามแล้ง อ้อยตอ และอ้อยฝน อย่างละ 3 ซ้ำ ขนาดพื้นที่ 5-50 ไร่  สุ่มติดตามการเจริญเติบโต อย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อฤดูกาลผลิต และสุ่มประมาณการผลผลิตอ้อย 1 ครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน ผลจากการสุ่มตัวอย่างจะนำไปอนุมาณ สุขภาพและผลผลิตอ้อยในพื้นที่การปลูกอ้อยของบริษัททั้งหมด

    5. การจัดหาครุภัณฑ์ อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ยี่ห้อDJI จำนวน 2 ชุด ได้แก่ รุ่นPhantom 4 RTK และPhantom 4 Multispectral RTK สำหรับใช้ปฏิบัติการ

    6. การฝึกอบรม การประมาณการผลผลิตอ้อย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565

    7. การจัดหาการบริการ VPS server สำหรับการจัดเก็บข้อมูล การบริการข้อมูล ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำและประมาณการผลผลิตอ้อยแบบแม่นยำ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้น

    การดำเนินการปลูกอ้อยโดยการให้น้ำเสริมและแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต มีความสอดคล้องตามความต้องการของอ้อยและปริมาณน้ำต้นทุนของเกษตรกร นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตที่สูงขึ้น สำหรับ องค์ความรู้ด้านการประมาณการผลผลิตด้วย UAV ได้ประยุกต์ใช้เพื่อติดตามประเมินผล คุณภาพและผลผลิต ซึ่งให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำและสามารถทดแทนการสังเกตด้วยสายตา หรือ การประมาณการจากความชำนาญ 

    ระบบการให้น้ำอ้อยเสริมแบบแม่นยำและแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต ใช้ประโยชน์โดยกองวิชาการดงบ้านโพธิ์ บริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเกษตรกรที่ปลูกอ้อย จำนวนประมาณ 500 ราย ในรัศมีรอบสถานี IoT สำหรับการประยุกต์อากาศยานไร้คนขับเพื่อประมาณการผลผลิตอ้อย มีเป้าหมายในการประมาณใช้ข้อมูลการสุ่มตัวอย่างประมาณการผลผลิตอ้อย เพื่ออนุมานปริมาณผลผลิตทั้งหมดในเขตส่งเสริมการปลูกอ้อยของบริษัทฯ รวมพื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ ประมาณ 2,000 ราย

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    2

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    6

    Key Message

     

    บูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนการเกษตร สำหรับการปลูกอ้อยเสริมแบบแม่นยำด้วยระบบ IoT Infrastructure ร่วมกับเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อย และติดตามปริมาณการผลผลิตอ้อยด้วยอากาศยานไร้คนขับ

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

       

    Partners/Stakeholders

    1. นักวิจัยจากภาคเอกชน บริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนลฯ

    2. กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา ในพื้นที่ศึกษาแปลงอ้อย อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ 

    3. กรมการฝนหลวงและการบินเกษตร

    4. กรมชลประทาน

    5. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

    6. กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (Start – Up)

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    2.5.1, 2.5.2, 6.5.1

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
    Royal initiative Project on the Study of Community Development towards Low carbon and Sustainable Community

    แหล่งทุน

    งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    (ชื่อหน่วยงาน)

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

    ผู้ดำเนินการหลัก

    (หัวหน้าโครงการ)

    รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล

    ผู้ดำเนินการร่วม

    (รายชื่อผู้ดำเนินงาน จากหน่วยงานภายนอก)

    นายวธัญญู วรรณพรหม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

     

    คำอธิบาย

    การศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ปัจจุบันชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงหันมาทำการเกษตรโดยอาศัยฐานความรู้ที่เหมาะสมภายใต้ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ เกษตรกรเลิกการปลูกฝิ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีสวนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้มูลนิธิโครงการหลวงได้มุ่งพัฒนาชุมชนพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในเชิงคุณภาพทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนระยะยาวและเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูง แม้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวงจะประสบผลสำเร็จในการทำให้เกษตรกรเลิกการปลูกฝิ่น หันมาประกอบอาชีพบนฐานความรู้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งมีการฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารดังกล่าว แต่ปัจจุบันมีปัจจัยภายนอกที่สำคัญคือ ความแปรปรวนของภูมิอากาศ หรือสภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อทั้งคน การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช ตลอดจนส่งผลต่อคุณภาพของดิน และการขาดแคลนน้ำ การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนในโครงการหลวงเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำให้เกิดความยั่งยืนในระยะต่อไป  ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ชุมชนในโครงการหลวงเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว และเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำบนพื้นที่สูง รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของการพัฒนาชุมชนในชนบทเพื่อเป็นชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญของการลดการปลดปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากการเน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นที่ผ่านมา ภายใต้หลักการของการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนโครงการหลวงเติบโตอย่างสมดุล สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และเกิดความยั่งยืนในที่สุด

    โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน มุ่งศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงเพื่อให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 2) ประเมินชุมชนโครงการหลวงในบริบทของชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 3) พัฒนาและยกระดับชุมชนโครงการหลวงให้เป็นต้นแบบของชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การสร้างมาตรฐานดังกล่าวใช้เทคนิคการวิจัย EDFR (The Delphi Ethnographic Delphi Futures Research) เน้นให้เกิดความสมดุลทั้ง 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ได้มาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน แบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่ 1) ด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) ด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ 3) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 4) ด้านความเข้มแข็งของชุมชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งกำหนดเป็นเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานดังกล่าวได้ 19 ข้อ 32 ตัวชี้วัด นำไปใช้ในการศึกษาและประเมินชุมชนโครงการหลวง 11 แห่ง 12 ชุมชน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ตามภูมิสังคมบนพื้นที่สูง ได้แก่ ชุมชนป่าเมี่ยง ชุมชนที่ปลูกข้าวเป็นหลัก และชุมชนที่มีฐานจากการปลูกฝิ่น จากผลการศึกษาพบว่าชุมชนโครงการหลวงทุกชุมชนสามารถเป็นชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงอื่นๆต่อไปได้ในอนาคต โดยชุมชนโครงการหลวงดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน แบ่งเป็น ระดับดีเยี่ยม จำนวน 11 แห่ง และระดับดีมาก จำนวน 1 แห่ง

    นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของชุมชนโครงการหลวงทั้ง 12 แห่ง ในปี พ.ศ. 2559 พบว่าปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของชุมชนโครงการหลวงเทียบต่อคนต่อปี มาจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งเกิดจากการขนส่งและเดินทางเป็นหลัก รองลงมาคือ จากพลังงานชีวมวลที่ชุมชนใช้ดำเนินชีวิตประจำวัน และพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในชุมชนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยที่สุด โดยค่าเฉลี่ยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของชุมชนโครงการหลวงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทย

    การศึกษาผลการยกระดับและปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงพบว่า สมาชิกในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเก็บกักก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ปล่อยออกสู่บรรยากาศอย่างต่อเนื่อง สมาชิกในชุมชนมีคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยที่ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษและผลกระทบที่จะเกิดกับโลกในอนาคต ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จัก สร้างชื่อเสียง และรายได้จากการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ อย่างไรก็ตามกิจกรรมที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ ส่งเสริมเกษตรกรให้น้ำพืชด้วยวิธีการแบบประหยัด ปรับปรุงฟาร์มปศุสัตว์ตามมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง ปรับปรุงกระบวนการจัดการขยะชุมชน และเพิ่มครัวเรือนให้ติดตั้งระบบบำบัดน้ำทิ้งหรือฟาร์มปศุสัตว์ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม

    นอกจากนี้ยังมีการจัดทำหนังสือเผยแพร่องค์ความรู้ ได้แก่ 1) กัมปนาท ภักดีกุล และ สยาม อรุณศรีมรกต. (2562) การพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนโครงการหลวงบนพื้นที่สูง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISBN 978-616-565-462-3. 2) กัมปนาท ภักดีกุล และ สยาม อรุณศรีมรกต. (2562) คู่มือการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยISBN 978-616-443-373-1.

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    (ใส่ได้ไม่เกิน 3SDGs)

    6, 12, 15

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

    การพัฒนาต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    https://www.royalprojectthailand.com/node/2841

    https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/54

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

     

    Partners/Stakeholders

    1) มูลนิธิโครงการหลวง

    2) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)    

    3) ชุมชนโครงการหลวง             

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.4, 13.3.2

     

  • เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (The Development of Household Organic Waste Digester  for Environmental Sustainability) 

    อ.ดร.นรินทร์ บุญตานนท์

  • Population and distribution of wild Asian elephants (Elephas maximus) in Phu Khieo Wildlife Sanctuary, Thailand

    รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

  • Two-Stage Anaerobic Codigestion of Crude Glycerol and Micro-Algal Biomass for Biohydrogen and Methane Production by Anaerobic Sludge Consortium

    ผศ.ดร. สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกลุ่มคัดเลือกและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดยโสธร และจังหวัดพัทลุง

    คำอธิบาย

     

    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    เนื้อหา MU-SDGs Case Study

    ข้าวเป็นสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นอาหารหลักของคนไทย การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตดีนั้นมีปัจจัยหลายประการ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน ปริมาณน้ำ เทคโนโลยี แต่ที่สำคัญที่สุด คือ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และได้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี และมักใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เองต่อเนื่องกันหลายปี ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบกับ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทเอกชนก็ยังไม่สามารถรับรองคุณภาพได้  การลงทุนสร้างโรงงานปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์หรือศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติม รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก

       งานวิจัยนี้ จึงมุ่งถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของYoung Smart Farmer และจัดทำคู่มือและสื่อInfographic สรุปองค์ความรู้การบริหารจัดการพันธุ์ข้าวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    คณะผู้วิจัยดำเนินงานด้วยการวิจัยเอกสาร ศึกษาบริบทชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มและถอดบทเรียนจากกลุ่มเกษตรกร 4 ภาค 4 จังหวัด 4 อำเภอ 4 ตำบล คือ ภาคเหนือ: ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่าง: ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และภาคใต้: ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผลการดำเนินงานที่สำคัญ พบว่า จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย เนื่องจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีคุณภาพ ประกอบกับราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวตามท้องตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ เกิดจากการตระหนักว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเริ่มสูญหายไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์และขยายพันธุ์สืบต่อไป เกษตรกรจะปลูกเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยาย ในช่วงฤดูฝน เกษตรกรจะมีการร่วมกันวางแผน หารือ และแลกเปลี่ยนปัญหาทั้งก่อนเพาะปลูกและระหว่างเพาะปลูก รวมถึงร่วมกันตรวจแปลงอย่างน้อย 3 ครั้ง ก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกๆ ขั้นตอนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    จุดเริ่มต้นของการสร้างกลุ่มและเครือข่าย Young Smart Farmer เกิดจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว และร่วมกันอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรจึงก่อตั้งกลุ่มโดยมีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และเกิดเครือข่ายของเกษตรกรที่มีเป้าหมายเหมือนกัน สำหรับการทำกิจกรรมกลุ่มหรือปรับตัวดำรงอยู่ คือ กลุ่มดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม เพื่อวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องการเมล็ดพันธุ์ ซึ่งในทุกๆ พื้นที่ จะมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านความรู้ เทคนิค ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว ปัจจุบันการสื่อสารเข้าถึงมากยิ่งขึ้นสมาชิกสามารถติดต่อกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ (LINE) หรือ เฟสบุ๊ค (Facebook) เพื่อร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่าย รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนภายนอกได้รู้กลุ่ม และเป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และผลผลิตทางการเกษตร การจัดทำคู่มือสรุปองค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ คู่มือนาแปลงใหญ่ฉบับชาวบ้าน มีขั้นตอนดังนี้ 1) ออกแบบเนื้อหา คำนึงถึงผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากคู่มือเป็นสำคัญ 2) ทดสอบความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย 3) ออกแบบรูปเล่มให้น่าหยิบ และน่าอ่าน 4) ผลิตและการเผยแพร่คู่มือสู่เกษตรกรในพื้นที่ศึกษาและหน่วยงานภาครัฐด้านการเกษตรในท้องถิ่นและส่วนกลาง การสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ เช่น รถเกี่ยวข้าว เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ และเครื่องอบข้าวเปลือกเพื่อลดความชื้น การสนับสนุนองค์ความรู้หรือเทคโนโลยี การจัดอบรมเสริมความรู้เกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย และการพัฒนาพันธุ์หลักให้กับเกษตรกร การพัฒนาการข้อมูลพยากรณ์อากาศในระดับท้องถิ่น และคืนข้อมูลการพยากรณ์อากาศให้กับเกษตรกรผ่านหลายช่องทาง เช่น สื่อสังคมออนไลน์ (Line กลุ่มเกษตรกร, Facebook กลุ่มเกษตรกร) การเพิ่มทักษะในด้านการผลิต และการตลาด ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจและไม่ส่งผลกระทบให้เกษตรกรรุ่นใหม่หันไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้นอกภาคการเกษตร

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    12

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    13 15

    Key Message

     

    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    http://www.thai-explore.net/search_detail/result/9555

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร อปท. และเกษตรกรในพื้นที่

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.1, 13.3.3, 13.3.4, 15.2.1, 15.2.5

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    Project:  Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand

    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    ผู้ดำเนินการหลัก

    (หัวหน้าโครงการ)

    รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  นาคะภากร

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     

    คำอธิบาย

     

    The Thai-coast project is helping improve scientific understanding of the vulnerability of Thailand’s coastal communities to hydro-meteorological hazards, including storms, floods and coastal erosion, under future climate change. For the study sites in Krabi and Nakhon Si Thammarat Provinces, key findings are that modelled future climate change indicates more extended and severe floods in Southern Thailand with the risk of flash floods increasing significantly, and erosion and accretion rates are more dramatic on mangrove coastlines compared with sandy coastlines. Despite variable physical and socio-economic resilience, the two study sites have comparable coastal vulnerability index (CVI) values. Project results impact through public engagement, dissemination and dialogue with policy makers and coastal communities.

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    In Thailand the problems of coastal erosion and flooding require immediate solutions because they affect more than 11 million people living in coastal zone communities (17% of the country’s population).

    The Department of Marine and Coastal Resources (DMCR), in the Thai Government’s Ministry of Natural Resources and Environment, has calculated that each year erosion causes Thailand to lose 30 km2 of coastal land.

    The Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning predicts that sea level will rise by 1 metre in the next 40 -100 years, impacting at least 3,200 km2 of coastal land, through erosion and flooding, at a potential financial cost to Thailand of 3 billion baht [almost £70 million] over that time-period. The Thai-coast project addresses the urgent need to enhance the resilience and adaptation potential of coastal communities, applying scientific research to inform more robust and cost-effective governance and institutional arrangements.

    The Thai-coast project aims to:

    Establish causal links between climate change, coastal erosion and flooding;

    Use this information to assess the interaction of natural and social processes in order to:

    Enhance coastal community resilience and future sustainability.

    The project focuses on two study areas, Nakhon Si Thammarat province and Krabi province, selected on the basis of DMCR coastal erosion data and with contrasting natural and socio-economic characteristics. The Thai-coast project uses a multidisciplinary approach, integrating climate science, geomorphology, socio-economics, health and wellbeing science and geo-information technology to improve understanding of hydro-meteorological hazard occurrence, their physical and socioeconomic, health and wellbeing impacts on Thailand’s coastal zone and the ways in which governance and institutional arrangements mitigate their impact. We will examine future scenarios of climate change hydrometeorology, coastal landform and land use change scenarios and assess and model impacts (coastal erosion, river-marine flooding, impacts on health and well-being), as well as population and community’s adaptation, and socio-economics scenarios for sustainable development goals (sustainable cities, health-related quality of life and well-being, good governance). Our collaborative team of natural and social scientists, from UK, US and Thai research institutions, have complimentary, cutting-edge expertise and will work closely with Thai Government and UK and Thai industry partners to ensure that results are policy and practice-relevant.

    Thai-coast research will benefit government and policymakers, who need to plan for potential impacts caused by climate change and develop resilient strategies to deal with their impacts on natural-social systems. It will provide a link with government agencies for business/industry interests in the coastal zone of Thailand in tourism, aquaculture and associated industry and business, to assess their needs and help improve their understanding of coastal resilience in their strategic investments and management. The wider public, who inhabit Thailand’s coastal communities either permanently or temporarily for work or leisure, will benefit through the advanced knowledge and awareness of identified problems and learning processes to address them. The results of the Thai-coast project will benefit coastal communities more broadly, in all Thai coastal provinces, through its contribution to more robust, cost effective, governance and institutional arrangements.

    Objectives

    Thai-coast project research is organized around three key aims, each with a specific set of objectives: Key aim 1. Enhance coastal community resilience and future sustainability under climate change scenarios (WP 5 and 6). Key aim 2. Use the quantitative links developed in WP 1 and 2 to assess the interaction of natural and social processes under current and future climate change (WP 3, 4, 5) Key aim 3. Establish quantitative links between climate change, coastal erosion and flooding (WP 1 and 2).

    Work package 1: Baseline assessment of hydro-meteorological boundary conditions

    Work package 2: Scenario modelling and hazard assessment

    Work package 3: Socio-economic impact assessment, coping mechanisms and resilience

    Work package 4: Coastal vulnerability assessment

    Work package 5: Good governance, resilience and sustainable coastal communities

    Work package 6: Impact through public engagement, dissemination and dialogue between policy-makers and coastal communities

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    SDG13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    SDG 3, 11, 14

    รูปหน้าปก

    Key Message

     

    Thai-coast research will benefit government and policymakers, who need to plan for potential impacts caused by climate change and develop resilient strategies to deal with their impacts on natural-social systems.

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    https://www.edgehill.ac.uk/nerc-tcp

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ที่ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    Foreign Government Agencies:

    - Egypt's Ministry of Environment 

    - Key Laboratory Of River and Coastal engineering, Vietnam

    - Vietnam Institute of Geosciences and Mineral Resources (VIGMR)

    - Science and Technology Division in Vietnam

    International organizations:

    - Center for Biodiversity Conservation and Endangered Species

    - GIZ

    - Green Climate Fund , United Nations Development Programme

    - Myanmar KOEI International Co. Ltd.

    - Vietnam National Space Center (VNSC)

    Government agencies in Thailand:

    - Department of Disaster Prevention and Mitigation, Thailand

    - Department of Marine and Coastal Resources

    - Department of Mineral Resources

    - Department of Land Development

    - Environmental Research and Training Center (ERTC)

    - Hydro – Informatics Institute (HII)

    - National Research Council of Thailand

    - Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning

    - Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council

    - Office of the National Economic and Social Development Council

    - Royal Irrigation Department

    - Thai Meteorological Department

    - GISTDA

    Academics:

    - BOKU, Austria

    - Duy Tân university, Vietnam

    - Hanoi University of Mining and Geology, Vietnam

    - Hanoi University of Natural Resources and Environment (HUNRE)

    - Madhyanchal Professional University, India

    - Nagasaki University, Japan

    - National Central University, Taiwan

    - Vietnam Maritime University (VMU)

    - VNU Hanoi University of Science

    - University of Manchester, UK

    Academics in Thailand:

    - Chulalongkorn University

    - Coastal Oceanography and Climate Change Research Center (COCC)

    - Department of Biology, Faculty of Science, Ramkhamhaeng University

    - Department of Geography, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand

    - Nakhon Ratchasima Rajabhat University

    - Thammasat University

    Regional organizations in Thailand:

    - North Andaman Network Foundation, Thailand

    - Provincial Office of Natural Resources and Environment Nakhon Si Thammarat

    - The Council of Scientific and Technological Associations of Thailand (COSTAT)

    ตัวชี้วัดThe Impact Ranking

    17.2.1, 17.2.2, 17.2.4, 14.5.4

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    Dry Season piloting of the MRC Riverine Plastic Monitoring Protocols

    แหล่งทุน

    Mekong River Commission และ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    Asst. Prof. Achara Ussawarujikulchai

    คำอธิบาย

     

    The increasing threat of plastic pollution to the Mekong River, the MRC Riverine Plastic Monitoring Programme (RPM) to assess the status and trends of macro- and microplastics pollution has been developed.  And field pilot of the three (3) protocols of the MRC RPM aiming to obtain knowledge and necessary to adapt the draft monitoring protocols to the situations of the Mekong River prior to conducting a full-scale monitoring. 

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    The Mekong River Basin is one of the largest and most biodiverse river basins in the world, providing a home to more than 70 million people alone in Lower Mekong Basin, covering 4 countries, Thailand, Lao, Vietnam and Cambodia. However, the Mekong River is also one of the 10 major contributors to marine plastic pollution.

    Recognizing the increasing threat of plastic pollution to the riverine ecosystems of the Mekong River, the Mekong River Commission (MRC) has collaborative partnerships with UNEP and the CMS for the development and implementation of the MRC Riverine Plastic Monitoring Programme (RPM) to assess the basin-wide status and trends of plastic pollution. The protocols for a long-term and cost-effective monitoring of the MRC Riverine Plastic Monitoring Programme were developed.

    This field pilot was conducted in Thailand by Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University in Ubonrachathani province during December 2021 to January 2022. The objectives of the dry season field pilots of the MRC Riverine Plastic Monitoring was to obtain knowledge and necessary to better adapt the draft monitoring protocols to the situations of the Mekong River prior to conducting a full-scale monitoring.  The riverine plastic monitoring protocol consists of 5 methods as the following;

     

    1) Macroplastic monitoring data collection by fishing gears at fishing community

    This method was cooperated with 7 fishermen from Wernbuek community living along the Mekong River. All fishermen were trained to collect plastic waste trapped to the fishing gear and to classify and record type of plastic waste in the log book. 

    2) Macroplastic monitoring data collection at artificial barrier

    The purpose of this method was to select which artificial barriers are suitable for plastic waste monitoring and to identify any challenges and issues for implementation.  Pak Mun Dam which is located on Mun River, the tributary of the Mekong River, was selected for studying this method. Waste collection was conducted at Pak Mun dam.

    3) Macroplastic monitoring data collection by tow net from boat

    The purpose of tow net method was to try the preferable net size and mesh opening, sampling volume, sampling duration and the net clogging condition based on the availability of appropriate equipments.  

    4) Microplastic monitoring data collection by tow net from boat

    The purpose of microplastics method was to try the preferable net size and mesh opening, sampling volume, sampling duration and the net clogging condition based on the availability of appropriate equipment.   The net dimension used in this study was 2 m. long with the frame size of 0.5 m. height and 1.0 m. width. The mesh size of the net is 200 micron. The water sample containing microplastics from tow net were collected and the laboratory analysis to quantify and identify types and properties of microplastics will be conducted in the next phase. 

    5) Microplastic in fish monitoring

    The purpose and scope of monitoring microplastics in the digestive tracts in fishes are to understand the level of plastic and miroplastic contamination in rivers, contamination taken into fishes, the trends as well as their distribution throughout the Lower Mekong Basin.

    Output of the project is the National Report on the Piloting of the Detailed Methodology of the MRC RPM prepared in accordance with the template provided by the MRC Secretariat.

     

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    SDG 14

    Key Message

    การป้องกันปัญหาขยะทางทะเล และการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำและในปลาที่เป็นอาหาร

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

    กรมประมง

    กรมทรัพยากรน้ำ

    Mekong River Commission 

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    14

  • Effect of Fungus-Growing Termite on Soil CO2 Emission at Termitaria Scale in Dry Evergreen Forest, Thailand

    ดร.วารินทร์ บุญเรียม

  • การพัฒนาการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองโดยใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็ก (Development of particulate matter based on small data logger) 

    นายวรงค์ บุญเชิดชู

  • Big Data Analytics from a Wastewater Treatment Plant

    ดร.แพรวา วงษ์บุรี

  • 6 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 น. - 16.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด “พิธีปัจฉิมนิเทศนักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563 - 2564” โดยภายในพิธีได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี และ คุณสากล ฐินะกุล นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวแสดงความยินดี พร้อมให้โอวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ก่อนที่จะมีพิธีมอบรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 และเกียรตินิยมอันดับ 2 รวมถึงพิธีมอบตราสัญลักษณ์ที่ระลึกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาของคณะ ประจำปีการศึกษา 2563 - 2564 ณ ห้องบรรยายรวม 4224 ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

© 2023 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.