• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการปรับปรุงดัชนีความเปราะบางจากภัยแล้ง และพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม

โครงการปรับปรุงดัชนีความเปราะบางจากภัยแล้ง และพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม

Drought vulnerability indices improvement and develop a drought forecast index from Satellite imageries

Image
ผู้ว่าจ้าง
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานร่วม
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.กาญจนา นาคะภากร
ผู้ดำเนินการรอง
  • ผศ.ดร.อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย
  • ผศ.ดร.วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์
  • รศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา
  • รศ.ดร. ไพศาล จี้ฟู

คำอธิบาย

การติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์เพื่อติดตามประชากรและอัตราการเติบโตของวัวแดงเพื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมก่อนที่จะสูญพันธุ์หมดไป ต่อมาได้มีการฟื้นฟูประชากรโดยการปล่อยอย่างเป็นระบบครั้งแรกของโลกตามคู่มือการปล่อยของ IUCN/SSC (2013) และพัฒนาเป็นรูปแบบการปล่อยมาตรฐาน เมื่อได้ภาพถ่ายของวัวแดงและสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ ในพื้นที่แล้วนำมาจัดทำฐานข้อมูลสำคัญในการกำหนดมาตรการและนโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับพื้นที่อื่น เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและส่งเสริมงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิเวศวิทยาประชากรและอัตราการเติบโตของลูกวัวแดงภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ การติดตามกิจกรรมรอบวันของวัวแดงภายหลังการปล่อยคืนธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมพื้นที่ก่อนปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่อื่น ๆ

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อปรับปรุงดัชนีความเปราะบางจากภัยแล้งและพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้ง พัฒนาระบบปฏิบัติการและระบบแสดงผล เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการพัฒนาระบบติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง และการวิเคราะห์และพัฒนาดัชนีด้านน้ำจากข้อมูลดาวเทียม

การดำเนินการ
พัฒนาให้เกิด “ระบบปฏิบัติการติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง” ที่เป็นโครงการนำร่อง สามารถคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งล่วงหน้าได้อย่างน้อย 3 เดือน และพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ พร้อมสำหรับสนับสนุนการบริการจัดการภัยแล้งได้เป็นอย่างดี

ผลการดำเนินงาน
เชิงปริมาณ : มีการปรับปรุงดัชนีความเปราะบางและพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้งด้านน้ำ ระบบปฏิบัติการและระบบแสดงผลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม
เชิงคุณภาพ : เกณฑ์การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้งมากขึ้น พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการพัฒนาระบบการติดตามและพยากรณ์ภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม


การนำไปใช้ประโยชน์
ได้ระบบติดตามและพยากรณ์ภัยแล้งต้นแบบ ที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ และรายงานสถานการณ์ภัยแล้ง ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะสามารถลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับภาคการเกษตรและประชาชนได้ ได้ และพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการพัฒนาระบบติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

ระบบติดตามและพยากรณ์ภัยแล้งต้นแบบที่วิเคราะห์ภัยแล้งแบบบูรณาการทั้งด้านอุตุนิยมวิทยา ด้านทรัพยากรน้ำ และด้านเกษตร

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

การติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ลดความเสี่ยง และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภัยแล้ง

Key Message

ระบบปฏิบัติการติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง” สามารถคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งล่วงหน้าได้อย่างน้อย 3 เดือน และพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ พร้อมสำหรับสนับสนุนการบริการจัดการภัยแล้งได้เป็นอย่างดี

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 3 “Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services”

Partners/Stakeholders

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ภาพประกอบ
Image
Image
Image
Image

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.