• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    หัวข้อ

    รายละเอียด 

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2564

    ที่มาและความสำคัญ:

    เป็นการฝึกอบรมให้ผู้ที่สนใจการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม” ซึ่งหน่วยงาน องค์กรต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นISO 14001, สำนักงาน สีเขียว (Green Office) เป็นต้น

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/th/RACEM

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ2304  โทรศัพท์มือถือ08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

      

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

    Developing a Sustainability Evaluation Mechanism for Institution of Higher Education in Thailand (2019) 

    โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ดำเนินงานโดยคณะผู้วิจัย ได้แก่ อ. ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.อลิษา สหวัชรินทร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อ.ดร.สัณห์ รัฐวิบูลย์ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 ระยะเวลาระหว่างวันที่ 30 ส.ค. 2562 - 29 ส.ค. 2563 มีที่มาและความสำคัญจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยมีความหลากหลายทั้งในเชิงขนาด ที่ตั้ง และวัฒนธรรม ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการประเมินคะแนนความยั่งยืนที่ปรากฎใน UI Green Metric จึงมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น และสามารถนำไปประยุกต์ในบริบทความหลากหลายของสถาบันการศึกษา ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น สามารถนำไปประยุกต์ในบริบทความหลากหลายของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รวมทั้งเผยแพร่ระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาของโครงการสู่สาธารณะ

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่มีที่ตั้งทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง ได้แก่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการวิจัย มีรายละเอียดวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การพัฒนา (ร่าง) ระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา การทดสอบระบบประเมิน และการเผยแพร่ผลลัพธ์โครงการ

    ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม กล่าวคือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐขนาดใหญ่และขนาดกลางจะมีทางเลือกเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนซึ่งประกอบด้วย Best Practice หรือตัวชี้วัดสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ สถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็กมีระบบนำทางที่พิจารณาถึงข้อจำกัดสถาบันที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการประเมินความยั่งยืนสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชนสามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้ในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 6 7 และ 8 โดยพบว่าสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการองค์กร มีกลไกสนับสนุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดี การจัดการขยะและน้ำเสีย รวมทั้งมีระบบการศึกษาที่ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดด้านการจัดการน้ำและสุขาภิบาล ด้านพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ และด้านการจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ 

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อ.ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือรับชมได้ทางออนไลน์ที่ http://susathai.net/

  • Researcher name: Phatchareephon Niroka, Lect. Dr. Gunn Panprayun, and Lect. Dr. Piangjai Peerakiatkhajohn

    Research details: It has been several studied to utilize and reduce amount of water hyacinth due to the problem of rapid growth of water hyacinth. The community enterprise Nara Phirom group network has produced dried water hyacinth as an animal bedding for National Laboratory Animal Center, Mahidol University. However, the natural sun drying provides low quality. The growth of fungus makes the product with black spot owing to it depends on the weather factors. Therefore, this research has designed and constructed a solar greenhouse dryer for drying water hyacinth, to replace the imported bedding materials, make local income, and solve aquatic ecosystem problem. Which using high potential of renewable energy sources, to replace fossil fuels for drying or dehumidifying of product. The solar dryer located in community enterprise Nara Phirom group network, Khlong Yong Sub-district, Phutthamonthon District, Nakhon Pathom, Thailand. It consists of a parabolic roof structure covered with polycarbonate sheets. The solar dryer basement is a high platform of black metal sheet with 2-inch thick foam insulation covering a 20 m2 base area. Three ventilation fans powered by 100-W solar cell modules with a 0.54 kWh battery were installed on the top of the dryer. The fans operated to keep the relative humidity in range of the desired conditions. Two sensors were used to regulate ventilators and installed on both the inside and outside of the dryer. The fans will be operated when the relative humidity in range of the set conditions. The results of this study demonstrated that the present drying system has an overall efficiency of 78% for 100 kg of water hyacinth. After installation the relative humidity control set, the drying time was reduced and the drying rate could be increased by 0.5 times when taking out the dried sample and replace the new sample in that shelf. It provides high drying rate and less drying time than natural sun drying. The solar dryer has minimum drying time is 8 hours, while the natural sun drying is 12 hours. Moreover, the dried water hyacinth product in this dryer showed better quality of color and shape than the natural sun drying. Owing to the efficient environmental factors controlling in the drying process especially the climatic conditions, dust contamination, and insect disturbance.

    Publishing work: Niroka, P., Panprayun, G., & Peerakiatkhajohn, P. (2018, June). A Study on Efficiency of Solar Greenhouse Dryer for Drying Water Hyacinth (Eichhornia crassipes). 14th Conference on Energy Network of Thailand: Modern Energy for Smart City, Thailand.

    Utilization from research: The knowledge from this research is a useful guideline for design and construction solar greenhouse dryer in the communities. To use for drying water hyacinth or another product, which make a career and income for local in another way. It also promotes the use of renewable energy sources to replace fossil fuels for drying or dehumidifying of product.

    Key contact person:
    Phatchareephon Niroka, 094 290 6219, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Dr.Gunn Panprayun, 0 2441 5000 ต่อ 2215, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อผลงานวิจัย: ประสิทธิภาพโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกสำหรับการอบแห้งผักตบชวา (Eichhornia crassipes)

    ชื่อผู้วิจัย: นางสาวพัชรีพร นิโรคะ อาจารย์ ดร.กันต์ ปานประยูร และ อาจารย์ ดร.เพียงใจ พีระเกียรติขจร

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ): จากปัญหาการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของผักตบชวา จึงได้มีการศึกษาหาแนวทางการนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณของผักตบชวา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายนราภิรมย์จึงได้นำผักตบชวามาผลิตเป็นวัสดุรองนอนของสัตว์ทดลองให้กับศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งใช้ผักตบชวาแห้งเป็นวัตถุดิบหลัก อย่างไรก็ตามพบว่าวิธีที่ใช้ตากแห้งผักตบชวาในปัจจุบันทำให้วัตถุดิบไม่ได้คุณภาพตามต้องการ เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสภาพอากาศ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ทำการออกแบบและสร้างโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกสำหรับอบแห้งผักตบชวา เพื่อทดแทนการนำเข้าวัสดุ สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น รวมทั้งแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งอาศัยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ นับเป็นการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและมีศักยภาพสูง สามารถทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับอบแห้งหรือลดความชื้น โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ตั้งอยู่ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายนราภิรมย์ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีขนาดพื้นที่ 20 ตารางเมตร ประกอบด้วยหลังคาโค้งพาลาโบล่าปิดคลุมด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนต ทั้งนี้โรงอบออกแบบให้ยกพื้นสูงด้วยฉนวนโฟมหนา 2 นิ้ว และประกบกับแผ่นเมทัลชีทสีดำทั้งสองด้าน บริเวณด้านหลังของโรงอบทำการติดตั้งพัดลมระบายอากาศจำนวน 3 ตัว ทำงานด้วยระบบโซล่าเซลล์ขนาด 100 วัตต์ ใช้แบตเตอรี่ขนาด 0.54 กิโลวัตต์-ชั่วโมง สำหรับเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งติดตั้งเซนเซอร์ทั้งภายในและภายนอกโรงอบเพื่อควบคุมการทำงานของพัดลมระบายอากาศ ซึ่งพัดลมจะทำงานเมื่อความชื้นสัมพัทธ์เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งจากการศึกษาประสิทธิภาพโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกสำหรับการอบแห้งผักตบชวา 100 กิโลกรัม ในงานวิจัยนี้พบว่า มีประสิทธิภาพการอบแห้งสูงถึง 78% จากการติดตั้งชุดควบคุมความชื้นทำให้ระยะเวลาในการอบแห้งลดลงและสามารถเพิ่มอัตราการอบแห้งได้ 0.5 เท่า เมื่อนำผักตบชวาในชั้นที่แห้งออกก่อนและนำตัวอย่างใหม่ใส่แทนที่ในชั้นเดิม มีอัตราการอบแห้งสูงและใช้ระยะเวลาการอบแห้งน้อยกว่าวิธีการตากกลางแจ้งโดยทั่วไป ซึ่งใช้ระยะเวลาการอบแห้งน้อยที่สุดเพียง 8 ชั่วโมง ในขณะที่การตากกลางแจ้งใช้ระยะเวลาถึง 12 ชั่วโมง อีกทั้งผักตบชวาที่อบแห้งภายในโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกนี้ให้คุณภาพรูปทรงและสีที่ดีกว่าผักตบชวาที่ตากกลางแจ้ง เนื่องจากการอบแห้งโดยอาศัยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นระบบปิดและสามารถควบคุมปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการอบแห้ง โดยเฉพาะสภาพอากาศ การปนเปื้อนจากฝุ่นละออง และการรบกวนของแมลง

    ลักษณะรูปทรงและสีของผักตบชวาที่อบแห้งในโรงอบ (ก) และผักตบชวาที่ตากกลางแจ้ง (ข)

    การเผยแพร่ผลงาน: พัชรีพร นิโรคะ, กันต์ ปานประยูร, และเพียงใจ พีระเกียรติขจร. (2561, มิถุนายน).

    การศึกษาประสิทธิภาพโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกสำหรับอบแห้งผักตบชวา (Eichhornia crassipes). การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14: พลังงานยุคใหม่สู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ, ประเทศไทย.

    การนำไปใช้ประโยชน์: สามารถนำองค์ความรู้จากงานวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกสำหรับชุมชน เพื่อใช้ในการอบแห้งผักตบชวาหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งเป็นส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับอบแห้งหรือลดความชื้นอีกด้วย

    ผู้ติดต่อ: นางสาวพัชรีพร นิโรคะ, 094 290 6219, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
    อาจารย์ ดร.กันต์ ปานประยูร, 0 2441 5000 ต่อ 2215, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • Project Title: Hydrogen and methane production from co-digestion of algal biomass and glycerol waste discharged after biodiesel production process

    Researcher(s): Sureewan Sittijunda
    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University"

    Research Details (In Brief): The objective of this study was to efficiently utilize crude glycerol and algal biomass to produce bio-hydrogen and methane by two-stage process and produce methane by one-stage process in batch mode. Factor affecting on bio-hydrogen production from co-digestion of crude glycerol and algal biomass was firstly conducted by response surface methodology with central composite design (RSM-CCD). The results showed that inoculum and algal biomass concentrations were significantly effect on bio-hydrogen production. According to RSM analysis, the optimum condition were crude glycerol, inoculum and algal biomass in the concentrations of 13.83 g/L, 8 % (v/v), and 25 g-dw/L respectively. Using this condition, a maximum bio-hydrogen production of 655.12 ml-H2/L was obtained. The hydrogenic effluent left over after bio-hydrogen fermentation was further used as substrates for methane production. Methane production and methane production rate of 868.71 ml-CH4/L and 2.95 ml-CH4/L h were obtained at 20 % (w/v) of inoculum concentration and 8000 mg-TVFAs/L, respectively. One-stage methane production from co-digestion of crude glycerol with algal biomass by anaerobic mixed cultures was also investigated. The results showed that the maximum methane production of 52.39 ml-CH4/L was obtained at crude glycerol, inoculum and algal biomass concentrations of 40 g/L 10 g-VS/L and 5 g-dw/L, respectively. The overall energy production in two-stage bio-hydrogen and methane production process and one-stage methane production process were 38.26 Kj/L and 1.70 Kj/L, respectively.

    Publishing:

    Sittijunda S., Reungsang, A. 2019. Methane production from the co-digestion of algal biomass with crude glycerol by anaerobic mixed cultures. Waste and Biomass Valorization. doi: org/10.1007/s12649-018-0542-0

    Reungsang A, Sittijunda, S. Biohydrogen and methane production in a two-stage anaerobic digestion by co-digestion of crude glycerol and microalgal biomass. The 13th Asia Biohydrogen & Biorefinery Symposium” September 13-18, 2018, Zhengzhou, Henan, China. (oral presentation)

    Sittijunda S, Sitthikitpanya N, Reungsang A. Methane production from co-digestion of microalgae biomass with crude glycerol by anaerobic mixed cultures. 18th European Congress on Biotechnology (ECB 2018); 2018 July 1-4; The International Conference Centre Geneva (CICG), Geneva, Switzerland. (poster presentation)

    Key Contact Person: Asst.Prof.Dr.Sureewan sittijunda, 062-1459145, This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: การผลิตก๊าชไฮโดรเจนและก๊าชมีเทนจากกระบวนการหมักย่อยร่วมของกากเซลล์สาหร่ายและกลีเซอรอลเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล

    ชื่อผู้วิจัย: สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ): งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรเจนและมีเทนจากการหมักย่อยร่วมระหว่างเซลล์สาหร่ายคอลเรลลาและกลีเซอรอลเหลือทิ้งโดยใช้กระบวนการหมักแบบ two-stage และ one-stage ผลจากการทดลองในกระบวนการหมักแบบ two-stage เพื่อผลิตไฮโดรเจนและมีเทน พบว่าปริมาณหัวเชื้อเริ่มต้นและความเข้มข้นของเซลล์สาหร่ายคลอเรลลามีผลต่อการผลิตไฮโดรเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยให้ค่า p-value เท่ากับ 0.0317 และ 0.0231 ตามลำดับ และสภาวะที่เหมาะสมคือความเข้มข้นของกลีเซอรอล (A) เท่ากับ 13.83 g/L ปริมาณหัวเชื้อ (B) เท่ากับ 8.00 % (v/v) และความเข้มข้นของเซลล์สาหร่ายคลอเรลลา (C) เท่ากับ 25 g-dw/L ณ สภาวะดังกล่าวให้การผลิตไฮโดรเจนสูงสุดเท่ากับ 612 ml-H2/L และในขั้นตอนการยืนยันผลพบว่าค่าการผลิตไฮโดรเจนจากสภาวะที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 655.12 ml-H2/L ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนจากค่าที่ได้จากการออกแบบการทดลองทางสถิติเท่ากับ 7.04 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นน้ำหมักที่ได้จากการผลิตไฮโดรเจน ณ สภาวะที่เหมาะสมจะถูกใช้เป็นสับสเตรทตั้งต้นในการผลิตมีเทนโดยกลุ่มตะกอนจุลินทรีย์ ผลการทดลองพบว่าที่ความเข้มความเข้มข้นกรดไขมันระเหยง่ายและปริมาณหัวเชื้อเริ่มต้นเท่ากับ 8000 mg-TVFAs/L และ 20 % (w/v) จะให้ค่าการผลิตมีเทนและอัตราการผลิตมีเทนมีค่าสูงสุดเท่ากับ 868.71 ml-CH4/L และ 2.95 ml-CH4/L h และในการทดลองเพื่อผลิตมีเทนจากกระบวนการหมักแบบ one-stage ผลการทดลองพบว่าปริมาณหัวเชื้อเริ่มต้นและความเข้มข้นของเซลล์สาหร่ายคลอเรลลามีผลต่อการผลิตมีเทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยให้ค่า p-value เท่ากับ 0.0004 และ < 0.0001 ตามลำดับ และความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของกลีเซอรอลและเซลล์สาหร่ายคลอเรลลามีผลต่อการผลิตมีเทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยให้ค่า p-value เท่ากับ 0.0265 โดยที่ความเข้มข้นของกลีเซอรอล ปริมาณหัวเชื้อ และความเข้มข้นของเซลล์สาหร่ายคลอเรลลาเท่ากับ 40 g/L 10 g-VS/L และ 5 g-dw/L จะให้ค่าการผลิตมีเทนสูงสุดเท่ากับ 52.39 ml-CH4/L ในขั้นตอนการยืนยันผลการทดลองพบว่าค่าการผลิตมีเทนจากสภาวะที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 47.10 ml-CH4/L ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนจากค่าที่ได้จากการออกแบบการทดลองทางสถิติเท่ากับ 10.08 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าพลังงานที่ได้จากกระบวนการผลิตไฮโดรเจนและมีเทนจากการหมักย่อยร่วมระหว่างกลีเซอรอลและเซลล์สาหร่ายโดยกระบวนการหมักแบบ two-stage และ one-stage มีค่าเท่ากับ 38.26 Kj/L และ 1.70 Kj/L ตามลำดับ

    การเผยแพร่ผลงาน:

    Sittijunda S., Reungsang, A. 2019. Methane production from the co-digestion of algal biomass with crude glycerol by anaerobic mixed cultures. Waste and Biomass Valorization. doi: org/10.1007/s12649-018-0542-0

    Reungsang A, Sittijunda, S. Biohydrogen and methane production in a two-stage anaerobic digestion by co-digestion of crude glycerol and microalgal biomass. The 13th Asia Biohydrogen & Biorefinery Symposium” September 13-18, 2018, Zhengzhou, Henan, China. (oral presentation) Sittijunda S, Sitthikitpanya N, Reungsang A. Methane production from co-digestion of microalgae biomass with crude glycerol by anaerobic mixed cultures. 18th European Congress on Biotechnology (ECB 2018); 2018 July 1-4; The International Conference Centre Geneva (CICG), Geneva, Switzerland. (poster presentation)

    การติดต่อ : ผศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา 062145-9145 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

    The application of green office standard towards office of Local Administrative Organization and educational organizations for reducing energy utilization and greenhouse gases (GHGs) in Thailand

    ชื่อผู้วิจัย:

    หัวหน้าการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.กิตติพงษ์  เกิดฤทธิ์

    ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2562

    ที่มาและความสำคัญ:

    สำนักงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐจึงสนับสนุนและส่งเสริมของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยการนำเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวมาใช้ในสำนักงาน เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน  ลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยGreen House Gases (GHGs) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสวนสาธารณะภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง

    วัตถุประสงค์:

    1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนัก พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    2. ศึกษาและลดปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    ศึกษาวิจัยการลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา โดยการนำมาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    -

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ 2304  โทรศัพท์มือถือ 08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
     การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • Project Title: Phase behavior and biofuel properties of waste cooking oil- alcohol-diesel blending by surfactant emulsification technique

    Research Title: Phase behavior and biofuel properties of waste cooking oil-alcohol-diesel blending in microemulsion form Researcher(s): Dr. Naphatsarnan Phasukarratchai Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):
    Waste cooking oil (WCO) has a heating value that can be used as an energy source. However, the high viscosity of WCO is the limitation to use fuel directly with the diesel engine. The fuel properties improvement is required. This research focuses on the microemulsion fuel (MF) technique because of no by-product production. The aim is to select the suitable surfactants for blending MFs between WCO, diesel (D), butanol (B) ethanol (E) and surfactants (S). The results show that the MFs with B are no need S for homogenous phase blending, compared with E. The phase behavior of MFs-E with the lower hydrophilic surfactant is more suitable than that of MFs-E with the higher hydrophilic surfactant. The selected MFs ratio between D:WCO:(E/S or B) were 70:20:10 and 70:15:15 for E with Laureth-1 or Span 80 at E:S ratio equal 9: 1 and for B without S. All MFs show the microemulsion size (≤200 nm) which is thermodynamically stable. Other properties such as water content, residual, copper sheet corrosion was met the standard of diesel and biodiesel. The acid value of MFs exceeds the standard due to WCO has high acid content. Thus, the pretreatment of WCO should be done in order to reduce the acid value and the residual. For the oxidation stability, MFs with E/S shows the better than MFs with B. In terms of safety, the same condition of storage and transport should be applied for MFs because the flash point of MFs is lower than the standard which is belong with alcohol mixing.

    Publishing: Phasukarratchai N. Phase behavior and biofuel properties of waste cooking oil-alcohol-diesel blending in microemulsion form. Fuel. 2019;243:125-32.

    https://doi.org/10.1016/j.fuel.2019.01.003
    Key Contact Person: Dr. Naphatsarnan Phasukarratchai; +66 441 5000 ext 1310; This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.


    ชื่อโครงการวิจัย: พฤติกรรมวัฎภาคและคุณสมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพผสมจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว แอลกอฮอล์และดีเซล โดยใช้เทคนิคการเกิดอิมัลชั่นด้วยสารลดแรงตึงผิว

    ชื่อผลงานวิจัย: พฤติกรรมวัฎภาคและคุณสมบัติของเชื้อเพลิงชีวภาพอิมัลชั่นผสมน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว แอลกอฮอล์ และดีเซล

    ชื่อผู้วิจัย: อาจารย์ ดร.ณภัสนันท์ พสุการัชต์ชัย
    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ):
    น้ำมันพืชที่ใช้แล้วเป็นแหล่งพลังงานทดแทนปิโตรเลียมหนึ่ง แต่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งานกับเครื่องยนต์โดยตรงเพราะมีค่าความหนืดสูงจำเป็นต้องปรับปรุงคุณสมบัติก่อน งานวิจัยนี้เลือกวิธีการผสมเชื้อเพลิงอิมัลชั่นโดยมีสารลดแรงตึงผิวเป็นตัวประสานเนื่องจากไม่มีผลพลอยได้ที่ต้องกำจัด มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสารลดแรงตึงผิวที่เหมาะสมในการผสมเชื้อเพลิงอิมัลชั่นระหว่างน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว (WCO) ดีเซล (D) เอทานอล (E) หรือ บิวทานอล (B) และ สารลดแรงตึงผิว (S) ผลการศึกษาพบว่า ดีเซลผสมน้ำมันพืชที่ไม่ใช่แล้วและบิวทานอลสามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยไม่ต้องใช้สารลดแรงตึงผิว ส่วนที่ผสมเอทานอลเกิดการแยกชั้นจึงต้องใช้สารลดแรงตึงผิว โดยสารลดแรงตึงผิวที่มีส่วนชอบน้ำน้อยสามารถผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันในสัดส่วนที่หลากหลายกว่าสารลดแรงตึงผิวที่มีส่วนชอบน้ำมากกว่า จึงคัดเลือกสัดส่วนผสมที่สนใจ D:WCO:(E/S หรือ B) เท่ากับ 70:20:10 และ 70:15:15 สำหรับบิวทานอลไม่มีสารลดแรงตึงผิว สำหรับเอทานอลจะผสมสารลดแรงตึงผิว Span 80 หรือ Laureth-1 ที่ 9:1 พบว่าขนาดอิมัลชั่นของเชื้อเพลิงผสมทั้งหมดต่ำกว่า 200 นาโนเมตร เป็นขนาดไมโครอิมัลชั่นซึ่งมีความเสถียรต่ออุณหพลศาสตร์ คุณสมบัติอื่นๆ เช่น ปริมาตรน้ำ กากตะกอน การกัดกร่อนแผ่นทองแดง ผ่านมาตรฐานดีเซลและไบโอดีเซล แต่ค่าความเป็นกรดเกินกำหนดเนื่องจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมีปริมาณกรดสูง หากมีการปรับปรุงสภาพของน้ำมันพืชที่ใช้แล้วก่อนนำมาผสมจะช่วยให้ลดค่าปริมาณกรดและกากตะกอนที่เหลือจากการเผาไหม้ลงได้ สำหรับค่าเสถียรภาพต่อการเกิดออกซิเดชั่นเชื้อเพลิงอิมัลชั่นผสมที่ใช้เอทานอลและสารลดแรงตึงผิวนั้นผ่านมาตรฐานกำหนด แต่ที่ผสมบิวทานอลต่ำกว่ามาตรฐาน ในด้านความปลอดภัยในการเก็บรักษาและการขนส่งนั้นควรใช้มาตรฐานเดียวกับแอลกอฮอล์ เนื่องจากเชื้อเพลิงผสมอิมัลชั่นมีจุดวาบไฟที่ต่ำกว่ามาตรฐานของไบโอดีเซลและดีเซลอันเนื่องมาจากองค์ประกอบของแอลกอฮอล์ที่ผสมมีจุดวาบไฟที่ต่ำ

    การเผยแพร่ผลงาน: Phasukarratchai N. Phase behavior and biofuel properties of waste cooking oil-alcohol-diesel blending in microemulsion form. Fuel. 2019;243:125-32.
    https://doi.org/10.1016/j.fuel.2019.01.003

    การติดต่อ: อาจารย์ ดร.ณภัสนันท์ พสุการัชต์ชัย; 02 441 5000 ต่อ 1310; This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารูปแบบใหม่เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน

    Development of modernize electric generator for sustainable energy

    แหล่งทุน

    กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม โครงการต้นแบบนักประดิษฐ์ไทย นักประดิษฐ์โลก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ดร.นรินทร์ บุญตานนท์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

     

    การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนกลไกการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิม และนำเครื่องต้นแบบไปทดสอบการใช้งานจริงกับต้นกำเนิดพลังงานต่างๆ เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาให้ได้เครื่องที่สมบูรณ์ มีความพร้อมในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ สามารถประยุกต์ใช้เพื่อให้การผลิตไฟฟ้า และการอนุรักษ์พลังงาน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    - เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้แหล่งพลังงานจากพลังทดแทนเป็นหลัก และนำเครื่องต้นแบบไปทดสอบการใช้งานจริงที่หลากหลายโดยผู้ใช้งานจริง เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาให้ได้เครื่องที่สมบูรณ์ และมีความพร้อมในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

    - พัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบด้านการผลิตไฟฟ้ารูปแบบใหม่เพื่อให้ใช้ได้กับแหล่งพลังงานอื่นๆ หรือประยุกต์ใช้เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

    - เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ มีความพร้อมรับใช้สังคม

    การดำเนินการ

    - การพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องต้นแบบโดยการพัฒนาและผลิตเครื่องต้นแบบตามที่ได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรไว้ (เลขที่คำขอ 1301004951, อนุสิทธิบัตรเลขที่ 9553, 11909, 12058)

    - ดำเนินการทดสอบต้นแบบในห้องปฏิบัติติการ และภาคสนาม เพื่อให้ได้ผลที่ได้จากการทดลองใช้งานในสภาพต่างๆ

    - ภายหลังจากมีการทดลองใช้และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเครื่องให้สมบูรณ์เพื่อเป็นต้นแบบในเชิงพาณิชย์ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

    ผลการดำเนินงาน

    - ผลที่จะได้คือได้ต้นแบบเทคโนโลยีใหม่ด้านการผลิตไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาด้านพลังงานในอนาคต

    - เป็นต้นแบบอุปกรณ์ด้านการถ่ายทอดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประยุกต์ใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่ต้องการกำลังอื่นๆ

    - เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการอนุรักษ์พลังงานโดยนำพลังงานที่สูญเปล่ามาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยสามารถปรับและประยุกต์ใช้ได้ในหลายภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร เป็นหนึ่งในมาตรการส่งเสริมด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน

    - เป็นการลดและป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มาจากการผลิตและใช้พลังงาน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

    การนำไปใช้ประโยชน์

    - ผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นจากโครงการคือ กังหันลมผลิตไฟฟ้า และเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า (ตัวเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) แบบใหม่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า สามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าทั้งจากแหล่งพลังงานจากธรรมชาติ (พลังงานหมุนเวียน) และยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่เหลือทิ้ง

    ขณะนี้ผลงานอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาการในส่วนของโครงสร้างและชิ้นส่วน ให้สามารถผลิตได้ในปริมาณมากและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ด้านพลังงานทดแทนได้อย่างหลากหลาย

     

    ทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง

    1. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9553 ออกให้เมื่อวันที่30 สิงหาคม2556 เรื่อง ชุดผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ

    2. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11909 ออกให้เมื่อวันที่5 กันยายน2559 เรื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

    3. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12058 ออกให้เมื่อวันที่26 ตุลาคม2559 เรื่อง ชุดผลิตพลังงานแบบใบพัด

    4. อยู่ระหว่างการยื่นขอ สิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1301004951 เมื่อวันที่5 กันยายน2556 เรื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบบพัดสวนทาง

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    เป็นโครงการที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นพื้นฐานและต่อยอดจนสามารถพัฒนาให้เป็นต้นแบบเทคโนโลยีที่มีความพร้อมในระดับอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    - เป็นต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืน ในแง่ของการใช้ต้นกำเนิดพลังงานลดลง ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้สำหรับการเก็บเกี่ยวพลังงานเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ ทั้งในระดับชุมชน อุตสาหกรรม และระดับประเทศ

    - เสริมสร้างเครือข่ายการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ

    - เพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขันเทคโนโลยีให้ทัดเทียมประเทศอื่น

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    7

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

     

    รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    เป็นต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า สามารถนำไปใช้งานจริง มีความสมบูรณ์พร้อมใช้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการผลิตไฟฟ้า และการอนุรักษ์พลังงานที่สูงขึ้น สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจด้านพลังงาน ตลอดจนเป็นต้นแบบเทคโนโลยีของการกำเนิดไฟฟ้าที่จะประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    - นักวิจัย

    - ผู้ประกอบการ

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    7.4.3

  • Project Title: Multi-biofuel and value-added products production from co-digestion of glycerol waste discharged after biodiesel production process and algal biomass

    Researcher(s): Sureewan Sittijunda Alissara Reungsang
    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):
    The ultimate goal of this research is to utilize waste glycerol derived from the biodiesel production process and algal biomass to produce hydrogen, ethanol and 1,3-propanediol (1,3-PD) by thermophilic anaerobic mixed culture, then the effluent from hydrogen, ethanol and 1,3-PD production was further used to produce methane and bio-plastic. Initially, the simultaneous hydrogen and ethanol production from co-digestion of waste glycerol and algal biomass was conducted. The second experiment, 1,3-PD production from co-digestion of waste glycerol and algal biomass was conducted. At the end of hydrogen and ethanol fermentation process large amounts of organic effluent were generated. The effluent contained volatile fatty acids (VFAs) and alcohol as the main products which can cause environmental problems upon disposal due to its high chemical oxygen demand (COD) value. VFAs are known as valuable substrates for methane and bioplastic production. Therefore, the possibility of using the effluent from hydrogen and ethanol fermentation to produce methane and bioplastic was explored in the last part. Results from this study demonstrated the successful of utilizing waste glycerol and algal biomass to produce multi-biofuels and value-added products.

    Key Contact Person: Asst.Prof.Dr.Sureewan sittijunda, 062-1459145, This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: การผลิตพลังงานทดแทนและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าจากกระบวนการหมักย่อยร่วมระหว่างกลีเซอรอลเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลล์สาหร่าย

    ชื่อผู้วิจัย: สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา อลิศรา เรืองแสง
    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตไฮโดรเจน และเอทานอล โดยใช้กลีเซอรอลเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลร่วมกับเซลล์สาหร่ายเป็นสับเสตรทและใช้กลุ่มตะกอนจุลินทรีย์ชอบร้อนเป็นหัวเชื้อเริ่มต้น จากนั้นน้ำหมักที่เหลือจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจนและเอทานอลซึ่งมีปริมาณกรดไขมันระเหยง่ายสูงจะถูกนำมาใช้เป็นสับเสตรทเริ่มต้นในการผลิตมีเทนและไบโอพลาสติก นอกจากนั้นยังศึกษาการผลิต 1,3 โพรเพนไดออลจากกลีเซอรอลเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลร่วมกับเซลล์สาหร่าย โดยผลงานวิจัยนี้จะทำให้ทราบถึงศักยภาพในการเปลี่ยนกลีเซอรอลและเซลล์สาหร่ายให้เป็นพลังงานและสารมูลค่าเพิ่ม

    การติดต่อ : ผศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา 062145-9145 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    Multi-biofuel and value-added products production from co-digestion of glycerol waste discharged after biodiesel production process and algal biomass

  • Project Title: Hydrogen and methane production from co-digested of molasses and brewer’s yeast cells

    Researcher(s): Nopparut Toinoi Alissara Reungsang Sureewan Sittijunda

    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):

    The objective of this study was to utilize molasses and brewer’s yeast cells as the substrate to produce bio-hydrogen and methane by two-stage process and methane by one-stage process in batch mode. For two-stage fermentation process, the optimum condition was molasses, brewer’s yeast cell, and fly ash in the concentrations of 9 g-VS/L, 28 g-VS/L and 6,000 mg-CaO/L, respectively. Using this condition, a maximum hydrogen production of 1,462 ml-H2/L was obtained. The hydrogenic effluent left over after bio-hydrogen fermentation was further used as the substrates for methane production. Methane production of 4,710.8 ml/L was obtained at 10 g-VS/L of molasses concentration, 19 g-VS/L of brewer’s yeast cells concentration, and 4,000 mg-CaO/L of fly ash concentration, respectively. Main hydrogen producing and methane producting bacteria founded in two-stage fermentation process were Clostridium sp., Unidentified Clostridiaceae, Methanosaeta sp., Methanosarcina sp., and Candidatus Methanoplasma, respectively. For one stage methane production process, the optimum condition was molasses, brewer’s yeast cell, and fly ash in the concentrations of 9 g-VS/L, 28 g-VS/L and 6,000 mg-CaO/L, respectively. Using this condition, a maximum methane production of 6,495 ml-CH4/L was obtained. Main methane producers founded in one-stage fermentation process was Methanosaeta sp., Methanosarcina sp., and Methanoculleus sp.

    Intellectual Property Rights (if any): Petty Patent. No: 1903002027. สารผสมสำหรับการผลิตไฮเทนและกรรมวิธีผลิตสารผสม.
    Applied Research Project to Usage (if any):
    Publishing: Sureewan Sittijunda, Alissara Reungsang. Co-digestion of vinasse with brewer’s yeast for biohydrogen and methane production in a two-stage anaerobic digestion process. Water and Environment Technology Conference 2019. July 12-14, 2019. Suita City, Ozaka, Japan. (oral presentation)
    Key Contact Person: Asst.Prof.Dr.Sureewan sittijunda, 062-1459145, This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: การผลิตไฮโดรเจนและมีเทนจากการหมักย่อยร่วมระหว่างน้ำกากส่าและกากยีสต์

    ชื่อผู้วิจัย: นพรัตน์ ต้อยน้อย อลิศรา เรืองแสง สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา
    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ):
    งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรเจนและมีเทนจากการหมักย่อยร่วมระหว่างน้ำกากส่าและกากเซลล์ยีสต์โดยใช้กระบวนการหมักแบบ two-stage และ one-stage ผลการทดลองในกระบวนการหมักแบบ two-stage เพื่อผลิตไฮโดรเจนและมีเทน พบว่าที่ความเข้มข้นของน้ำกากส่าและกากยีสต์ และความเข้มข้นของเถ้าเริ่มต้นเท่ากับ 9 g-VS/L 28 g-VS/L และ 6,000 mg-CaO/L เป็นสภาวะที่ให้การผลิตไฮโดรเจนสูงสุด โดยให้ผลการผลิตไฮโดรเจนสะสมเท่ากับ 1,462 ml-H2/L จากนั้นนำน้ำหมักทุกชุดในขั้นตอนการผลิตไฮโดรเจนมาผลิตมีเทนโดยกลุ่มตะกอนจุลินทรีย์ผลพบว่าที่ความเข้มข้นของน้ำกากส่าและกากยีสต์เท่ากับ 10 และ 19 g-VS/L และความเข้มข้นเถ้าเท่ากับ 4,000 mg-CaO/L เป็นสภาวะที่ได้ค่าการผลิตมีเทนสูงสุดเท่ากับ 4,710.8 ml/L ผลการวิเคราะห์กลุ่มประชากรจุลินทรีย์พบว่าจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ผลิตไฮโดรเจนและมีเทนในกระบวนการหมักแบบสองขั้นตอนพบว่า จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ผลิตไฮโดรเจนคือกลุ่ม Clostridium sp., และ Unidentified Clostridiaceae ขณะที่แบคทีเรียสายพันธุ์ที่ทำหน้าที่ผลิตมีเทนในการทดลองนี้คือ Methanosaeta sp., Methanosarcina sp., และ Candidatus Methanoplasma ในการทดลองเพื่อผลิตมีเทนจากการหมักร่วมของน้ำกากส่าและกากเซลล์ยีสต์แบบขั้นตอนเดียว (single stage production) พบว่าที่ความเข้มข้นของน้ำกากส่าและกากยีสต์ และความเข้มข้นของเถ้าเริ่มต้นเท่ากับ 9 และ 28 g-VS/L และ 6,000 mg-CaO/L ตามลำดับ เป็นสภาวะที่ให้การผลิตมีเทนสูงสุด โดยให้ผลการผลิตมีเทนสะสมเท่ากับ 6,495 ml-CH4/L จุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ทำหน้าที่ผลิตมีเทนจากการหมักร่วมระหว่างน้ำกากส่าและกากเซลล์ยีสต์แบบขั้นตอนเดียว คือ Methanosaeta sp., Methanosarcina sp., และ Methanoculleus ตามลำดับ

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี): อนุสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1903002027. สารผสมสำหรับการผลิตไฮเทนและกรรมวิธีผลิตสารผสม.
    การเผยแพร่ผลงาน: Sureewan Sittijunda, Alissara Reungsang. Co-digestion of vinasse with brewer’s yeast for biohydrogen and methane production in a two-stage anaerobic digestion process. Water and Environment Technology Conference 2019. July 12-14, 2019. Suita City, Ozaka, Japan. (oral presentation)
    การติดต่อ : ผศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา 062145-9145 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • Project Title: Bio-hydrogen and methane production from effluent of dark fermentation by microbial electrolysis cell

    Researcher(s): Sulfan Baka, Rattana Jariyaboon, Sureewan Sittijunda, Prawit Kongjan,
    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief): Hydrogen (H2) and methane (CH4) are attracting as renewable energies to reducing greenhouse gas emissions. Wastes glycerol (WG) and distillery wastewater (DW) are the most suitable sources of nitrogen and carbon for anaerobic microorganisms for H2 and methane production. The main purpose of this research was to utilize DW and WG to produce H2 by dark co-fermentation and to produce H2 and CH4 from effluent discharged from dark fermentation by using membrane less microbial electrolysis cells (MEC). By using DW:WG at a ratio 99-1 (% v/v) in batch dark co-fermentation, highest H2 production yield of 160.6 mLH2/g-VS was achieved. Followed by continuous H2 production using continuous stirred tank (CSTR) reactor fed by 99-1 (% v/v) DW:WG ratio at hydraulic retention time (HRT) 3 days, corresponding to organic loading rate (OLR) 19.1 g-Vs/d L could provide hydrogen yield of 117 mL-H2/g-VS. Effluent from H2 production in CSTR reactor was later used to produce H2 and CH4 in batch mode operation by using 2 membrane less MECs applied power supply at 1.0 volts and 10 Ohm and inoculated with anaerobic digested sludge. The first MEC (R-1) carried out without stirring could achieve rather low hydrogen yield of 13.5 mL-H2/g-Vs and methane yield of 84.0 ml-CH4/g-VS. While, the second MEC (R-2) carried out with stirring 120 rpm could produce hydrogen with a yield of 48.9 mL-H2/g-Vs and later generate methane with a yield of 75.0 mL-CH4/g-VS. The experimental results suggest that enhancing hydrogen and methane production could be achieved by coupling dark fermentation and microbial electrolysis cell.

    Award Grant Related to the Project:
    2nd runner-up award (oral presentation). The 8th Sci-tech symposium. April 11, 2018. Pre-clinical science building, Faculty of Science and technology, Prince of Songkla University, Pattani campus
    Honorable mention (poster presentation). The 3rd biofuels and biochemical products production from agricultural biomass. June 17, 2019. Grand Pavilion, Rachawadee Resort and Hotel. Khon Kaen
    Publishing: Sulfan Baka, Rattana Jariyaboon, Sureewan Sittijunda, Prawit Kongjan. Hydrogen and methane production from distillery wastewater and glycerol waste by coupling dark fermentation and microbial electrolysis cell. The 3rd Biomanufacturing Symposium 2019. April 9-10, 2019. Swiss Garden Beach Resort. Perak. Malaysia. (oral presentation)
    Key Contact Person: Asst.Prof.Dr.Sureewan sittijunda, 062-1459145, This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: การผลิตไฮโดรเจนและมีเทนจากน้ำทิ้งกระบวนการหมักไร้แสงด้วยเซลล์อิเล็กโทรไลซิสจุลชีพ

    ชื่อผู้วิจัย: ซุลฟาน บากา รัตนา จริยบูรณ์ สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา ประวิทย์ คงจันทร์

    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ): ไฮโดรเจนและมีเทนได้รับความสนใจในปัจจุบันที่ช่วยลดการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก น้ำกากส่าและของเสียกลีเซอรอลเป็นของเสียที่มีแหล่งไนโตรเจนและคาร์บอนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ไร้ออากาศสำหรับการผลิตไฮโดรเจนและมีเทน ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ประโยชน์น้ำกากส่าและของเสียกลีเซอรอลเพื่อผลิตไฮโดรเจนจากการหมักร่วมแบบไร้แสงและผลิตไฮโดรเจนและมีเทนจากน้ำทิ้งกระบวนการหมักไฮโดรเจนโดยใช้เซลล์อิเล็กโทรไลซิสจุลชีพชนิดไร้เมมเบรน (MEC) จากการหมักย่อยร่วมแบบไร้แสงแบบแบทช์ระหว่างน้ำกากส่าและของเสียกลีเซอรอลที่อัตราส่วน 99-1 (% v/v) สามารถผลิตไฮโดรเจนได้สูงสุด 160.6 mLH2/g-VS การผลิตไฮโดรเจนแบบต่อเนื่องโดยใช้ถังปฏิกรณ์กวนต่อเนื่อง (CSTR) โดยป้อนน้ำกากส่าและของเสียกลีเซอรอลที่อัตราส่วน 99-1 (% v/v) ที่ระยะเวลากักเก็บ (HRT 3 วัน) ซึ่งเทียบเท่าอัตราบรรทุกสารอินทรีย์ (OLR) 19.1 g-Vs/d L สามารถผลิตไฮโดรเจนได้ 117.0 mLH2/g-VS น้ำหมักจากการผลิตไฮโดรเจนด้วยถังปฏิกรณ์ CSTR ได้ถูกมาผลิตไฮโดรเจนและมีเทนโดยใช้เซลล์ MEC ชนิดไร้เมมเบรน 2 ชุด โดยป้อนความต่างศักย์ไฟฟ้า 1.0 โวลต์ ที่ความต้านทาน 10 โอห์ม และถูกเริ่มต้นระบบกล้าเชื้อที่เป็นสลัดจ์จากระบบย่อนสลายไร้อากาศ เซลล์ MEC ชุดที่ 1 (R-1) ที่ได้ถูกดำเนินการโดยไม่มีการกวน สามารถให้ผลผลิตมีไฮโดรเจน 13.5 mL-H2/g-Vs และ ผลผลิตมีเทน 84.0 ml-CH4/g-VS ส่วนเซลล์ MEC ชุดที่ 2 (R-2) ที่ดำเนินการโดยมีการกวนสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ 48.9 mLH2/g-Vs และผลิตมีเทนได้ประมาณ 75.0 mLCH4/g-Vs โดยในการศึกษาครั้งนี้สามารถแสดงให้เห็นว่าสามารถเพิ่มการผลิตไฮโดรเจนและมีเทนโดยการเชื่อมต่อการหมักไร้แสงและเซลล์เซลล์อิเล็กโทรไลซิสจุลชีพชนิดไร้เมมเบรน

    รางวัลที่ได้รับ:

    รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (oral presentation) 8th Sci-tech symposium. Pre-clinical science building, Faculty of Science and technology, Prince of Songkla University, Pattani campus (11 เมษายน 2561)
    รางวัลชมเชยการนำเสนอแบบโปสเตอร์. การประชุมกลุ่มวิจัยการพัฒนากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและสารมูลค่าเพิ่มจากชีวมวลทางการเกษตร ครั้งที่ 3 ณ ห้องแกรนด์พาวิลเลี่ยน โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น (17 มิถุนายน 2562)


    การเผยแพร่ผลงาน: นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง Hydrogen and methane production from distillery wastewater and glycerol waste by coupling dark fermentation and microbial electrolysis cell. The 3rd Biomanufacturing Symposium 2019. Swiss Garden Beach Resort, Perak, Malaysia. (9-10 April 2019)


    การติดต่อ : ผศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา 062145-9145 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบใบพัดสวนทาง
    (Counter rotating-blade wind turbine generator)

    เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบใบพัดสวนทาง อาศัยหลักการทำงานเช่นเดียวกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยทั่วๆ ไป ที่ให้สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดขดลวด หรือขดลวดเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กก็จะได้ไฟฟ้าออกมา โดยที่แรงดันที่เกิดขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองตัวคือ เส้นแรงแม่เหล็กและความเร็วรอบ โดยเส้นแรงแม่เหล็กถูกกำหนดโดยผู้ผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาแล้วจากโรงงาน ส่วนความเร็วรอบนั้นสามารถแปรผันได้เมื่อนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามาใช้งาน จากเหตุนี้เองผู้ประดิษฐ์จึงมีแนวคิดในการทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมมีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เหมือนเดิม โดยการเคลื่อนที่ตัดกันของขดลวดกับสนามแม่เหล็กในทิศทางตรงกันข้ามโดยอัตโนมัติ เป็นการลดระยะทางในการเคลื่อนที่ เปรียบเสมือนการเร่งความเร็วของโรเตอร์ให้เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถผลิตไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าตัวเดิม ลม และพื้นที่รับลมเท่ากัน สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ได้รับรางวัลทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ และอยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร (เลขที่คำขอ 1301004951)


    Counter rotating-blade wind turbine generator is the wind turbine generator consist with 2 blades set, each blade set connecting coil or permanent magnet field of generator. Each blade set can be freely moving in opposite direction by adjusting the blade angle. This working mechanism will be reduced the moving distance of coil pass magnetic field in conventional generator to generated electricity, same result as either part spinning faster. Comparing to conventional wind turbine generator, this counter rotating-blade wind turbine generator earn higher efficiency with the same resources (ex. same generator or same wind velocity).

    ที่มา เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบใบพัดสวนทาง โดย ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การผลิตไฮโดรเจนและมีเทนจากการหมักย่อยร่วมระหว่างน้ำกากส่าและกากยีสต์ Hydrogen and methane production from co-digested of molasses and brewer’s yeast cells

    สารผสมสำหรับการผลิตไฮเทน อนุสิทธิบัตรเลขที่ 20002

    แหล่งทุน

    งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ผศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา

    ผู้ดำเนินการร่วม

    คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    คำอธิบาย

    การพัฒนาสูตรผสมระหว่างน้ำกากส่าและกากยีสต์สำหรับการผลิตไฮโดรเจนและมีเทน โดยมีการใช้เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าเป็นตัวควบคุมการเปลี่ยนแปลงพีเอช (pH) ของระบบการหมัก

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกประสบปัญหาหรือได้รับผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมต่างๆ กระแสการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศมีเพิ่มมากขึ้น  ประเทศไทยสามารถผลิตได้ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานชีวภาพ แต่ ณ ปัจจุบันการผลิตพลังงานชีวภาพนั้นจะมุ่งเน้นไปในทิศทางการผลิตโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเนื่องจากเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ที่คุ้มค่าเพราะได้ทั้งกำจัดของเหลือทิ้งและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุเหลือทิ้งดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานชีวภาพ คือ ไฮโดรเจนและมีเทน ไฮโดรเจนมีค่าพลังงานสูงกว่าไฮโดรคาร์บอนถึง 2.75 เท่า (142.35 กิโลจูล/กรัม) เป็นแหล่งพลังงานสะอาดและมีแนวโน้มในการนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงแทนน้ำมันปิโตรเลียมในอนาคตอันใกล้ ขณะที่มีเทนเป็นแหล่งพลังงานที่ให้ค่าความร้อนสูงถึง 21,000 กิโลจูล/ม3 ดังนั้นจึงนำมาใช้ประโยชน์ในรูปของพลังงานได้ เช่น นำไปเผาไหม้เพื่อใช้ประโยชน์จากความร้อนโดยตรง หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับขับเคลื่อนเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้า และปัจจุบันเทคโนโลยีการใช้มีเทนเป็นแหล่งพลังงานทดแทนมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ การนำไฮโดรเจนและมีเทนมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ให้กับเครื่องยนต์ และช่วยลดการปลดปล่อยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนให้น้อยลงกว่า 50% ก๊าซผสมระหว่างไฮโดรเจนและมีเทน เรียกว่า ไฮเทน ซึ่งเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่กำลังได้รับความสนใจและกำลังถูกใช้เชิงพาณิชย์ในแถบประเทศอเมริกาและอินเดีย

     

    น้ำกากส่าเป็นของเสียเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตเอทานอล  โดยโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศไทยส่วนมากจะใช้กากน้ำตาลหรือ molasses เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นและเมื่อผ่านกระบวนการกลั่นจะได้ของเสียที่เรียกว่า น้ำกากส่า ซึ่งน้ำกากส่าจะมีปริมาณสารอินทรีย์ค่อนข้างสูง น้ำกากส่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเช่น นำมาราดถนนลูกรังเพื่อลดฝุ่น นำมาเลี้ยงปลาและเลี้ยงจุลินทรีย์เพื่อผลิตโปรตีนเซลล์เดียว ใช้ในรูปของปุ๋ย ปุ๋ยหมัก และผลิตก๊าซมีเทน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามจากกำลังการผลิตเอทานอลต่อวันของแต่ละโรงงานทำให้ยังคงมีปริมาณน้ำกากส่าเหลือทิ้งค่อนข้างมาก ดังนั้นการนำน้ำกากส่ามาใช้ประโยชน์เพิ่มเติม ยังคงมีความจำเป็นทั้งนี้เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นและเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียเหลือทิ้ง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะนำน้ำกากส่ามาใช้เป็นสับสเตรทตั้งต้นในการผลิตพลังงานทดแทนได้แก่ ไฮโดรเจนและมีเทน โดยใช้กระบวนการหมักแบบต่อเนื่องในถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบสองขั้นตอนเพื่อผลิตไฮโดรเจนและมีเทน

    ผลการดำเนินงาน

    ทางโครงการได้พัฒนาต่อยอดโครงการ โดยนำสูตรผสมดังกล่าวไปใช้ในการผลิตไฮโดรเจนและมีเทนในระดับขยายขนาดในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ จนได้ระบบการผลิตระดับต้นแบบห้องปฏิบัติการ พร้อมทั้งนำน้ำเสียที่เหลือทิ้งจากต้นแบบดังกล่าวจากการผลิตไปต่อยอดผลิตเป็นปุ๋ยอัดเม็ด

    การนำไปใช้ประโยชน์

    นักวิจัยหลักและผู้ร่วมวิจัยของโครงการได้ใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา โดยอาจารย์ ดร.ชัชวินทร์ นวลศรี ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้ทดสอบสาธิตในการเรียนการสอน

    ผลงานตีพิมพ์

    Nualsri, C., Phasukarratchai, N., Sreela-or, C., Sittijunda, S. 2020.Optimum hydraulic retention time for dark-fermentative hydrogen production from co-digestion of vinasse and dried spent yeast. The Journal of Applied Science Vol. 19 No. 2: 101-115.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์

    โครงการนี้มีการใช้เถ้าลอยซึ่งเป็นของเสียเหลือทิ้งจากโรงไฟฟ้ามาใช้เป็นตัวควบคุมการเปลี่ยนแปลงพีเอช และพบว่าสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงพีเอชได้เป็นอย่างดีในขั้นตอนการผลิตไฮโดรเจนที่มีการสร้างกรดไขมันระเหยง่ายสะสมค่อนข้างเยอะ

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    เป็นแนวทางส่งเสริมให้มีการหันมาผลิตและใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ อีกทั้ง  ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงานผลิตเอทานอล และโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรงไฟฟ้า สามารถกำจัดของเสียเหลือทิ้งทั้งน้ำกากส่าและกากเซลล์ยีสต์ พร้อมทั้งเถ้าลอยที่เกิดขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัด และยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียดังกล่าวด้วย และเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตไฮเทนจากของเสียดังกล่าวให้กับโรงงานต่างๆ

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    7

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    12

    รูปภาพประกอบ

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

    การใช้พลังงานทางเลือกเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาภาวะโลกร้อน

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    http://www.thai-explore.net/search?searchIndex=%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%

    E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%

    E0%B8%A2%E0%B9%8C%20%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%

    B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2&option=author

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

     

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    7.4.3

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.