• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

การเพิ่มประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การเพิ่มประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

The increasing efficiency in the application of Green Office standards of government offices, state enterprises and educational institutions for reducing greenhouse gases (GHGs) in Thailand

แหล่งทุน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

รองศาสตราจารย์ ดร. สยาม อรุณศรีมรกต

ผู้ดำเนินการร่วม

-

คำอธิบาย

 

การสร้างองค์ความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานสีเขียว  34 หน่วยงาน จากสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยดำเนินการถ่ายทอดให้ความรู้ สร้างความรู้ ศึกษาปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานจากการนำเกณฑ์สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ และสร้างตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของสำนักงานสีเขียวที่สำเร็จแล้ว

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

1. สร้างทัศนคติ มุมมอง และความตระหนักด้านสำนักงานสีเขียวให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงาน พร้อมทั้งสร้างกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

2. ลดการใช้ทรัพยากร และลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

3. เพื่อสร้างตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของสำนักงานสีเขียวที่สำเร็จแล้วของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย

การดำเนินการ

1. การสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยสร้างทัศนคติ มุมมอง และความตระหนักด้านสำนักงานสีเขียวให้แก่ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงาน พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และติดตามการดำเนินงานจากองค์ความรู้ที่สร้างขึ้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือในส่วนของผู้บริหาร โดยติดตามผ่านการส่งรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารทุกไตรมาส และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม โดยคณะผู้ศึกษาวิจัยจะจัดทำเครื่องมือแบบรายงาน และส่งแบบรายงานให้สำนักงานรายงานข้อมูลการดำเนินงาน ทุกๆ 6 เดือน

2. ศึกษาปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานทั้ง 30 แห่ง เพื่อกำหนดมาตรการในการลดการใช้พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปยังสำนักงานอื่นๆต่อไป

3. สร้างตัวชี้วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของสำนักงานสีเขียวที่สำเร็จแล้วของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากยิ่งขึ้น

ผลการดำเนินงาน

 

การนำไปใช้ประโยชน์

 

มีผลงานตีพิมพ์

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

 

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

ระดับหน่วยงาน

- มีความร่วมมือในการลดใช้ทรัพยากรสำนักงาน ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง และลดการใช้ทรัพยากร

ระดับประเทศ

- พัฒนากลไกการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Office)ได้อย่างเป็นรูปธรรม

- ส่งเสริมการลดงบประมาณขององค์กรด้านทรัพยากรพลังงานและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

11

รูปหน้าปก

รูปหน้ารายละเอียด

ตามไฟล์แนบ

Key Message

 

การเพิ่มประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานสีเขียว (Green Office)ของสำนักงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจสีเขียว และเพิ่มศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล / สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา / สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) / คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ /มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ /  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร / วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์/ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร/ วิทยาเขตเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา /  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา / วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา / วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี / วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี / สวนสัตว์เชียงใหม่

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

13.3.3


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.