• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • ชื่อโครงการวิจัย: การส่งเสริมสำนักงานสู่สำนักงานสีเขียว (Green Office)

    ชื่อผลงานวิจัย: การส่งเสริมสำนักงานสู่สำนักงานสีเขียว (Green Office)

    ชื่อผู้วิจัย: รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ)

    การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ล้วนต้องใช้ทรัพยากร พลังงาน และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสำนักงานต่างๆ ซึ่งสำนักงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและทั่วโลก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมดำเนินการพัฒนาเกณฑ์สำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สำนักงานต่างๆนำไปประยุกต์ใช้ ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน มีสำนักงานผ่านการรับรองสานักงานสีเขียวกว่า 200 แห่ง ส่งผลให้เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้สำนักงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้เป็นแนวทางในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเตรียมความพร้อมสู่สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระดับสากล

    ปัจจุบันเกณฑ์สำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ประกอบด้วย 6 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 นโยบายวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย  หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย และหมวดที่ 6 การจัดซื้อและจัดจ้าง การนำเกณฑ์สำนักงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) มาใช้ในสำนักงาน เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย รองรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อย Green House Gases (GHG) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี)

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี)

    การนำไปใช้ประโยชน์(ถ้ามี)

    การเผยแพร่ผลงาน

    การติดต่อ: รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต  E-mail:This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  Tel: 0 2441 5000 ต่อ 2304


  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    Project:  Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand

    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    ผู้ดำเนินการหลัก

    (หัวหน้าโครงการ)

    รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  นาคะภากร

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     

    คำอธิบาย

     

    The Thai-coast project is helping improve scientific understanding of the vulnerability of Thailand’s coastal communities to hydro-meteorological hazards, including storms, floods and coastal erosion, under future climate change. For the study sites in Krabi and Nakhon Si Thammarat Provinces, key findings are that modelled future climate change indicates more extended and severe floods in Southern Thailand with the risk of flash floods increasing significantly, and erosion and accretion rates are more dramatic on mangrove coastlines compared with sandy coastlines. Despite variable physical and socio-economic resilience, the two study sites have comparable coastal vulnerability index (CVI) values. Project results impact through public engagement, dissemination and dialogue with policy makers and coastal communities.

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    In Thailand the problems of coastal erosion and flooding require immediate solutions because they affect more than 11 million people living in coastal zone communities (17% of the country’s population).

    The Department of Marine and Coastal Resources (DMCR), in the Thai Government’s Ministry of Natural Resources and Environment, has calculated that each year erosion causes Thailand to lose 30 km2 of coastal land.

    The Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning predicts that sea level will rise by 1 metre in the next 40 -100 years, impacting at least 3,200 km2 of coastal land, through erosion and flooding, at a potential financial cost to Thailand of 3 billion baht [almost £70 million] over that time-period. The Thai-coast project addresses the urgent need to enhance the resilience and adaptation potential of coastal communities, applying scientific research to inform more robust and cost-effective governance and institutional arrangements.

    The Thai-coast project aims to:

    Establish causal links between climate change, coastal erosion and flooding;

    Use this information to assess the interaction of natural and social processes in order to:

    Enhance coastal community resilience and future sustainability.

    The project focuses on two study areas, Nakhon Si Thammarat province and Krabi province, selected on the basis of DMCR coastal erosion data and with contrasting natural and socio-economic characteristics. The Thai-coast project uses a multidisciplinary approach, integrating climate science, geomorphology, socio-economics, health and wellbeing science and geo-information technology to improve understanding of hydro-meteorological hazard occurrence, their physical and socioeconomic, health and wellbeing impacts on Thailand’s coastal zone and the ways in which governance and institutional arrangements mitigate their impact. We will examine future scenarios of climate change hydrometeorology, coastal landform and land use change scenarios and assess and model impacts (coastal erosion, river-marine flooding, impacts on health and well-being), as well as population and community’s adaptation, and socio-economics scenarios for sustainable development goals (sustainable cities, health-related quality of life and well-being, good governance). Our collaborative team of natural and social scientists, from UK, US and Thai research institutions, have complimentary, cutting-edge expertise and will work closely with Thai Government and UK and Thai industry partners to ensure that results are policy and practice-relevant.

    Thai-coast research will benefit government and policymakers, who need to plan for potential impacts caused by climate change and develop resilient strategies to deal with their impacts on natural-social systems. It will provide a link with government agencies for business/industry interests in the coastal zone of Thailand in tourism, aquaculture and associated industry and business, to assess their needs and help improve their understanding of coastal resilience in their strategic investments and management. The wider public, who inhabit Thailand’s coastal communities either permanently or temporarily for work or leisure, will benefit through the advanced knowledge and awareness of identified problems and learning processes to address them. The results of the Thai-coast project will benefit coastal communities more broadly, in all Thai coastal provinces, through its contribution to more robust, cost effective, governance and institutional arrangements.

    Objectives

    Thai-coast project research is organized around three key aims, each with a specific set of objectives: Key aim 1. Enhance coastal community resilience and future sustainability under climate change scenarios (WP 5 and 6). Key aim 2. Use the quantitative links developed in WP 1 and 2 to assess the interaction of natural and social processes under current and future climate change (WP 3, 4, 5) Key aim 3. Establish quantitative links between climate change, coastal erosion and flooding (WP 1 and 2).

    Work package 1: Baseline assessment of hydro-meteorological boundary conditions

    Work package 2: Scenario modelling and hazard assessment

    Work package 3: Socio-economic impact assessment, coping mechanisms and resilience

    Work package 4: Coastal vulnerability assessment

    Work package 5: Good governance, resilience and sustainable coastal communities

    Work package 6: Impact through public engagement, dissemination and dialogue between policy-makers and coastal communities

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    SDG13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    SDG 3, 11, 14

    รูปหน้าปก

    Key Message

     

    Thai-coast research will benefit government and policymakers, who need to plan for potential impacts caused by climate change and develop resilient strategies to deal with their impacts on natural-social systems.

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    https://www.edgehill.ac.uk/nerc-tcp

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ที่ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    Foreign Government Agencies:

    - Egypt's Ministry of Environment 

    - Key Laboratory Of River and Coastal engineering, Vietnam

    - Vietnam Institute of Geosciences and Mineral Resources (VIGMR)

    - Science and Technology Division in Vietnam

    International organizations:

    - Center for Biodiversity Conservation and Endangered Species

    - GIZ

    - Green Climate Fund , United Nations Development Programme

    - Myanmar KOEI International Co. Ltd.

    - Vietnam National Space Center (VNSC)

    Government agencies in Thailand:

    - Department of Disaster Prevention and Mitigation, Thailand

    - Department of Marine and Coastal Resources

    - Department of Mineral Resources

    - Department of Land Development

    - Environmental Research and Training Center (ERTC)

    - Hydro – Informatics Institute (HII)

    - National Research Council of Thailand

    - Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning

    - Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council

    - Office of the National Economic and Social Development Council

    - Royal Irrigation Department

    - Thai Meteorological Department

    - GISTDA

    Academics:

    - BOKU, Austria

    - Duy Tân university, Vietnam

    - Hanoi University of Mining and Geology, Vietnam

    - Hanoi University of Natural Resources and Environment (HUNRE)

    - Madhyanchal Professional University, India

    - Nagasaki University, Japan

    - National Central University, Taiwan

    - Vietnam Maritime University (VMU)

    - VNU Hanoi University of Science

    - University of Manchester, UK

    Academics in Thailand:

    - Chulalongkorn University

    - Coastal Oceanography and Climate Change Research Center (COCC)

    - Department of Biology, Faculty of Science, Ramkhamhaeng University

    - Department of Geography, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand

    - Nakhon Ratchasima Rajabhat University

    - Thammasat University

    Regional organizations in Thailand:

    - North Andaman Network Foundation, Thailand

    - Provincial Office of Natural Resources and Environment Nakhon Si Thammarat

    - The Council of Scientific and Technological Associations of Thailand (COSTAT)

    ตัวชี้วัดThe Impact Ranking

    17.2.1, 17.2.2, 17.2.4, 14.5.4

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การพัฒนาการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองโดยใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็ก

    Development on particulate matter based on small data logger

    อยู่ระหว่างยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร “อุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5”

    แหล่งทุน

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    นายวรงค์  บุญเชิดชู

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

    ความต้องการอุปกรณ์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มาสนับสนุนการติดตามระดับความหนาแน่นฝุ่นละอองฯ ในพื้นที่ที่ห่างไกลจุดตรวจวัดที่รับรองโดยกรมควบคุมมลพิษที่มีระยะมากกว่า3 กิโลเมตรขึ้นไป ส่งผลให้การวัดความหนาแน่นฝุ่นPM2.5 มีความถูกต้องลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น หรือการตรวจวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนของสิ่งปลูกสร้าง หรือสภาพภูมิประเทศ หรือมีจำนวนจุดวัดน้อยและไม่ครอบคลุมพื้นที่ จึงทำให้ต้องพัฒนาอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นที่ให้ผลได้ใกล้เคียงกับสถานีตรวจวัดที่ผ่านการรับรองจากกรมควบคุมมลพิษ และสามารถสร้างได้เป็นจำนวนมากในราคาที่มีต้นทุนต่ำ สร้างง่าย และให้ผลการวัดที่ใกล้เคียงกับแนวโน้มการเปลี่ยนความหนาแน่นของสถานีวัดฯ

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    วัตถุประสงค์
        การพัฒนาสร้างอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 มีโครงสร้างอุปกรณ์ไม่ซับซ้อน ซ่อมแซมง่าย สามารถใช้ทำงานได้ในระยะเวลานานในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและทำงานภายใต้อุณหภูมิที่มีความแตกต่างระหว่างวันสูงและทำงานตลอด24 ชั่วโมง มีต้นทุนในการสร้างต่ำและติดตั้งได้รวดเร็ว เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านการวิเคราะห์แบบInterpolated เพื่อหาค่าเฉลี่ยระหว่างจุดวัดที่ใช้อุปกรณ์นี้ เช่นกรณีที่รถตรวจคุณภาพอากาศมี1 หน่วย จึงไม่อาจสะท้อนข้อมูลความเป็นจริงของพื้นที่ตรวจวัดได้ถูกต้อง จึงต้องใช้อุปกรณ์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ในการเสริมจุดการวัดความหนาแน่นฝุ่นPM2.5 ให้ครอบคลุมพื้นที่ด้วยอุปกรณ์วัด ฯ ที่พัฒนาในจำนวนมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องเชิงพื้นที่สูงขึ้น และสะท้อนสภาพความเป็นจริงได้ใกล้เคียงของพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

    การดำเนินการ

        สถานีวัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ที่สร้างขึ้นนี้มีประสิทธิภาพการทำงานที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้โดยการปรับค่าความคลาดเคลื่อนของการวัดด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์และการปรับปรุงในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่นำมาใช้ โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดฝุ่นละอองPM2.5 มีค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงอยู่ที่± 8.3 µg/cu.m สำหรับระดับฝุ่นไม่เกิน150 µg/cu.m, R2 = 0.93 เมื่อเปรียบเทียบกับผลจากรถตรวจวัดคุณภาพอากาศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประจำอยู่ที่มหาลัยมหิดล ศาลายา ระหว่าง ก..  – มี.. 62 มีจำนวนข้อมูลเฉลี่ยรายชั่วโมง582 ชุด

        เซอร์เซ็นวัดความหนาแน่นฝุ่นถูกเลือกมาจากการทดสอบความแม่นยำในการทำงานโดยใช้CV วิเคราะห์ ผลที่ได้คือPlantTower PMS5003 มีความแตกต่างของCV ระหว่างตัวทดสอบจำนวน2 ตัว มีค่าน้อยว่า0.5% แสดงให้เห็นว่ามีความแม่นยำในการผลิตในระดับสูง และสามารถนำเอามาใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับแก้ใด ๆ  ในการทดแทนเมื่อเซอร์เซ็นชำรุด นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลของความชื้นสัมพัทธ์ในระดับที่เกิดสภาวะเป็นไอน้ำในอากาศก็มีผลต่อเซ็นเซอร์ด้วย จากการวิเคราะห์ค่าMAE ระหว่างเซ็นเซอร์และเครื่องมือFEM แสดงให้เห็นว่าก่อนและหลังใช้โมเดลHydroscopic growth rated with one parameter เพื่อวิเคราะห์เชิงย้อนกลับของอิทธิพลของน้ำในอากาศในรูปแบบของอัตราส่วนสามารถทำให้ค่าMAE ลดลงได้ถึง34% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนน้อยลงของการตรวจวัดภายใต้ความชื้นในอากาศที่อยู่ในระดับสูงได้

       ต่อมาจึงนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบไม่เชิงเส้นชนิดดีกรีลำดับที่สี่หรือQuartic function  เนื่องจากความสามารถรองรับจำนวนจุดตัดของกราฟบนแกนx ที่เป็นตัวแทนของข้อมูลจากเครื่องมือFEM ใน1 ช่วงเวลาหนึ่งถึง4 จุด และรองรับจุดวิกฤติได้ถึง3 จุด ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการทำงานของเซ็นเซอร์PMS5003 เมื่อนำเอาข้อมูลความหนาแน่นฝุ่นPM2.5 เฉลี่ยรายชั่วโมงเปรียบเทียบกับเครื่องมือFEM พบว่า ประสิทธิภาพของวิเคราะห์การถดถอยแบบไม่เชิงเส้นชนิดดีกรีลำดับที่สี่ให้ผลลัพธ์RMSE = 8.3 โดยR2 = 0.93 เปรียบเทียบกับการใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงเส้นให้ค่าRMSE = 12.8 โดยR2 = 0.92

        เพื่อให้มีการนำเอาข้อมูลไปใช้ควบคู่กับข้อมูลของรถตรวจอากาศได้เร็วขึ้นจึงได้นำเอาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท2G ใช้เป็นช่องทางในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศของคณะสิ่งแวดล้อม ฯ และสามารถส่งออกข้อมูลออกข้อมูลผ่านเว็บไซด์

    https://en.mahidol.ac.th/enair/service

    การนำไปใช้งาน

        คณะได้ดำเนินการทดสอบการติดตั้งและการปรับแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดการณ์ในห้องทดลองและพื้นที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ในพื้นที่จังหวัดลำปาง จำนวน13 จุด และที่กาญจนบุรี จำนวน2 จุด จากการติดตั้งพบว่าข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์มีความสมบรูณ์ประมาณ75-80% จากความถี่การส่งข้อมูลทุกๆ20 นาที มีอุปกรณ์บางตัวหยุดทำงานเป็นช่วงๆ หรือบางตัวเซ็นเซอร์วัดความหนาแน่นฝุ่นทำงานผิดพลาด เป็นต้น

    จังหวัดลำปาง

        โดยสถานที่ติดตั้งทางคณะได้เลือกเป็นสถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นหลักเนื่องจากเป็นที่ชุมชน และมีความเสี่ยงในการสัมผัสฝุ่นสูงกว่าสถานที่อื่นๆ

    จังหวัดกาญจนบุรี

    โครงการนี้แตกต่าง และมีเอกลักษณ์จากคนอื่นอย่างไร

        เป็นการสร้างโมเดลคณิตศาสตร์เพื่อช่วยลดความคลาดเคลื่อนการวัดของอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นระดับPM2.5 ที่พัฒนาขึ้นมีความแตกต่างจากการอุปกรณ์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีปรับแก้ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ที่แบ่งตามระดับความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงที่กำหนด และประมาณค่าจากการใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นด้วยการเพิ่มปัจจัยระดับความชื้นสัมพัทธ์เข้าไปในการวิเคราะห์ ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่พัฒนาขึ้น โดยใช้โมเดลคณิตศาสตร์คำนวณความหนาแน่นฝุ่นจากอัตราขยายตัวของมวลฝุ่นละอองที่ทำให้ความหนาแน่นฝุ่นเพิ่มมากกว่าที่ควรจากการดูดซึมความชื้นในอากาศเข้าไป และเมื่อใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ถดถอยแบบไม่เชิงเส้นแบบดีกรีสี่ ทำให้ค่าคาดการณ์ที่วัดได้มีความใกล้เคียงกว่าการใช้วิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงเส้น โดยมีผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับเครื่องวัดฯBAM1020 ซึ่งผลทดสอบให้ค่าR2 > 92% และค่าRMSE ~8.3 µg/cu.m ในระดับความชื้นฯ40-95%

    ส่งผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก อย่างไร

    มีความตื่นตัวในเรื่องของฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ที่มากับปัญหาสุขภาพในระยะยาว

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    11

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    3, 13

    รูปภาพประกอบ

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    การพัฒนาอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่น PM2.5 ต้นทุนต่ำ มีความถูกต้องสูง และสามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ จะช่วยให้มีเกิดความสนใจภัยที่มากับฝุ่นPM2.5 ซึ่งใช้ระยะเวลานานในการแสดงอาการ ในการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเสี่ยงจากPM2.5

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    ยุทธศาสตร์ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    -

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.4

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การประเมินทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา จังหวัดพิจิตร

    Alternative evaluation on land use management to cope with climate change: a case study in Phichit Province

    แหล่งทุน

    เงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รองศาสตราจารย์ ดร. นพพล อรุณรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

    งานวิจัยนี้มุ่งเน้นค้นหารูปแบบการจัดการ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ค้นหาระบบการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมถึงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดดวามสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    1) เพื่อค้นหารูปแบบระบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมะสมสำหรับปลูกข้าว

    2) เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของระบบการปลูกพืช

    3) เพื่อประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร

    4) เพื่อเสนอแนะแนวทำงกำรปรับตัวที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน

    การดำเนินการ

    1) การค้นหารูปแบบระบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว โดย

    ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ 2) ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของระบบการปลูกพืช โดยใช้หลักการของ Life cycle assessment of greenhouse gas emission (LCA-GHG) แบบCradle to gate เพื่อ

    ประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนของเกษตรกร เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 3) ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร โดยใช้

    แบบจำลอง Environmental Policy Integrated Climate (EPIC) version 0810 เพื่อประเมินผลผลิตพืช และ ใช้โปรแกรมCROPWAT 8.0 เพื่อคำนวณวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ และ 4) เสนอแนะแนวทางการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดพิจิตร

    ผลการดำเนินงาน

    การศึกษานี้แนะนำรูปแบบการปลูกข้าว 3 รอบ ในเขตพื้นที่ชลประทาน ใน

    ขณะเดียวกัน ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน แนะนำให้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียวหลังจากการปลูกข้าวรอบที่หนึ่ง (ข้าวนาปี)

    อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การเปลี่ยนจากการปลูกข้าวเป็นการปลูกมันสำปะหลัง หรือการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละสองครั้ง เป็นทางเลือกที่ดีสาหรับเขตพื้นที่นอกเขตชลประทานเช่นกัน

    การนำไปใช้ประโยชน์

     

    มีผลงานตีพิมพ์

    1) Arunrat, N., Sereenonchai, S., Chaowiwat, W., Wang, C., Hatano, R. 2022.Carbon, Nitrogen and Water Footprints of Organic Rice and Conventional Rice Production over 4Years of Cultivation: A Case Study in the Lower North of Thailand. Agronomy, 12(2), 380.doi:10.3390/agronomy12020380

    2) Arunrat, N., Sereenonchai, S., Chaowiwat, W., Wang, C. 2022.Climate change impact on major crop yield and water footprint under CMIP6climate projections in repeated drought and flood areas in Thailand. Science of the Total Environment. 807, 150741.doi: 10.1016/j.scitotenv.2021.150741

    3) ผลิตนักศึกษาในโครงการ น.ส.ณฏวรรณ หวันวิเศษ (6337852 ENAT/M)

    ระดับปริญญา: วท.ม. (เทคโนโลยีที่เหมาะสม และ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม)

    หัวข้อวิทยานิพนธ์: ASSESSMENT OF CARBON FOOTPRINT, WATER FOOTPRINT, COST AND RETURN OF ORGANIC RICE BASED ON CIRCULAR ECONOMY AND ORIGINAL ORGANIC RICE

     

    Abstract

    The objectives of this study are: 1)explore the suitable cropping system for unsuitable areas for rice cultivation using survey research; 2)evaluate carbon footprint, and cost and benefit of each cropping system using life cycle assessment of greenhouse gas emission (LCA-GHG) (Cradle to gate method); 3)assess the impact of climate change on farmers' adaptation approaches using a model Environmental Policy Integrated Climate (EPIC) version 0810 for estimating crop yields, and CROPWAT 8.0 for calculating water footprint; and 4)to propose the effective adaptation approaches to support decision-making in Phichit Province.

     

    Based on the field survey, there are 7 cropping systems that can cope with climate change: 1)planting rice three times per year (RRR); 2)planting rice two times per year (RR); 3)planting rice once a year and planting maize (RM); 4)planting rice once a year and planting soybeans (RS); 5)planting rice once a year and planting mung beans (RB); 6)Planting maize twice a year (MM) ;and 7)Planting cassava (CS). The carbon footprint intensity of organic rice was 0.34 kg CO2eq per kg of rice yield, which is less than conventional rice cultivation (carbon footprint intensity = 0.57 kg CO2eq per kg of rice yield). The total water footprint of conventional rice cultivation was 1,470.1 m3/ton, which was higher than organic rice (1,216.3 m3/ton). Under climate change scenarios, rice yields of RRR in irrigated area were expected to increase gradually in 3periods under SSP245, whereas they were predicted to slightly increase under SSP585.On the other hand, RR system was expected to decline in first rice (6.0-14.4 %)and second rice (7.4-17.7 %)under SSP585.Concerning planting maize, soybean and mung bean instead of the second rice, yields were predicted to have less impact under future climate change, especially mung bean. It was predicted that mung bean yield will increase slightly at all period under both the SSP245 and SSP585 scenarios. Moreover, switching from planting rice to be planting maize twice a year and cassava were expected that yields may not decline under future climate change. This study recommends an RRR cropping system in irrigated areas, while growing maize, soybean, or mung bean after the first rice crop is recommended for the rain-fed area. Alternatively, switching from growing rice to cassava or growing maize twice per year is a good option for the rain-fed area

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    การค้นหาแนวทางในการทำการเกษตรที่ยั่งยืน ด้วยการประเมินประสิทธิภาพของ

    รูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค้นหาระบบการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมถึงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตจึงเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อสนับสนุนการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีผลตอบแทนที่เพียงพอจะทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิต

    และประกอบอาชีพการเกษตร สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ (ภัยแล้ง และน้ำท่วม)

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน

    - ประโยชน์จากการค้นพบรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม และแนวทางในการส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่

    - ประโยชน์จากการค้นพบแนวทางการปรับตัวในการลดผลกระทบต่อน้ำท่วมและภัยแล้ง จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและจูงใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภำพมำกยิ่งขึ้น

    ระดับประเทศ

    - ประโยชน์จากการค้นพบระบบการปลูกพืชที่มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นต์น้อย และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างการเพิ่มผลกำไรให้กับเกษตรกรและการรักษาระบบนิเวศโดย

    การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน และผลจากประมาณการณ์ประสิทธิภาพของระบบการปลูกพืชทางเลือกในอนาคต ช่วยในการกำหนดวางแผนในอนาคต เช่น แนวทางลดการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบ ลดกำรใช้พลังงานในการผลิต ลดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และพัฒนำกลไกกำรผลิตที่สะอาด เป็นต้น

    - เป็นต้นแบบการเรียนรู้การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตสู่พื้นที่อื่นๆ

     

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    2, 15

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

    การค้นหาแนวทางการทำการเกษตรที่ยั่งยืน และสนับสนุนการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมด้วยการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเกษตรและรักษาสิ่งแวดล้อม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    กรมพัฒนาที่ดิน

    กรมส่งเสริมการเกษตร

    กลุ่มเกษตรกร อ.สามง่าม อ.ตะพานหิน อ.วังทรายพูน อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง อ.ดงเจริญ และ อ.ทับคล้อ

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.3, 2.5.1, 2.5.2

  • การพัฒนากลไกสร้างแรงจูงใจการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว:
    การประเมินเชิงบูรณาการ กรณีศึกษา จ.พิจิตร
    (Developing incentive mechanisms to reduce greenhouse gas emissions of rice paddies: An integrated Assessment Approach in Pichit province)

    แนวทางเลือกของระบบการปลูกพืช ควรสนับสนุนระบบการปลูกพืชแบบสามครั้ง สำหรับพื้นที่ชลประทาน ซึ่งแนะนำให้ปลูกถั่วเขียวหรือแตงโม หลังการเกี่ยวเก็บผลผลิตข้าวนาปีและนาปรัง โดยเฉพาะระบบการปลูกพืชแบบนาปี-นาปรัง-ถั่วเขียว ซึ่งมีค่า B/C ratio เท่ากับ 1.29 (ผลตอบแทนสุทธิ 13,038 บาท/เฮกแตร์/ปี) โดยมีการปลดปล่อย CO2, N2O และ CH4 ประมาณ 0.208, 0.230 และ 0.734 kgCO2eq/kgyield ตามลำดับ สำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน ควรสนับสนุนให้ทำการเกษตรแบบปลูกพืชสองครั้ง โดยการปลูกถั่วเขียว หลังการเกี่ยวเก็บผลผลิตข้าวนาปี จะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง โดยมีค่า B/C ratio เท่ากับ 1.34 (ผลตอบแทนสุทธิ 10,044 บาท/เฮกแตร์/ปี) โดยมีการปลดปล่อย CO2, N2O และ CH4 ประมาณ 0.183, 0.257 และ 0.310 kgCO2eq/kgyield ตามลำดับ พืชหมุนเวียนลำดับต่อไปที่ควรสนับสนุน คือ ข้าวโพด และ ถั่วเหลือง ตามลำดับ มาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจควรดำเนินการ 3 มาตรการ ดังนี้คือ 1) การให้เงินชดเชยเพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตร 2) การอุดหนุนเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะด้านเมล็ดพันธุ์และการดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตร และ 3) สนับสนุนการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการเกษตร โดยขุดสระน้ำ และเจาะบ่อบาดาล ในแปลงนาของเกษตรกร หรือ แหล่งน้ำสาธารณะในชุมชน

    The choice of cropping systems should support three times. For irrigation, it recommended plant green beans or melons after harvest major rice and second rice. The cropping system is major, second rice and green beans with the B / C ratio of 1.29 (13,038-baht net profit / ha / year), with the release of CO2, N2O and CH4, about 0.208, 0.230 and 0.734 kgCO2eq / kg. yield, respectively. For non-irrigated areas encourage farming crops twice. By planting green beans after the major rice harvest. It is worth a high economic, with the B / C ratio of 1.34 (net profit 10,044 Baht / ha / year), with the release of CO2, N2O and CH4, about 0.183, 0.257 and 0.310 kgCO2eq / kg. yield, respectively. Other types of crop rotation in order to further recommend is corn and soybean, respectively. Measures to create incentives should perform three measures as follows, 1) providing compensation to farmers modify of agriculture, 2) subsidies to help reduce production costs, especially seed and implementation of modify of agriculture, and 3) encourage the development of water systems such as digging ponds and drill wells, in the field of farmers or public water supply in the community.

    ที่มา การพัฒนากลไกสร้างแรงจูงใจการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในนาข้าว:
    การประเมินเชิงบูรณาการ กรณีศึกษา จ.พิจิตร โดย นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ และ นพพล อรุณรัตน์

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

    (Drought impact assessment on agricultural security in Mae Chang watershed Lampang province)

    แหล่งทุน

    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานร่วม

     

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร. สุระ พัฒนเกียรติ

    ผู้ดำเนินการร่วม

    พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

    คำอธิบาย

     

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินและคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งประเมินความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางเลือก เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จางอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

                ภาคเกษตรกรรมต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งซ้ำแล้วซ้ำอีกเกือบทุกปี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ตลอดจนการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรมและคาดการณ์สถานการณ์พื้นที่เปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคต พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือผลกระทบจากภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

                การประเมินผลกระทบของการเกิดภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง ผ่านวิธีการประเมินและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ การจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต การระบุปีที่เกิดเหตุการณ์แล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำโดยใช้ดัชนีความแห้งแล้ง Standardized Precipitation Index (SPI) รวมถึงประเมินปริมาณน้ำท่าและการขาดแคลนน้ำตามรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสภาพภูมิอากาศในอนาคต ตามแบบจำลองIntegrated Valuation of Ecosystem Services and Tradeoffs (InVEST) พร้อมทั้งการประเมินพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืช ตลอดจนการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะกับเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เหมืองแร่ และพื้นที่ชุมชนสิ่งปลูกสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพื้นที่ป่าผลัดใบลดลงจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จางจากปี พ.ศ. 2532 ถึง 2564 ส่วนการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2580 พบว่าการลดลงของพื้นที่ป่าผลัดใบยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม จากการวิเคราะห์ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จางจะมีความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้น ด้วยการระบุปีที่เกิดเหตุการณ์แล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำโดยใช้ดัชนี SPI ซึ่งค่าSPI คาบ 12 เดือน ในปีที่มีฝนตกน้อยที่สุดได้แก่ พ.ศ. 2558 2567 และ 2570 โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ที่เกิดภัยแล้งซ้ำซากในอดีต ปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว รองลงมาคือพืชไร่และไม้ยืนต้น

                ส่วนแบบจำลอง InVEST กรณีในปี พ.ศ. 2567 จะมีความแห้งแล้งปานกลางถึงมาก เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน และในปี พ.ศ. 2570 จะมีความแห้งแล้งมากที่สุดและต่อเนื่องยาวนาน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงธันวาคม ในส่วนการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกข้าวจากข้อมูลน้ำฝนปี พ.ศ. 2564-2580 พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพดินที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในทางกลับกันผลการประเมินความเหมาะสมของพืชเกษตรต่อสภาพพื้นที่จากการศึกษานี้ พบว่ามีพื้นที่ในหลายตำบลที่มีสภาพดินเหมาะแก่การปลูกไผ่ และพืชเกษตรอื่น ๆ ที่ใช้น้ำน้อย (300 – 700 ลบ.ม./ไร่/ฤดูกาลผลิต) อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำแม่จาง พบว่าร้อยละ 42 ได้รับผลกระทบมากจากภัยแล้งมาก

                ด้านข้อเสนอแนะพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อความมั่นคงด้านการเกษตรนั้นมีข้อจำกัดด้านอื่นที่ควรพิจารณาร่วมด้วยกันคือความคุ้มค่าในการลงทุนเช่นเดียวกันกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้แนวทางการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่ต้องมีความหลากหลาย ควรมีการผสมผสานพืชหลายชนิด ส่วนที่สำคัญคือการส่งเสริมการขยายผลวิจัยให้ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จะช่วยให้สามารถวางแผนเพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

                สำหรับหน่วยงานที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่

    1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 ได้ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ เชิงชุมชน และเชิงวิชาการ โดยข้อมูลจากงานวิจัยถูกใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำวัง คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดลำปาง และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค

    2. สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลำปาง ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและชุมชน โดยใช้ประโยชน์ในด้านการนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแผนเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านและแผนพัฒนาจังหวัดด้านสิ่งแวดล้อม                                                      

    3. โรงเรียนบ้านนาดู่ ใช้ประโยชน์ในเชิงชุมชน โดยนำเนื้อหาสาระไปใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตร สถานศึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำจาง ให้เยาวชนและชาวบ้านได้เกิดความตระหนัก ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและควรเกิดการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรในลุ่มน้ำจาง                                                              

    4. โรงเรียนแม่ทะพัฒนาศึกษา ใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ นำเนื้อหาสาระไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษารายวิชาเพิ่มเติมในส่วนของสาระท้องถิ่นของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำจาง ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำจางได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยแล้งในอนาคตและควรเร่งส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ                                                    

    5. โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและเชิงชุมชน โดยมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่1) ใช้ข้อมูลในการจัดทำนโยบายผลกระทบภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและนำองค์ความรู้สู่นักเรียน2) มีการเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้เรื่องผลกระทบภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรสู่ผู้ปกครอง และชุมชน                                     

    6. วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ เชิงพาณิชย์ เชิงชุมชน และเชิงวิชาการ โดยมีการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ 1) นำองค์ความรู้ไปสังเคราะห์เป็นนโยบาย เพื่อส่งเสริมพี่น้องสมาชิกและประชาชน เพิ่มการปลูกต้นไม้ไม่ผลัดใบ2) สมาชิก และประชาชน เปลี่ยนวิธีคิด และพฤติกรรมเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต 3) ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อรักษาความชื้นในระบบนิเวศ และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4) นำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมขน และสมาชิก 5) ต่อยอดงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมคุณภาพเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของสมาซิก และประชาชน

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    1, 2, 6

    Key Message

     

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งเสนอพืชทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวและลดผลกระทบจากภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    1. เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง

    2. สำนักงานเกษตรอำเภอแม่เมาะ

    3. สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ

    4. สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง

    5. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1

    6. สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลำปาง

    7. วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม

    8. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.2, 13.3.3, 2.5.1, 6.5.5

    กำหนดวันที่ในการแสดงผล

    วันเริ่มต้น

    วันสิ้นสุด

  • โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    หัวข้อ

    รายละเอียด 

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2564

    ที่มาและความสำคัญ:

    เป็นการฝึกอบรมให้ผู้ที่สนใจการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม” ซึ่งหน่วยงาน องค์กรต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นISO 14001, สำนักงาน สีเขียว (Green Office) เป็นต้น

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/th/RACEM

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ2304  โทรศัพท์มือถือ08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

      

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
    Royal initiative Project on the Study of Community Development towards Low carbon and Sustainable Community

    แหล่งทุน

    งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    (ชื่อหน่วยงาน)

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

    ผู้ดำเนินการหลัก

    (หัวหน้าโครงการ)

    รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล

    ผู้ดำเนินการร่วม

    (รายชื่อผู้ดำเนินงาน จากหน่วยงานภายนอก)

    นายวธัญญู วรรณพรหม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

     

    คำอธิบาย

    การศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ปัจจุบันชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงหันมาทำการเกษตรโดยอาศัยฐานความรู้ที่เหมาะสมภายใต้ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ เกษตรกรเลิกการปลูกฝิ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีสวนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้มูลนิธิโครงการหลวงได้มุ่งพัฒนาชุมชนพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในเชิงคุณภาพทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนระยะยาวและเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูง แม้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวงจะประสบผลสำเร็จในการทำให้เกษตรกรเลิกการปลูกฝิ่น หันมาประกอบอาชีพบนฐานความรู้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งมีการฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารดังกล่าว แต่ปัจจุบันมีปัจจัยภายนอกที่สำคัญคือ ความแปรปรวนของภูมิอากาศ หรือสภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อทั้งคน การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช ตลอดจนส่งผลต่อคุณภาพของดิน และการขาดแคลนน้ำ การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนในโครงการหลวงเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำให้เกิดความยั่งยืนในระยะต่อไป  ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ชุมชนในโครงการหลวงเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว และเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำบนพื้นที่สูง รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของการพัฒนาชุมชนในชนบทเพื่อเป็นชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญของการลดการปลดปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากการเน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นที่ผ่านมา ภายใต้หลักการของการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนโครงการหลวงเติบโตอย่างสมดุล สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และเกิดความยั่งยืนในที่สุด

    โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน มุ่งศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงเพื่อให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 2) ประเมินชุมชนโครงการหลวงในบริบทของชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 3) พัฒนาและยกระดับชุมชนโครงการหลวงให้เป็นต้นแบบของชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การสร้างมาตรฐานดังกล่าวใช้เทคนิคการวิจัย EDFR (The Delphi Ethnographic Delphi Futures Research) เน้นให้เกิดความสมดุลทั้ง 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ได้มาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน แบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่ 1) ด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) ด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ 3) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 4) ด้านความเข้มแข็งของชุมชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งกำหนดเป็นเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานดังกล่าวได้ 19 ข้อ 32 ตัวชี้วัด นำไปใช้ในการศึกษาและประเมินชุมชนโครงการหลวง 11 แห่ง 12 ชุมชน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ตามภูมิสังคมบนพื้นที่สูง ได้แก่ ชุมชนป่าเมี่ยง ชุมชนที่ปลูกข้าวเป็นหลัก และชุมชนที่มีฐานจากการปลูกฝิ่น จากผลการศึกษาพบว่าชุมชนโครงการหลวงทุกชุมชนสามารถเป็นชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงอื่นๆต่อไปได้ในอนาคต โดยชุมชนโครงการหลวงดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน แบ่งเป็น ระดับดีเยี่ยม จำนวน 11 แห่ง และระดับดีมาก จำนวน 1 แห่ง

    นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของชุมชนโครงการหลวงทั้ง 12 แห่ง ในปี พ.ศ. 2559 พบว่าปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของชุมชนโครงการหลวงเทียบต่อคนต่อปี มาจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งเกิดจากการขนส่งและเดินทางเป็นหลัก รองลงมาคือ จากพลังงานชีวมวลที่ชุมชนใช้ดำเนินชีวิตประจำวัน และพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในชุมชนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยที่สุด โดยค่าเฉลี่ยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของชุมชนโครงการหลวงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทย

    การศึกษาผลการยกระดับและปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงพบว่า สมาชิกในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเก็บกักก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ปล่อยออกสู่บรรยากาศอย่างต่อเนื่อง สมาชิกในชุมชนมีคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยที่ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษและผลกระทบที่จะเกิดกับโลกในอนาคต ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จัก สร้างชื่อเสียง และรายได้จากการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ อย่างไรก็ตามกิจกรรมที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ ส่งเสริมเกษตรกรให้น้ำพืชด้วยวิธีการแบบประหยัด ปรับปรุงฟาร์มปศุสัตว์ตามมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง ปรับปรุงกระบวนการจัดการขยะชุมชน และเพิ่มครัวเรือนให้ติดตั้งระบบบำบัดน้ำทิ้งหรือฟาร์มปศุสัตว์ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม

    นอกจากนี้ยังมีการจัดทำหนังสือเผยแพร่องค์ความรู้ ได้แก่ 1) กัมปนาท ภักดีกุล และ สยาม อรุณศรีมรกต. (2562) การพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนโครงการหลวงบนพื้นที่สูง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISBN 978-616-565-462-3. 2) กัมปนาท ภักดีกุล และ สยาม อรุณศรีมรกต. (2562) คู่มือการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยISBN 978-616-443-373-1.

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    (ใส่ได้ไม่เกิน 3SDGs)

    6, 12, 15

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

    การพัฒนาต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    https://www.royalprojectthailand.com/node/2841

    https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/54

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

     

    Partners/Stakeholders

    1) มูลนิธิโครงการหลวง

    2) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)    

    3) ชุมชนโครงการหลวง             

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.4, 13.3.2

     

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกลุ่มคัดเลือกและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดยโสธร และจังหวัดพัทลุง

    คำอธิบาย

     

    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    เนื้อหา MU-SDGs Case Study

    ข้าวเป็นสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นอาหารหลักของคนไทย การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตดีนั้นมีปัจจัยหลายประการ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน ปริมาณน้ำ เทคโนโลยี แต่ที่สำคัญที่สุด คือ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และได้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี และมักใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เองต่อเนื่องกันหลายปี ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบกับ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทเอกชนก็ยังไม่สามารถรับรองคุณภาพได้  การลงทุนสร้างโรงงานปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์หรือศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติม รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก

       งานวิจัยนี้ จึงมุ่งถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของYoung Smart Farmer และจัดทำคู่มือและสื่อInfographic สรุปองค์ความรู้การบริหารจัดการพันธุ์ข้าวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    คณะผู้วิจัยดำเนินงานด้วยการวิจัยเอกสาร ศึกษาบริบทชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มและถอดบทเรียนจากกลุ่มเกษตรกร 4 ภาค 4 จังหวัด 4 อำเภอ 4 ตำบล คือ ภาคเหนือ: ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่าง: ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และภาคใต้: ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผลการดำเนินงานที่สำคัญ พบว่า จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย เนื่องจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีคุณภาพ ประกอบกับราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวตามท้องตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ เกิดจากการตระหนักว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเริ่มสูญหายไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์และขยายพันธุ์สืบต่อไป เกษตรกรจะปลูกเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยาย ในช่วงฤดูฝน เกษตรกรจะมีการร่วมกันวางแผน หารือ และแลกเปลี่ยนปัญหาทั้งก่อนเพาะปลูกและระหว่างเพาะปลูก รวมถึงร่วมกันตรวจแปลงอย่างน้อย 3 ครั้ง ก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกๆ ขั้นตอนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    จุดเริ่มต้นของการสร้างกลุ่มและเครือข่าย Young Smart Farmer เกิดจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว และร่วมกันอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรจึงก่อตั้งกลุ่มโดยมีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และเกิดเครือข่ายของเกษตรกรที่มีเป้าหมายเหมือนกัน สำหรับการทำกิจกรรมกลุ่มหรือปรับตัวดำรงอยู่ คือ กลุ่มดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม เพื่อวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องการเมล็ดพันธุ์ ซึ่งในทุกๆ พื้นที่ จะมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านความรู้ เทคนิค ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว ปัจจุบันการสื่อสารเข้าถึงมากยิ่งขึ้นสมาชิกสามารถติดต่อกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ (LINE) หรือ เฟสบุ๊ค (Facebook) เพื่อร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่าย รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนภายนอกได้รู้กลุ่ม และเป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และผลผลิตทางการเกษตร การจัดทำคู่มือสรุปองค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ คู่มือนาแปลงใหญ่ฉบับชาวบ้าน มีขั้นตอนดังนี้ 1) ออกแบบเนื้อหา คำนึงถึงผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากคู่มือเป็นสำคัญ 2) ทดสอบความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย 3) ออกแบบรูปเล่มให้น่าหยิบ และน่าอ่าน 4) ผลิตและการเผยแพร่คู่มือสู่เกษตรกรในพื้นที่ศึกษาและหน่วยงานภาครัฐด้านการเกษตรในท้องถิ่นและส่วนกลาง การสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ เช่น รถเกี่ยวข้าว เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ และเครื่องอบข้าวเปลือกเพื่อลดความชื้น การสนับสนุนองค์ความรู้หรือเทคโนโลยี การจัดอบรมเสริมความรู้เกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย และการพัฒนาพันธุ์หลักให้กับเกษตรกร การพัฒนาการข้อมูลพยากรณ์อากาศในระดับท้องถิ่น และคืนข้อมูลการพยากรณ์อากาศให้กับเกษตรกรผ่านหลายช่องทาง เช่น สื่อสังคมออนไลน์ (Line กลุ่มเกษตรกร, Facebook กลุ่มเกษตรกร) การเพิ่มทักษะในด้านการผลิต และการตลาด ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจและไม่ส่งผลกระทบให้เกษตรกรรุ่นใหม่หันไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้นอกภาคการเกษตร

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    12

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    13 15

    Key Message

     

    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    http://www.thai-explore.net/search_detail/result/9555

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร อปท. และเกษตรกรในพื้นที่

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.1, 13.3.3, 13.3.4, 15.2.1, 15.2.5

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพารา ภาคตะวันออกของประเทศไทย

    “Greenhouse gases emissions and potential of carbon stock in rubber tree plantations in Eastern Thailand”

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชำติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ผศ.ดร. มณฑิรา ยุติธรรม

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ผศ.ดร. จิรทยา พันธุ์สุข คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ผศ.ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    นายตะวัน ผลารักษ์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ผศ.ดร. พงษ์เทพ หาญพัฒนากิจ  คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

    คำอธิบาย

     

    ประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดิน และมวลชีวภาพเหนือดิน พัฒนาสมการเพื่อคาดการณ์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกของต้นยางพาราจากค่าความสูงของลำต้นและพื้นที่การปกคลุมเรือนยอด ประเมินการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพาราและเสนอแนวทางการลดการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    1. เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดิน พื้นที่ปลูกยางพารา

    2. เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือดิน พื้นที่ปลูกยางพารา

    3. เพื่อประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน ในพื้นที่ปลูกยางพารา

    4. พัฒนาสมการเพื่อคาดการณ์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกของต้นยางพาราจากค่าความสูงของลำต้นและพื้นที่การปกคลุมเรือนยอด

    5. เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา

    6. เพื่อเสนอแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา

    การดำเนินการ

    สำรวจและวิเคราะห์คุณสมบัติของดินและประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดิน ส่วนการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ ได้ประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับในการประเมินมวลชีวภาพเหนือดินเปรียบเทียบข้อมูลกับวิธีการตรวจวัดแบบดั้งเดิมโดยใช้สมการอัลโลเมตริก (Allometric equation) และพัฒนาสมการเพื่อคาดการณ์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกของต้นยางพาราจากค่าความสูงของลำต้นและพื้นที่การปกคลุมเรือนยอด ส่วนการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเพาะปลูกยางพารา เพื่อเสนอแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเพาะปลูกยางพารา วิธีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดำเนินการด้วยวิธี 2006IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories

    ผลการดำเนินงาน

    ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2561 มีพื้นที่ปลูกยางพาราภาคตะวันออก 2,046,508 ไร่ มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินเท่ากับ 16.19 ล้านตันคาร์บอน ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ เท่ากับ 19.66 ล้านตันคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 944kgCO2eq/ไร่/ปี และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 1.93 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี ส่วนมาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกยางพาราที่สำคัญ คือ กำหนดให้พื้นที่รับซื้อยางพาราอยู่ใกล้เคียงชุมชนไม่เกิน 15 กิโลเมตร เปลี่ยนไปใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ในกระบวนการปลูกยางพารา

    การนำไปใช้ประโยชน์

    จัดทำรายการมาตรการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละกิจกรรมการปล่อยเพื่อจะนำมาวิเคราะห์และคัดเลือกกิจกรรมที่เหมาะสม โดยเปิดโอกาสให้มีการประชุมระดมสมองเพื่อพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่นต่อไป โดยกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์เป้าหมาย (Users) ได้แก่

    (1) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

    (2) การยางแห่งประเทศไทย

    (3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสวนยางพาราและเกษตรกรณ์ผู้ปลูกยางพาราในภาคตะวันออก

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

     

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อหาแนวทางสำหรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการปลูกยางพารา ลดต้นทุนการผลิต และนำไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อมูลของการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอนของยางพาราจากการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาเพื่อการจัดทำข้อมูลการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน และอาจจะเป็นแนวทางหนึ่งในการคิดคาร์บอนเครดิตซึ่งมีความป็นไปได้สูงเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการต่อรองทางการค้าในการลดภาวะโลกร้อน หรือ อาจผลักดันเข้าสู่ระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น และอาจจะไม่ใช่เฉพาะผู้ปลูกยางพาราเท่านั้น ในอนาคตยังสามารถขยายผลไปสู่ไม้เศรษฐกิจยืนต้นชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และลำไย เป็นต้น

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    -

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

    รูปที่ 1

    รูปที่ 2

    Key Message

     

    การประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพารา ภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    (1) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

    (2) การยางแห่งประเทศไทย

    (3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสวนยางพาราและเกษตรกรณ์ผู้ปลูกยางพาราในภาคตะวันออก

    (4) สำนักงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ในภาคตะวันออก

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.3

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดลำปาง

    Development of Particulate Matter 2.5 Forecast and Warning System in Lampang Province

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

    นายศิรสิทธิ์  วงศ์วาสนา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    นายวรงค์ บุญเชิดชู คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ดร.วารินทร์ บุญเรียม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    นายธีรวุฒิ ชิยานนท์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    คำอธิบาย

     

    การประเมินสถานการณ์ของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม

    และการพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 ทำให้สามารถใช้ข้อมูลในการแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    ปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคกลางบางพื้นที่ในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ซึ่งสาเหตุมาจากปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่ง ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากPM2.5 จะเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยโรคระบบทางเดินหายใจและโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือดเพิ่มขึ้นผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันจากการเผาไหม้ในจังหวัดลำปางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่จังหวัดลำปางมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ดำเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ 4 สถานี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมี 11 สถานี ดังนั้น โครงการการพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดลำปาง จึงมุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน (Hotspot) จากข้อมูลดาวเทียม 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5

    การดำเนินการ

    การประเมินสถานการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน (Hotspot) ใช้ข้อมูลดาวเทียม Landsat-8OLI และSentinel-2 ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีระดับรายละเอียดเพียงพอต่อการวิเคราะห์ข้อมูลให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลประเภทการใช้ที่ดินที่เกิดการเผาในพื้นที่และเป็นแหล่งกำเนิด PM2.5 รวมทั้งพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของPM2.5

    ผลการดำเนินงาน

    ผลการศึกษาสถานการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อนจากข้อมูลดาวเทียม พบว่า จุดความร้อนจากระบบVIIRS พบสูงที่สุดในช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะเดือนมีนาคม ซึ่งสอดคล้องกับค่าPM2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ สำหรับอำเภอที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดคือ อำเภอเถินและอำเภองาว ทั้งนี้ การใช้ที่ดินที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดคือป่าผลัดใบ รองลงมาคือพืชไร่ สำหรับการเผาในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พบว่า อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนและอุทยานแห่งชาติแม่วะ มีจุดความร้อนเฉลี่ยรายปีสูงที่สุด ส่วนป่าสงวนแห่งชาติแม่มอกและป่าแม่งาวฝั่งขวา พบจุดความร้อนสูงที่สุด

    ผลการศึกษาการพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 พบว่า การพัฒนาแบบจำลองกำลังสองจากข้อมูลHimawari-8 AOD มีประสิทธิภาพสูงที่สุด การพัฒนาแบบจำลองการการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุจากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาร่วมกับHimawari-8 AOD ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับแบบจำลองจากHimawari-8 AOD การพัฒนาแบบจำลองการถดถอยการใช้ที่ดินทำให้ได้แบบจำลองที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยมีค่าLOOCV Adjusted R2 เท่ากับ 54% และมีค่าLOOCV RMSE เท่ากับ 5.00 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

    ผลการศึกษาการพยากรณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 ล่วงหน้า ได้แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ในการใช้ข้อมูลพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในอนาคต มาใช้ในการพยากรณ์การแพร่กระจายเชิงพื้นที่ของPM2.5 ได้เช่นกัน

    การนำไปใช้ประโยชน์

    อบจ.ลำปาง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำข้อมูลบริเวณที่พบจุดความหนาแน่น ไปใช้ประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชน เพื่อลดปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่ง

     

    Abstract

    The Development of Particulate Matter 2.5 Forecast and Warning System in Lampang Province project has two objectives: 1) to assess the situation and sources of PM2.5 distribution; 2) to develop a spatial model to assess and predict the distribution of PM2.5 concentration.

     

    The result of this study on sources and distribution of PM2.5 concentration revealed that the hotspot from the VIIRS sensor was highest during the dry season, especially March. This corresponds to the PM2.5 concentration data from the Pollution Control Department. The districts with the highest hotspots were Thoen and Ngao. The hotspots were mostly found in deciduous forests, followed by field crops. For burning in the protected forest area, it was found that Chae Son National Park and Mae Wa National Park have the highest average annual hotspots. Mae Mok National Reserved Forest and the east part of Mae Ngao Forest found the highest hotspots.

     

    The results of spatial model development study to assess and predict the spread of PM2.5 showed that the development of a quadratic model based on Himawari-8 AOD data was the most effective. The development of multiple linear regression model from meteorological data in conjunction with Himawari-8 AOD resulted in a 6% efficiency improvement compared to the model from Himawari-8 AOD. The most efficient model was the Land Use Regression model with LOOCV Adjusted R2 equal to 54% and LOOCV RMSE equal to 5.00 μg/m³.

     

    The results of PM2.5 distribution forecasting have further demonstrated the feasibility of utilizing weather forecast data from the Thai Meteorological Department, as well as projections of land use changes, to predict the spatial distribution of PM2.5.

     

    Policy recommendation for government agencies and communities is the monitoring of fire hot spots resulting from open burning, particularly in a) deciduous forest and field crops, especially in Thoen, Ngao, and Chae Hom, b) the conserved forest areas that comprise Chae Son National Park, Mae Wa National Park, and Doi Chong National Park, and c) the national reserved forests encompassing Mae Mok Forest Reserve, Right Mae Ngao Forest Reserve, Mae Suk and Mae Soi Forest Reserve, d) areas falling under the jurisdiction of the Agricultural Land Reform Act, and e) roadside areas along highways, predominantly exhibiting burning activities within forest areas. These areas hold significant importance as targets for the prevention and mitigation of smog and forest fire issues in Lampang province.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการประเมินสถานการณ์ของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน และการพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับคาดการณ์การแพร่กระจายของPM2.5 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมประเภทวงโคจรค้างฟ้า  

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    สถานการณ์แหล่งกำเนิดของ PM2.5 จากจุดความร้อน และแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของPM2.5 จะทำให้การติดตาม ประเมิน และคาดการณ์การแพร่กระจายของPM2.5 ในจังหวัดลำปางเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถใช้แจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    11

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    13

    รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

     

    รูปหน้ารายละเอียด

    การประเมินหาแหล่งกำเนิด PM2.5 ที่เกิดจากการเผาไหม้จากการใช้ที่ดินในจังหวัดลำปาง

    การประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จาก AOD บริเวณจังหวัดลำปาง

    Key Message

     

    การประเมินสถานการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน (Hotspot) โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม และพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จะทำให้สามารถใช้ข้อมูลแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในจังหวัดลำปาง

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.3, 13.3.4

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การเพิ่มประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

    The increasing efficiency in the application of Green Office standards of government offices, state enterprises and educational institutions for reducing greenhouse gases (GHGs) in Thailand

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รองศาสตราจารย์ ดร. สยาม อรุณศรีมรกต

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

     

    การสร้างองค์ความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานสีเขียว  34 หน่วยงาน จากสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยดำเนินการถ่ายทอดให้ความรู้ สร้างความรู้ ศึกษาปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานจากการนำเกณฑ์สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ และสร้างตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของสำนักงานสีเขียวที่สำเร็จแล้ว

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    1. สร้างทัศนคติ มุมมอง และความตระหนักด้านสำนักงานสีเขียวให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงาน พร้อมทั้งสร้างกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

    2. ลดการใช้ทรัพยากร และลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

    3. เพื่อสร้างตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของสำนักงานสีเขียวที่สำเร็จแล้วของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

    การดำเนินการ

    1. การสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยสร้างทัศนคติ มุมมอง และความตระหนักด้านสำนักงานสีเขียวให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงาน พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และติดตามการดำเนินงานจากองค์ความรู้ที่สร้างขึ้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือในส่วนของผู้บริหาร โดยติดตามผ่านการส่งรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารทุกไตรมาส และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม โดยคณะผู้ศึกษาวิจัยจะจัดทำเครื่องมือแบบรายงาน และส่งแบบรายงานให้สำนักงานรายงานข้อมูลการดำเนินงาน ทุกๆ 6 เดือน

    2. ศึกษาปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานทั้ง 30 แห่ง เพื่อกำหนดมาตรการในการลดการใช้พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปยังสำนักงานอื่นๆต่อไป

    3. สร้างตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของสำนักงานสีเขียวที่สำเร็จแล้วของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากยิ่งขึ้น

    ผลการดำเนินงาน

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

     

    มีผลงานตีพิมพ์

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

     

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับหน่วยงาน

    - มีความร่วมมือในการลดใช้ทรัพยากรสำนักงาน ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง และลดการใช้ทรัพยากร

    ระดับประเทศ

    - พัฒนากลไกการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Office)ได้อย่างเป็นรูปธรรม

    - ส่งเสริมการลดงบประมาณขององค์กรด้านทรัพยากรพลังงานและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    11

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

    ตามไฟล์แนบ

    Key Message

     

    การเพิ่มประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office)ของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจสีเขียว และเพิ่มศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล / สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา / สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) / คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ /มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ /  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร / วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์/ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร/ วิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา /  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา / วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา / วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี / สวนสัตว์เชียงใหม่

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.3

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    โครงการรัฐสภาสีเขียว: เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    Green Parliament: A Way towards Sustainable Development with Sufficiency Economy Concept

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ผศ.ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน

    ดร.ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์

    คำอธิบาย

    โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบาย และยุทธศาสตร์ สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ภายใน พ.ศ. 2573 โดยประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) และเพื่อพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กรสำหรับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของรัฐสภา รวมทั้งยังสามารถช่วยประเมินผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการเป็นสำนักงานสีเขียว เนื่องจากชุดข้อมูลดังกล่าวมีการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว การดำเนินการโครการนี้ จะสนับสนุนให้รัฐสภาเป็นแบบอย่างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานอื่นในประเทศให้ ความร่วมมือส่งเสริมการเป็นองค์กรที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน โดยสนับสนุนการดำเนินยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    1) เพื่อพัฒนานโยบาย และยุทธศาสตร์ สู่รัฐสภาสีเขียวที่ยั่งยืน ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ครอบคลุม มิติสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พิจารณาการดำเนินการในระยะถึง ปี 2573

    2) เพื่อพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐาน ตัวชี้วัด รวมทั้งเป้าหมายสำหรับติดตามและประเมินผลการ ดำเนินงานสู่ความยั่งยืนของรัฐสภาไทย สอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้น และ การขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการเป็นสำนักงานสีเขียว

    3) เพื่อสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร (Intranet) อำนวยความสะดวก เจ้าหน้าที่ในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ตามชุดข้อมูลพื้นฐาน ตัวชี้วัด และเป้าหมาย สู่ รัฐสภาสีเขียวที่ยั่งยืน

    การดำเนินการ

    1) การรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และ ฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรที่ผ่านมา เพื่อคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อ้างอิง IPCC 2019 2) การจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และเป้าหมายการเป็นรัฐสภาสีเขียวที่ยั่งยืน ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบสอบถาม 2.1) การจัดทำการประเมินความสำคัญและผลกระทบจากการดำเนินนโยบาย ด้วย แบบสอบถามประเมินองค์กร 2.2) การประเมินสภาวะปัจจุบัน (Baseline) เพื่อให้ทราบถึงความพร้อม โดยนำข้อมูลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของGreen Office การลงพื้นที่รัฐสภา และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ประเมินเทียบกับเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ อาทิLEED เกณฑ์ อาคารเขียวของTGBI และGreen office 3) การจัดทำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร (Intranet) 4) การจัดอบรมให้ความรู้

    ผลการดำเนินงาน

    1) การประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรัฐสภาในระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ.2564 มี แนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นจากปี พ.ศ.2562 เนื่องจากรัฐสภาแห่งใหม่เริ่มเปิดการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบส่งผลให้ มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างมากในแต่ละปี ทำให้เกิดความน่าเป็นห่วงถึงสถานการณ์การใช้พลังงาน ซึ่งควรมีมาตรการในการลดการใช้พลังงานอย่างเร่งด่วน

    2) การประเมินเทียบกับเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ ประกอบด้วย เกณฑ์อาคารเขียวของต่างประเทศ ซึ่งได้แก่LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) เกณฑ์อาคารเขียวไทยของTGBI และการประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) จากการประเมินคณะผู้วิจัยได้ระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาและเสนอแผนการดำเนินงาน สู่รัฐสภาสีเขียวที่ยั่งยืน ในระยะ10 ปี แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยหากนำแผนดำเนินงาน ดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับการดำเนินการตามรายละเอียดในข้อกำหนดของ แต่ละเกณฑ์การประเมินจะสามารถขอรับรองอาคารเขียวทั้ง3 เกณฑ์ ภายในปี2573 ได้

    3) คณะผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลในระบบ Intranet โดยพัฒนาขึ้นเพื่อให้บุคลากรในรัฐสภา สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและสร้างฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรให้มีความถูกต้องและต่อเนื่อง ตลอดจนสามารถวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มการใช้ทรัพยากรขององค์กร เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืนขององค์กรได้

    4) การอบรมจำนวน 2 ครั้ง ใน รูปแบบออนไลน์ จากผลการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม พบว่า เมื่อผ่านการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

     

    มีผลงานตีพิมพ์

     

    Abstract

    Thai parliament is a national legislative body with duty of law enactment for country administration. When the body can be a good example as a successfully sustainable body, it can encourage other organizations to follow the success via adoption of sustainable development concept. The objective of this research is to develop policy and strategy for Thai parliament in enhancement to achieve United Nations’ Sustainable Development Goals (SDGs) by 2030. The development was based on sufficiency economy philosophy and to establish intranet system to facilitate collection of any information or activity contributing to sustainable development of the Thai parliament. In this research, in-depth interview and questionnaire survey were conducted to gather perception on sustainable development and knowledge of 20 executives and 443 parliament’s personnel, respectively. In addition, a comparative study on current baseline, Leadership in Energy & Environmental Design (LEED), Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainability (TGBI) and Thai’s Green Office were performed in order to provide suggestion on how to satisfy the standards to be a green building by establish a 10-year plan to achieve green parliament goal in 2030 which could be applied in annual action plan together with implementation in requirements of each standard. Moreover, Intranet system has been established in order to gather data and evaluate performance to achieve a sustainable green parliament goal. According to the 2019 Intergovernmental Panel on Climate Change method, it was found that the greenhouse gas has emission of Thai parliament tended to increase across 2019, 2020 and 2021 with magnitude of 5,112 tonCO2-eq, 9,843 tonCO2-eq and 14,018 tonCO2-eq, respectively, based on consumption of water, power and paper.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบาย และ ยุทธศาสตร์ สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ภายใน พ.ศ.2573 โดยประยุกต์ใช้ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่9 และเพื่อพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กรสำหรับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของรัฐสภา

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน ควรพิจารณามีการร่วมมือกับชุมชนโดยรอบ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนการเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดับหลังจากการดำเนินงานของ หน่วยงานภายในสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ระดับประเทศเป็นแบบอย่างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานอื่นในประเทศให้ ความร่วมมือส่งเสริมการเป็นองค์กรที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน โดยสนับสนุนการดำเนินยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

    ระดับโลก เสริมสร้างสัตยาบันในระดับนานาชาติ สามารถนำเสนอผลความสำเร็จการริเริ่มการเป็นรัฐสภาสีเขียวที่ ยั่งยืนสู่เวที และนานาชาติได้ในอนาคต

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    12

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

    ตามไฟล์แนบ

    Key Message

    การส่งเสริมรัฐสภาไทยให้เป็นองค์กรต้นแบบ สร้างความตระหนัก ความสำคัญ และ ส่งเสริมการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ (DGs) ภายใน พ.ศ. 2573 โดยประยุกต์ใช้ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9”

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    https://mahidol.ac.th/th/2023/mahidol-parliament-meeting/

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.3

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศต่อสัณฐานวิทยาของไซเลมตลอดฤดูกาลเติบโต: ข้อมูลเชิงลึกจากกายวิภาคของวงปีไม้ในระยะยาวในไม้สนเขตร้อนชื้นของประเทศไทย

    Climate influence xylem morphogenesis over the growing season: Insights from long term intra-ring anatomy in two tropical pines species, Thailand

    แหล่งทุน

    กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

    ป่าฝนเขตร้อนถูกคุกคามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้จะศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคของในลำต้นของต้นสนเขตร้อน ประเมินการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของปัจจัยแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์ที่สังเกตจากวงปีไม้สน รวมถึงวิเคราะห์ค่าออกซิเจนไอโซโทปในเซลลูโลสของไม้ และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าออกซิเจนไอโซโทปกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อที่จะประเมินให้ชัดเจนขึ้นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อต้นไม้ ป่าไม้ วัฏจักรชีวเคมี อย่างไร

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศป่าเขตร้อนชื้น (tropical forest) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นปอดของโลก การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบในแต่ละชนิดต้นไม้และผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศระยะยาวมีการวิจัยน้อยมากในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวหรือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อกระบวนการต่างๆในการสร้างเนื้อไม้ (xylogenesis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัณฐานวิทยาของไซเลมและกิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญ (cambial activity) เนื่องจากเนื้อไม้เป็นส่วนที่สะสมมวลชีวภาพมากที่สุด (carbon sequestration) นอกจากนี้ ต้นไม้ที่อายุแตกต่างกันอาจตอบสนองปัจจัยสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

     

    การศึกษานี้จะศึกษาไม้สนสองใบและสามใบในพื้นที่ป่าสนตามธรรมชาติ เพื่อศึกษาทั้งขนาดความกว้างวงปีสัณฐานวิทยาของไซเลมและโครงสร้างกายวิภาคของไม้สนทั้งสองชนิด ประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของปัจจัยแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์ที่สังเกตจากวงปีไม้สน นอกจากนี้ การติดตามกิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญ (cambial activity) จะดำเนินการโดยการติดตามกิจกรรมแคมเบียมต่อเนื่อง 3 ปี ประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัยนี้คือข้อมูลที่ชัดเจนด้านการเก็บกักคาร์บอนไดออกไซต์ในป่าเขตร้อนชื้น การเลือกปลูกไม้ให้เหมาะสมกับสภาพป่าฟื้นฟูและการสนับสนุนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ป่าไม้

     

    การดำเนินการ

    การศึกษากิจกรรมของแคมเบียมในไม้สนเขตร้อนของประเทศไทยโดยพื้นที่ศึกษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก อุทยานแห่งชาติขุนตาล จังหวัดลำปาง สถานีวนวัฒนวิจัยแม่สะนาม และสวนป่าดอยบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเก็บตัวอย่างแคมเบียม ตัดตัวอย่างด้วยเครื่องไมโครโทมที่ความหนา 15-20 ไมโครเมตร ทำการตรวจวัดกิจกรรมแคมเบียมและการพัฒนาของเนื้อไม้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์กับสภาพอากาศโดยใช้สถิติความสัมพันธ์เพียร์สัน

     

    กายวิภาคของไซเลมในไม้สนทำการศึกษาโดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงซิงโครตรอน ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของทราคีค (tracheid)  หรือ เส้นผ่านศูนย์กลางลูเมน (lumen) และความหนาของผนังเซลล์ (cell wall thickness) จะเลือกทำการวัดจำนวน 10 แนว ของแต่ละวงปี โดยใช้โปรแกรมImageJ และใช้เทคนิคการdetrending เพื่อปรับข้อมูลที่อาจมีผลมาจากสรีระของต้นไม้ออกไปและสร้างเส้นดัชนีของแต่ละตัวแปรเพื่อนำไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับสภาพอากาศใช้สถิติความสัมพันธ์เพียร์สัน

     

    ผลการดำเนินงาน

    กายวิภาคของไซเลมในไม้สนพบว่า อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดมีอิทธิพลต่อกายวิภาคของไม้สนสามใบ  ส่วนกิจกรรมแคมเบียมและการพัฒนาของเนื้อไม้ในไม้สนเขตร้อนมีความสัมพันธ์กับสภาพอากาศ กิจกรรมของแคมเบียมในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงพักตัวของเซลล์แคมเบียม ดังนั้นแคมเบีนมจึงไม่มีการแบ่งเซลล์ และสร้างเนื้อไม้

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

     

    ผลงานตีพิมพ์

    Pumijumnong, N.; Muangsong, C.; Buajan, S.; Songtrirat, P.; Chatwatthana, R.; Chareonwong, U. Factors Affecting Cambial Growth

    Periodicity andWood Formation in Tropical Forest Trees: A Review.

    Forests 2023, 14, 1025. https://doi.org/10.3390/f14051025

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    การศึกษาปริมาณออกซิเจนไอโซโทปจากเซลลูโลสวงปีไม้สนในไม้ต้นฤดู ไม้ปลายฤดู และทั้งวงปีไม้ซึ่งจะบันทึกความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันยังมีการศึกษาค่อนข้างน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย จึงมีความสำคัญเพื่อติดตามผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปกับการตอบสนองของต้นไม้ในเขตร้อนชื้น

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    เกิดผลกระทบระดับประเทศ ได้ข้อมูลเป็นแนวคิดเชิงนโยบายหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ของประเทศไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางของคาร์บอน (carbon neutrality) ของประเทศต่อไป

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    15

     

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    การศึกษาไม้สนสองใบและสามใบในพื้นที่ป่าสนตามธรรมชาติเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อต้นไม้ ป่าไม้ วัฏจักรชีวเคมี

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    -

  • อบรมเชิงปฏิบัติการ “การประยุกต์เทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลและภูมิสารสนเทศเพื่อการสำรวจและจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร”

    ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้มีความรู้และทักษะการประยุกต์เทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกลและภูมิสารสนเทศเพื่อการสำรวจและจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร รวมถึงเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาและตัวอย่างที่ดีด้านการสำรวจและจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร และเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในด้านดังกล่าว การอบรมจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 - 23 กรกฏาคม 2563 โดยมีบุคลากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมจำนวน 24 คน ณ ห้องบรรยาย 4114 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล
    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล

     

  • SDG13

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    13 (Target 13.3: Indicator 13.3.1)

    ชื่องานวิจัย:

    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (สำหรับบุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) (A Beginner Workshop on the Application of Information Technology for Environment and Resource Management (Open to Public and Relevant Organizations))

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

    ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

    ที่มาและความสำคัญ:

    ปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน และได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านที่ดิน ด้านการใช้ที่ดิน ด้านผังเมือง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการเกษตร ด้านป่าไม้ ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร เป็นต้น

    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (สำหรับบุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง )มุ่งหวังที่จะถ่ายทอดแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น ให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้อง

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    ภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในภาคกลางและภาคตะวันตก ระหว่างองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    สทอภ.

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สทอภ. หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชนในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย

    ระดับความร่วมมือ:

    ระดับภูมิภาค

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไปประยุต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านประชากรและสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และด้านการจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    http://gistmu.mahidol.ac.th/

    รูปภาพประกอบ:

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ:

    9 15 17

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.