• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    เดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2563

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ

    บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

    วัตถุประสงค์:

    มุ่งเน้นให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ ฝึกทักษะ การมีจิตสาธารณะ คิดเป็น ทำเป็น มีเหตุมีผล และรู้จักการคิดวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ปลูกฝังเยาวชนให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มุ่งหวังว่าเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตจะเป็นกลุ่มผู้นำที่จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับส่งต่อไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชน และสังคม

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เป็นการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนรูปแบบ Hybrid คือ มีวิธีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการแบบออนไลน์ และมีการศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนในพื้นที่จริง จ.เพชรบุรี

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    นักเรียนสายวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 จากโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ

    จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    729 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคมให้ได้รับทราบถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดไป

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

    http://www.powergreencamp.com/

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    12,13

     

     

     

  • ผลของสารอินทรีย์ปริมาณสูงในน้ำเสียโรงงานขนมจีนต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของหญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร

    Influence of High Organic Substances Concentrations in Fermented Rice Noodle (Khanomjeen) Factory Wastewater on Efficiency Wastewater Treatment of Vetiveria Zizanioides Nash. and Cyperus Corymbosus Rottb.

    Dr. Chitsanuphong Pratum, Phone: 0 2441 5000 ext.2132, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    Figure 1 Batch - flow wastewater treatment system

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลของสารอินทรีย์ปริมาณสูงในน้ำเสียโรงงานขนมจีนต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของพืชบำบัดน้ำเสีย (หญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร) โดยการทดลองบำบัดน้ำเสียในหน่วยทดลองขนาดเล็ก ซึ่งทำการขังแช่น้ำเสียเป็นเวลา 5 วัน และพักให้แห้งเป็นเวลา 2 วัน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียว และการบำบัดน้ำเสียโดยใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย ผลการทดลองเผยให้เห็นว่า สารอินทรีย์ปริมาณสูง (แสดงในรูปของปริมาณซีโอดี) ที่ 3,669.70 ± 134.50 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลกระทบอย่างมากกับประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของทั้งหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียวและหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย หน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียวสามารถลดซีโอดีได้ที่ 121.65 ± 43.45 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบแรกของการบำบัด (7 วัน) ในส่วนของหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย หญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร สามารถลดซีโอดีได้ที่ 140.63 ± 14.06 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบที่ 4 ของการบำบัด (28 วัน) และ128.65 ± 0.00 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบที่ 3 ของการบำบัด (21 วัน) ตามลำดับ โดยซีโอดีจากน้ำทิ้งที่ได้เกินกว่า 120 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด จากหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย พบว่า หญ้าแฝกหอมมีประสิทธิภาพในการบำบัดดีกว่ากกกลมจันทบูร โดยพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 จากการทดลองทั้งหมดทำให้ทราบว่าพืชบำบัดน้ำเสียมีความทนทานต่อสารอินทรีย์ปริมาณสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของการทดลองเท่านั้น โดยประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียจะลดลงตามระยะการบำบัด ดังนั้นผลทดลองจากการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตขนมจีนต่อไปได้

    The purpose of this study was to determine the influence of high organic substances with concentrations in fermented rice noodle (Khanomjeen) factory wastewater on the efficiency wastewater treatment of plants (Vetiveria zizanioides Nash. and Cyperus corymbosus Rottb.). Addition, The continuous flow condition and 5-days stagnation and 2-days releasing condition experiments were performed in the bath – flow wastewater treatment system. This study was divided into 2 parts namely; wastewater treatment by use of grown materials (GMs) only and wastewater treatment by use of grown materials combining with plants (GPs). The results revealed that high concentrations of organic substances (show in form of chemical oxygen demand; COD) at 3.669.70 ± 134.50 mg/L have more effect with efficiency wastewater treatment of GMs and GPs. The GMs could be reduced COD to 121.65 ± 43.45 mg/l at the 1 week-cycle (7 days). In part of GPs, Vetiveria zizanioides Nash. and Cyperus corymbosus Rottb. could be reduced COD to 140.63 ± 14.06 mg/l at the 4 week-cycles (28 days) and 128.65 ± 0.00 mg/l at the 3 week-cycles (21 days), respectively. The COD of effluent exceeded 120 mg/l which the limitation COD value of the Department of industrial works. From GPs experiment units, Vetiveria zizanioides Nash. has higher treatment efficiency than Cyperus corymbosus Rottb., which the statistically significant difference was detected with the p value < 0.05. In conclusion, plants had tolerance to high concentration of organic substances for a short duration of the experiment only. The effectiveness of wastewater treatment will decreased following the period of treatment cycles. Therefore, the results of these studies could be considered to apply for fermented rice noodle (Khanomjeen) factory wastewater treatment.

  • Research title: Mangrove Ecosystem-Sea Level-Societal Relationships in the upper Gulf of Thailand during the Holocene: Past Perspectives for Future Sea level Rise Mitigation and Adaptation

    Researcher name: Lect. Dr. Paramita Punwong

    water dispenser

    Figure 1. A type of water dispenser was used in the area of the Mahidol University, Salaya Campus, Thailand.

    Coastal habitats, a dynamic environment of key socio-economic importance, comprise biologically diverse ecosystems including mangroves. The mangrove ecosystems, like other coastal habitats, are subjected to sea level fluctuations. In this project mangrove environments are investigated and used to unravel the last 1000-year mangrove dynamics, environmental history and anthropogenic activities of the upper Gulf of Thailand coast. A multiproxy record including pollen, charcoal, loss on ignition and particle size analysis performed on three radiocarbon dated sediment cores taken from two mangrove locations (Klong Kone, Samut Prakan and Bangkhuntien, Bangkok). The results showed that mangroves are dominated by Rhizophora in both areas that indicates these areas have been influenced by sea level from at least 1100 cal B.P. until 700 cal B.P. An intertidal area may have formed that supported mangrove development and may form a part of a palaeo-shoreline in the upper Gulf of Thailand during this period. After 700 cal B.P., mangroves decreased and were replaced by grasses suggesting a lower sea level causing mangroves to retreat seaward until around 200-100 cal B.P. Moreover, cereal pollen increased from around 700 cal B.P. suggesting probable use of the shoreline for human settlement and intensive cultivation. These mangroves were characterised by Avicennia re-colonised toward the top of the three cores, suggesting mangroves retreated landward probably due to recent sea-level rise. Human activity is recorded during the last century in both areas. In addition, the recent sea level rise rate is higher than the past maximum rate of sea level change that mangroves could withstand in the upper Gulf of Thailand. Mangroves in these areas are therefore likely to be vulnerable to sea level rise which management is needed.

    ความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศ ระดับน้ำทะเล และสังคมในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนช่วงสมัยโฮโลซีน: เข้าใจอดีตเพื่อการปรับตัวรับกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคต

    ถิ่นที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งประกอบด้วยระบบนิเวศน์ต่างๆมากมาย รวมทั้งป่าชายเลน ระบบนิเวศน์ป่าชายเลนซึ่งก็เหมือนกันระบบนิเวศน์ชายฝั่งอื่นๆที่มีจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาป่าชายเลนเพื่อใช้ในการจำลองสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนในช่วง 1000 ปีที่ผ่านมา โดยอาศัยการศึกษาจากการวิเคราะห์เรณู ถ่านไม้ มลทินที่หายไปหลังการเผา และขนาดของตะกอนในตะกอนป่าชายเลนจากคลองโคน สมุทรสงครามและบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ซึ่งใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพืชพรรณของป่าชายเลน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และกิจกรรมมนุษย์ ผลจากการศึกษาพบว่าป่าชายเลนซึ่งมีโกงกางเป็นไม้เด่น ได้เข้าครอบครองพื้นที่ทั้งในคลองโคนและบางขุนเทียนซึ่งบ่งบอกว่าพื้นที่เหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลทั้งแต่ 1100 – 700 ปีก่อนปัจจุบัน ในช่วงเวลาดังกล่าว พื้นที่เขตชายฝั่งทะเลเหล่านี้เกิดขึ้นและน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของชายฝั่งโบราณของอ่าวไทยซึ่งเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการเจริญของพืชพรรณป่าชายเลน หลังจากนั้นจนถึงช่วง 200-100 ปีก่อนปัจจุบัน พืชพรรณป่าชายเลนลดลงและถูกแทนที่ด้วยพืชจำพวกหญ้า ซึ่งบ่งบอกถึงการถดถอยของระดับน้ำทะเลและทำให้ป่าชายเลนถอยร่นไปยังชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ในช่วง 700 ปีก่อนปัจจุบัน เรณูของธัญพืชได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นซึ่งน่าจะชี้ให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และการเกษตรกรรม ป่าชายเลนได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะพืชจำพวกแสมในช่วงบนของตะกอนบ่งบอกถึงการถอยร่นเข้าไปยังแผ่นดินของป่าชายเลนซึ่งน่าจะเกิดจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปัจจุบัน ทั้งนี้ในช่วง 100 ปีสุดท้ายได้มีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงกิจกรรมมนุษย์ในพื้นที่เหล่านี้ด้วย นอกจากนี้อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลปัจจุบันในอ่าวไทยตอนบนนั้นมีค่ามากกว่าอัตราที่สูงที่สุดที่ป่าชายเลนยังคงอยู่ได้ในอดีต ดังนั้นป่าชายเลนในพื้นที่เหล่านี้มีความเป็นไปได้ว่าจะมีความเปราะบางต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจึงต้องมีการจัดการพื้นที่ป่าชายเลนเหล่านี้ในอนาคต

  • Project Title:Plant materials for extensive green roof to conserve energy and reduce carbon footprint : วัสดุพืชพรรณสำหรับสวนดาดฟ้าบำรุงรักษาต่ำเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

    Research Title:Co-benefits of extensive green roof for saving electricity and mitigating greenhouse gases emission

    Researcher(s):Dr.Boonlue Kachenchart and Asst.Prof.Dr.Gunn Panprayun

    Affiliation:Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):

    The extensive green roof is an alternative method for conserving energy in large building.However, the database of plant materials for reducing heat convection from top roof with and without plants is inadequate.

    The objective of this research is to identify the suitable plant materials for extensive green roof to conserve energy and reduce carbon footprint.There were 4 treatments including 1)top roof with plants, 2)with only substrates, 3)with synthetic fiber and water drainage sheets, and 4)without anything (control).

    The results showed that the plant plots had roof surface temperature lower than the control unplanted plots at the range of 2.76 ºC – 12.23 ºC and reduced the heat that could transfer to the building by 20.98-83.73%.Thus, the plant plots could reduce electrical energy use by reducing the load of air condition by 0.1997 kW h/m2/day and saving the electricity cost by 0.69 baht/m2/day.

    The carbon dioxide removal efficiency of the roof garden was 0.04-3.01 0.04 kg CO2/m2.When combined with the reduction of indirect greenhouse gas emission via electricity reduction, the roof garden reduced the total greenhouse gas emission at 5.19-28.4639 kg CO2eq/m2/year depending on plant materials.

    When considered the ability to reduce the transferred heat from roof to building, the survival rates and growth under extreme weather and low maintenance condition, and the rates of greenhouse gas mitigation and removal, the most suitable plant materials for a low maintenance roof garden were Dracaena cochinchinensis, Santisukia kerrii, Dracaera KawcesakiiCodiaeum variegatum(L.)and Convolvulus mauritianus Boiss.The first three plant materials were originated from Krast topography.

    In conclusion, the surface temperature of roof with plants was significantly lower than the naked concrete roof.However, the efficiency of each plants was varied due to the physiological characteristics such as leaf area, form, and canopy layer.These characteristics influences the capacities of each plant on heat absorption and heat reduction via evaporative cooling effect.

    Key Contact Person:

    Dr.Boonlue Kachenchart Tel 02-441-5000 ต่อ 1219email:boonlue.kac@mahidol.ac.th

  • การจัดการความรู้การทำนาแปลงใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ

    (Knowledge management of large scale agriculture for public policy)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12

    ชื่องานวิจัย:

    การจัดการความรู้การทำนาแปลงใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ (Knowledge management of large scale agriculture for public policy)

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้วิจัย:

    รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

    ที่มาและความสำคัญ:

    ปัจจุบันในระดับประเทศยังไม่พบการประเมินประสิทธิภาพของการทำนาแปลงใหญ่เปรียบเทียบการทำนาแบบรายย่อยโดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณ เช่น ความแตกต่างด้านต้นทุน และผลตอบแทนของเกษตรกร ความต้องการใช้น้ำ ความต้องการใช้พลังงาน และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยจึงมุ่งศึกษาตลอดห่วงโซ่การทำนาแปลงใหญ่ ครอบคลุมตลอดโครงสร้างการจัดการนาแปลงใหญ่ ตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงกลุ่มเกษตรกร

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    มีการศึกษา 3 ขั้นตอนได้แก่ ประเมินวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ประเมินต้นทุน-ผลตอบแทน และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน พื้นที่ศึกษาครอบคลุม พื้นที่ทำนาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้  

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อรวบรวมและถอดองค์ความรู้ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ และจัดทำคู่มือสรุปองค์ความรู้การจัดการนาแปลงใหญ่แบบครบวงจร และการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    -

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานด้านการพัฒนาที่ดิน หน่วยงานด้านการส่งเสริมการเกษตร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ระดับประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    ผลงานวิจัยมีคู่มือสรุปองค์ความรู้การจัดการนาแปลงใหญ่ และการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ โดยเป็นต้นแบบการจัดการความรู้กลุ่มเกษตรกร ที่ทำนาแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาล มีการต่อยอดสู่ระดับประเทศ เพื่อผลักดันแนวคิดการทำนาแปลงใหญ่ที่ก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการทำนาอย่างมีประสิทธิภาพ (30 กันยายน 2562)

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    http://www.thai-explore.net/search_detail/result/8103

    รูปภาพประกอบ:

     

    Knowledge management of large scale agriculture for public policy

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    13  15

  • การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

    (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12

    ชื่องานวิจัย:

    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้วิจัย:

    อ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

    ที่มาและความสำคัญ:

    เพื่อให้มีการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ในการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    รวบรวมและและจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการคัดพันธุ์ข้าว วิเคราะห์กระบวนการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer ที่มีการจัดการพันธุ์ข้าวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ  

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกลุ่มคัดเลือกและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดยโสธร และจังหวัดพัทลุง

     ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร อปท. และเกษตรกรในพื้นที่

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ ทั้งระดับนโยบาย (รัฐบาล) ระดับผู้บริหาร (หน่วยงานรับผิดชอบ) และระดับผู้ปฎิบัติ (ข้าราชการ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป) โดยผ่านช่องทางการกระจายความรู้/สื่อระหว่างการวิจัย เช่น สื่อออนไลน์  สร้างเครือข่าย Young Smart Farmer สื่อสังคมออนไลน์  และการประชุมเชิงปฏิบัติการ อบรม ศึกษาดูงาน เพื่อให้เกิดการใช้ แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (31 มีนาคม 2563)  

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    http://www.thai-explore.net/search_detail/result/9555

    รูปภาพประกอบ:

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    13 15

  • Project Title: Holocene mangrove dynamics, environmental and human interactions with sea level changes along the eastern Gulf of Thailand

    Research Title: Mangrove dynamics and environmental changes on Koh Chang, Thailand during the last millennium.

    ปฏิสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงป่าชายเลน สิ่งแวดล้อม และมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลตามแนวทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออกในสมัยโฮโลซีน

    Researcher(s): Apichaya Englong, Paramita Punwong, Katherine Selby, Rob Marchant, Paweena Traiperm, Nathsuda Pumijumnong
    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):
    This study aims to investigate how mangrove ecosystems in this area have responded to sea level and anthropogenic changes in mainland and island coasts along the eastern Gulf of Thailand during the Holocene. This achieved through pollen and charcoal analyses that will be combined with, geochemistry, including loss on Ignition to establish organic and inorganic carbon to inform about sedimentary sources and deposition. These combined data will be used to disentangle environmental changes, mangrove ecosystem response and human impacts to the areas.

    A 1500-year record of mangrove dynamics has been established from palaeoecological analyses on three cores from Salak Phet Bay, Koh Chang island in the eastern Gulf of Thailand. The occurrence of Rhizophora, accompanied by other mangrove species, suggested that Salak Phet Bay supported a mangrove community from at least 1500 cal yr BP. From 1500 cal yr BP the mangrove extent decreased indicating less inundation frequency, possibly in response to a sea-level fall until 1300 cal yr BP. Following this regression, sea-level rise resulted in an increased presence of mangrove taxa until 500 cal yr BP. The study documents that Salak Phet Bay was characterised by relatively low saline conditions based on the occurrence of the moist-loving species (Oncosperma) around 1500-500 cal yr BP. After 500 cal yr BP mangrove taxa gradually decreased and terrestrial herbaceous taxa, mainly grasses, increased suggesting that the frequency of marine inundation was reduced as sea level fell. Drier conditions were also recorded by an increase in terrestrial grasses and a decrease in Oncosperma after 500 cal yr BP. In the uppermost sediments the increased presence of Rhizophora is probably associated with recent global sea-level rise although changes in mangrove composition are possibly related to human activities within Koh Chang. The sedimentation rate and the mangrove migration at Koh Chang have kept pace over the past 1500 years but this may be challenged under predicted future rapid sea-level rise as accommodation space for mangroves to migrate inland is required to maintain viable mangrove forests.

    Holocene mangrove dynamicsHolocene mangrove dynamics

    Holocene mangrove dynamics

    Award Grant Related to the Project (if any): -

    Intellectual Property Rights (if any): -

    Applied Research Project to Usage (if any): -

    Publishing: Englong, A., Punwong, P., Selby, K., Marchant, R., Traiperm, P., & Pumijumnong, N. 2019. Mangrove dynamics and environmental changes on Koh Chang, Thailand during the last millennium. Quaternary International 500, 128-138

    Key Contact Person: Dr.Paramita Punwong, Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University, Salaya, Nakhon Pathom, 73170, Thailand. E-mail address: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • การจัดการเขตพื้นที่ปลูกข้าวและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย: ทางเลือกและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

    (Management of Paddy Fields and Climate Change in Thailand: Alternative and managed Effectively)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12

    ชื่องานวิจัย:

    การจัดการเขตพื้นที่ปลูกข้าวและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย: ทางเลือกและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ (Management of Paddy Fields and Climate Change in Thailand: Alternative and managed Effectively)

    ชื่อผู้วิจัย:

    รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ที่มาและความสำคัญ:

    ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีรากฐานสำคัญจากภาคเกษตรกรรมแต่ในขณะเดียวกันเกษตรกรกลับประสบปัญหาด้านการผลิตสินค้าเกษตรและการตลาดมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย เนื่องจากภัยธรรมชาติ (ภัยแล้ง และน้ำท่วม) การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม และผลผลิตทางเกษตรล้นตลาด เนื่องจากเกษตรกรผลิตมากเกินไป ส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำ นอกจากนี้ ปัญหาการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร และความท้าทายจากภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    พื้นที่ศึกษาครอบคลุม 3 ภาคคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดบุรีรัมย์ ภาคกลางจังหวัดชัยนาทและจังหวัดสุพรรณบุรี และภาคเหนือตอนล่างได้แก่จังหวัดพิจิตรและจังหวัดนครสวรรค์

    วัตถุประสงค์:

    1) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ของพื้นที่ปลูกข้าว

    2) เพื่อคาดการณ์ผลผลิตข้าวในอนาคตภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละชั้นข้อมูลความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว

    3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐในรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรไทย (31 มกราคม 2563)

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    กรมพัฒนาที่ดิน

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    เกษตรกร

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    ผลงานวิจัยเป็น การแบ่งพื้นที่ปลูกข้าว (Zoning) ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการลงทุนด้านวัตถุดิบ แรงงาน การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    -

    รูปภาพประกอบ:

     

    Management of Paddy Fields and Climate Change in Thailand: Alternative and managed Effectively

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    13,15

  • Comparison of GHG emissions and farmers' profit of large-scale and individual farming in rice production across four regions of Thailand

    Assoc.Prof. Dr. Nathsuda Pumijumnong

    Asst.Prof.Noppol Arunrat

    Asst.Prof.Sukanya Sereenonchai

     

    Source: Journal of Cleaner Production Volume 278, 1 January 2021, 123945 

    Full paper : https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0959652620339901

  • ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    (Water Security and Balance in Lower Part of Mae nam Phetchaburi Subbasin)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    6

    ชื่องานวิจัย:

    ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง (Water Security and Balance in Lower Part of Mae nam Phetchaburi Subbasin)

    ชื่อผู้วิจัย:

    รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ

    คณะ:

    ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพายากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ที่มาและความสำคัญ:

    ลุ่มน้ำเพชรบุรีมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี พ.ศ.2545-2552 พบพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ป่าไม้ลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณน้ำท่าและความสมดุลน้ำ รวมไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการของระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ การวิจัยเพื่อการประเมินความสมดุลน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ จะทำให้การใช้ทรัพยากรน้ำ รวมถึงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นไปอย่างยั่งยืนและมั่นคง

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    ศึกษาวิจัยความมั่นคงด้านน้ำ และมูลค่าการให้บริการของระบบนิเวศ ที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน รวมทั้งการประเมินทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อจำแนกและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประเมินความสมดุลน้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และประเมินความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงในพื้นที่ กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม และด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ (1 มกราคม 2563)

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    https://drive.google.com/drive/folders/1uwuld_Ao19L8nox3KQKRQ6Rv9AMTu3iT

    รูปภาพประกอบ:

    ความมั่นคงด้านน้ำ
    ความมั่นคงด้านน้ำ

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    SDG13 SDG15
  • เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (The Development of Household Organic Waste Digester  for Environmental Sustainability) 

    อ.ดร.นรินทร์ บุญตานนท์

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Solar Powered Boat to Promote Sustainable Tourism Policy)

     

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันต์ ปานประยูร

    ผู้ดำเนินการร่วม

    - องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 3

    - กลุ่มอนุรักษ์ปะการังเกาะหมาก (ชุมชนชายฝั่ง ตาม พรบ. ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558)

     

    คำอธิบาย

    การถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับ อพท. และชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก เพื่อใช้เป็นเครื่องมือจัดการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ปะการัง เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของเรือยนต์ โดยปราศจากการปลดปล่อยคาร์บอน การปนเปื้อนเขม่าจากการเผาไหม้ลงสู่แนวปะการัง และส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    เกาะหมากเป็นพื้นที่ต้นแบบขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ในการยกระดับพื้นที่เกาะหมากเข้าสู่มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) โดยขับเคลื่อนร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก ผู้ประกอบการโรงแรม/รีสอร์ท ชาวบ้าน/ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเกาะหมากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการขนส่งและการท่องเที่ยวด้วยเรือยนต์ โดยเมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้แล้วจะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศส่งผลต่อการเกิดภาวะเรือนกระจก รวมถึงคราบเขม่าและคราบน้ำมันที่ตกลงสู่ทะเลจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและปะการัง

    การลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการท่องเที่ยว จึงเป็นอีกแนวทางที่สำคัญในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงเป็นกลไกผลักดันเกาะหมากเข้าสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  โดยเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ให้กับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประชาคมเกาะหมาก และสร้างแผนยุทธศาสตร์และแผนการนำเทคโนโลยีเรือพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป

    การดำเนินการ

    1) ต่อเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แสดงขั้นตอนการทำงาน ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย

    2) จัดกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อพท. และชุมชนชายฝั่ง

    ผลการดำเนินงาน
    โครงการเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้ทำการสร้างเรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบคาตามารานขนาดยาว 7.5 เมตร กว้าง 3.5 เมตร ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 2.4 kWp ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ PMSM ขนาด 4 kW จำนวน 2 เครื่อง ส่วนผลจากการทดสอบวิ่งในเส้นทางอ่าวนิด-เกาะขายหัวเราะ มีระยะทาง 8.15 กิโลเมตร รวมทั้งการเข้าออกท่าเรือ และการบังคับเรือไปตามแนวสภาพร่องน้ำของเกาะในสภาพมีคลื่นลมเล็กน้อยถึงปานกลาง พบว่า เรือมีการตอบสนองต่อการขับเคลื่อนที่ดีในเกณฑ์ปกติ มีสมดุลดี ผู้โดยสารยังสามารถเดินไปมายังส่วนต่าง ๆ ทำกิจกรรมได้ในช่วงการทดสอบ เรือสามารถทำความเร็วสูงสุดในการเดินทางได้ 8.33 km/h มีความเร็วเฉลี่ย 6.26 km/h ใช้พลังงานไฟฟ้า 2.54 kWh ใช้กำลังมอเตอร์เฉลี่ยที่ 1.89 kW มีค่าความเข้มแสงเฉลี่ย 405.97 W/m2 ค่า insolation 6.97 kWh ประจุแบตเตอรี่ได้ 1.31 kWh ระบบมีประสิทธิภาพ 18.80% เรือสามารถวิ่งต่อเนื่องโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวได้ 5 ชั่วโมง 45 นาที และเดินทางได้ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร ครอบคลุมเส้นทางท่องเที่ยวทั่วไปของเกาะหมาก

    สำหรับการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบาย สัมมนาเชิงปฏิบัติการ สร้างแผน ยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดทางเลือกแผนการบริการเชิงพื้นที่การนำเรือไปประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติเพื่อส่งเสริม นโยบายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนองค์กรภาครัฐ หน่วยงานกำกับ และผู้มีส่วนได้เสียกับการพัฒนาพื้นที่ ด้วยประชาคมเกาะหมากต้องการพัฒนาการท่องเที่ยว แบบ Low carbon เพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จากการวิเคราะห์ทางเลือกยุทธศาสตร์ 4 ทางเลือก สรุปได้ว่าทางเลือกที่เหมาะสม คือ ทางเลือกยุทธศาสตร์ที่ 4: B2 “การท่องเที่ยววิถีชุมชนคาร์บอนต่ำ (Local Autonomous Low-carbon Tourism)”


    การพัฒนาแนวทางการยกระดับขีดความสามารถการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะหมาก ภายใต้เงื่อนไขทัศนภาพ B2 มีเป้าหมายคือ “ลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนของเกาะหมาก” เมื่อเทียบกับข้อมูลการปลดปล่อยคาร์บอนของเกาะหมากในปี 2555 โดยมีแนวทางในการที่จะบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้


    1. แนวทางด้านสังคม: 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในมิติที่ครอบคลุม 2) ส่งเสริมการสร้างความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แนวคิด การดำเนินงาน ให้แก่ทุกองค์กร/ภาคส่วน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมุ่งสู่การลดการปลดปล่อยคาร์บอน


    2. แนวทางด้านเทคโนโลยี: 1) พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนลและผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะช่วยสร้างแหล่งเพาะปลูก เพาะเลี้ยง ตลอดจนตลาดซื้อ ขาย-แลกเปลี่ยน สินค้าอาหารสดพืชผักที่ผลิตบนเกาะหมากเอง ลดปริมาณคาร์บอนจากการขนส่งข้ามทะเล
    2) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการคมนาคมภายในบริเวณเกาะ และพื้นที่ชายฝั่ง เป็นยานพาหนะที่มีการปลดปล่อย คาร์บอนต่ำ เช่น การใช้รถไฟฟ้า มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า 3) การพึ่งพาตนเองทางด้านพลังงาน เช่น สนับสนุนโครงการไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิต biodiesel จากน้ำมันพืชใช้แล้ว 4) พัฒนาระบบจัดการของเสียที่เหมาะสม เช่น การคัดแยกขยะ บำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะ เพื่อลดการปลดปล่อยมีเทน มาตรการลดการใช้ขวดแก้วซึ่งมีน้ำหนักมาก มูลค่าต่ำ ไม่คุ้มค่าในการนำกลับไปกำจัดที่ฝั่ง


    3.แนวทางด้านสิ่งแวดล้อม: 1) ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์แหล่งกักเก็บคาร์บอน เช่น การอนุรักษ์ป่าสนับสนุนทุ่นจอดเรือเพื่ออนุรักษ์แนวปะการัง อนุรักษ์พื้นที่หญ้าทะเล 2) ส่งเสริมกิจกรรมฟื้นฟู และเพิ่มเติม แหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติ เช่น กิจกรรมปลูกปะการัง ปลูกหญ้าทะเล 3) ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 3.1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการปกป้องแนวปะการัง เช่น ฐานทุ่นซีเมนต์ ทุ่นผูกเรือ ทุ่นไข่ปลา 3.2) ส่งเสริมมาตรฐานต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Green hotel เมนูอาหาร low carbon สนับสนุนเกณฑ์การท่องเที่ยวยั่งยืนโลก


    4. แนวทางด้านเศรษฐศาสตร์: 1) การสร้างความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยวและส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ 1.1) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ low carbon เช่น เรือใบ เรือไฟฟ้า 1.2) พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การดำน้ำ การล่องเรือ การปลูกหญ้าทะเล การปลูกปะการัง ด้วยเรือใบ เรือไฟฟ้า


    5. แนวทางด้านการจัดการ (นโยบาย และการเมือง): 1) สร้างแผนยุทธศาสตร์สำหรับการท่องเที่ยวยั่งยืนของเกาะหมาก 2) พัฒนาปรับปรุงกฎระเบียบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการใช้ยานพาหนะทางทะเล โดยใช้กระบวนการบริหารจัดการของ พรบ. ส่งเสริมการบริหารจัดการ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 เช่น สนับสนุนการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าในการดำเนินกิจกรรมทางทะเล เครื่องมือ กลไก การดำเนินงาน ได้แก่ เครื่องมือ กลไก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของเกาะหมากแบ่งเป็น
    - เชิงนโยบาย ได้แก่ 1) การออกกฎกระทรวงให้บริเวณทะเล ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูดเป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ... ตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ซึ่งชุมชนสามารถมีส่วนร่วมเสนอข้อห้ามต่าง ๆ ไว้ในกฎกระทรวงได้ เช่น การห้ามทำประมงในเขตแนวปะการัง หรือห้ามเรือประมงพาณิชย์เข้ามาทำประมงภายใน อาณาเขตทางทะเลของเกาะหมาก หรือห้ามไม่ให้มีกิจกรรมสันทนาการด้วยเรือยนต์ เจ็ทสกีภายในแนวปะการัง เป็นต้น
    - เชิงการจัดการ ได้แก่ 1) การสร้างมาตรการจูงใจ เช่น การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดประกวดรีสอร์ท low carbon 2) จัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ภาคเอกชนในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
    การนำไปใช้ประโยชน์
    1) การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องเทคโนโลยีเรือไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายเพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์ โดยมี ตัวแทนองค์กรภาครัฐ หน่วยงานกำกับ และผู้มีส่วนได้เสียกับการพัฒนาพื้นที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 30 คน
    2) มีการพัฒนายุทธศาสตร์ “การท่องเที่ยววิถีชุมชนคาร์บอนต่ำ (Local Autonomous Low-carbon Tourism)” ให้แก่ ชุมชน โดยเสนอเครื่องมือและกลไกทั้งในเชิงการบริหารจัดการและเชิงนโยบายเพื่อเป็นแผนแม่บท (Master Plan) ซึ่งเป็นแผนที่เกิดจากการรวมแผนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกัน

    อยู่ระหว่างจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

    Abstract
    The Solar Powered Boat to Promote Sustainable Tourism Policy project aims to transfer solar-powered boat technology to the Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization) and Koh Mak community and to create a strategic plan and plan for utilizing solar-powered boat technology to promote sustainable tourism policy. The solar-powered catamaran size 7.5 m x 3.5 m was built and installed a 2.4 kWp solar power generation system. The boat can be continuously operated, powered by a battery for 5:45 hours with 35 km of distance, covering the general tourist routes of Koh Mak. The workshop was organized to transfer solar-powered boat technology to the target group, the activity also included local policy development process. The solar-powered boat technology was an activity under the strategy of transition to electric vehicles to reduce CO2 emissions. The analysis of four strategic alternatives found that the appropriate strategic alternative was strategic alternative 4: B2 “Local Autonomous Low-carbon Tourism”. The goal was to reduce the amount of CO2 emission of Koh Mak”, compared with the database of Koh Mak’s CO2 emissions in 2012. There were two main approaches to achieving strategic goals directly related to the transition to electric vehicles to reduce CO2 emissions of tourism. Technology approach was the modification of the transportation within the island and coastal areas to low-carbon emission vehicles, such as electric vehicles, electric motorcycles, and electric boats. Environmental approach was promoting the use of electric boats in marine activities such as corals and seagrasses plantation for sustainable tourism. The implementation of the project promoted knowledge, understanding, and success in conservation, restoration, and biodiversity enhancement to Koh Mak Coral Conservation Group. High-value tourism initiatives emerged based on social and environmental responsibility tourism. Quality tourists were impressed and needed to come back again. The tourism income of Koh Mak increased, and Koh Mak tourism developed to be quality tourism that focused on value and sustainability.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    เรือไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เป็นเรือที่ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล  ในขณะใช้งานจะช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้มากกว่าเรือยนต์ รวมถึงเรือไฟฟ้าที่เป็นระบบชาร์จอีกด้วย

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    1) ในเชิงพื้นที่: ชุมชนชายฝั่งใช้เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ และการฟื้นฟูปะการังรอบเกาะหมาก

    2) ในเชิงนโยบาย: สร้างตัวอย่างและรูปแบบการใช้งานเรือไฟฟ้าให้หน่วยงานที่มีการใช้งานเรือ เช่น ใช้เรือไฟฟ้าเข้าสู่เขตปะกะรังที่มีความอ่อนไหวในพื้นที่อุทยานฯ หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเรือไฟฟ้าในประเทศ การใช้ประโยชน์สาธารณะของ อพท. ในการส่งเสริมเกาะหมากเป็นตามเกณฑ์การท่องเที่ยวยั่งยืน และขยายผลในพื้นที่อื่น และประชาคมเกาะหมากใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่โดยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการท่องเที่ยว และสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบ Low carbon

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    7 14

     

    Key Message

    การดำเนินการกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่ง   เป็นเรือที่ไม่ใช้เชื้อเพลิง และในขณะที่ใช้งานไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอน จึงเป็นส่วน หนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    https://www.dmcr.go.th/detailAll/57918/nws/257

    https://th.postupnews.com/2022/04/nrct-solar-electric-boat.html

    https://dkmmap.nrct.go.th/dkmmap-2021/project-detail.php?pid=64-087

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

       

    Partners/Stakeholders

    - อพท.8 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)
    - สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
    - ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด
    - องค์การบริหารส่วน ตำบลเกาะหมาก
    - วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก
    - กลุ่มอนุรักษ์ปะการัง ชุมชนชายฝั่งเกาะหมาก

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    7.4.1, 7.4.4, 14.3.4, 14.5.4

  • MU-SDGs Case Study*

    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

    (Ecology and Population of Wild Elephant (Elephas maximus) in Phu Luang and Phu Khieo Wildlife Sanctuary)

    ผู้ดำเนินการหลัก*

    รองศาสตราจารย์ ดร. รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

    ส่วนงานหลัก*

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

    ผศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

    นายจิรชัย อาคะจักร

    ดร.ศรินธร ไชยรัตน์

    นางสาวศิริกรณ์ ศรีโพธิ์

    ส่วนงานร่วม

    -กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    -มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

    เนื้อหา*

              โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง704.77 ตร.กม. (27.22%)

     

              การศึกษาวิจัยเชิงสังคมด้านการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันระหว่างคนกับช้างป่า พบว่าปัญหาระหว่างคนกับช้างป่ามีมาอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรงมากขึ้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้วางแนวทางการจัดการและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การจัดการช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ และการจัดการช้างป่านอกพื้นที่อนุรักษ์ มีการจัดการต่าง ๆ เช่น การใช้รั้วผึ้ง โครงการฟื้นฟูอาหารช้าง ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า เป็นต้น แนวทางการประกันภัยพืชผล เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรที่ส่งผลต่อการประกอบอาชีพและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากช้างป่า รวมทั้งแนวทางการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างยั่งยืน โดยการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วย เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่ได้นำแผนการจัดการและแนวทางต่าง ๆ นี้ ไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและช่วยให้คนกับช้างป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ต่อไป

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

    SDG15

    เป้าประสงค์ย่อยในSDG หลัก*

    15.5, 15.7, 15.c

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    SDG13

    เป้าประสงค์ย่อยในSDG อื่นๆ

    13.3

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม*

    https://www.youtube.com/watch?v=JFCwyvbSzsY

    MU-SDGs Strategy*

    ยุทธศาสตร์ที่ 1

    Partners/Stakeholders*

    - คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม. มหิดล

    - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

    - สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย

    - อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์

    - เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี

    - องค์กรชุมชน ต. พวา อ. แก่งหางแมว จ. จันทบุรี

    ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

          

    Key Message*

    การสร้างองค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาและประชากรของช้างป่าจากสองพื้นที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการลงมือปฏิบัติจริงของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น

    ตัวชี้วัดTHE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

    15.2.3, 15.2.4 และ 13.3.3  

  • การสื่อสารเพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เผชิญปัญหาหมอกควัน

    (Communication for the coexistence of communities facing haze pollution)

    ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

    โครงการวิจัย เรื่อง การสื่อสารเพื่อการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่เผชิญปัญหาหมอกควัน ดำเนินการโดย ผศ.ดร. สุกัญญา เสรีนนท์ชัย สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 ระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 มี.ค. 2562 - 28 ก.พ. 2564 มีที่มาและความสำคัญจากการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและการเพิ่มขึ้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กเป็นวาระของจังหวัดในภาคเหนือและวาระแห่งชาติ จึงเป็นการวิจัยมุ่งพัฒนาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกันในชุมชนระหว่างคนเผาและไม่เผาซากวัสุดการเกษตร และมุ่งค้นหาวิธีการสื่อสารซึ่งพัฒนาจากวิถีชุมชนที่เป็นอยู่จริง ภายใต้แนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและถอดบทเรียนแนวทางการอยู่ร่วมกัน ปฏิบัติการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ประเมินประสิทธิภาพการสื่อสารในตำบลและความแตกต่างของคุณภาพอากาศ สังเคราะห์และเสนอรูปแบบ รวมทั้งขยายผลแนวทางการสื่อสารเพื่อการอยู่ร่วมกันของของชุมชนที่เผชิญปัญหาหมอกควันสู่พื้นที่ใกล้เคียง

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มผู้นำชุมชน/ผู้ใหญ่บ้าน หรือตัวแทนแกนนำในแต่ละหมู่บ้าน และตัวแทนจากภาคประชาสังคมและองค์กรอิสระในพื้นที่ศึกษา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกลุ่มเกษตรกรและประชาชนในระดับตำบล มีรายละเอียดวิธีการดำเนินงาน ประกอบด้วย การสำรวจบริบทชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึก สำรวจโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์และประมวลข้อมูล และจัดประชุมกลุ่มระดับตำบลเพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน และหาแนวทางการอยู่ร่วมกันของชุมชน

    ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวคือ มุ่งสู่การลดโลกร้อน โดยโครงการมุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและความเข้าใจถึงวิถีการทำการเกษตรของคนบนดอย ซึ่งพยายามที่จะลดการเผา เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การทำโคกหนองนาตามศาสตร์พระราชา การทำไร่หมุนเวียนและเผาโดยทำแนวกันไฟ การชิงเผาอย่างเป็นระบบเพื่อลดเชื้อเพลิงและมีการกำกับดูแลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายการปรับตัวจากภาคชุมชนในพื้นที่ศึกษาต่อปัญหาดังกล่าวสู่การเรียนรู้ร่วมกันในระดับประเทศได้

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ดร. สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อีเมล์:  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือรับชมได้ที่ทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ www.youtube.com/watch?v=cpA8ba-DZ8o&t=36s          

  • Two-Stage Anaerobic Codigestion of Crude Glycerol and Micro-Algal Biomass for Biohydrogen and Methane Production by Anaerobic Sludge Consortium

    ผศ.ดร. สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา

  • Effect of Fungus-Growing Termite on Soil CO2 Emission at Termitaria Scale in Dry Evergreen Forest, Thailand

    ดร.วารินทร์ บุญเรียม

  • การพัฒนาการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองโดยใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็ก (Development of particulate matter based on small data logger) 

    นายวรงค์ บุญเชิดชู

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

    The application of green office standard towards office of Local Administrative Organization and educational organizations for reducing energy utilization and greenhouse gases (GHGs) in Thailand

    ชื่อผู้วิจัย:

    หัวหน้าการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.กิตติพงษ์  เกิดฤทธิ์

    ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2562

    ที่มาและความสำคัญ:

    สำนักงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐจึงสนับสนุนและส่งเสริมของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยการนำเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวมาใช้ในสำนักงาน เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน  ลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยGreen House Gases (GHGs) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสวนสาธารณะภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง

    วัตถุประสงค์:

    1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนัก พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    2. ศึกษาและลดปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    ศึกษาวิจัยการลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา โดยการนำมาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    -

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ 2304  โทรศัพท์มือถือ 08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
     การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • การประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและการรวมกลุ่มของเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    (Evaluation and comparison of environmental and economic aspects between individual and large scale farmers to alternative mitigation options)

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    Evaluation and comparison of environmental, economic and management aspects between individual and large scale farmers to alternative mitigation options

    แหล่งทุน

    -

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

     

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์ 

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

    รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ 

    คำอธิบาย

    การรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่มีข้อดี 3 ด้าน1) ดีต่อสิ่งแวดล้อม คือช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดการปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อม 2) ดีต่อรายได้ คือช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และ 3) ดีต่อสังคม คือช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม เห็นศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรคนไทยอยู่ในภาคการเกษตร ในขณะเดียวกัน เกษตรกรรมปัจจุบันนับว่ามีผลต่อการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การปล่อยก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์จากนาข้าว และเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนในนาข้าว ดังนั้น การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรมจึงเป็นแนวทางที่ประชาคมโลกกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นแนวทางที่มีศักยภาพเชิงต้นทุน (คุ้มค่าในการลงทุน) อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย  คือ 1. เพื่อประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ การใช้พลังงาน การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก) และด้านเศรษฐกิจ (ต้นทุนและผลตอบแทน) ของเกษตรกรรายย่อย และการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ 2. เพื่อประเมินทางเลือกในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของระบบผลิตข้าว ตลอดห่วงโซ่การผลิต และ 3. เพื่อศึกษาบทบาทของการสื่อสาร การมีส่วนร่วม และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์

    จุดเด่นของผลดำเนินงานโครงการสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ คือ องค์ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการทำนาแปลงใหญ่ และประโยชน์ของการรวมกลุ่มของเกษตรกร และทำให้เกษตรกรในชุมชนเห็นว่า การทำนาแปลงใหญ่ ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตข้าว (ช่วยลดโลกร้อน) ช่วยลดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ประกอบกับ การทำ “นาแปลงใหญ่” ดีต่อรายได้ ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และการทำ “นาแปลงใหญ่” ยังดีต่อสังคมช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม เห็นศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน

     

    นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารภายในชุมชนเพื่อเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มนาแปลงใหญ่ แกนนำกลุ่มมักเริ่มต้นจากการพูดให้เกษตรกรเข้าใจและยอมรับปัญหาของตนเอง เช่น ปัญหาหนี้สิน การทำนาแล้วขาดทุน ขาดองค์ความรู้เรื่องข้าว พร้อมกับเน้นให้เกษตรกรติดตามรับฟังนโยบายของรัฐบาลที่สื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ  สำหรับการสื่อสารภายนอกกลุ่ม หรือ การสื่อสารระหว่างกลุ่ม มักสื่อสารผ่านการฝึกอบรม และแปลงเรียนรู้ จนนำไปสู่ความสำเร็จที่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ผ่านงานวิจัยนี้

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยในชุมชน ท้องถิ่น จำนวน 2 ชุมชน คือ 1.กลุ่มเกษตรกรพอเพียงตำบลรังนก และ 2.กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านบึงประดู่ เมื่อเกษตรกรนำกระบวนทำนาแบบแปลงใหญ่ไปปฏิบัติ ซึ่งได้เห็นผลจากงานวิจัยนี้ที่บ่งชี้ว่าช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิ และที่สำคัญช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม และได้ใช้ประโยชน์  ได้ความรู้จากโครงการวิจัยนี้ ในการอบรมสมาชิกใหม่ เกษตรกรอื่น ๆ ที่เข้ามาอบรมและดูงานในพื้นที่  นับได้ว่าเป็นผลกระทบเชิงบวกจากงานวิจัย หรือ การต่อยอดงานวิจัยเกษตรรายย่อย และการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    SDG 13

     

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

     

    SDG 2

    รูปภาพประกอบ

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    การรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    -

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    -

  • Project Title: Communicating Adaptation and Participation for Coastal Management: A Case Study in Chumphon

    Research Title: Fishers’ Decisions to Adopt Adaptation Strategies and Expectations for Their Children to Pursue the Same Profession in Chumphon Province, Thailand Researcher(s): Sukanya Sereenonchai and Noppol Arunrat Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

     

    Research Details (In Brief): Coastal communities and small-scale fisheries are highly vulnerable to climate change. In this study, we aimed to examine fishers’ decisions to adapt to climate change and their expectations for their children to pursue the same profession. Data were obtained from fisher households covering 8 districts and 22 sub-districts in the coastal area of Chumphon Province, Thailand, using participatory observation, focus group discussion, and in-person field surveys. A binary logistic regression model was used to determine factors influencing the fishers’ decisions and their expectations for their children to inherit their occupation. Results showed that the fishers are aware of the increasing trends in air temperature, sea water temperature, inland precipitation, offshore precipitation, and storms. Increased fishing experience and fishing income increased the likelihood of the fishers applying adaptations to climate change. Looking to the future, fishers with high fishing incomes expect their children to pursue the occupation, whereas increased fishing experience, non-fishing incomes, and perceptions of storms likely discourage them from expecting their children to be fishers. Of the fishers interviewed, 58.06% decided to apply adaptations in response to climate change by incorporating climate-smart agriculture, particularly by cultivating rubber, oil palm, and orchards as a second income source. The adoption of climate-smart fisheries should be considered in relation to the body of local knowledge, as well as the needs and priorities of the fisher community. To cope with the impacts of current and future climate change on coastal communities, the national focal point of adaptation should be climate change, and related governmental agencies should pay more attention to these key factors for adaptation.

    Publishing: Climate
    Key Contact Person: Dr. Sukanya Sereenonchai, Tel: 024415000 ext. 1324, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: การสื่อสารเพื่อการปรับตัวและการมีส่วนร่วมในการจัดการชายฝั่ง กรณีศึกษา จ.ชุมพร

    ชื่อผลงานวิจัย: การตัดสินใจของชาวประมงในการเปิดรับกลยุทธ์การปรับตัวและความคาดหวังให้ทายาทสืบทอดอาชีพประมงในจังหวัดชุมพร

    ชื่อผู้วิจัย: สุกัญญา เสรีนนท์ชัย และ นพพล อรุณรัตน์
    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ): ชุมชนชายฝั่งและชาวประมงพื้นบ้านมีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการตัดสินใจของชาวประมงในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความคาดหวังของชาวประมงที่จะให้ทายาทสืบทอดอาชีพของตน เก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนประมงใน 8 อำเภอ 22 ตำบล ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ เพื่ออธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและความคาดหวังของชาวประมงที่มีต่อลูกหลานในการสืบทอดอาชีพประมง ผลการศึกษาพบว่า ชาวประมงตระหนักถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในอากาศ อุณหภูมิน้ำทะเล การตกของฝนบนบก การตกของฝนในทะเล และพายุ ประสบการณ์การทำประมงที่เพิ่มขึ้นและรายได้จากการทำประมงที่เพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาสในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชาวประมง ในอนาคต ชาวประมงที่มีรายได้สูงจะคาดหวังให้ลูกหลานของตนสืบทอดอาชีพประมง ทว่า การเพิ่มขึ้นของประสบการณ์การทำประมง รายได้จากอาชีพอื่นนอกจากการทำประมง และการรับรู้เกี่ยวกับพายุ ส่งผลต่อการไม่สนับสนุนให้ลูกหลานของตนสืบทอดอาชีพประมง จากการสัมภาษณ์ พบว่า ชาวประมง 58.06% ตัดสินใจที่จะปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการผสมผสานการทำเกษตรที่รู้เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการปลูกยาง ปาล์มน้ำมันและสวนผลไม้ เพื่อสร้างรายได้เสริม การทำประมงอย่างรู้เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของชุมชนประมง เป็นแนวทางการปรับตัวที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เป็นศูนย์กลางด้านการปรับตัวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวดังกล่าว

    การเผยแพร่ผลงาน: เผยแพร่ในวารสาร Climate
    การติดต่อ: อ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย โทร. 024415000 ต่อ 1324 อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    [Module-731]

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.