โครงการวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และพื้นที่ใกล้เคียง

"ชุดโครงการชุดโครงการเมืองยั่งยืน "

โครงการวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และพื้นที่ใกล้เคียง

(Integrating Stakeholders on Solid Waste and Wastewater Management Plan Development in Sa Kaeo Special Economic Zone and Adjacent Districts )

หัวหน้าโครงการ : อาจารย์ ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ร่วมวิจัย

  • ดร. ชิษณุพงศ์ ประทุม นักวิจัยประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ อาจารย์และนักวิจัยประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อาจารย์ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์ อาจารย์และนักวิจัยประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต รองศาสตราจารย์และรักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทสรุปย่อผู้บริหาร

-

-

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) (ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย, ประเด็นวิจัย, input, และ outputs ในระยะต่าง ๆ)
ต้นน้ำ : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 ตำบล ในพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และพื้นที่ใกล้เคียง
กลางน้ำ : หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการขยะและน้ำเสียในจังหวัดสระแก้ว
ปลายน้ำ : ประชาชนในพื้นที่ 7 ตำบลในพื้นที่ศึกษา หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนเขต อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ศึกษา และหน่วยงานราชการที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการขยะและน้ำเสียบริเวณพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระเก้ว และพื้นที่ใกล้เคียง
  2. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนบริเวณพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และพื้นที่ใกล้เคียง

ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดการวิจัย

  1. Output
    ทางเลือกในการพัฒนาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยได้รับการพัฒนาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในพื้นที่ศึกษา
  2. Output
    แผนด้านการจัดการขยะและน้ำเสียได้รับการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ศึกษา และสามารถเป็นแนวทางในการจัดการปัญหาขยะและน้ำเสียในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. Impact
    เกิดการปรับเปลี่ยน และขับเคลื่อนแผนในการบริหารจัดการขยะและน้ำเสียบริเวณพื้นที่ศึกษา จากจากทุกภาคส่วน