• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพารา ภาคตะวันออกของประเทศไทย

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพารา ภาคตะวันออกของประเทศไทย

“Greenhouse gases emissions and potential of carbon stock in rubber tree plantations in Eastern Thailand”

แหล่งทุน

สำนักงานการวิจัยแห่งชำติ (วช.)

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

ผศ.ดร. มณฑิรา ยุติธรรม

ผู้ดำเนินการร่วม

 

ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร. จิรทยา พันธุ์สุข คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

นายตะวัน ผลารักษ์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร. พงษ์เทพ หาญพัฒนากิจ  คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

คำอธิบาย

 

ประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดิน และมวลชีวภาพเหนือดิน พัฒนาสมการเพื่อคาดการณ์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกของต้นยางพาราจากค่าความสูงของลำต้นและพื้นที่การปกคลุมเรือนยอด ประเมินการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพาราและเสนอแนวทางการลดการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดิน พื้นที่ปลูกยางพารา

2. เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือดิน พื้นที่ปลูกยางพารา

3. เพื่อประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน ในพื้นที่ปลูกยางพารา

4. พัฒนาสมการเพื่อคาดการณ์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกของต้นยางพาราจากค่าความสูงของลำต้นและพื้นที่การปกคลุมเรือนยอด

5. เพื่อประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา

6. เพื่อเสนอแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา

การดำเนินการ

สำรวจและวิเคราะห์คุณสมบัติของดินและประเมินการกักเก็บคาร์บอนในดิน ส่วนการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ ได้ประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับในการประเมินมวลชีวภาพเหนือดินเปรียบเทียบข้อมูลกับวิธีการตรวจวัดแบบดั้งเดิมโดยใช้สมการอัลโลเมตริก (Allometric equation) และพัฒนาสมการเพื่อคาดการณ์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอกของต้นยางพาราจากค่าความสูงของลำต้นและพื้นที่การปกคลุมเรือนยอด ส่วนการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเพาะปลูกยางพารา เพื่อเสนอแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเพาะปลูกยางพารา วิธีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดำเนินการด้วยวิธี 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories

ผลการดำเนินงาน

ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2561 มีพื้นที่ปลูกยางพาราภาคตะวันออก 2,046,508 ไร่ มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินเท่ากับ 16.19 ล้านตันคาร์บอน ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ เท่ากับ 19.66 ล้านตันคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 944 kgCO2eq/ไร่/ปี และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 1.93 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี ส่วนมาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกยางพาราที่สำคัญ คือ กำหนดให้พื้นที่รับซื้อยางพาราอยู่ใกล้เคียงชุมชนไม่เกิน 15 กิโลเมตร เปลี่ยนไปใช้ปุ๋ยจากมูลสัตว์ในกระบวนการปลูกยางพารา

การนำไปใช้ประโยชน์

จัดทำรายการมาตรการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละกิจกรรมการปล่อยเพื่อจะนำมาวิเคราะห์และคัดเลือกกิจกรรมที่เหมาะสม โดยเปิดโอกาสให้มีการประชุมระดมสมองเพื่อพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่นต่อไป โดยกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์เป้าหมาย (Users) ได้แก่

(1) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

(2) การยางแห่งประเทศไทย

(3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสวนยางพาราและเกษตรกรณ์ผู้ปลูกยางพาราในภาคตะวันออก

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

 

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อหาแนวทางสำหรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการปลูกยางพารา ลดต้นทุนการผลิต และนำไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ข้อมูลของการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกักเก็บคาร์บอนของยางพาราจากการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาเพื่อการจัดทำข้อมูลการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน และอาจจะเป็นแนวทางหนึ่งในการคิดคาร์บอนเครดิตซึ่งมีความป็นไปได้สูงเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการต่อรองทางการค้าในการลดภาวะโลกร้อน หรือ อาจผลักดันเข้าสู่ระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น และอาจจะไม่ใช่เฉพาะผู้ปลูกยางพาราเท่านั้น ในอนาคตยังสามารถขยายผลไปสู่ไม้เศรษฐกิจยืนต้นชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และลำไย เป็นต้น

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

-

รูปหน้าปก

รูปหน้ารายละเอียด

รูปที่ 1

รูปที่ 2

Key Message

 

การประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพารา ภาคตะวันออกของประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพาะปลูกยางพารา

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

-

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

(1) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

(2) การยางแห่งประเทศไทย

(3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสวนยางพาราและเกษตรกรณ์ผู้ปลูกยางพาราในภาคตะวันออก

(4) สำนักงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ในภาคตะวันออก

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

13.3.3


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.