• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ผลของสารอินทรีย์ปริมาณสูงในน้ำเสียโรงงานขนมจีนต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของหญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร

ผลของสารอินทรีย์ปริมาณสูงในน้ำเสียโรงงานขนมจีนต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของหญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร

Influence of High Organic Substances Concentrations in Fermented Rice Noodle (Khanomjeen) Factory Wastewater on Efficiency Wastewater Treatment of Vetiveria Zizanioides Nash. and Cyperus Corymbosus Rottb.

Dr. Chitsanuphong Pratum, Phone: 0 2441 5000 ext.2132, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Figure 1 Batch - flow wastewater treatment system

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลของสารอินทรีย์ปริมาณสูงในน้ำเสียโรงงานขนมจีนต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของพืชบำบัดน้ำเสีย (หญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร) โดยการทดลองบำบัดน้ำเสียในหน่วยทดลองขนาดเล็ก ซึ่งทำการขังแช่น้ำเสียเป็นเวลา 5 วัน และพักให้แห้งเป็นเวลา 2 วัน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียว และการบำบัดน้ำเสียโดยใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย ผลการทดลองเผยให้เห็นว่า สารอินทรีย์ปริมาณสูง (แสดงในรูปของปริมาณซีโอดี) ที่ 3,669.70 ± 134.50 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลกระทบอย่างมากกับประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของทั้งหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียวและหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย หน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียวสามารถลดซีโอดีได้ที่ 121.65 ± 43.45 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบแรกของการบำบัด (7 วัน) ในส่วนของหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย หญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร สามารถลดซีโอดีได้ที่ 140.63 ± 14.06 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบที่ 4 ของการบำบัด (28 วัน) และ128.65 ± 0.00 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบที่ 3 ของการบำบัด (21 วัน) ตามลำดับ โดยซีโอดีจากน้ำทิ้งที่ได้เกินกว่า 120 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด จากหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย พบว่า หญ้าแฝกหอมมีประสิทธิภาพในการบำบัดดีกว่ากกกลมจันทบูร โดยพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 จากการทดลองทั้งหมดทำให้ทราบว่าพืชบำบัดน้ำเสียมีความทนทานต่อสารอินทรีย์ปริมาณสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของการทดลองเท่านั้น โดยประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียจะลดลงตามระยะการบำบัด ดังนั้นผลทดลองจากการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตขนมจีนต่อไปได้

The purpose of this study was to determine the influence of high organic substances with concentrations in fermented rice noodle (Khanomjeen) factory wastewater on the efficiency wastewater treatment of plants (Vetiveria zizanioides Nash. and Cyperus corymbosus Rottb.). Addition, The continuous flow condition and 5-days stagnation and 2-days releasing condition experiments were performed in the bath – flow wastewater treatment system. This study was divided into 2 parts namely; wastewater treatment by use of grown materials (GMs) only and wastewater treatment by use of grown materials combining with plants (GPs). The results revealed that high concentrations of organic substances (show in form of chemical oxygen demand; COD) at 3.669.70 ± 134.50 mg/L have more effect with efficiency wastewater treatment of GMs and GPs. The GMs could be reduced COD to 121.65 ± 43.45 mg/l at the 1 week-cycle (7 days). In part of GPs, Vetiveria zizanioides Nash. and Cyperus corymbosus Rottb. could be reduced COD to 140.63 ± 14.06 mg/l at the 4 week-cycles (28 days) and 128.65 ± 0.00 mg/l at the 3 week-cycles (21 days), respectively. The COD of effluent exceeded 120 mg/l which the limitation COD value of the Department of industrial works. From GPs experiment units, Vetiveria zizanioides Nash. has higher treatment efficiency than Cyperus corymbosus Rottb., which the statistically significant difference was detected with the p value < 0.05. In conclusion, plants had tolerance to high concentration of organic substances for a short duration of the experiment only. The effectiveness of wastewater treatment will decreased following the period of treatment cycles. Therefore, the results of these studies could be considered to apply for fermented rice noodle (Khanomjeen) factory wastewater treatment.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.