• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
A Beginner Workshop on the Application of Information Technology for Environment and Resource Management (Open to Public and Relevant Organizations

SDG13

หัวข้อ

รายละเอียด

SDG goal หลัก:

13 (Target 13.3: Indicator 13.3.1)

ชื่องานวิจัย:

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (สำหรับบุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) (A Beginner Workshop on the Application of Information Technology for Environment and Resource Management (Open to Public and Relevant Organizations))

คณะ:

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

ที่มาและความสำคัญ:

ปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน และได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านที่ดิน ด้านการใช้ที่ดิน ด้านผังเมือง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการเกษตร ด้านป่าไม้ ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร เป็นต้น

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (สำหรับบุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง )มุ่งหวังที่จะถ่ายทอดแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเบื้องต้น ให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้อง

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

ภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย

วัตถุประสงค์:

เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในภาคกลางและภาคตะวันตก ระหว่างองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

แหล่งทุนสนับสนุน:

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.)

หน่วยงานที่ร่วมมือ:

สทอภ.

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

สทอภ. หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชนในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย

ระดับความร่วมมือ:

ระดับภูมิภาค

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

(ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ไปประยุต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านประชากรและสังคม ด้านเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และด้านการจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

http://gistmu.mahidol.ac.th/

รูปภาพประกอบ:

 

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ:

9 15 17


The application of green office standard towards office of Local Administrative Organization and educational organizations for reducing energy utilization and greenhouse gases (GHGs) in Thailand

หัวข้อ

รายละเอียด

SDG goal หลัก:

12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

ชื่องานวิจัย:

การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

The application of green office standard towards office of Local Administrative Organization and educational organizations for reducing energy utilization and greenhouse gases (GHGs) in Thailand

ชื่อผู้วิจัย:

หัวหน้าการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.กิตติพงษ์  เกิดฤทธิ์

ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน

คณะ:

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ปีที่ดำเนินโครงการ:

2562

ที่มาและความสำคัญ:

สำนักงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐจึงสนับสนุนและส่งเสริมของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยการนำเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวมาใช้ในสำนักงาน เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน  ลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อย Green House Gases (GHGs) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสวนสาธารณะภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง

วัตถุประสงค์:

1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนัก พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. ศึกษาและลดปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา

แหล่งทุนสนับสนุน:

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

หน่วยงานที่ร่วมมือ:

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

ระดับความร่วมมือ:

ประเทศ

รายละเอียดผลงาน:

ศึกษาวิจัยการลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา โดยการนำมาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

-

รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

-

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

(ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

-

ข้อมูลการติดต่อ:

รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

โทร. 0-2441-5000 ต่อ 2304  โทรศัพท์มือถือ 08-1649-2158

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

รูปภาพประกอบ:

การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
 การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

6, 7, 8, 9, 11, 13


เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

หัวข้อ

รายละเอียด

SDG

11,13,16,17

ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

คณะ:

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2564

สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสหภาพยุโรป (The European Union - EU) และ สำนักงานศาลปกครอง

วัตถุประสงค์:

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง และการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:00 – 17:00 น. ผ่านระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม Zoom โดยความร่วมมือระหว่าง สหภาพยุโรป (The European Union - EU) สำนักงานศาลปกครอง และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง และการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน ทั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การมหาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม นักศึกษา ข้าราชการบำนาญ เข้าร่วมผ่านระบบ zoom และ Facebook Live รวมจำนวน 236 คน

กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การมหาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม นักศึกษา

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

236 คน

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

เผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

 
 

โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school)

โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school)

รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

Eco-school

ในปัจจุบัน หลายภาคส่วนให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ภาคการศึกษาก็เช่นกัน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการพัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนผ่านการดำเนินโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Eco-school โดยดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแนวคิดหลักของ Eco-school คือ การสร้างเด็กให้เติบโตเพื่อไปเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน โดยดำเนินการบนหลักการการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือ whole school approach for Environmental education เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน อันประกอบด้วยพันธกิจ 4 ด้าน เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้วิเคราะห์ พัฒนา และบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการสร้าง “พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม”

1. นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ

2. การจัดกระบวนการเรียนรู้

3.การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และ

4.การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา


Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand

Project Title: Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand

ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย

Researcher(s): Associate Professor Dr. Kanchana Nakhapakorn, Dr. Suparee Boonmanunt

Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

Research Details (In Brief):

A major study aims to improve understanding of the vulnerability of Thailand’s shoreline and coastal communities to storms, floods and coastal erosion under future climate change scenarios.

The Thai-coast project, led by Professor Cherith Moses from Edge Hill University, together with Dr. Kanchana Nakhapakorn from Mahidol University in Bangkok, has received £381,024 from the Natural Environment Research Council (NERC) and the Economic and Social Research Council (ESRC) to support the UK component of the project, and £123,000 from the Thailand Research Fund to support the Thai component, funded through the Newton Fund in Thailand. The project is working alongside colleagues at the University of Brighton, University of Sussex and Ambiental Technical Solutions in the UK, Mahidol University, Chulalongkorn University and Thammasat University in Thailand and the US’s National Center for Atmospheric Research and the Thailand Government on the three-year collaboration.

In Thailand the problems of coastal erosion and flooding require immediate attention and, most importantly, solutions because they affect 17 per cent of the country’s population – more than 11 million people.

The Thai Government’s Department of Marine and Coastal Resources (DMCR) has calculated that each year, erosion causes the country to lose 30 square kilometres of coastal land. The country’s Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning predicts the sea level will rise one metre in the next 40 to 100 years, which impacts at least 3,200 square kilometres of coastal land at a potential cost to Thailand of 3 billion baht (almost £70m).

The study aims to enhance the resilience and adaptation potential of coastal communities, applying scientific research to inform more robust and cost-effective solutions. The project focuses on two study areas, Nakhon Si Thammarat province and Krabi province, selected on the basis of DMCR coastal erosion data and the fact they have contrasting natural and socio-economic characteristics.

The Thai-coast project will use a multidisciplinary approach to improve understanding of hydro-meteorological hazard (storms, floods and coastal erosion) occurrence, their physical and socioeconomic, health and wellbeing effects on Thailand’s coastal zone and the ways in which governance and institutional arrangements mitigate their impact. The wider public, who inhabit Thailand’s coastal communities either permanently or temporarily for work or leisure, will benefit through the advanced knowledge and awareness of identified problems and learning processes to address them.

Key Contact Person: Assoc. Prof. Dr.Kanchana Nakhapakorn, +66 02 441 5000 ext 1240 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

The contributing academics and organizations for this study are:
Professor Cherith Moses, Edge Hill University
Dr Raymond Ward, University of Brighton
Dr John Barlow, University of Sussex
Dr Yi Wang, University of Sussex
Dr Charles Watters, University of Sussex
Professor Paul Statham, University of Sussex
Dr Kanchana Nakhapakorn, Mahidol University
Dr Uma Langkulsen, Thammasat University
Dr Pannee Cheewinsiriwat, Chulalongkorn University
Dr Chalermpol Chamchan, Mahidol University
Dr Suparee Boonmanun, Mahidol University
Mr David Martin, Ambiental, Sussex Innovation Centre
Dr Jimy Dudhia, National Centre for Atmospheric Research, US
Mr Paritad Charoensit, Department of Marine and Coastal Resource, Thailand


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.