• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • Research title: Mangrove Ecosystem-Sea Level-Societal Relationships in the upper Gulf of Thailand during the Holocene: Past Perspectives for Future Sea level Rise Mitigation and Adaptation

    Researcher name: Lect. Dr. Paramita Punwong

    water dispenser

    Figure 1. A type of water dispenser was used in the area of the Mahidol University, Salaya Campus, Thailand.

    Coastal habitats, a dynamic environment of key socio-economic importance, comprise biologically diverse ecosystems including mangroves. The mangrove ecosystems, like other coastal habitats, are subjected to sea level fluctuations. In this project mangrove environments are investigated and used to unravel the last 1000-year mangrove dynamics, environmental history and anthropogenic activities of the upper Gulf of Thailand coast. A multiproxy record including pollen, charcoal, loss on ignition and particle size analysis performed on three radiocarbon dated sediment cores taken from two mangrove locations (Klong Kone, Samut Prakan and Bangkhuntien, Bangkok). The results showed that mangroves are dominated by Rhizophora in both areas that indicates these areas have been influenced by sea level from at least 1100 cal B.P. until 700 cal B.P. An intertidal area may have formed that supported mangrove development and may form a part of a palaeo-shoreline in the upper Gulf of Thailand during this period. After 700 cal B.P., mangroves decreased and were replaced by grasses suggesting a lower sea level causing mangroves to retreat seaward until around 200-100 cal B.P. Moreover, cereal pollen increased from around 700 cal B.P. suggesting probable use of the shoreline for human settlement and intensive cultivation. These mangroves were characterised by Avicennia re-colonised toward the top of the three cores, suggesting mangroves retreated landward probably due to recent sea-level rise. Human activity is recorded during the last century in both areas. In addition, the recent sea level rise rate is higher than the past maximum rate of sea level change that mangroves could withstand in the upper Gulf of Thailand. Mangroves in these areas are therefore likely to be vulnerable to sea level rise which management is needed.

    ความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศ ระดับน้ำทะเล และสังคมในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนช่วงสมัยโฮโลซีน: เข้าใจอดีตเพื่อการปรับตัวรับกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคต

    ถิ่นที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งประกอบด้วยระบบนิเวศน์ต่างๆมากมาย รวมทั้งป่าชายเลน ระบบนิเวศน์ป่าชายเลนซึ่งก็เหมือนกันระบบนิเวศน์ชายฝั่งอื่นๆที่มีจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาป่าชายเลนเพื่อใช้ในการจำลองสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนในช่วง 1000 ปีที่ผ่านมา โดยอาศัยการศึกษาจากการวิเคราะห์เรณู ถ่านไม้ มลทินที่หายไปหลังการเผา และขนาดของตะกอนในตะกอนป่าชายเลนจากคลองโคน สมุทรสงครามและบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ซึ่งใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพืชพรรณของป่าชายเลน การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และกิจกรรมมนุษย์ ผลจากการศึกษาพบว่าป่าชายเลนซึ่งมีโกงกางเป็นไม้เด่น ได้เข้าครอบครองพื้นที่ทั้งในคลองโคนและบางขุนเทียนซึ่งบ่งบอกว่าพื้นที่เหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลทั้งแต่ 1100 – 700 ปีก่อนปัจจุบัน ในช่วงเวลาดังกล่าว พื้นที่เขตชายฝั่งทะเลเหล่านี้เกิดขึ้นและน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของชายฝั่งโบราณของอ่าวไทยซึ่งเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการเจริญของพืชพรรณป่าชายเลน หลังจากนั้นจนถึงช่วง 200-100 ปีก่อนปัจจุบัน พืชพรรณป่าชายเลนลดลงและถูกแทนที่ด้วยพืชจำพวกหญ้า ซึ่งบ่งบอกถึงการถดถอยของระดับน้ำทะเลและทำให้ป่าชายเลนถอยร่นไปยังชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ในช่วง 700 ปีก่อนปัจจุบัน เรณูของธัญพืชได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นซึ่งน่าจะชี้ให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และการเกษตรกรรม ป่าชายเลนได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะพืชจำพวกแสมในช่วงบนของตะกอนบ่งบอกถึงการถอยร่นเข้าไปยังแผ่นดินของป่าชายเลนซึ่งน่าจะเกิดจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงปัจจุบัน ทั้งนี้ในช่วง 100 ปีสุดท้ายได้มีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงกิจกรรมมนุษย์ในพื้นที่เหล่านี้ด้วย นอกจากนี้อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลปัจจุบันในอ่าวไทยตอนบนนั้นมีค่ามากกว่าอัตราที่สูงที่สุดที่ป่าชายเลนยังคงอยู่ได้ในอดีต ดังนั้นป่าชายเลนในพื้นที่เหล่านี้มีความเป็นไปได้ว่าจะมีความเปราะบางต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจึงต้องมีการจัดการพื้นที่ป่าชายเลนเหล่านี้ในอนาคต

  • Project Title: Communicating Adaptation and Participation for Coastal Management: A Case Study in Chumphon

    Research Title: Fishers’ Decisions to Adopt Adaptation Strategies and Expectations for Their Children to Pursue the Same Profession in Chumphon Province, Thailand Researcher(s): Sukanya Sereenonchai and Noppol Arunrat Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

     

    Research Details (In Brief): Coastal communities and small-scale fisheries are highly vulnerable to climate change. In this study, we aimed to examine fishers’ decisions to adapt to climate change and their expectations for their children to pursue the same profession. Data were obtained from fisher households covering 8 districts and 22 sub-districts in the coastal area of Chumphon Province, Thailand, using participatory observation, focus group discussion, and in-person field surveys. A binary logistic regression model was used to determine factors influencing the fishers’ decisions and their expectations for their children to inherit their occupation. Results showed that the fishers are aware of the increasing trends in air temperature, sea water temperature, inland precipitation, offshore precipitation, and storms. Increased fishing experience and fishing income increased the likelihood of the fishers applying adaptations to climate change. Looking to the future, fishers with high fishing incomes expect their children to pursue the occupation, whereas increased fishing experience, non-fishing incomes, and perceptions of storms likely discourage them from expecting their children to be fishers. Of the fishers interviewed, 58.06% decided to apply adaptations in response to climate change by incorporating climate-smart agriculture, particularly by cultivating rubber, oil palm, and orchards as a second income source. The adoption of climate-smart fisheries should be considered in relation to the body of local knowledge, as well as the needs and priorities of the fisher community. To cope with the impacts of current and future climate change on coastal communities, the national focal point of adaptation should be climate change, and related governmental agencies should pay more attention to these key factors for adaptation.

    Publishing: Climate
    Key Contact Person: Dr. Sukanya Sereenonchai, Tel: 024415000 ext. 1324, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: การสื่อสารเพื่อการปรับตัวและการมีส่วนร่วมในการจัดการชายฝั่ง กรณีศึกษา จ.ชุมพร

    ชื่อผลงานวิจัย: การตัดสินใจของชาวประมงในการเปิดรับกลยุทธ์การปรับตัวและความคาดหวังให้ทายาทสืบทอดอาชีพประมงในจังหวัดชุมพร

    ชื่อผู้วิจัย: สุกัญญา เสรีนนท์ชัย และ นพพล อรุณรัตน์
    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ): ชุมชนชายฝั่งและชาวประมงพื้นบ้านมีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการตัดสินใจของชาวประมงในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความคาดหวังของชาวประมงที่จะให้ทายาทสืบทอดอาชีพของตน เก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนประมงใน 8 อำเภอ 22 ตำบล ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ เพื่ออธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและความคาดหวังของชาวประมงที่มีต่อลูกหลานในการสืบทอดอาชีพประมง ผลการศึกษาพบว่า ชาวประมงตระหนักถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในอากาศ อุณหภูมิน้ำทะเล การตกของฝนบนบก การตกของฝนในทะเล และพายุ ประสบการณ์การทำประมงที่เพิ่มขึ้นและรายได้จากการทำประมงที่เพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาสในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชาวประมง ในอนาคต ชาวประมงที่มีรายได้สูงจะคาดหวังให้ลูกหลานของตนสืบทอดอาชีพประมง ทว่า การเพิ่มขึ้นของประสบการณ์การทำประมง รายได้จากอาชีพอื่นนอกจากการทำประมง และการรับรู้เกี่ยวกับพายุ ส่งผลต่อการไม่สนับสนุนให้ลูกหลานของตนสืบทอดอาชีพประมง จากการสัมภาษณ์ พบว่า ชาวประมง 58.06% ตัดสินใจที่จะปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการผสมผสานการทำเกษตรที่รู้เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการปลูกยาง ปาล์มน้ำมันและสวนผลไม้ เพื่อสร้างรายได้เสริม การทำประมงอย่างรู้เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของชุมชนประมง เป็นแนวทางการปรับตัวที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เป็นศูนย์กลางด้านการปรับตัวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวดังกล่าว

    การเผยแพร่ผลงาน: เผยแพร่ในวารสาร Climate
    การติดต่อ: อ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย โทร. 024415000 ต่อ 1324 อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    [Module-731]

  • เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG

    11,13,16,17

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2564

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสหภาพยุโรป (The European Union - EU) และ สำนักงานศาลปกครอง

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง และการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:00 – 17:00 น. ผ่านระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม Zoom โดยความร่วมมือระหว่าง สหภาพยุโรป (The European Union - EU) สำนักงานศาลปกครอง และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง และการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน ทั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การมหาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม นักศึกษา ข้าราชการบำนาญ เข้าร่วมผ่านระบบ zoom และ Facebook Live รวมจำนวน 236 คน

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การมหาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม นักศึกษา

    จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    236 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

     
     
  • โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ : การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) 

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG

    12,16,17

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ : การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) 

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม 2564

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อส่งเสริมการดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างการตระหนักรู้ด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “17 เป้าหมาย สู่มหาวิทยาลัยยั่งยืน” (MU Sustainable policy) ของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    รูปแบบการดำเนินงาน

    1.             การบรรยายจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับ นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหิดล (MU Sustainable policy)

    2.             การบรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ทัศนคติ กับวิทยากรภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

    3.             การปฏิบัติการ (Work Shop) โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการ ออกเป็น 5 กลุ่ม

    4.             การประเมินการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้ของผู้เข้ารับการอบรม

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

     

    จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    85 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ควมเข้าใจแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างการตระหนักรู้ด้านเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “17 เป้าหมาย สู่มหาวิทยาลัยยั่งยืน” (MU Sustainable policy)

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

  • ผลของสารอินทรีย์ปริมาณสูงในน้ำเสียโรงงานขนมจีนต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของหญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร

    Influence of High Organic Substances Concentrations in Fermented Rice Noodle (Khanomjeen) Factory Wastewater on Efficiency Wastewater Treatment of Vetiveria Zizanioides Nash. and Cyperus Corymbosus Rottb.

    Dr. Chitsanuphong Pratum, Phone: 0 2441 5000 ext.2132, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    Figure 1 Batch - flow wastewater treatment system

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลของสารอินทรีย์ปริมาณสูงในน้ำเสียโรงงานขนมจีนต่อประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของพืชบำบัดน้ำเสีย (หญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร) โดยการทดลองบำบัดน้ำเสียในหน่วยทดลองขนาดเล็ก ซึ่งทำการขังแช่น้ำเสียเป็นเวลา 5 วัน และพักให้แห้งเป็นเวลา 2 วัน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การบำบัดน้ำเสียโดยใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียว และการบำบัดน้ำเสียโดยใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย ผลการทดลองเผยให้เห็นว่า สารอินทรีย์ปริมาณสูง (แสดงในรูปของปริมาณซีโอดี) ที่ 3,669.70 ± 134.50 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลกระทบอย่างมากกับประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียของทั้งหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียวและหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย หน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชเพียงอย่างเดียวสามารถลดซีโอดีได้ที่ 121.65 ± 43.45 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบแรกของการบำบัด (7 วัน) ในส่วนของหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย หญ้าแฝกหอมและกกกกลมจันทบูร สามารถลดซีโอดีได้ที่ 140.63 ± 14.06 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบที่ 4 ของการบำบัด (28 วัน) และ128.65 ± 0.00 มิลลิกรัมต่อลิตร ของรอบที่ 3 ของการบำบัด (21 วัน) ตามลำดับ โดยซีโอดีจากน้ำทิ้งที่ได้เกินกว่า 120 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด จากหน่วยทดลองที่ใช้วัสดุปลูกพืชร่วมกับพืชบำบัดน้ำเสีย พบว่า หญ้าแฝกหอมมีประสิทธิภาพในการบำบัดดีกว่ากกกลมจันทบูร โดยพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 จากการทดลองทั้งหมดทำให้ทราบว่าพืชบำบัดน้ำเสียมีความทนทานต่อสารอินทรีย์ปริมาณสูงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ของการทดลองเท่านั้น โดยประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียจะลดลงตามระยะการบำบัด ดังนั้นผลทดลองจากการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิตขนมจีนต่อไปได้

    The purpose of this study was to determine the influence of high organic substances with concentrations in fermented rice noodle (Khanomjeen) factory wastewater on the efficiency wastewater treatment of plants (Vetiveria zizanioides Nash. and Cyperus corymbosus Rottb.). Addition, The continuous flow condition and 5-days stagnation and 2-days releasing condition experiments were performed in the bath – flow wastewater treatment system. This study was divided into 2 parts namely; wastewater treatment by use of grown materials (GMs) only and wastewater treatment by use of grown materials combining with plants (GPs). The results revealed that high concentrations of organic substances (show in form of chemical oxygen demand; COD) at 3.669.70 ± 134.50 mg/L have more effect with efficiency wastewater treatment of GMs and GPs. The GMs could be reduced COD to 121.65 ± 43.45 mg/l at the 1 week-cycle (7 days). In part of GPs, Vetiveria zizanioides Nash. and Cyperus corymbosus Rottb. could be reduced COD to 140.63 ± 14.06 mg/l at the 4 week-cycles (28 days) and 128.65 ± 0.00 mg/l at the 3 week-cycles (21 days), respectively. The COD of effluent exceeded 120 mg/l which the limitation COD value of the Department of industrial works. From GPs experiment units, Vetiveria zizanioides Nash. has higher treatment efficiency than Cyperus corymbosus Rottb., which the statistically significant difference was detected with the p value < 0.05. In conclusion, plants had tolerance to high concentration of organic substances for a short duration of the experiment only. The effectiveness of wastewater treatment will decreased following the period of treatment cycles. Therefore, the results of these studies could be considered to apply for fermented rice noodle (Khanomjeen) factory wastewater treatment.

  • การวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง

    Integrating Stakeholders on Solid Waste and Wastewater Management Plan Development in Sa Kaeo Special Economic Zone and Adjacent Districts

    โครงการวิจัย เรื่อง การวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง ดำเนินการโดยคณะผู้วิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อาจารย์ ดร. พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ ดร.ชิษณุพงษ์ ประทุม และนายภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค. 2562 ถึงวันที่ 29 ส.ค. 2563 มีที่มาและความสำคัญจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว ขาดการจัดการแผนยุทธศาสตร์ นโยบาย หรือมาตรการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการขยะและน้ำเสีย จึงต้องมีกระบวนการที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาแผนงานเพี่อใช้ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านขยะและน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด การศึกษาในครั้งนี้จึงมี     วัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์เชิงระบบเพื่อพัฒนาแผน และโปรแกรมของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการสิ่งแวดล้อมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลผักขะ ตำบลบ้านด่าน  ตำบลป่าไร่ ตำบลท่าข้าม และพื้นที่ใกล้เคียง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลอรัญประเทศ ตำบลฟากห้วย ตำบลบ้านใหม่ และตำบลหนองไทร มีรายละเอียดการดำเนินงาน ประกอบด้วยการสร้างความเข้าใจในความต้องการของนโยบายและแผนงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลนโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาแผนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) และการเสนอทางเลือกสำหรับการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการ

    ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล กล่าวคือ ทำให้เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในจังหวัดสระแก้วที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งมีส่วนต่อการทำให้เกิดขยะและน้ำเสีย เพื่อสร้างมาตรการกำกับดูแลควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ให้ไม่ก่อผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อมอันเกิดขีดความสามารถที่ระบบนิเวศในพื้นที่จะรองรับได้ นอกจากนั้นยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ มีการถอดบทเรียนจากการศึกษาระยะแรกด้านผลกระทบด้านขยะและน้ำเสียพื้นที่ชายแดนบ้านคลองลึก มาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมซึ่งนำมาสู่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ อันก่อให้เกิดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาการใช้ทรัพยากรในชุมชนสู่ความยั่งยืนได้

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อีเมล์:   This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และช่องทางออนไลน์ได้ที่https://en.mahidol.ac.th/EI/sustainableCity/Sa%20Kaeo/index.html หรือที่FB: https://www.facebook.com/ecoindustry.rtc/posts/575903676507130/

  • SDG13

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    13 (Target 13.3: Indicator 13.3.1)

    ชื่องานวิจัย:

    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (สำหรับบุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) (A Beginner Workshop on the Application of Information Technology for Environment and Resource Management (Open to Public and Relevant Organizations))

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

    ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

    ที่มาและความสำคัญ:

    ปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน และได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านที่ดิน ด้านการใช้ที่ดิน ด้านผังเมือง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการเกษตร ด้านป่าไม้ ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร เป็นต้น

    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (สำหรับบุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง )มุ่งหวังที่จะถ่ายทอดแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น ให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้อง

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    ภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในภาคกลางและภาคตะวันตก ระหว่างองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    สทอภ.

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สทอภ. หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชนในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย

    ระดับความร่วมมือ:

    ระดับภูมิภาค

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไปประยุต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านประชากรและสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และด้านการจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    http://gistmu.mahidol.ac.th/

    รูปภาพประกอบ:

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ:

    9 15 17

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.