• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    หัวข้อ

    รายละเอียด 

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2564

    ที่มาและความสำคัญ:

    เป็นการฝึกอบรมให้ผู้ที่สนใจการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม” ซึ่งหน่วยงาน องค์กรต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นISO 14001, สำนักงาน สีเขียว (Green Office) เป็นต้น

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/th/RACEM

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ2304  โทรศัพท์มือถือ08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

      

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • ชื่อโครงการวิจัย: การพัฒนาระบบอัตโนมัติของอากาศยานไร้คนขับสำหรับพ่นสารอินทรีย์ทางใบสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะม่วงสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก

    Development of automated systems for the Unmanned Aerial Vehicle for organic leaf spray to promote the growth of mangoes for export production

    ชื่อผลงานวิจัย:   อากาศยานไร้คนขับสำหรับพ่นสารอินทรีย์ทางใบสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะม่วงสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก

    ชื่อผู้วิจัย:        อาจารย์ ดร.รัตนะ บุลประเสริฐ

    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

     

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ):

    โครงการอากาศยานไร้คนขับพ่นสารเคมีแบบมุ่งเป้าสำหรับการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกเป็นนวัตกรรมได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างเวทีต่อยอดงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2560 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่มีเป้าหมายเพื่อการลดต้นทุนโดยตรงของการผลิตพัฒนาการผลิตมะม่วงเชิงการค้าเพื่อการส่งออกโดยใช้วิธีการลดปริมาณการใช้สารเคมี ต้นทุนค่าแรงงาน และเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้นสำหรับพ่นสารอินทรีย์ทางใบสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของการผลิตมะม่วงสำหรับการผลิตมะม่วงที่สร้างขึ้นมีความเม่นยำสูงและปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ผลิตและลดค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 4050 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด โดยพบว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันของสารเคมีที่ใช้สามารถพ่นมีการสูญเสียมากกว่า 80% นวัตกรรมนี้ได้รับการพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับพ่นสารอินทรีย์สำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตสำหรับการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของอากาศยานไร้คนขับพ่นสารเคมีแบบมุ่งเป้าสำหรับการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีและต้นทุนค่าแรงงานและเพิ่มศักยภาพการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จึงเป็นแนวทางการลดปริมาณการใช้สารเคมีและต้นทุนค่าแรงงานได้มากกว่าร้อยละ60 ของต้นทุนที่เกษตรกรต้องสูญเสียไป 

    นวัตกรรมที่สร้างครั้งนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI) เพื่อการตรวจจับ 3 ระยะหลักของการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกที่มีการใช้สารเคมีทางใบมากที่สุดด้วยระบบการเข้าถึง ค้นหาและเป้าหมายได้โดยอัตโนมัติ ที่ผลิตมาเฉพาะมะม่วงเพื่อการส่งออกที่สามารถใช้ได้ทั่วไปกับโครงสร้างเครื่องบินปีกหมุนแบบปีกเดียวขนาดอื่นๆที่มีระบบถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแบบไม่จำกัดรุ่นและง่ายต่อผู้ใช้งาน โดยทั่วไปสามารถผลิตเองได้จากชิ้นส่วนภายในประเทศ

     รางวัลที่ได้รับ :

    รางวัลระดับชาติ

    ปี พ.ศ. 2561

    รางวัลชนะเลิศการแข่งขันประกวดธุรกิจนวัตกรรม การแข่งขันประกวดธุรกิจนวัตกรรม ประเภทเศรษฐกิจ โครงการประกวดธุรกิจนวัตกรรมUAV Startup 2018 หัวข้อ "นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้ผล" จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ในฐานะหัวหน้าทีม และเจ้าของผลงานนวัตกรรม ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

    ปี พ.ศ. 2561

    รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งชาติประเภทUAV Startup 2018 ด้านเศรฐกิจ" ในงานInnovation Thailand Expo 2018 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนาในงานINNOVATION THAILAND EXPO 2018 ระหว่างวันที่ 4 - 7 ตุลาคม 2561 ที่ฮอลล์ 98 ไบเทค บางนา โดยได้ส่งผลงานเข้าประกวด ในโครงการประกวดธุรกิจนวัตกรรมUAV Startup 2018 หัวข้อ "นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออก" ซึ่งจัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

     

    รางวัลอื่นๆ

    ปี พ.ศ. 2561

    ได้รับการคัดเลือกอยู่ในกลุ่มผลงานเกียรติยศ ในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี2561 ในผลงานนวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้ผลในงานงานมหกรรมคุณภาพ จัดภายใต้หัวข้อ“Innovative Organization: องค์การแห่งนวัตกรรมมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันอังคารที่27 พฤศจิกายน2561 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

    ปี พ.ศ. 2561

    ได้รับการคัดเลือกอยู่ในกลุ่มผลงานเกียรติยศในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี2561 ในผลงานอากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิด โดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ ในงานงานมหกรรมคุณภาพ จัดภายใต้หัวข้อ“Innovative Organization : องค์การแห่งนวัตกรรมมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันอังคารที่27 พฤศจิกายน2561 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

     


     

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา:

    อยู่ในขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตรจำนวน 2 ชิ้นงาน ได้แก่ อากาศยานไรันักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้ จำนวน 2 ผลงาน

    การนำไปใช้ประโยชน์:

    1. ชุมชนและกลุ่มเกษตรกรทั่วไปปลูกมะม่วงและไม้ผล

    2กลุ่มเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกอ.สากเหล็ก จ.พิจิตร พื้นที่รวม 2 หมื่นไร่ ถือเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ

    การเผยแพร่ผลงาน:

     

    วัน/เวลา

    การเผยแพร่ผลงาน

    1.

    7 ตุลาคม 2561

    ระดับชาติ

    นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

    ในรายการ ห้องรับแขก โดย ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี และ พัชราภรณ์ ชมกลิ่น หัวข้อพูดคุยถึงโดรนที่ชนะการประกวดUAV Startup 2018 กับดร.รัตนะ บุลประเสริฐ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล และ ปิยะรัตน์ วิจักขณ์สังสิทธิ์ นักวิจัยชำนาญการ คณะเกษตร กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์

    ออกอากาศทางช่อง สถานีวิทยุFM 96.5 คลื่นความคิด มีรายการ ห้องรับแขกดำเนินรายการโดย ดร.ปนัดดา (บุ๋ม) วงศ์ผู้ดี และ พัชราภรณ์ ชมกลิ่น ออกอากาศประจำทุกวันอาทิตย์เวลา 19.3021.00 น. และในวันที่ 7 ตุลาคม 2561 เวลา 19.3021.00 น.

    2.

    30 ตุลาคม 2561

    ระดับชาติ

    นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

    ในหัวข้อ เรื่อง นวัตกรรมโดรนเพื่อนากุ้ง

    รายการข่าวโทรทัศน์ ช่อง 3SD รายการ มองโลกมองเรา 

    ออกอากาศ เวลา 8.00 น.วันที่30 ตุลาคม2561

    ออกอากาศทางช่อง  ช่อง 28SD รายการ มองโลกมองเรา ใน

    https://www.youtube.com/watch?v=omDk4hvSkl8

    3.

    21 พฤศจิกายน 2561

    ระดับชาติ

    นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

    ในหัวข้อ เรื่อง นวัตกรรมโดรนเพื่อไม้ผล

    รายการข่าวโทรทัศน์ ช่อง 3SD รายการ มองโลกมองเรา 

    ออกอากาศ เวลา 8.00 น. ในวันที่21 พฤศจิกายน2561

    https://www.youtube.com/watch?v=omDk4hvSkl8

    4.

    17 ธันวาคม 2561

    ระดับชาติ

    นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

    ในรายการเสวนาภาษาเกษตร ทางช่องFive Channel นำเสนอ โดรนเทคโนโลยีเกษตร ดร.รัตนะ บุลประเสริฐ

    ออกอากาศทางช่องFive Channel HD ในวันที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา07.30 -08.30 น. ดำเนินรายการโดย เอกชนะ ชุติยานนท์

    https://youtu.be/9fCNOnzQC_g

    5.

    2 ธันวาคม 2561

    นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อสาธารณะ

    ในการถวายรายงาน นวัตกรรมอากาศยานไรันักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออกและอากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิด โดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ วันที่ 2 ธันวาคม 2561 เวลา 15.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จพระราชดำเนินยังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในงาน เกษตรกำแพงแสน ประจำปี 2561 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1- 10 ธันวาคม 2561

    6.

    7 ธันวาคม 2561

    นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อสาธารณะ

    โดยการนำเสนอผลงานในฐานะวิทยากรการเสวนา

    ในหัวข้อ นวัตกรรมอากาศยานไรันักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออก ในงาน เกษตรกำแพงแสน ประจำปี 2561 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1- 10 ธันวาคม 2561

    7.

    14-15 พฤษภาคม 2562

    นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อสาธารณะ

    โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและกลุ่มเกษตรกรทั่วไปภายใต้โครงการฝึกอบรมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวข้อ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเกษตรแบบอัจฉริยะ ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 8.00 น.17.00 น ณ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมฯ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

    8.

    13 มิถุนายน 2562

    นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อสาธารณะ

    โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและกลุ่มเกษตรกร โดยนำเสนอผลงานในฐานะวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนในโครงการยกระดับและพัฒนาทางการเกษตรสมัยใหม่ประจำปีงบประมาณ 2562 โครงการย่อยที่ 4 การประยุกต์นวัตกรรมจากงานวิจัยสู่ชุมชนเพื่อการผลิตภาคเกษตรแบบยั่งยืนภายใต้กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดเทคโนโลยีอากาศยานไรันักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออกเพื่อรองรับเทคโนโลยี 4.0 และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก่กลุ่มเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกพื้นที่รวม 2 หมื่นไร่ ถือเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2626 อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ณ กลุ่มเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกอ.สากเหล็ก จ.พิจิตร 

     

    การติดต่อ

    อาจารย์ ดร.รัตนะ บุลประเสริฐ

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

    999 ถนนพุทธมณฑล สาย4, พุทธมณฑล, ศาลายา, นครปฐม73170

    โทรศัพท์/โทรสาร  02 441-5000 ต่อ2213 Fax:02 441 9509-10 มือถือ0874450909

    E-mail:rattana.boo@mahodol.ac.th,enrattana@gmail.com

    [Module-732]

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การศึกษา และวิเคราะห์เชิงระบบของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีผลต่อการหนุนเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG

    Investigating and Systematically Analyzing the Effects of Eco-Industry on BCG Economy Model

    แหล่งทุน

    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย มหิดล

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.กิติกร จามรดุสิต

    ผู้ดำเนินการร่วม

    รศ.ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์

    ดร.ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์

    คำอธิบาย

    การพัฒนาข้อเสนอแนะแก่ระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมที่มีผลต่อการหนุนเสริมการขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้านBCG ของประเทศไทยด้วยเทคนิคการจับกลุ่มคำ ลาเทนต์ ดิลิชเลท์ อัลโลเคชั่น (LDA) การวิเคราะห์งานวิจัยด้านBCG ในระดับประเทศไทยและระดับโลกด้วยวิธีวิเคราะห์บรรณมิติ (Bibliometric Analysis) และการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีQ-Methodology

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ

    ผลจากที่ประเทศไทยใช้ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดของเหลือทิ้งที่สร้างมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสุขภาพ จึงต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา อีกทั้งยังไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรได้เต็มศักยภาพ เกิดการพัฒนาแบบกระจุกตัว และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคส่วนต่างๆ  ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy :BCG Model) พ.ศ.2564-2569 พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจBCG เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศไทย การหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ จำเป็นต้องมีกรอบแผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมงานวิจัยให้มีบทบาทในการหนุนเสริม และต่อยอดการขับเคลื่อนตามกรอบยุทธศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยง สอดคล้อง เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์การเติบโตบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    การศึกษานี้เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลสถานภาพ และข้อมูลเชิงลึกของการดำเนินงานของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และการขับเคลื่อนประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมตามหลักวิชาการ ข้อมูลแนวทางตามกรอบยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนยุทธศาตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลBCG รวมถึงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเน้นหลักการของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผสานกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มุ่งเป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อันจะนำสู่ผลลัพธ์ของข้อเสนอแนะที่จะเป็นส่วนหนุนเสริมให้เกิดจุดคานงัดในการผลักดัน และมีผลต่อการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การสนับสนุนทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันภาคอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อขับเคลื่อนตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลBCG ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาทั้งในกรอบภาพใหญ่ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลBCG และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมีที่กำหนดเป็นโมเดลในการศึกษาเชิงลึก

     

    วัตถุประสงค์โครงการ

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะแก่ระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมที่มีผลต่อการหนุนเสริมการขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG คณะผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้านBCG ของประเทศไทยด้วยเทคนิคการจับกลุ่มคำ ลาเทนต์ ดิลิชเลท์ อัลโลเคชั่น (LDA) การวิเคราะห์งานวิจัยด้านBCG ในระดับประเทศไทยและระดับโลกด้วยวิธีวิเคราะห์บรรณมิติ (Bibliometric Analysis) และการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีQ-Methodology

     

    ผลการดำเนินงาน

    ผลการวิเคราะห์เอกสารด้วย LDA พบว่ามีประเด็นหลักรวม 13 หัวข้อจากเอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้านBCG โดยประเด็นสำคัญที่เป็นหัวข้อที่พบมากในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ได้แก่การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งนับเป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจBCG ผลการวิเคราะห์บรรณมิติพบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับBCG ของประเทศไทยมีความกระจุกตัวอยู่ในบางหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเท่านั้น ข้อเสนอแนะคือควรมีงานวิจัยสหวิทยาการข้ามศาสตร์ และงานวิจัยที่เริ่มจากการตั้งโจทย์จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เป็นต้น ผลการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยQ-Methodology สรุปว่าประเทศไทยสามารถใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจBCG รวม 4 รูปแบบ (Models) ได้แก่ (1) การมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (2) การสร้างมาตรการส่งเสริม และแรงจูงใจ อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนารากฐานงานวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม และ (4) การสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม

     

    The objective of this research is to develop suggestions for a science, research and innovation system that supports industrial advancement according to the BCG economy model. This research incorporated a mixed-method including an analysis of Thailand’s BCG-related documents using an unsupervised machine learning - topic modelling - algorithm called latent Dirichlet allocation (LDA), an analysis of research on the Thai and international levels using a bibliometric analysis method, and a development of suggestion models using inductive qualitative interviews and Q-methodology factor analysis.

     

    The results of LDA found that there are 13main topics that were discussed in BCG-related documents. The two most frequently found topics in the Action Plan - “collaboration” and “innovation” - are the key factors driving the BCG economy model. The bibliometric analysis found that Thailand’s BCG-related research often concentrates on a few technology-related topics. Suggestions include a more emphasis on multidisciplinary research and research that is initiated by other key stakeholders. Further, this research used Q-methodology to suggest four models for a science, research and innovation system of Thailand. The four models are (1)sustainable innovation acceleration, (2)efficient incentive programs, (3)collaborative research infrastructure, and (4)decentralized inclusive support.

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้นำผลการวิจัยไปจัดทำนโยบายและกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนโมเดล BCG ด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (ววน.)

     

    ผลงานตีพิมพ์

    อยู่ระหว่างการพัฒนาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

     

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ผลกระทบในระดับประเทศ การบูรณาการข้อมูลทำให้เห็นถึงสถานภาพของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ภายในประเทศที่ผ่านมาและการขับเคลื่อนประเทศตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของภาคส่วนต่างๆและเชื่อมโยงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ด้านงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจBCG

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    9

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    8

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

    Key Message

     

    ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการและการพัฒนาระบบนิเวศที่มีส่วนหนุนเสริม งานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    -

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    -

  • Project Title: Efficacy development of insect repellent from Chromolaena odorata and Vernonia cinereal (L.) extracts for bio-control of Plutella xylostella L. in green vegetable cultivation

    Research Title: Insect repellent from Chromolaena odorata and Vernonia cinereal (L.) extracts for bio-control in green vegetable cultivation
    Researcher(s): Ms. Ladda Saengon; Assoc.Prof.Dr. Sayam Aroonsrimorakot; Asst.Prof.Dr. Preeyaporn Koedrith; Asst.Prof.Dr. Panupong Puttarak; Asst.Prof.Dr. Ammorn Insung
    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):
    This research aimed at developing Thai herbal weeds in controlling pest insect with use of bioactive natural compounds in environmentally- and consumer-friendly manner. We also wish to develop innovative pest management in agricultural area or pest control products prototype with integrative appropriate biotechnology. Herein, we assessed efficacy of crude extracts of Chromolaena odorata (Siam weed) and Vernonia cinerea (L.) (Little ironweed) using 95% EtOH soaking, EM, and organic solvents (EtOH, EtOAc, and Hexane) in controlling 2nd larvae of Spodoptera litura (Fabricius) by leaf-dipping test for 24, 48, and 72 hours. At 48 hours Siam weed crude extracts using soaking at 5% (w/w) showed maximum accumulative lethality at 100%, its extracts using EM at 3.33% exhibited maximum accumulative lethality at 85%, and its extracts using Hexane at 5 mg/ml had maximum accumulative lethality at 95% while EtOAc- and EtOH-based extracts had lower maximum accumulative lethality (70% and 60%, respectively). Interestingly, Little ironweed crude extracts using soaking at all tested concentrations (5.0, 12.5 and 25.0% w/w) displayed maximum accumulative lethality at 100%, its extracts using EtOH (at 0.01, 0.1, 1.0 and 5.0 mg/ml) showed also maximum accumulative lethality at 100%, and its extracts using EtOAc and Hexane at 5 mg/ml had slightly lower (80%) maximum accumulative lethality. Importantly, at 72 hours both of Thai weed crude extracts using soaking, EM, and all tested organic solvents at most of tested concentrations exhibited maximum accumulative lethality at 100%. Our results demonstrated that at 72 hours both of Thai weed crude extracts using soaking and EM could effectively kill 2nd larvae of common cutworm at 100% lethality, as comparable to their crude extracts using tested organic solvents. This indicated good trend with use of both Thai weed extracts for controlling the pest insect in further semi-field study, compared to commercial herbal product and chemical insecticide.

    Award Grant Related to the Project : This study was supported by research grant funded by Agricultural Research Development Agency (Public Organization) (ARDA).

    Key Contact Person: Asst.Prof.Dr. Preeyaporn Koedrith; +66(0)2441500 ext 1224; This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: การพัฒนาประสิทธิภาพสารไล่แมลงจากสารสกัดจากสาบเสือ และหญ้าดอกขาว เพื่อควบคุมหนอนใยผักแบบชีววิถี ในการปลูกผักกินใบ

    ชื่อผลงานวิจัย: สารสกัดธรรมชาติไล่แมลงจากพืชสมุนไพรไทยสาบเสือ และหญ้าดอกขาว เพื่อควบคุมศัตรูในผักกินใบแบบชีววิถี

    ชื่อผู้วิจัย: นางสาวลัดดา เสียงอ่อน รศ.ดร. สยาม อรุณศรีมรกต ผศ.ดร. ปรียาพร เกิดฤทธิ์ ผศ.ดร. ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ผศ.ดร. อำมร อินทร์สังข์

    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ):
    งานวิจัยนี้มุ่งหมายพัฒนาสมุนไพรที่หาได้ง่ายมาประยุกต์ในการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งอาศัยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ทั้งนี้ยังมุ่งหวังสู่การต่อยอดในเชิงนวัตกรรมการจัดการป้องกันศัตรูพืชในพื้นที่เกษตรกรรม หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ยับยั้งศัตรูพืชต้นแบบ ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีชีวภาพที่เหมาะสม การศึกษาฤทธิ์และประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทย 2 ชนิด คือ สาบเสือ และหญ้าดอกขาว ที่ผ่านการสกัดด้วย 3 วิธีหลัก คือ การแช่ยุ่ยด้วย 95% แอลกอฮอล์ การหมักด้วยอีเอ็มและการสกัดด้วยสารละลายอินทรีย์ (Ethanol Ethyl Acetate และHexane) ในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก ระยะ 2 ด้วยวิธีจุ่มใบ พบว่าที่ 48 ชั่วโมง สารสกัดสาบเสือด้วยการแช่ยุ่ย ที่ความเข้มข้น 5% (w/w) ซึ่งเป็นความเข้มข้นต่ำสุดที่ศึกษา ทำให้หนอนตามสะสมสูงสุด 100% สารสกัดสาบเสือด้วยการหมักอีเอ็ม ที่ความเข้มข้น 3.33% ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 85% และสารสกัดสาบเสือด้วยสารละลาย Hexane ที่ความเข้มข้น 0.001 1.0 และ 5.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสม 75% 85% และ 95% ตามลำดับ ขณะที่สารสกัดดังกล่าวด้วยสารละลาย EtOAc ที่ความเข้มข้น 5.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 70% และสารสกัดด้วย EtOH ที่ความเข้มข้น 0.001 และ 1.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 60% สำหรับสารสกัดจากหญ้าดอกขาวด้วยการแช่ยุ่ย ที่ทุกความเข้มข้นที่ศึกษา (5.0 12.5 และ 25.0%) ทำให้หนอนตายสะสม 100% สารสกัดหญ้าดอกขาวด้วยการหมักอีเอ็ม ที่ความเข้มข้น 16.5% (w/w) ทำให้หนอนตายสะสม 65% และสารสกัดหญ้าดอกขาวด้วยสารละลาย EtOH ที่ความเข้มข้น 0.01 0.1 1.0 5.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 100% และที่ความเข้มข้น 0.001 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสม 75% ขณะที่สารสกัดดังกล่าวด้วยสารละลาย Hexane และ EtOAc ที่ความเข้มข้น 5.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 80% และที่ 72 ชั่วโมง พบว่า สารสกัดสมุนไพรทั้งสองชนิด ด้วยการแช่ยุ่ย การหมักด้วยอีเอ็ม และสารละลายอินทรีย์ทั้งสามชนิด ที่ความเข้มข้นที่ศึกษาส่วนใหญ่ ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 100 % จากผลการทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าหนอนเป้าหมายในระดับห้องปฏิบัติการ สรุปได้ว่า ที่ 72 ชั่วโมง สารสกัดสมุนไพรทั้งสองชนิดด้วยวิธีการแช่ยุ่ย และการหมักด้วยอีเอ็ม ให้ผลดี ฆ่าหนอนได้ 100% เทียบเคียงกับผลของสารสกัดด้วยสารละลายอินทรีย์ทั้งสามชนิด เป็นแนวทางที่ดีที่จะนำสารสกัดสมุนไพรทั้งสองชนิดไปทดสอบเบื้องต้นประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนศัตรูพืชในแปลงผักทดสอบกึ่งภาคสนาม เทียบกับสารสกัดสมุนไพรทางการค้าและสารเคมีกำจัดแมลง

    รางวัลที่ได้รับ : โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
    การติดต่อ: ผศ.ดร. ปรียาพร เกิดฤทธิ์ 024415000 ต่อ 1224; This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    [Module-730]

  • โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school)

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    Eco-school

    ในปัจจุบัน หลายภาคส่วนให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ภาคการศึกษาก็เช่นกัน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการพัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนผ่านการดำเนินโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Eco-school โดยดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแนวคิดหลักของ Eco-school คือ การสร้างเด็กให้เติบโตเพื่อไปเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน โดยดำเนินการบนหลักการการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือ whole school approach for Environmental education เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน อันประกอบด้วยพันธกิจ 4 ด้าน เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้วิเคราะห์ พัฒนา และบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการสร้าง “พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม”

    1. นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ

    2. การจัดกระบวนการเรียนรู้

    3.การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และ

    4.การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา

  • เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (The Development of Household Organic Waste Digester  for Environmental Sustainability) 

    อ.ดร.นรินทร์ บุญตานนท์

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.