หัวข้อ |
รายละเอียด |
ชื่อโครงการ MU-SDGs Case Study |
เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Solar Powered Boat to Promote Sustainable Tourism Policy) |
|
|
แหล่งทุน |
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) |
ส่วนงานหลัก |
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ |
ผู้ดำเนินการหลัก |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันต์ ปานประยูร |
ผู้ดำเนินการร่วม |
- องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 - กลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก (ชุมชนชายฝั่ง ตาม พรบ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558)
|
คำอธิบาย |
การถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับ อพท. และชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจัดการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ปะการัง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของเรือยนต์ โดยปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน การปนเปื้อนเขม่าจากการเผาไหม้ลงสู่แนวปะการัง และส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |
เนื้อหา MU-SDGs Case Study
|
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ เกาะหมากเป็นพื้นที่ต้นแบบขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ในการยกระดับพื้นที่เกาะหมากเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) โดยขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ผู้ประกอบการโรงแรม/รีสอร์ท ชาวบ้าน/ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเกาะหมากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการขนส่งและการท่องเที่ยวด้วยเรือยนต์ โดยเมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้แล้วจะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศส่งผลต่อการเกิดภาวะเรือนกระจก รวมถึงคราบเขม่าและคราบน้ำมันที่ตกลงสู่ทะเลจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและปะการัง การลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการท่องเที่ยว จึงเป็นอีกแนวทางที่สำคัญในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเป็นกลไกผลักดันเกาะหมากเข้าสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประชาคมเกาะหมาก และสร้างแผนยุทธศาสตร์และแผนการนำเทคโนโลยีเรือพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป การดำเนินการ 1) ต่อเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แสดงขั้นตอนการทำงาน ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย 2) จัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อพท. และชุมชนชายฝั่ง ผลการดำเนินงาน สำหรับการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบาย สัมมนาเชิงปฏิบัติการ สร้างแผน ยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดทางเลือกแผนการบริการเชิงพื้นที่การนำเรือไปประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติเพื่อส่งเสริม นโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรภาครัฐ หน่วยงานกำกับ และผู้มีส่วนได้เสียกับการพัฒนาพื้นที่ ด้วยประชาคมเกาะหมากต้องการพัฒนาการท่องเที่ยว แบบ Low carbon เพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากการวิเคราะห์ทางเลือกยุทธศาสตร์ 4 ทางเลือก สรุปได้ว่าทางเลือกที่เหมาะสม คือ ทางเลือกยุทธศาสตร์ที่ 4: B2 “การท่องเที่ยววิถีชุมชนคาร์บอนต่ำ (Local Autonomous Low-carbon Tourism)”
อยู่ระหว่างจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา Abstract |
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น |
เรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เป็นเรือที่ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในขณะใช้งานจะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้มากกว่าเรือยนต์ รวมถึงเรือไฟฟ้าที่เป็นระบบชาร์จอีกด้วย |
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก |
1) ในเชิงพื้นที่: ชุมชนชายฝั่งใช้เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ และการฟื้นฟูปะการังรอบเกาะหมาก 2) ในเชิงนโยบาย: สร้างตัวอย่างและรูปแบบการใช้งานเรือไฟฟ้าให้หน่วยงานที่มีการใช้งานเรือ เช่น ใช้เรือไฟฟ้าเข้าสู่เขตปะกะรังที่มีความอ่อนไหวในพื้นที่อุทยานฯ หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศ การใช้ประโยชน์สาธารณะของ อพท. ในการส่งเสริมเกาะหมากเป็นตามเกณฑ์การท่องเที่ยวยั่งยืน และขยายผลในพื้นที่อื่น และประชาคมเกาะหมากใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่โดยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการท่องเที่ยว และสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบ Low carbon |
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม |
13 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
7 14 |
|
|
Key Message |
การดำเนินการกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่ง เป็นเรือที่ไม่ใช้เชื้อเพลิง และในขณะที่ใช้งานไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอน จึงเป็นส่วน หนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม
|
https://www.dmcr.go.th/detailAll/57918/nws/257 https://th.postupnews.com/2022/04/nrct-solar-electric-boat.html https://dkmmap.nrct.go.th/dkmmap-2021/project-detail.php?pid=64-087 |
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย |
ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation |
อัลบั้มภาพ |
|
Partners/Stakeholders |
- อพท.8 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) |
ตัวชี้วัด THE Impact Ranking |
7.4.1, 7.4.4, 14.3.4, 14.5.4 |
โครงการ เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- Super User
- งานวิจัย
- ฮิต: 7474