• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

The application of green office standard towards office of Local Administrative Organization and educational organizations for reducing energy utilization and greenhouse gases (GHGs) in Thailand

หัวข้อ

รายละเอียด

SDG goal หลัก:

12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

ชื่องานวิจัย:

การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

The application of green office standard towards office of Local Administrative Organization and educational organizations for reducing energy utilization and greenhouse gases (GHGs) in Thailand

ชื่อผู้วิจัย:

หัวหน้าการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.กิตติพงษ์  เกิดฤทธิ์

ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน

คณะ:

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ปีที่ดำเนินโครงการ:

2562

ที่มาและความสำคัญ:

สำนักงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐจึงสนับสนุนและส่งเสริมของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยการนำเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวมาใช้ในสำนักงาน เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน  ลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อย Green House Gases (GHGs) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสวนสาธารณะภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง

วัตถุประสงค์:

1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนัก พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. ศึกษาและลดปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา

แหล่งทุนสนับสนุน:

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

หน่วยงานที่ร่วมมือ:

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

ระดับความร่วมมือ:

ประเทศ

รายละเอียดผลงาน:

ศึกษาวิจัยการลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา โดยการนำมาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

-

รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

-

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

(ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

-

ข้อมูลการติดต่อ:

รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

โทร. 0-2441-5000 ต่อ 2304  โทรศัพท์มือถือ 08-1649-2158

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

รูปภาพประกอบ:

การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
 การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

6, 7, 8, 9, 11, 13


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.