• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • โรงเรียนสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    11. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    โรงเรียนสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    20 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2563

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อเสริมสร้างให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเห็นถึงคุณค่าและสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้นผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งเนื้อหาการสอน การฝึกทักษะจากการทดลอง พร้อมทั้งการปฏิบัติจริง มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ และการทำโครงงานกลุ่มด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จะมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกำหนดเนื้อหาและวิธีการจัดอบรมให้กับเยาวชน

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสมุทรสาคร

    - จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    102  คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายและแกนนำของเยาวชนในการสื่อสารไปสู่ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนท้องถิ่นให้ร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรสาครต่อไป

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/th/samutsakhonenvischool

    รูปภาพประกอบ:

     

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    12 14 และ 15

  • Project Title: Holocene mangrove dynamics, environmental and human interactions with sea level changes along the eastern Gulf of Thailand

    Research Title: Mangrove dynamics and environmental changes on Koh Chang, Thailand during the last millennium.

    ปฏิสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงป่าชายเลน สิ่งแวดล้อม และมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลตามแนวทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออกในสมัยโฮโลซีน

    Researcher(s): Apichaya Englong, Paramita Punwong, Katherine Selby, Rob Marchant, Paweena Traiperm, Nathsuda Pumijumnong
    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):
    This study aims to investigate how mangrove ecosystems in this area have responded to sea level and anthropogenic changes in mainland and island coasts along the eastern Gulf of Thailand during the Holocene. This achieved through pollen and charcoal analyses that will be combined with, geochemistry, including loss on Ignition to establish organic and inorganic carbon to inform about sedimentary sources and deposition. These combined data will be used to disentangle environmental changes, mangrove ecosystem response and human impacts to the areas.

    A 1500-year record of mangrove dynamics has been established from palaeoecological analyses on three cores from Salak Phet Bay, Koh Chang island in the eastern Gulf of Thailand. The occurrence of Rhizophora, accompanied by other mangrove species, suggested that Salak Phet Bay supported a mangrove community from at least 1500 cal yr BP. From 1500 cal yr BP the mangrove extent decreased indicating less inundation frequency, possibly in response to a sea-level fall until 1300 cal yr BP. Following this regression, sea-level rise resulted in an increased presence of mangrove taxa until 500 cal yr BP. The study documents that Salak Phet Bay was characterised by relatively low saline conditions based on the occurrence of the moist-loving species (Oncosperma) around 1500-500 cal yr BP. After 500 cal yr BP mangrove taxa gradually decreased and terrestrial herbaceous taxa, mainly grasses, increased suggesting that the frequency of marine inundation was reduced as sea level fell. Drier conditions were also recorded by an increase in terrestrial grasses and a decrease in Oncosperma after 500 cal yr BP. In the uppermost sediments the increased presence of Rhizophora is probably associated with recent global sea-level rise although changes in mangrove composition are possibly related to human activities within Koh Chang. The sedimentation rate and the mangrove migration at Koh Chang have kept pace over the past 1500 years but this may be challenged under predicted future rapid sea-level rise as accommodation space for mangroves to migrate inland is required to maintain viable mangrove forests.

    Holocene mangrove dynamicsHolocene mangrove dynamics

    Holocene mangrove dynamics

    Award Grant Related to the Project (if any): -

    Intellectual Property Rights (if any): -

    Applied Research Project to Usage (if any): -

    Publishing: Englong, A., Punwong, P., Selby, K., Marchant, R., Traiperm, P., & Pumijumnong, N. 2019. Mangrove dynamics and environmental changes on Koh Chang, Thailand during the last millennium. Quaternary International 500, 128-138

    Key Contact Person: Dr.Paramita Punwong, Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University, Salaya, Nakhon Pathom, 73170, Thailand. E-mail address: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล

    Knowledge Management of Creative Tourism by Communities in Satun Geopark

    ผศ.ดร. ปรมิตา พันธ์วงศ์

    โครงการวิจัย การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล ดำเนินงานโดย คณะผู้วิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ผศ.ดร. ปรมิตา พันธ์วงศ์ รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ และ ดร.โทมัส นีล สเตวาส โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ระยะเวลาดำเนินงานระหว่างวันที่ 13 มี.ค. 2563 - 12 มี.ค. 2564 มีที่มาและความสำคัญจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาของ UNESCO เพื่อที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและขจัดความยากจนในพื้นที่ แต่การท่องเที่ยวเชิงธรณี (geopark) สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในช่วงการเริ่มต้นพัฒนา กิจกรรมในการท่องเที่ยวต่าง ๆ มีความเสี่ยงที่อาจถูกทำลายคุณค่าที่ดึงดูดผู้ท่องเที่ยวเชิงนิเวศเนื่องจากสภาพแวดล้อมอันบอบบางเสื่อมสภาพลง จึงต้องพยายามทำความเข้าใจผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และพยายามปกป้อง รวมทั้งขยายแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาแห่งอื่นๆ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอุทยานธรณีโลกสตูล ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่นำไปใช้พัฒนาด้านการท่องเที่ยว พัฒนากลไกเพื่อให้การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดความยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลหรือเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่อื่น ๆ ในระดับประเทศต่อไป 

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานระดับกระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อุตสาหกรรมจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และกลุ่มนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอมะนัง อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอละงู จังหวัดสตูล         มีวิธีการดำเนินงาน ได้แก่ การประยุกต์ทฤษฎี knowledge spiral ร่วมกับแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานชุมชน และการท่องเที่ยวปลายทางยั่งยืน มาวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิจัยเอกสาร ศึกษาบริบทชุมชน สังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำร่างคู่มือสรุปองค์ความรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชนอุทยานธรณีโลกสตูล

      ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ มีการสร้างโอกาสการจ้างงานสำหรับชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น เกิดการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติทุกด้านอย่างองค์รวม เสริมสร้างคุณค่ามรดกทางธรณีวิทยาและวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ ทำให้เกิดความตระหนักและความเข้าใจในการเก็บรักษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เอื้ออำนวยต่อการขยายองค์ความรู้มรดกทางธรณีวิทยาให้เป็นที่กว้างขาง นอกจากนั้นยังบรรลุการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีวิทยา ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล และเป้าหมายที่ 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบกอีกด้วย 

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ดร.ปรมิตา พันธ์วงศ์ โทร.02 441 5000 ต่อ 1313 อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือทางเว็บลิงค์: http://www.thai-explore.net/search_detail/result/10939

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Solar Powered Boat to Promote Sustainable Tourism Policy)

     

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันต์ ปานประยูร

    ผู้ดำเนินการร่วม

    - องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 3

    - กลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก (ชุมชนชายฝั่ง ตาม พรบ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558)

     

    คำอธิบาย

    การถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับ อพท. และชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจัดการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ปะการัง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของเรือยนต์ โดยปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน การปนเปื้อนเขม่าจากการเผาไหม้ลงสู่แนวปะการัง และส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    เกาะหมากเป็นพื้นที่ต้นแบบขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ในการยกระดับพื้นที่เกาะหมากเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) โดยขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ผู้ประกอบการโรงแรม/รีสอร์ท ชาวบ้าน/ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเกาะหมากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการขนส่งและการท่องเที่ยวด้วยเรือยนต์ โดยเมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้แล้วจะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศส่งผลต่อการเกิดภาวะเรือนกระจก รวมถึงคราบเขม่าและคราบน้ำมันที่ตกลงสู่ทะเลจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและปะการัง

    การลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการท่องเที่ยว จึงเป็นอีกแนวทางที่สำคัญในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเป็นกลไกผลักดันเกาะหมากเข้าสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  โดยเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประชาคมเกาะหมาก และสร้างแผนยุทธศาสตร์และแผนการนำเทคโนโลยีเรือพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป

    การดำเนินการ

    1) ต่อเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แสดงขั้นตอนการทำงาน ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย

    2) จัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อพท. และชุมชนชายฝั่ง

    ผลการดำเนินงาน
    โครงการเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้ทำการสร้างเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบคาตามารานขนาดยาว 7.5 เมตร กว้าง 3.5 เมตร ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 2.4 kWp ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ PMSM ขนาด 4 kW จำนวน 2 เครื่อง ส่วนผลจากการทดสอบวิ่งในเส้นทางอ่าวนิด-เกาะขายหัวเราะ มีระยะทาง 8.15 กิโลเมตร รวมทั้งการเข้าออกท่าเรือ และการบังคับเรือไปตามแนวสภาพร่องน้ำของเกาะในสภาพมีคลื่นลมเล็กน้อยถึงปานกลาง พบว่า เรือมีการตอบสนองต่อการขับเคลื่อนที่ดีในเกณฑ์ปกติ มีสมดุลดี ผู้โดยสารยังสามารถเดินไปมายังส่วนต่าง ๆ ทำกิจกรรมได้ในช่วงการทดสอบ เรือสามารถทำความเร็วสูงสุดในการเดินทางได้ 8.33 km/h มีความเร็วเฉลี่ย 6.26 km/h ใช้พลังงานไฟฟ้า 2.54 kWh ใช้กำลังมอเตอร์เฉลี่ยที่ 1.89 kW มีค่าความเข้มแสงเฉลี่ย 405.97 W/m2 ค่า insolation 6.97 kWh ประจุแบตเตอรี่ได้ 1.31 kWh ระบบมีประสิทธิภาพ 18.80% เรือสามารถวิ่งต่อเนื่องโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวได้ 5 ชั่วโมง 45 นาที และเดินทางได้ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร ครอบคลุมเส้นทางท่องเที่ยวทั่วไปของเกาะหมาก

    สำหรับการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบาย สัมมนาเชิงปฏิบัติการ สร้างแผน ยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดทางเลือกแผนการบริการเชิงพื้นที่การนำเรือไปประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติเพื่อส่งเสริม นโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรภาครัฐ หน่วยงานกำกับ และผู้มีส่วนได้เสียกับการพัฒนาพื้นที่ ด้วยประชาคมเกาะหมากต้องการพัฒนาการท่องเที่ยว แบบ Low carbon เพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากการวิเคราะห์ทางเลือกยุทธศาสตร์ 4 ทางเลือก สรุปได้ว่าทางเลือกที่เหมาะสม คือ ทางเลือกยุทธศาสตร์ที่ 4: B2 “การท่องเที่ยววิถีชุมชนคาร์บอนต่ำ (Local Autonomous Low-carbon Tourism)”


    การพัฒนาแนวทางการยกระดับขีดความสามารถการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะหมาก ภายใต้เงื่อนไขทัศนภาพ B2 มีเป้าหมายคือ “ลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนของเกาะหมาก” เมื่อเทียบกับข้อมูลการปลดปล่อยคาร์บอนของเกาะหมากในปี 2555 โดยมีแนวทางในการที่จะบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้


    1. แนวทางด้านสังคม: 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในมิติที่ครอบคลุม 2) ส่งเสริมการสร้างความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แนวคิด การดำเนินงาน ให้แก่ทุกองค์กร/ภาคส่วน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่การลดการปลดปล่อยคาร์บอน


    2. แนวทางด้านเทคโนโลยี: 1) พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนลและผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะช่วยสร้างแหล่งเพาะปลูก เพาะเลี้ยง ตลอดจนตลาดซื้อ ขาย-แลกเปลี่ยน สินค้าอาหารสดพืชผักที่ผลิตบนเกาะหมากเอง ลดปริมาณคาร์บอนจากการขนส่งข้ามทะเล
    2) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมภายในบริเวณเกาะ และพื้นที่ชายฝั่ง เป็นยานพาหนะที่มีการปลดปล่อย คาร์บอนต่ำ เช่น การใช้รถไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า 3) การพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงาน เช่น สนับสนุนโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิต biodiesel จากน้ำมันพืชใช้แล้ว 4) พัฒนาระบบจัดการของเสียที่เหมาะสม เช่น การคัดแยกขยะ บำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะ เพื่อลดการปลดปล่อยมีเทน มาตรการลดการใช้ขวดแก้วซึ่งมีน้ำหนักมาก มูลค่าต่ำ ไม่คุ้มค่าในการนำกลับไปกำจัดที่ฝั่ง


    3.แนวทางด้านสิ่งแวดล้อม: 1) ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์แหล่งกักเก็บคาร์บอน เช่น การอนุรักษ์ป่าสนับสนุนทุ่นจอดเรือเพื่ออนุรักษ์แนวปะการัง อนุรักษ์พื้นที่หญ้าทะเล 2) ส่งเสริมกิจกรรมฟื้นฟู และเพิ่มเติม แหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ เช่น กิจกรรมปลูกปะการัง ปลูกหญ้าทะเล 3) ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 3.1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการปกป้องแนวปะการัง เช่น ฐานทุ่นซีเมนต์ ทุ่นผูกเรือ ทุ่นไข่ปลา 3.2) ส่งเสริมมาตรฐานต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Green hotel เมนูอาหาร low carbon สนับสนุนเกณฑ์การท่องเที่ยวยั่งยืนโลก


    4. แนวทางด้านเศรษฐศาสตร์: 1) การสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยวและส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ 1.1) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ low carbon เช่น เรือใบ เรือไฟฟ้า 1.2) พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การดำน้ำ การล่องเรือ การปลูกหญ้าทะเล การปลูกปะการัง ด้วยเรือใบ เรือไฟฟ้า


    5. แนวทางด้านการจัดการ (นโยบาย และการเมือง): 1) สร้างแผนยุทธศาสตร์สำหรับการท่องเที่ยวยั่งยืนของเกาะหมาก 2) พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการใช้ยานพาหนะทางทะเล โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการของ พรบ. ส่งเสริมการบริหารจัดการ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 เช่น สนับสนุนการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าในการดำเนินกิจกรรมทางทะเล เครื่องมือ กลไก การดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องมือ กลไก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของเกาะหมากแบ่งเป็น
    - เชิงนโยบาย ได้แก่ 1) การออกกฎกระทรวงให้บริเวณทะเล ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูดเป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ... ตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ซึ่งชุมชนสามารถมีส่วนร่วมเสนอข้อห้ามต่าง ๆ ไว้ในกฎกระทรวงได้ เช่น การห้ามทำประมงในเขตแนวปะการัง หรือห้ามเรือประมงพาณิชย์เข้ามาทำประมงภายใน อาณาเขตทางทะเลของเกาะหมาก หรือห้ามไม่ให้มีกิจกรรมสันทนาการด้วยเรือยนต์ เจ็ทสกีภายในแนวปะการัง เป็นต้น
    - เชิงการจัดการ ได้แก่ 1) การสร้างมาตรการจูงใจ เช่น การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดประกวดรีสอร์ท low carbon 2) จัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ภาคเอกชนในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
    การนำไปใช้ประโยชน์
    1) การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องเทคโนโลยีเรือไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายเพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์ โดยมี ตัวแทนองค์กรภาครัฐ หน่วยงานกำกับ และผู้มีส่วนได้เสียกับการพัฒนาพื้นที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 30 คน
    2) มีการพัฒนายุทธศาสตร์ “การท่องเที่ยววิถีชุมชนคาร์บอนต่ำ (Local Autonomous Low-carbon Tourism)” ให้แก่ ชุมชน โดยเสนอเครื่องมือและกลไกทั้งในเชิงการบริหารจัดการและเชิงนโยบายเพื่อเป็นแผนแม่บท (Master Plan) ซึ่งเป็นแผนที่เกิดจากการรวมแผนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน

    อยู่ระหว่างจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

    Abstract
    The Solar Powered Boat to Promote Sustainable Tourism Policy project aims to transfer solar-powered boat technology to the Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization) and Koh Mak community and to create a strategic plan and plan for utilizing solar-powered boat technology to promote sustainable tourism policy. The solar-powered catamaran size 7.5 m x 3.5 m was built and installed a 2.4 kWp solar power generation system. The boat can be continuously operated, powered by a battery for 5:45 hours with 35 km of distance, covering the general tourist routes of Koh Mak. The workshop was organized to transfer solar-powered boat technology to the target group, the activity also included local policy development process. The solar-powered boat technology was an activity under the strategy of transition to electric vehicles to reduce CO2 emissions. The analysis of four strategic alternatives found that the appropriate strategic alternative was strategic alternative 4: B2 “Local Autonomous Low-carbon Tourism”. The goal was to reduce the amount of CO2 emission of Koh Mak”, compared with the database of Koh Mak’s CO2 emissions in 2012. There were two main approaches to achieving strategic goals directly related to the transition to electric vehicles to reduce CO2 emissions of tourism. Technology approach was the modification of the transportation within the island and coastal areas to low-carbon emission vehicles, such as electric vehicles, electric motorcycles, and electric boats. Environmental approach was promoting the use of electric boats in marine activities such as corals and seagrasses plantation for sustainable tourism. The implementation of the project promoted knowledge, understanding, and success in conservation, restoration, and biodiversity enhancement to Koh Mak Coral Conservation Group. High-value tourism initiatives emerged based on social and environmental responsibility tourism. Quality tourists were impressed and needed to come back again. The tourism income of Koh Mak increased, and Koh Mak tourism developed to be quality tourism that focused on value and sustainability.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    เรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เป็นเรือที่ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล  ในขณะใช้งานจะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้มากกว่าเรือยนต์ รวมถึงเรือไฟฟ้าที่เป็นระบบชาร์จอีกด้วย

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    1) ในเชิงพื้นที่: ชุมชนชายฝั่งใช้เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ และการฟื้นฟูปะการังรอบเกาะหมาก

    2) ในเชิงนโยบาย: สร้างตัวอย่างและรูปแบบการใช้งานเรือไฟฟ้าให้หน่วยงานที่มีการใช้งานเรือ เช่น ใช้เรือไฟฟ้าเข้าสู่เขตปะกะรังที่มีความอ่อนไหวในพื้นที่อุทยานฯ หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศ การใช้ประโยชน์สาธารณะของ อพท. ในการส่งเสริมเกาะหมากเป็นตามเกณฑ์การท่องเที่ยวยั่งยืน และขยายผลในพื้นที่อื่น และประชาคมเกาะหมากใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่โดยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการท่องเที่ยว และสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบ Low carbon

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    7 14

     

    Key Message

    การดำเนินการกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่ง   เป็นเรือที่ไม่ใช้เชื้อเพลิง และในขณะที่ใช้งานไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอน จึงเป็นส่วน หนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    https://www.dmcr.go.th/detailAll/57918/nws/257

    https://th.postupnews.com/2022/04/nrct-solar-electric-boat.html

    https://dkmmap.nrct.go.th/dkmmap-2021/project-detail.php?pid=64-087

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

       

    Partners/Stakeholders

    - อพท.8 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)
    - สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
    - ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด
    - องค์การบริหารส่วน ตำบลเกาะหมาก
    - วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก
    - กลุ่มอนุรักษ์ปะการัง ชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    7.4.1, 7.4.4, 14.3.4, 14.5.4

  • เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG

    11,13,16,17

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2564

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสหภาพยุโรป (The European Union - EU) และ สำนักงานศาลปกครอง

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง และการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:00 – 17:00 น. ผ่านระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม Zoom โดยความร่วมมือระหว่าง สหภาพยุโรป (The European Union - EU) สำนักงานศาลปกครอง และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง และการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน ทั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การมหาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม นักศึกษา ข้าราชการบำนาญ เข้าร่วมผ่านระบบ zoom และ Facebook Live รวมจำนวน 236 คน

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การมหาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม นักศึกษา

    จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    236 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

     
     
  • Project Title: Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand

    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย

    Researcher(s): Associate Professor Dr. Kanchana Nakhapakorn, Dr. Suparee Boonmanunt

    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):

    A major study aims to improve understanding of the vulnerability of Thailand’s shoreline and coastal communities to storms, floods and coastal erosion under future climate change scenarios.

    The Thai-coast project, led by Professor Cherith Moses from Edge Hill University, together with Dr. Kanchana Nakhapakorn from Mahidol University in Bangkok, has received £381,024 from the Natural Environment Research Council (NERC) and the Economic and Social Research Council (ESRC) to support the UK component of the project, and £123,000 from the Thailand Research Fund to support the Thai component, funded through the Newton Fund in Thailand. The project is working alongside colleagues at the University of Brighton, University of Sussex and Ambiental Technical Solutions in the UK, Mahidol University, Chulalongkorn University and Thammasat University in Thailand and the US’s National Center for Atmospheric Research and the Thailand Government on the three-year collaboration.

    In Thailand the problems of coastal erosion and flooding require immediate attention and, most importantly, solutions because they affect 17 per cent of the country’s population – more than 11 million people.

    The Thai Government’s Department of Marine and Coastal Resources (DMCR) has calculated that each year, erosion causes the country to lose 30 square kilometres of coastal land. The country’s Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning predicts the sea level will rise one metre in the next 40 to 100 years, which impacts at least 3,200 square kilometres of coastal land at a potential cost to Thailand of 3 billion baht (almost £70m).

    The study aims to enhance the resilience and adaptation potential of coastal communities, applying scientific research to inform more robust and cost-effective solutions. The project focuses on two study areas, Nakhon Si Thammarat province and Krabi province, selected on the basis of DMCR coastal erosion data and the fact they have contrasting natural and socio-economic characteristics.

    The Thai-coast project will use a multidisciplinary approach to improve understanding of hydro-meteorological hazard (storms, floods and coastal erosion) occurrence, their physical and socioeconomic, health and wellbeing effects on Thailand’s coastal zone and the ways in which governance and institutional arrangements mitigate their impact. The wider public, who inhabit Thailand’s coastal communities either permanently or temporarily for work or leisure, will benefit through the advanced knowledge and awareness of identified problems and learning processes to address them.

    Key Contact Person: Assoc. Prof. Dr.Kanchana Nakhapakorn, +66 02 441 5000 ext 1240 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    The contributing academics and organizations for this study are:
    Professor Cherith Moses, Edge Hill University
    Dr Raymond Ward, University of Brighton
    Dr John Barlow, University of Sussex
    Dr Yi Wang, University of Sussex
    Dr Charles Watters, University of Sussex
    Professor Paul Statham, University of Sussex
    Dr Kanchana Nakhapakorn, Mahidol University
    Dr Uma Langkulsen, Thammasat University
    Dr Pannee Cheewinsiriwat, Chulalongkorn University
    Dr Chalermpol Chamchan, Mahidol University
    Dr Suparee Boonmanun, Mahidol University
    Mr David Martin, Ambiental, Sussex Innovation Centre
    Dr Jimy Dudhia, National Centre for Atmospheric Research, US
    Mr Paritad Charoensit, Department of Marine and Coastal Resource, Thailand

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    Project:  Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand

    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    ผู้ดำเนินการหลัก

    (หัวหน้าโครงการ)

    รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  นาคะภากร

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     

    คำอธิบาย

     

    The Thai-coast project is helping improve scientific understanding of the vulnerability of Thailand’s coastal communities to hydro-meteorological hazards, including storms, floods and coastal erosion, under future climate change. For the study sites in Krabi and Nakhon Si Thammarat Provinces, key findings are that modelled future climate change indicates more extended and severe floods in Southern Thailand with the risk of flash floods increasing significantly, and erosion and accretion rates are more dramatic on mangrove coastlines compared with sandy coastlines. Despite variable physical and socio-economic resilience, the two study sites have comparable coastal vulnerability index (CVI) values. Project results impact through public engagement, dissemination and dialogue with policy makers and coastal communities.

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    In Thailand the problems of coastal erosion and flooding require immediate solutions because they affect more than 11 million people living in coastal zone communities (17% of the country’s population).

    The Department of Marine and Coastal Resources (DMCR), in the Thai Government’s Ministry of Natural Resources and Environment, has calculated that each year erosion causes Thailand to lose 30 km2 of coastal land.

    The Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning predicts that sea level will rise by 1 metre in the next 40 -100 years, impacting at least 3,200 km2 of coastal land, through erosion and flooding, at a potential financial cost to Thailand of 3 billion baht [almost £70 million] over that time-period. The Thai-coast project addresses the urgent need to enhance the resilience and adaptation potential of coastal communities, applying scientific research to inform more robust and cost-effective governance and institutional arrangements.

    The Thai-coast project aims to:

    Establish causal links between climate change, coastal erosion and flooding;

    Use this information to assess the interaction of natural and social processes in order to:

    Enhance coastal community resilience and future sustainability.

    The project focuses on two study areas, Nakhon Si Thammarat province and Krabi province, selected on the basis of DMCR coastal erosion data and with contrasting natural and socio-economic characteristics. The Thai-coast project uses a multidisciplinary approach, integrating climate science, geomorphology, socio-economics, health and wellbeing science and geo-information technology to improve understanding of hydro-meteorological hazard occurrence, their physical and socioeconomic, health and wellbeing impacts on Thailand’s coastal zone and the ways in which governance and institutional arrangements mitigate their impact. We will examine future scenarios of climate change hydrometeorology, coastal landform and land use change scenarios and assess and model impacts (coastal erosion, river-marine flooding, impacts on health and well-being), as well as population and community’s adaptation, and socio-economics scenarios for sustainable development goals (sustainable cities, health-related quality of life and well-being, good governance). Our collaborative team of natural and social scientists, from UK, US and Thai research institutions, have complimentary, cutting-edge expertise and will work closely with Thai Government and UK and Thai industry partners to ensure that results are policy and practice-relevant.

    Thai-coast research will benefit government and policymakers, who need to plan for potential impacts caused by climate change and develop resilient strategies to deal with their impacts on natural-social systems. It will provide a link with government agencies for business/industry interests in the coastal zone of Thailand in tourism, aquaculture and associated industry and business, to assess their needs and help improve their understanding of coastal resilience in their strategic investments and management. The wider public, who inhabit Thailand’s coastal communities either permanently or temporarily for work or leisure, will benefit through the advanced knowledge and awareness of identified problems and learning processes to address them. The results of the Thai-coast project will benefit coastal communities more broadly, in all Thai coastal provinces, through its contribution to more robust, cost effective, governance and institutional arrangements.

    Objectives

    Thai-coast project research is organized around three key aims, each with a specific set of objectives: Key aim 1. Enhance coastal community resilience and future sustainability under climate change scenarios (WP 5 and 6). Key aim 2. Use the quantitative links developed in WP 1 and 2 to assess the interaction of natural and social processes under current and future climate change (WP 3, 4, 5) Key aim 3. Establish quantitative links between climate change, coastal erosion and flooding (WP 1 and 2).

    Work package 1: Baseline assessment of hydro-meteorological boundary conditions

    Work package 2: Scenario modelling and hazard assessment

    Work package 3: Socio-economic impact assessment, coping mechanisms and resilience

    Work package 4: Coastal vulnerability assessment

    Work package 5: Good governance, resilience and sustainable coastal communities

    Work package 6: Impact through public engagement, dissemination and dialogue between policy-makers and coastal communities

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    SDG13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    SDG 3, 11, 14

    รูปหน้าปก

    Key Message

     

    Thai-coast research will benefit government and policymakers, who need to plan for potential impacts caused by climate change and develop resilient strategies to deal with their impacts on natural-social systems.

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    https://www.edgehill.ac.uk/nerc-tcp

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ที่ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    Foreign Government Agencies:

    - Egypt's Ministry of Environment 

    - Key Laboratory Of River and Coastal engineering, Vietnam

    - Vietnam Institute of Geosciences and Mineral Resources (VIGMR)

    - Science and Technology Division in Vietnam

    International organizations:

    - Center for Biodiversity Conservation and Endangered Species

    - GIZ

    - Green Climate Fund , United Nations Development Programme

    - Myanmar KOEI International Co. Ltd.

    - Vietnam National Space Center (VNSC)

    Government agencies in Thailand:

    - Department of Disaster Prevention and Mitigation, Thailand

    - Department of Marine and Coastal Resources

    - Department of Mineral Resources

    - Department of Land Development

    - Environmental Research and Training Center (ERTC)

    - Hydro – Informatics Institute (HII)

    - National Research Council of Thailand

    - Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning

    - Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council

    - Office of the National Economic and Social Development Council

    - Royal Irrigation Department

    - Thai Meteorological Department

    - GISTDA

    Academics:

    - BOKU, Austria

    - Duy Tân university, Vietnam

    - Hanoi University of Mining and Geology, Vietnam

    - Hanoi University of Natural Resources and Environment (HUNRE)

    - Madhyanchal Professional University, India

    - Nagasaki University, Japan

    - National Central University, Taiwan

    - Vietnam Maritime University (VMU)

    - VNU Hanoi University of Science

    - University of Manchester, UK

    Academics in Thailand:

    - Chulalongkorn University

    - Coastal Oceanography and Climate Change Research Center (COCC)

    - Department of Biology, Faculty of Science, Ramkhamhaeng University

    - Department of Geography, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand

    - Nakhon Ratchasima Rajabhat University

    - Thammasat University

    Regional organizations in Thailand:

    - North Andaman Network Foundation, Thailand

    - Provincial Office of Natural Resources and Environment Nakhon Si Thammarat

    - The Council of Scientific and Technological Associations of Thailand (COSTAT)

    ตัวชี้วัดThe Impact Ranking

    17.2.1, 17.2.2, 17.2.4, 14.5.4

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    Dry Season piloting of the MRC Riverine Plastic Monitoring Protocols

    แหล่งทุน

    Mekong River Commission และ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    Asst. Prof. Achara Ussawarujikulchai

    คำอธิบาย

     

    The increasing threat of plastic pollution to the Mekong River, the MRC Riverine Plastic Monitoring Programme (RPM) to assess the status and trends of macro- and microplastics pollution has been developed.  And field pilot of the three (3) protocols of the MRC RPM aiming to obtain knowledge and necessary to adapt the draft monitoring protocols to the situations of the Mekong River prior to conducting a full-scale monitoring. 

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    The Mekong River Basin is one of the largest and most biodiverse river basins in the world, providing a home to more than 70 million people alone in Lower Mekong Basin, covering 4 countries, Thailand, Lao, Vietnam and Cambodia. However, the Mekong River is also one of the 10 major contributors to marine plastic pollution.

    Recognizing the increasing threat of plastic pollution to the riverine ecosystems of the Mekong River, the Mekong River Commission (MRC) has collaborative partnerships with UNEP and the CMS for the development and implementation of the MRC Riverine Plastic Monitoring Programme (RPM) to assess the basin-wide status and trends of plastic pollution. The protocols for a long-term and cost-effective monitoring of the MRC Riverine Plastic Monitoring Programme were developed.

    This field pilot was conducted in Thailand by Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University in Ubonrachathani province during December 2021 to January 2022. The objectives of the dry season field pilots of the MRC Riverine Plastic Monitoring was to obtain knowledge and necessary to better adapt the draft monitoring protocols to the situations of the Mekong River prior to conducting a full-scale monitoring.  The riverine plastic monitoring protocol consists of 5 methods as the following;

     

    1) Macroplastic monitoring data collection by fishing gears at fishing community

    This method was cooperated with 7 fishermen from Wernbuek community living along the Mekong River. All fishermen were trained to collect plastic waste trapped to the fishing gear and to classify and record type of plastic waste in the log book. 

    2) Macroplastic monitoring data collection at artificial barrier

    The purpose of this method was to select which artificial barriers are suitable for plastic waste monitoring and to identify any challenges and issues for implementation.  Pak Mun Dam which is located on Mun River, the tributary of the Mekong River, was selected for studying this method. Waste collection was conducted at Pak Mun dam.

    3) Macroplastic monitoring data collection by tow net from boat

    The purpose of tow net method was to try the preferable net size and mesh opening, sampling volume, sampling duration and the net clogging condition based on the availability of appropriate equipments.  

    4) Microplastic monitoring data collection by tow net from boat

    The purpose of microplastics method was to try the preferable net size and mesh opening, sampling volume, sampling duration and the net clogging condition based on the availability of appropriate equipment.   The net dimension used in this study was 2 m. long with the frame size of 0.5 m. height and 1.0 m. width. The mesh size of the net is 200 micron. The water sample containing microplastics from tow net were collected and the laboratory analysis to quantify and identify types and properties of microplastics will be conducted in the next phase. 

    5) Microplastic in fish monitoring

    The purpose and scope of monitoring microplastics in the digestive tracts in fishes are to understand the level of plastic and miroplastic contamination in rivers, contamination taken into fishes, the trends as well as their distribution throughout the Lower Mekong Basin.

    Output of the project is the National Report on the Piloting of the Detailed Methodology of the MRC RPM prepared in accordance with the template provided by the MRC Secretariat.

     

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    SDG 14

    Key Message

    การป้องกันปัญหาขยะทางทะเล และการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำและในปลาที่เป็นอาหาร

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

    กรมประมง

    กรมทรัพยากรน้ำ

    Mekong River Commission 

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    14

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่

    Marine Spatial Planning: Application to local practices 

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานร่วม

    1. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    2. Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of

    Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ศ. ดร.สุวลักษณ์ สาธุมนัสพันธุ์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    1. อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    2. Dr. Zhiwei Zhang: Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

    คำอธิบาย

     

    โครงการได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับสากลและระดับชาติ และจัดการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์ทางทะเลสำหรับประเทศไทย และสามารถต่อยอดผลการศึกษาไปสู่การวิจัยในพื้นที่นําร่องต่อไป

     

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    วัตถุประสงค์

    การรวบรวมและทบทวนความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับ MSP ทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพรวมองค์ความรู้ สถานภาพการดำเนินงาน  แรงขับเคลื่อน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของMSP ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อการขับเคลื่อนMSP

    สำหรับประเทศไทย

    การดำเนินการ

    1) การรวบรวมองค์ความรู้ระดับนานาชาติอย่างเป็นระบบ 2) การรวบรวมองค์ความรู้ระดับชาติ (Grey Literature Review) และพันธกรณี นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลของประเทศไทย และ 4) การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลสำหรับประเทศไทย

    ผลการดำเนินงาน

    1) ภาพรวมองค์ความรู้ MSP: ผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับMSP ในระดับสากลบนฐานข้อมูลScopus ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2565 (มิถุนายน 2565) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,825 ฉบับ ตีพิมพ์อยู่ในวารสารชั้นนำระดับโลกที่รวบรวมงานวิจัยด้านนโยบายทางทะเลและการจัดการทะเลและชายฝั่ง การผลิตผลงานวิจัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีการกระจายตัวตามสังกัดผู้เขียนอยู่ในภูมิภาคยุโรปสูงสุด (60%) ผลงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นบทความวิชาการ (77%) ทั้งนี้ ในส่วนของบทความทางวิชาการของประเทศไทยที่ปรากฎในฐานข้อมูลนานาชาติตามช่วงเวลาที่สืบค้นพบว่ามีเพียง 1 ฉบับเท่านั้นในขณะผลงานวิจัยMSP ในประเทศไทย จากการสืบค้นในฐานข้อมูลระดับชาติ ช่วงปี พ.ศ. 2546 -2565 พบว่ามีผลงานที่เกี่ยวข้องกับMSP ค่อนข้างจำกัด

    2) สถานภาพ/การพัฒนา และแรงขับเคลื่อนMSP : สรุปสถานภาพและการพัฒนาMSP ทั่วโลก โดยโดยมีกระบวนการทำMSP ซึ่งจำแนกได้  6 ระยะ ครอบคลุม10 ขั้นตอน (Ehler and Douvere, 2009)  ในระดับนานาชาติMSP มีจุดเริ่มต้นจากการฟื้นฟูและอนุรักษ์แนวปะการังGreat Barrier Reef ในออสเตรเลียปี พ.ศ.2518 ซึ่งปัจจุบันมีสถานภาพอยู่ในช่วงการทบทวนแก้ไขแผนการจัดการ (ระยะที่6) ตามมาด้วยเขตการใช้ประโยชน์ในทะเลของจีนในปี พ.ศ.2532 ที่ปัจจุบันโครงการส่วนใหญ่ของประเทศจีนอยู่ในช่วงการติดตามประเมินผลและทบทวนแผนการจัดการแล้ว (ระยะ5-6) เช่นเดียวกับMSP ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั่วยุโรป และจากการสนับสนุนของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ปัจจุบัน ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก เช่น ฟิจิ ปาปัวนิวกินี และมอนต์เซอร์รัต รวมถึงประเทศในภูมิภาคแอฟริกาเริ่มเตรียมการพัฒนาแผนและพัฒนาแผนการจัดการแล้ว(ระยะ1-2) เพื่อผลักดันMSP ลงไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ขณะที่ประเทศไทยมีการดำเนินงานผ่านโครงการนำร่องMSP (Flagship Project) ประจำปีงบประมาณ2564 มีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยดำเนินโครงการMSP ในพื้นที่นำร่องสามแห่ง ได้แก่ เกาะล้าน และเกาะสีซัง จังหวัดชลบุรี (ระยะ2) และพื้นที่อ่าวพังงา(จังหวัดพังงา กระบี่และภูเก็ต) (ระยะ1)

    แรงขับเคลื่อน MSP จำแนกได้  17 ประเด็น เมื่อพิจารณาภาพรวมในระดับสากล แรงขับเคลื่อนMSP ที่กล่าวถึงมากที่สุดสามอันดับแรก คือ ความกังวลด้านการอนุรักษ์ (21.2%) ความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (18.4%) และความขัดแย้งระหว่างการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (16.0%) ตามลำดับ ขณะที่แรงขับเคลื่อนสำคัญของประเทศไทยที่กล่าวถึงมากที่สุดสามอันดับแรก คือ ความกังวลด้านการอนุรักษ์ (28.9) ความชัดแย้งการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (23.7%) และนโยบายและภาระผูกพันด้านกฎหมาย (23.7%) ตามลำดับ

    3) ปัจจัยทีส่งผลต่อความสำเร็จของMSP: ประเทศที่นำMSP ไปประยุกต์ใช้และมีความก้าวหน้าหรือมีความสำเร็จ  มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ คือ การมีข้อมูลที่ดีบนฐานทางวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบในการจัดการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมที่มีความหมาย จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายและต่อเนื่อง และที่สำคัญคือการมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบและกฎหมายที่ชัดเจนและเข้มแข็ง ในขณะที่ประเทศซึ่งกำลังเริ่มพัฒนาแผนMSP ของตน ในที่นี้หมายรวมถึงประเทศไทยด้วย ยังต้องพิจารณาปรับปรุง/แก้ไขในหลายปัจจัยทั้งปัจจัยข้อมูลและโปรแกรมประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ศักยภาพและความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ต่อMSP กฎหมายที่สนับสนุนMSP งบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง นโยบายเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

    4) ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนMSP สำหรับประเทศไทย มี7 ประเด็น ได้แก่:

    (1) การมีนโยบายเชิงปฏิบัติที่ชัดเจน (2) ความชัดเจนของหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่เกี่ยวข้องกับMSP (3) การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (4) ความยั่งยืนและเพียงพอทางการเงิน (5) ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ การเข้าถึงข้อมูลและการจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ทางทะเลในภาพรวมของประเทศ (6) การบูรณาการ (7) กระบวนการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    1. การนำเสนอปากเปล่า ในการประชุมเผยแพร่ผลงาน/สัมมนาระดับชาติ: 

    1.1 หัวข้อ “การทบทวนสถานภาพการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลในระดับสากล” สำหรับการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 7 พ.ศ.2565 ภายใต้หัวข้อ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อทะเลที่ยั่งยืน วันที่ 6 กันยายน 2565 (จัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง, แหล่งอ้างอิงhttps://drive.google.com/drive/folders/1ci-SrvQiJQ4ARzC2UKJlpmw4yl_BcZ6C?fbclid=IwAR2sncyz2y2CmOkY3Gjve8mEOnmlg4Bqd8E_ianExvubw8o2OKteosFHZ3A)

    1.2 หัวข้อ “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลคืออะไร และประยุกต์สู่การปฏิบัติได้อย่างไร” สำหรับการสัมมนาเชิงวิชาการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเลตามแนวทางการจัดการแบบองค์รวม วันที่27 กุมภาพันธ์2566 (จัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), แหล่งอ้างอิงhttps://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=6779&lang=TH)

    2. การนำเสนอปากเปล่า ในการประชุมเผยแพร่ผลงาน/สัมมนาระดับนานาชาติ:

    หัวข้อ “MSP Enabling Conditions and Recommendations from Asia's Perspective” ในงานRegional Forum for Accelerating Marine Spatial Planning in the Western Pacific วันที่16 ธันวาคม2565 (จัดโดยThe Intergovernmental Oceanographic Commission of UNESCO, แหล่งอ้างอิงhttps://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000384990)

    3. การถ่ายทอดองค์ความรู้:

    3.1 หัวข้อการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่” โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล" ในช่วงวันที่31 กรกฎาคม -5 สิงหาคม2565 ณ โรงแรมเอราวัณพังงา ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา และช่วงวันที่ 12 - 16 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมนิภา การ์เด้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี (จัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, แหล่งอ้างอิงhttps://www.dmcr.go.th/detailAll/60809/nws/257 และ https://dmcrth.dmcr.go.th/omcrc/detail/17750/)

    3.2 หัวข้อ “การวางแผนการใช้พื้นที่ทะเล (Marine Spatial Planning : MSP)”  ในการอบรมหลักสูตรการคุ้มครองและจัดการทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทย วันที่25 พฤษภาคม2566

    (จัดโดยศูนย์ฝึกอบรมสถาบันมหาสมุทรระหว่างประเทศประจำประเทศไทย (IOI Thailand) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, แหล่งอ้างอิงhttps://www.ioinst.org/ioi-ocean-academy-1/thailand/)

    3.3 แลกเปลี่ยนประสบการณ์เขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และโครงการวิจัยเรื่อง “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่”  ในงานการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567 วันที่ 24 มิถุนายน2566 (จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ,  แหล่งอ้างอิงhttps://www.nrct.go.th/news/การชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ-วช-ประจำปีงบประมาณ-2567)

     

    ผลงานตีพิมพ์-

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    เป็นโครงการวิจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศไทย เพราะมีการนำหลักการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล (Marine Spatial Planning: MSP) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างมั่นคงและยั่งยืน รักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลไปพร้อมกับการพัฒนาของภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน:

    -          (การศึกษาในระดับพื้นที่มีแผนจะดำเนินงานต่อในปีที่ 2)

     

    ระดับประเทศ:

    ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 4 ด้าน ได้แก่

    ด้านนโยบาย:  กำหนดทิศทางและขับเคลื่อน MSP ในระยะยาว และผลักดันให้เกิดการบรรลุSDGs โดยการดำเนินการตามMSP ที่เป็นรูปธรรมสามารถช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่ 14 และเป้าหมายอื่น ๆ ที่สอดคล้อง เช่น เป้าหมายที่ 3 และ 8

    ด้านวิชาการ:สร้างองค์ความรู้ MSP สำหรับนักวิชาการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

    ด้านสังคม: ช่วยลดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล ลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนในสังคม

    ด้านเศรษฐกิจ: เพิ่มโอกาสให้ไทยได้พัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเลให้เป็นBlue Economy และเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีความยั่งยืนต่อไป

     

    ระดับโลก:

        -

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    14

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    3, 8

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    การวิจัย MSP จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ และเอื้อให้เกิดการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในทะเลไทยให้มีความสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    ·        คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ·        Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

    ·        คณะอนุกรรมการจัดทำการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทย และคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (อจชล.) เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ผ่านคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.)

    ·        หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ เช่น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมการท่องเที่ยว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด  ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลระดับจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค คณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด  และคณะกรรมการประมงจังหวัด

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    14.5.3

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.