• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • โรงเรียนสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    11. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    โรงเรียนสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    20 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2563

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อเสริมสร้างให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเห็นถึงคุณค่าและสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้นผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งเนื้อหาการสอน การฝึกทักษะจากการทดลอง พร้อมทั้งการปฏิบัติจริง มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ และการทำโครงงานกลุ่มด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จะมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกำหนดเนื้อหาและวิธีการจัดอบรมให้กับเยาวชน

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสมุทรสาคร

    - จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    102  คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายและแกนนำของเยาวชนในการสื่อสารไปสู่ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนท้องถิ่นให้ร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรสาครต่อไป

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/th/samutsakhonenvischool

    รูปภาพประกอบ:

     

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    12 14 และ 15

  • โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Eco-school)

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    Eco-school

    ในปัจจุบัน หลายภาคส่วนให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ภาคการศึกษาก็เช่นกัน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการพัฒนางานสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนผ่านการดำเนินโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Eco-school โดยดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแนวคิดหลักของ Eco-school คือ การสร้างเด็กให้เติบโตเพื่อไปเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อันจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน โดยดำเนินการบนหลักการการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือ whole school approach for Environmental education เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาโรงเรียน อันประกอบด้วยพันธกิจ 4 ด้าน เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้วิเคราะห์ พัฒนา และบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการสร้าง “พลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม”

    1. นโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ

    2. การจัดกระบวนการเรียนรู้

    3.การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และ

    4.การมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา

  • เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG

    11,13,16,17

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2564

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสหภาพยุโรป (The European Union - EU) และ สำนักงานศาลปกครอง

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง และการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เวทีส่งเสริมภาคประชาสังคมขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม กับการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:00 – 17:00 น. ผ่านระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม Zoom โดยความร่วมมือระหว่าง สหภาพยุโรป (The European Union - EU) สำนักงานศาลปกครอง และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง และการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน ทั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การมหาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม นักศึกษา ข้าราชการบำนาญ เข้าร่วมผ่านระบบ zoom และ Facebook Live รวมจำนวน 236 คน

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระและองค์การมหาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม นักศึกษา

    จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    236 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปการจัดการ สิ่งแวดล้อมและการระงับข้อพิพาทเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

     
     
  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

    The application of green office standard towards office of Local Administrative Organization and educational organizations for reducing energy utilization and greenhouse gases (GHGs) in Thailand

    ชื่อผู้วิจัย:

    หัวหน้าการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.กิตติพงษ์  เกิดฤทธิ์

    ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2562

    ที่มาและความสำคัญ:

    สำนักงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐจึงสนับสนุนและส่งเสริมของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยการนำเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวมาใช้ในสำนักงาน เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน  ลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยGreen House Gases (GHGs) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสวนสาธารณะภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง

    วัตถุประสงค์:

    1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนัก พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    2. ศึกษาและลดปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    ศึกษาวิจัยการลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา โดยการนำมาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    -

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ 2304  โทรศัพท์มือถือ 08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
     การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • Project Title: Sustainable city 

    Research Title: Progress of Sustainable Citiy

    Researcher(s): Assoc. Prof. Dr. Kitikorn Charmondusit, Dr. Poonperm Vardhanabindu, 

    Miss Jutamas Yimpray

    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):

    From the support of The Thailand Research Fund or TRF (currently Thailand Science Research and Innovation: TSRI), The Eco-Industry Research and Training Center, Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University has been active as the Research Coordinating Office for Sustainable City since 2016. The Research Coordinating Office (RCO) has been working very closely with many talented researchers in Thailand. The RCO seeks for potential researchers from around the country to equip them with state of the art research ideas and support them with proper techniques to propose and be awarded research funds from TRF. The objectives of the RCO are 1) to support researchers on developing state of the art proposals, proposals that explicates previous research topics or ones that have potential links with previous TRF research topics all under the topic of Sustainable City; 2) to build research/academic network with educational institutions, governmental offices or local authorities in order to develop related knowledge on developing cities sustainably; and 3) to coordinate with researchers in the ROC for mid-term and full-term progresses.

    The ROC has been strictly following the objectives that currently, there has been 10 research topics the office has supported. Six out of which were completed and have outcomes that have served governmental and local authorities around Thailand with outstanding feedbacks. At this stage, 1 research topic is undergoing and 3 topics are in the stages of developing contracts. The amount of funding the ROC has supported research topics for 6 topics completed and 1 undergoing comes higher than 10 million baht and is estimated that more than 7 million baht will be awarded to the 3 progressing topics. The ROC consistently reports the outcome of each research topic online and has published a handbook, “The Knowledge Evaluation of Sustainable City Thailand”. The book describes the opportunities for Thailand to reach area-based sustainability and the directions of how to achieve sustainability. The handbook can be downloaded free of charge from the official website. 

    Publishing: Book “A KNOWLEDGE ASSESSMENT ON SUSTAINABLE CITIES IN THAILAND”

    Key Contact Person

    The Eco-Industry Research and Training Center

    Faculty of Environment and Resource Studies

    Mahidol University

    Phone: 02-4415000 ext. 1329 

    Mobile: 090-3272030 

    Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: ชุดโครงการเมืองยั่งยืน

    ชื่อผลงานวิจัย: ความก้าวหน้าชุดโครงการเมืองยั่งยืน

    ชื่อผู้วิจัย: รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต, ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ, นางสาวจุฑามาศ ยิ้มพราย 

    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ)

    ด้วยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ในฐานะสำนักประสานงานชุดโครงการ “เมืองยั่งยืน”  ได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการและประสานงานเพื่อส่งต่อให้ทางสกว. ซึ่งปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นผู้ให้ทุนเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัย โดยวัตถุประสงค์ของชุดโครงการ คือ 1) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยในลักษณะของงานวิจัยใหม่ และงานวิจัยต่อยอดที่มีความเชื่อมโยงกับงานวิจัยเดิม หรือบูรณาการเชื่อมโยงกับงานวิจัยฝ่ายอื่นที่สกว. ให้การสนัสนุน เพื่อนำไปสู่งานวิจัยด้านการพัฒนาเมืองยั่งยืน 2) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายวิจัยร่วมกับภาคสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อรูปแบบการพัฒนาเมืองให้มีความยั่งยืน 3) เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน ติดตามความก้าวหน้า และจัดทำบทสรุปผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยภายใต้โครงการ 

    ทางชุดประสานงานทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รวมถึงการหานักวิจัยเพื่อการพัฒนาข้อเสนอโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืน ดูแลนักวิจัยในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และเผยแพร่องค์ความรู้ในชุดโครงการมาเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีโครงการที่รับผิดชอบรวมแล้วทั้งหมด 10 โครงการ โดย 6 โครงการมีการทำวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว 1 โครงการอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ และ 3 โครงการอยู่ในขั้นตอนการเซ็นสัญญากับทาง สกสว. โดยรวมงบประมาณที่มีการให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยแล้วมากกว่า 10 ล้านาท และจะมีการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับโครงการที่กำลังพัฒนาอีกกว่า 7 ล้านบาท นอกจากนี้ชุดประสานงานยังมีการเผยแพร่การทำงาน โครงการวิจัยในการดูแล และองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการผ่านทางเว็บไซด์ และได้จัดพิมพ์หนังสือ “การประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย” ซึ่งเป็นหนังสือที่ช่วยให้เข้าใจและทราบถึงความเป็นมาและทิศทางการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืนในประเทศเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนกับการพัฒนาเมืองในบริบทสากล ซึ่งหนังสือนี้สามารถดาว์โหลดได้ผ่านเว็บไซด์ของชุดโครงการ

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี): -

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี): -

    การนำไปใช้ประโยชน์(ถ้ามี): หนังสือการประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย 

    การเผยแพร่ผลงาน: หนังสือการประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย (A KNOWLEDGE ASSESSMENT ON SUSTAINABLE CITIES IN THAILAND)

    โดย สำนักประสานงานชุดโครงการเมืองยั่งยืนและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

    การติดต่อ: สำนักประสานงานชุดโครงการเมืองยั่งยืน

    ชั้น 3 อาคาร 1 ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมนิเวศวิทยาอุตสาหกรรม

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    เบอร์ติดต่อ 02-4415000 ต่อ 1329 

    โทรศัพท์มือถือ 090-3272030 

    อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.



  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    Project:  Thai Coast: Coastal Vulnerability, Resilience and Adaptation in Thailand

    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

    ผู้ดำเนินการหลัก

    (หัวหน้าโครงการ)

    รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา  นาคะภากร

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     

    คำอธิบาย

     

    The Thai-coast project is helping improve scientific understanding of the vulnerability of Thailand’s coastal communities to hydro-meteorological hazards, including storms, floods and coastal erosion, under future climate change. For the study sites in Krabi and Nakhon Si Thammarat Provinces, key findings are that modelled future climate change indicates more extended and severe floods in Southern Thailand with the risk of flash floods increasing significantly, and erosion and accretion rates are more dramatic on mangrove coastlines compared with sandy coastlines. Despite variable physical and socio-economic resilience, the two study sites have comparable coastal vulnerability index (CVI) values. Project results impact through public engagement, dissemination and dialogue with policy makers and coastal communities.

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    In Thailand the problems of coastal erosion and flooding require immediate solutions because they affect more than 11 million people living in coastal zone communities (17% of the country’s population).

    The Department of Marine and Coastal Resources (DMCR), in the Thai Government’s Ministry of Natural Resources and Environment, has calculated that each year erosion causes Thailand to lose 30 km2 of coastal land.

    The Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning predicts that sea level will rise by 1 metre in the next 40 -100 years, impacting at least 3,200 km2 of coastal land, through erosion and flooding, at a potential financial cost to Thailand of 3 billion baht [almost £70 million] over that time-period. The Thai-coast project addresses the urgent need to enhance the resilience and adaptation potential of coastal communities, applying scientific research to inform more robust and cost-effective governance and institutional arrangements.

    The Thai-coast project aims to:

    Establish causal links between climate change, coastal erosion and flooding;

    Use this information to assess the interaction of natural and social processes in order to:

    Enhance coastal community resilience and future sustainability.

    The project focuses on two study areas, Nakhon Si Thammarat province and Krabi province, selected on the basis of DMCR coastal erosion data and with contrasting natural and socio-economic characteristics. The Thai-coast project uses a multidisciplinary approach, integrating climate science, geomorphology, socio-economics, health and wellbeing science and geo-information technology to improve understanding of hydro-meteorological hazard occurrence, their physical and socioeconomic, health and wellbeing impacts on Thailand’s coastal zone and the ways in which governance and institutional arrangements mitigate their impact. We will examine future scenarios of climate change hydrometeorology, coastal landform and land use change scenarios and assess and model impacts (coastal erosion, river-marine flooding, impacts on health and well-being), as well as population and community’s adaptation, and socio-economics scenarios for sustainable development goals (sustainable cities, health-related quality of life and well-being, good governance). Our collaborative team of natural and social scientists, from UK, US and Thai research institutions, have complimentary, cutting-edge expertise and will work closely with Thai Government and UK and Thai industry partners to ensure that results are policy and practice-relevant.

    Thai-coast research will benefit government and policymakers, who need to plan for potential impacts caused by climate change and develop resilient strategies to deal with their impacts on natural-social systems. It will provide a link with government agencies for business/industry interests in the coastal zone of Thailand in tourism, aquaculture and associated industry and business, to assess their needs and help improve their understanding of coastal resilience in their strategic investments and management. The wider public, who inhabit Thailand’s coastal communities either permanently or temporarily for work or leisure, will benefit through the advanced knowledge and awareness of identified problems and learning processes to address them. The results of the Thai-coast project will benefit coastal communities more broadly, in all Thai coastal provinces, through its contribution to more robust, cost effective, governance and institutional arrangements.

    Objectives

    Thai-coast project research is organized around three key aims, each with a specific set of objectives: Key aim 1. Enhance coastal community resilience and future sustainability under climate change scenarios (WP 5 and 6). Key aim 2. Use the quantitative links developed in WP 1 and 2 to assess the interaction of natural and social processes under current and future climate change (WP 3, 4, 5) Key aim 3. Establish quantitative links between climate change, coastal erosion and flooding (WP 1 and 2).

    Work package 1: Baseline assessment of hydro-meteorological boundary conditions

    Work package 2: Scenario modelling and hazard assessment

    Work package 3: Socio-economic impact assessment, coping mechanisms and resilience

    Work package 4: Coastal vulnerability assessment

    Work package 5: Good governance, resilience and sustainable coastal communities

    Work package 6: Impact through public engagement, dissemination and dialogue between policy-makers and coastal communities

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    SDG13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    SDG 3, 11, 14

    รูปหน้าปก

    Key Message

     

    Thai-coast research will benefit government and policymakers, who need to plan for potential impacts caused by climate change and develop resilient strategies to deal with their impacts on natural-social systems.

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    https://www.edgehill.ac.uk/nerc-tcp

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ที่ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    Foreign Government Agencies:

    - Egypt's Ministry of Environment 

    - Key Laboratory Of River and Coastal engineering, Vietnam

    - Vietnam Institute of Geosciences and Mineral Resources (VIGMR)

    - Science and Technology Division in Vietnam

    International organizations:

    - Center for Biodiversity Conservation and Endangered Species

    - GIZ

    - Green Climate Fund , United Nations Development Programme

    - Myanmar KOEI International Co. Ltd.

    - Vietnam National Space Center (VNSC)

    Government agencies in Thailand:

    - Department of Disaster Prevention and Mitigation, Thailand

    - Department of Marine and Coastal Resources

    - Department of Mineral Resources

    - Department of Land Development

    - Environmental Research and Training Center (ERTC)

    - Hydro – Informatics Institute (HII)

    - National Research Council of Thailand

    - Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning

    - Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council

    - Office of the National Economic and Social Development Council

    - Royal Irrigation Department

    - Thai Meteorological Department

    - GISTDA

    Academics:

    - BOKU, Austria

    - Duy Tân university, Vietnam

    - Hanoi University of Mining and Geology, Vietnam

    - Hanoi University of Natural Resources and Environment (HUNRE)

    - Madhyanchal Professional University, India

    - Nagasaki University, Japan

    - National Central University, Taiwan

    - Vietnam Maritime University (VMU)

    - VNU Hanoi University of Science

    - University of Manchester, UK

    Academics in Thailand:

    - Chulalongkorn University

    - Coastal Oceanography and Climate Change Research Center (COCC)

    - Department of Biology, Faculty of Science, Ramkhamhaeng University

    - Department of Geography, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand

    - Nakhon Ratchasima Rajabhat University

    - Thammasat University

    Regional organizations in Thailand:

    - North Andaman Network Foundation, Thailand

    - Provincial Office of Natural Resources and Environment Nakhon Si Thammarat

    - The Council of Scientific and Technological Associations of Thailand (COSTAT)

    ตัวชี้วัดThe Impact Ranking

    17.2.1, 17.2.2, 17.2.4, 14.5.4

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การพัฒนาการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองโดยใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็ก

    Development on particulate matter based on small data logger

    อยู่ระหว่างยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร “อุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5”

    แหล่งทุน

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    นายวรงค์  บุญเชิดชู

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

    ความต้องการอุปกรณ์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มาสนับสนุนการติดตามระดับความหนาแน่นฝุ่นละอองฯ ในพื้นที่ที่ห่างไกลจุดตรวจวัดที่รับรองโดยกรมควบคุมมลพิษที่มีระยะมากกว่า3 กิโลเมตรขึ้นไป ส่งผลให้การวัดความหนาแน่นฝุ่นPM2.5 มีความถูกต้องลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น หรือการตรวจวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนของสิ่งปลูกสร้าง หรือสภาพภูมิประเทศ หรือมีจำนวนจุดวัดน้อยและไม่ครอบคลุมพื้นที่ จึงทำให้ต้องพัฒนาอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นที่ให้ผลได้ใกล้เคียงกับสถานีตรวจวัดที่ผ่านการรับรองจากกรมควบคุมมลพิษ และสามารถสร้างได้เป็นจำนวนมากในราคาที่มีต้นทุนต่ำ สร้างง่าย และให้ผลการวัดที่ใกล้เคียงกับแนวโน้มการเปลี่ยนความหนาแน่นของสถานีวัดฯ

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    วัตถุประสงค์
        การพัฒนาสร้างอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 มีโครงสร้างอุปกรณ์ไม่ซับซ้อน ซ่อมแซมง่าย สามารถใช้ทำงานได้ในระยะเวลานานในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและทำงานภายใต้อุณหภูมิที่มีความแตกต่างระหว่างวันสูงและทำงานตลอด24 ชั่วโมง มีต้นทุนในการสร้างต่ำและติดตั้งได้รวดเร็ว เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านการวิเคราะห์แบบInterpolated เพื่อหาค่าเฉลี่ยระหว่างจุดวัดที่ใช้อุปกรณ์นี้ เช่นกรณีที่รถตรวจคุณภาพอากาศมี1 หน่วย จึงไม่อาจสะท้อนข้อมูลความเป็นจริงของพื้นที่ตรวจวัดได้ถูกต้อง จึงต้องใช้อุปกรณ์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ในการเสริมจุดการวัดความหนาแน่นฝุ่นPM2.5 ให้ครอบคลุมพื้นที่ด้วยอุปกรณ์วัด ฯ ที่พัฒนาในจำนวนมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องเชิงพื้นที่สูงขึ้น และสะท้อนสภาพความเป็นจริงได้ใกล้เคียงของพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

    การดำเนินการ

        สถานีวัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ที่สร้างขึ้นนี้มีประสิทธิภาพการทำงานที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้โดยการปรับค่าความคลาดเคลื่อนของการวัดด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์และการปรับปรุงในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่นำมาใช้ โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดฝุ่นละอองPM2.5 มีค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงอยู่ที่± 8.3 µg/cu.m สำหรับระดับฝุ่นไม่เกิน150 µg/cu.m, R2 = 0.93 เมื่อเปรียบเทียบกับผลจากรถตรวจวัดคุณภาพอากาศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประจำอยู่ที่มหาลัยมหิดล ศาลายา ระหว่าง ก..  – มี.. 62 มีจำนวนข้อมูลเฉลี่ยรายชั่วโมง582 ชุด

        เซอร์เซ็นวัดความหนาแน่นฝุ่นถูกเลือกมาจากการทดสอบความแม่นยำในการทำงานโดยใช้CV วิเคราะห์ ผลที่ได้คือPlantTower PMS5003 มีความแตกต่างของCV ระหว่างตัวทดสอบจำนวน2 ตัว มีค่าน้อยว่า0.5% แสดงให้เห็นว่ามีความแม่นยำในการผลิตในระดับสูง และสามารถนำเอามาใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับแก้ใด ๆ  ในการทดแทนเมื่อเซอร์เซ็นชำรุด นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลของความชื้นสัมพัทธ์ในระดับที่เกิดสภาวะเป็นไอน้ำในอากาศก็มีผลต่อเซ็นเซอร์ด้วย จากการวิเคราะห์ค่าMAE ระหว่างเซ็นเซอร์และเครื่องมือFEM แสดงให้เห็นว่าก่อนและหลังใช้โมเดลHydroscopic growth rated with one parameter เพื่อวิเคราะห์เชิงย้อนกลับของอิทธิพลของน้ำในอากาศในรูปแบบของอัตราส่วนสามารถทำให้ค่าMAE ลดลงได้ถึง34% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนน้อยลงของการตรวจวัดภายใต้ความชื้นในอากาศที่อยู่ในระดับสูงได้

       ต่อมาจึงนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบไม่เชิงเส้นชนิดดีกรีลำดับที่สี่หรือQuartic function  เนื่องจากความสามารถรองรับจำนวนจุดตัดของกราฟบนแกนx ที่เป็นตัวแทนของข้อมูลจากเครื่องมือFEM ใน1 ช่วงเวลาหนึ่งถึง4 จุด และรองรับจุดวิกฤติได้ถึง3 จุด ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการทำงานของเซ็นเซอร์PMS5003 เมื่อนำเอาข้อมูลความหนาแน่นฝุ่นPM2.5 เฉลี่ยรายชั่วโมงเปรียบเทียบกับเครื่องมือFEM พบว่า ประสิทธิภาพของวิเคราะห์การถดถอยแบบไม่เชิงเส้นชนิดดีกรีลำดับที่สี่ให้ผลลัพธ์RMSE = 8.3 โดยR2 = 0.93 เปรียบเทียบกับการใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงเส้นให้ค่าRMSE = 12.8 โดยR2 = 0.92

        เพื่อให้มีการนำเอาข้อมูลไปใช้ควบคู่กับข้อมูลของรถตรวจอากาศได้เร็วขึ้นจึงได้นำเอาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท2G ใช้เป็นช่องทางในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศของคณะสิ่งแวดล้อม ฯ และสามารถส่งออกข้อมูลออกข้อมูลผ่านเว็บไซด์

    https://en.mahidol.ac.th/enair/service

    การนำไปใช้งาน

        คณะได้ดำเนินการทดสอบการติดตั้งและการปรับแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดการณ์ในห้องทดลองและพื้นที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ในพื้นที่จังหวัดลำปาง จำนวน13 จุด และที่กาญจนบุรี จำนวน2 จุด จากการติดตั้งพบว่าข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์มีความสมบรูณ์ประมาณ75-80% จากความถี่การส่งข้อมูลทุกๆ20 นาที มีอุปกรณ์บางตัวหยุดทำงานเป็นช่วงๆ หรือบางตัวเซ็นเซอร์วัดความหนาแน่นฝุ่นทำงานผิดพลาด เป็นต้น

    จังหวัดลำปาง

        โดยสถานที่ติดตั้งทางคณะได้เลือกเป็นสถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นหลักเนื่องจากเป็นที่ชุมชน และมีความเสี่ยงในการสัมผัสฝุ่นสูงกว่าสถานที่อื่นๆ

    จังหวัดกาญจนบุรี

    โครงการนี้แตกต่าง และมีเอกลักษณ์จากคนอื่นอย่างไร

        เป็นการสร้างโมเดลคณิตศาสตร์เพื่อช่วยลดความคลาดเคลื่อนการวัดของอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นระดับPM2.5 ที่พัฒนาขึ้นมีความแตกต่างจากการอุปกรณ์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีปรับแก้ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ที่แบ่งตามระดับความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงที่กำหนด และประมาณค่าจากการใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นด้วยการเพิ่มปัจจัยระดับความชื้นสัมพัทธ์เข้าไปในการวิเคราะห์ ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่พัฒนาขึ้น โดยใช้โมเดลคณิตศาสตร์คำนวณความหนาแน่นฝุ่นจากอัตราขยายตัวของมวลฝุ่นละอองที่ทำให้ความหนาแน่นฝุ่นเพิ่มมากกว่าที่ควรจากการดูดซึมความชื้นในอากาศเข้าไป และเมื่อใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ถดถอยแบบไม่เชิงเส้นแบบดีกรีสี่ ทำให้ค่าคาดการณ์ที่วัดได้มีความใกล้เคียงกว่าการใช้วิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงเส้น โดยมีผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับเครื่องวัดฯBAM1020 ซึ่งผลทดสอบให้ค่าR2 > 92% และค่าRMSE ~8.3 µg/cu.m ในระดับความชื้นฯ40-95%

    ส่งผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก อย่างไร

    มีความตื่นตัวในเรื่องของฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ที่มากับปัญหาสุขภาพในระยะยาว

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    11

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    3, 13

    รูปภาพประกอบ

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    การพัฒนาอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่น PM2.5 ต้นทุนต่ำ มีความถูกต้องสูง และสามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ จะช่วยให้มีเกิดความสนใจภัยที่มากับฝุ่นPM2.5 ซึ่งใช้ระยะเวลานานในการแสดงอาการ ในการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเสี่ยงจากPM2.5

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    ยุทธศาสตร์ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    -

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.4

  • MU Youth Camp

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    11. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    MU Youth Camp

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    1-5 เมษายน 2562

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ และปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง โดยเน้นการสร้างพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ และความรักที่มีต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเน้นให้เรียนรู้ผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เน้นให้คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทดลอง ออกแบบ หรือนำเสนอแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและชุมชน

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เป็นหลักสูตรระยะสั้นในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนของโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ ระยะเวลา 5 วัน หลักสูตรจะประกอบด้วยการบรรยายในห้องเรียน การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ และในภาคสนาม ตลอดจนการทัศนศึกษานอกสถานที่ โดยบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญในสาขาวิชาต่างๆ จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก โดยบุคลากรเหล่านี้ มาร่วมกันกำหนดเนื้อหาทางวิชาการและวิธีการจัดการเรียนการสอนให้กับเยาวชนให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    นักเรียนระดับชั้นมํธยมศึกษาปีที่ 1-2

    - จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    70 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปลงมือปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ ทักษะกระบวนการ ไปแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนาเกี่ยวกับประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม ประเทศอาเซียน และสากลต่อไป

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/youthcamp/

    รูปภาพประกอบ:

     

     ค่ายเยวชนสิ่งแวดล้อม

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    12 และ 15

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การใช้พื้นที่ซ้อนทับระหว่างช้างป่า (Elephas maximus) และชุมชน และการพัฒนาระบบเตือนภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย

    Overlapping use areas between wild elephants (Elephas maximus) and communities, and warning system development in the eastern part of Thailand

    แหล่งทุน

    ทุน Fundamental Fund ประเภทBasic Research Fund ภายใต้แผนงานย่อย: พัฒนานักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    รศ.ดร.พรรณวิมล ตันหัน

    ผศ.สพ.ญ.ดร.กาญจนา อิ่มศิลป์

    ผศ.ดร.วิวัฒน์ วงศ์ก่อเกื้อ

    คำอธิบาย

    ศึกษาผลกระทบและทัศนคติ การติดตั้งกล้องดักถ่ายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายเพื่อประเมินความเสี่ยง สร้างแผนที่แนวเชื่อมต่อที่ปลอดภัย การวิเคราะห์สารเคมีปนเปื้อนในพืชอาหาร และเครื่องมือแจ้งเตือนผ่านอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ซ้อนทับภาคตะวันออกของประเทศไทย

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    การลดลงของช้างป่าจากการสูญเสียพื้นที่ป่า การล่า และการใช้งาน ทำให้มีการคุ้มครองจนมีประชากรช้างป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผนวกกับการพัฒนาพื้นที่เกษตรและแหล่งน้ำทำให้มีการออกมาหากินนอกพื้นที่จนกลายเป็นความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจาย ประชากร ปัจจัยดึงดูด การตกค้างของสารเคมี และพัฒนาเครื่องเตือนภัยในพื้นที่ชุมชน

    การดำเนินการ

    1. สำรวจทางตรง สัมภาษณ์และตั้งกล้องดักถ่ายภาพกิจกรรมและผลกระทบจากช้าง

    2. ทำแผนที่การกระจายและรูปแบบกิจกรรมเพื่อซ้อนทับกับกิจกรรมมนุษย์ ประเมินความเสี่ยงระหว่างช้างป่าและชุมชนเพื่อการจัดการ อนุรักษ์ ลดผลกระทบ และฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยและหากินอย่างยั่งยืน

    5. วิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีในพืชอาหารและกองมูล

    6. สร้างเครื่องเตือนภัยด้วยแสงเรเซอร์ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์

    7. จัดประชุมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน

    ผลการดำเนินงาน

    ประชากรส่วนใหญ่ปลูกพืชเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ตั้งแต่ 10 ถึงมากกว่า 100 ไร่ มีปัญหากรรมสิทธิ์ เงินทุน น้ำ และการบุกรุกของช้างป่า ทำให้ไม่ต้องการให้ช้างทำลายผลผลิต ทรัพย์สินและชีวิต คิดว่าช้างออกมาหาอาหาร แหล่งน้ำและบังเอิญทำร้ายคนมากกว่า 10 ครั้ง/ปี ถ้าอยู่ติดป่าได้รับผลกระทบตลอดปี ได้รับผลกระทบ 1-2 ครั้ง/ปีในพื้นที่ใหม่ แต่ไม่ได้รับการเยียวยาหรือไม่คุ้มค่า มีความตระหนักในการอนุรักษ์แต่ไม่เห็นด้วยกับการคุ้มครองช้างในชุมชน ควรสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัย ฟื้นฟูแหล่งอาหาร ประกันผลผลิต จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ติดปลอกคอและใช้รั้วรังผึ้ง เนื่องจากมีแนวโน้มกระจายเพิ่มขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2543 – 2564 จากการตั้งกล้องจำนวน 1,530 คืน พบช้างป่า 13 พื้นที่จาก 51 พื้นที่ จำนวน 94 ตัว มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย1:1.14 เพศเมียต่อลูกอ่อน 1:0.5 อัตราการเพิ่ม 1:0.84 ร้อยละความหนาแน่น 26.05 ร้อยละการกระจาย 33.33 การกระจายสัมพันธ์กับระยะทางจากแหล่งน้ำและระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำกิจกรรมตั้งแต่เวลา 17.00-08.00 น. และเพิ่มสูงสุดที่ 23.00 น.ช่วงฤดูแล้งพบหย่อมถิ่นที่อยู่อาศัย 3,552 หย่อม พื้นที่ 5,136.95 ตร.กม. หย่อมรองรับประชากร 253 หย่อม ผสมพันธุ์ 8 หย่อม การใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ 253 หย่อม ช่วงฤดูฝนพบ 1,961 หย่อมพื้นที่ 3,850.86ตร.กม. รองรับประชากร 223 หย่อม ผสมพันธุ์ 33 หย่อมการใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ 1,705 หย่อม มีหย่อมที่สำคัญ 8 หย่อม ฤดูแล้งมีแนวเชื่อมต่อที่เหมาะสม 16 แนว ฤดูฝนมี 15 แนว ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม พืชยืนต้น ป่าดิบชื้น และป่าผลัดใบไม่พบการปนเปื้อนของสารฆ่าแมลงในกลุ่มออร์กาโนคลอรีนในพืชอาหารหลัก 10 ชนิด เครื่องมือเตือนภัยที่ทำงานได้ดีและอยู่ระหว่างพัฒนาประสิทธิภาพต่อไป

    การนำไปใช้ประโยชน์

    ภาครัฐ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    ชุมชน: ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า

    มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ Use of Human Dominated Landscape as Connectivity Corridors among Fragmented Habitats for Wild Asian Elephants (Elephas maximus) in the Eastern Part of Thailand.Diversity 2023;15(1):6.https://doi.org/10.3390/d15010006

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์

    เป็นการนำปัญหาที่พบในชุมชนมาทำการวิจัยด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อให้ทราบแนวทางในการจัดการปัญหาที่ยั่งยืนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ศึกษา พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดผลกระทบให้กับชุมชนในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งแตกต่างจากโครงการอื่น ๆ ที่เป็นการศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งบางครั้งอาจไม่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของชุมชนในพื้นที่ส่งผลให้การแก้ปัญหาจากโครงการวิจัยไม่ยั่งยืน

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน

    จากผลการศึกษาสามารถลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและช้างป่าได้ รวมถึงการใช้เครื่องมือเตือนภัยที่เป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียผลผลิต ทรัพย์สิน และชีวิตของชุมชนในพื้นที่ซ้อนทับ และลดหากมีการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโครงการฯ ไปใช้จริงในพื้นที่

    ระดับประเทศ

    ผลการศึกษาและนวัตกรรมที่ได้จากโครงการฯ สามารถนำไปต่อยอดและใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกันในระดับประเทศ

    ระดับโลก

    ผลจากการวิจัยสามารถตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศต่าง ๆ สามารถเรียนรู้ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาจากโครงการฯ โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และช้างป่า (Human – elephant conflicts; HEC) ที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาคในโลก

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    15

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

     

    11

    Key Message

    การลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและช้างป่าด้วยแผนที่ความเสี่ยงเพื่อการตัดสินในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของชุมชน การจัดการประชากรช้างป่า และการพัฒนานวัตกรรมการเตือนภัยเพื่อลดการสูญเสียชีวิตอย่างยั่งยืน

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    กรมป่าไม้

    ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต)

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาช้างป่าทั้งระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศ

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    15.2.1, 15.3.5

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    พฤติกรรมเชิงลึกของเกษตรกรและคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนเกษตรปลอดการเผา

    Behavioral insights of farmers and surrounded people to develop a zero-burn agricultural community

    แหล่งทุน

    ทุนสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทุน Fundamental Fund ประเภทBasic Research Fund  ภายใต้แผนงานย่อย: พัฒนานักวิจัย   มหาวิทยาลัยมหิดล

    ประเภท: ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ (สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์)        

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

     

    งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการค้นหาทางเลือกและประเมินต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ประเมินการเปิดรับมลพิษทางอากาศ ประเมินความเต็มใจจ่ายเพื่อจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผาและความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าวของเกษตรกร  สื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว รวมถึงสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว  ตลอดจนถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อให้การขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผาเป็นรูปธรรมและยั่งยืนคู่วิถีเกษตรของสังคมไทย

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการเพื่อ 1) ค้นหาทางเลือกและประเมินต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์ตอซังฟางข้าว2) ประเมินการเปิดรับมลพิษทางอากาศ3) ประเมินความเต็มใจจ่ายและความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา4) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าว5) สื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว สื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว และ6) ถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันสู่การเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา

     

    การดำเนินการ

    - การเก็บตัวอย่างดิน กระบวนการสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินระหว่างพื้นที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว และการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว

    - ถอดบทเรียน และ วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ

    - สังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบาย 

    - เก็บข้อมูลจากบบสอบถาม แบบสอบถามเชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย

     

    ผลการดำเนินงาน

    - ผลการวิจัยในประเด็นทางเลือกการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว ประกอบด้วย 8 ทางเลือกหลัก ได้แก่ 1) ใช้ฟางข้าวคลุมดิน  2) ไถกลบฟางข้าว ควบคู่กับการปลูกพืชตระกูลถั่ว ปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด และทำปุ๋ยหมักฟางข้าว  3) ทำปุ๋ยหมักฟางข้าว  4) ใช้ฟางข้าวเป็นอาหาร/เลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกวาง เลี้ยงโค/กระบือ  5) เพาะเห็ดจากฟางข้าว เช่น เห็ดฟางสด เห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เห็ดนางรมเทาและทำวัสดุอาหารเสริมจากส่วนผสมของฟางข้าว  6) อัดฟางข้าวขาย  7) ผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว เช่น กระถางปลูกต้นไม้ หุ่นฟางนก ฉนวนกันความร้อนจากฟางข้าว วัสดุกันกระแทกและถาดบรรจุภัณฑ์จากฟางข้าว ผลิตภัณฑของตกแต่งบ้าน  และ 8) ใช้ฟางข้าวเป็นชีวมวลเพื่อผลิตพลังงานทดแทนทางเลือก

    - เกษตรกรและคนในชุมชนไม่ได้เปิดรับมลพิษทางอากาศมากนัก

    - ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่มีความเต็มใจจ่ายในรูปตัวเงินเพื่อจัดการตอซังฟางข้าวโดยปลอดการเผา เนื่องจากไม่มั่นใจว่า หากต้องจ่ายเงินเพื่อนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์แล้ว จะได้ผลตอบแทนกลับมาคุ้มทุนหรือไม่ สำหรับความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา ส่วนใหญ่สะท้อนว่า อยากได้รับค่าชดเชยตามต้นทุนที่จะต้องมีการจ่ายไปสำหรับการนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ 

    - ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าวของเกษตรกร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ได้รับอิทธิพลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญจากเกษตรกรกลุ่มที่เลือกวิธีเผาฟางข้าวในทุกประเด็นย่อย และแตกต่างเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับวิธีการจัดการโดยไม่เผา ในขณะเดียวกัน การรับรู้ประโยชน์ของวิธีการจัดการฟางข้าวที่ใช้อยู่ ของกลุ่มเกษตรกรที่ใช้วิธีการเผาพบว่ามีความแตกต่างเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญในประเด็นด้านการประหยัดต้นทุน เมื่อเทียบกับกลุ่มเกษตรกรที่ใช้วิธีการไถกลบและวิธีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในนาข้าว

    - การวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว พบว่า เถ้าหลังการเผาตอซังฟางข้าวมีค่าความเป็นด่างสูง ส่งผลให้ค่า pH และECe เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยปรับสภาพดินในนาที่ทั่วไปมีความเป็นกรดอยู่แล้ว ให้เป็นกรดลดลง การเผาไหม้อินทรีย์วัตถุ (ตอซังและฟางข้าว) ส่งผลให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชถูกปลดปล่อยออกมามากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเผาไหม้ทำให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุ และคาร์บอนในดินลดลง

    - การสื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว และสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดิน ดำเนินการด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สื่อสารผ่านแกนนำเกษตรกรและจัดทำ “คู่มือ ฟางข้าว...ทำอะไรได้บ้าง”

    - กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมวิธีการจัดการตอซังฟางข้าวแบบไม่เผาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและนิเวศวิทยา ที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรยั่งยืนมากขึ้น ประกอบด้วย3 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก การสื่อสารภายในตัวเกษตรกร หรือภายในกลุ่มเกษตรกร  ส่วนสอง การสื่อสารภายนอก เป็นการสื่อสารแบบสองทางและการสื่อสารที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่าย  ส่วนสาม กลไกรองรับ ได้แก่1) นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศ เทคโนโลยี และการลงทุนในการนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์ 2) กลยุทธ์การสื่อสาร คือ การวิเคราะห์เกษตรกร การปฏิบัติการสื่อสาร และ การติดตามตรวจสอบและการประเมิน

    - การถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผาได้กลยุทธ์4 หลัก คือ1) กลยุทธ์เชิงรุก: ส่งเสริมเกษตรกรแนวหน้าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข: ส่งเสริมความรู้และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และคำนึงถึงข้อจำกัดของเกษตรกร 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน: ยกระดับการใช้ประโยชน์ฟางข้าวของกลุ่มเกษตรกรให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ  และ4) กลยุทธ์เชิงรับ: สร้างผลตอบแทนการใช้ประโยชน์ฟางข้าวให้ชัดเจนขึ้น และจัดการการเผาอย่างเป็นระบบ

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    - คู่มือและอินโฟกราฟิกการจัดการตอซังฟางข้าว ฉบับชาวบ้าน เพื่อเกษตรกรได้นำไปปรับใช้ในการทำการเกษตร และสื่อมวลชนใช้ในการเผยแพร่สู่สาธารณะ

    - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อมูลบทเรียนจากการดำเนินการ ปัจจัยความสำเร็จ และแนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสนับสนุนชุมชนเกษตรปลอดการเผาให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายต่อไป

     

    มีผลงานตีพิมพ์

    1. Sereenonchai, S.*; Arunrat, N. Farmers’ Perceptions, Insight Behavior and Communication Strategies for Rice Straw and Stubble Management in Thailand. Agronomy 2022, 12, 200. https://doi.org/10.3390/agronomy12010200

    2. Arunrat, N.; Sereenonchai, S.* Assessing Ecosystem Services of Rice–Fish Co-Culture and Rice Monoculture in Thailand.  Agronomy 2022, 12(5), 1241; https://doi.org/10.3390/agronomy12051241  

    3. หนังสือ สุกัญญา เสรีนนท์ชัย. คู่มือ ฟางข้าว...ทำอะไรได้บ้าง. บริษัท จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด. มีนาคม 2565.

     

    Abstract

    Behavioral insights of farmers and surrounded people to develop a zero-burn agricultural community consisted of 6 key results following the objectives: 1.According to documentary research and surveys in the study area, there were 8 methods of rice straw and stubble utilization namely: 1)mulching, 2)plowing along with growing legumes and jute crops, 3)composting, 4)using as animal feed, 5)mushroom growing, 6)compacting 7)rice straw products and 8)biomass to produce renewable energy. 2.According to the questionnaire surveys and in-depth interviews with farmers/local people, most of them were not exposed to high levels of air pollution because the time of burning rice straw and stubble was not a long time, burning occurred around the rice planting cycle. Moreover, people had a way to protect themselves from the burning smog. Most farmers were reluctant to pay in cash to manage rice straw and stubble without burning. For their willingness to accept compensation to manage the straw without burning, most of them would like to be compensated based on the costs they would have to pay for rice straw and stubble utilization. 3.The 3 theories of Theory of Planned Behavior, the Value-Belief-Norm and the Health Belief Model were integrated to analyze psychological factors influencing farmers’ adoption of rice straw and stubble management. A statistical analysis by cross-tab, stepwise multiple linear regression, one-way ANOVA and descriptive content analysis using QDA lite miner software were employed. The key results clearly showed that farmers adopting the burning method tended to have the lowest perception of PPN, PCU, PBC, PSB, PAR and PBU. In contrast, cost-saving together with rapid management seemed to be the key points for motivating farmers to retain their burning practice. Furthermore, farmers employing mixed methods significantly positively influenced on obtaining education on rice straw utilization from local authorities, income generation from their current options, income increasing from rice straw utilization, and the appropriateness for the available resources. This group of farmers should be supported as key change agents to convey their hands-on experience to motivate burning farmers to open their minds to other non-burning methods. 4.Based on soil data collection before and after the burning of rice straw and stubble, the overall results could be interpreted that ash helped to reduce the acidic of the soil. The combustion of organic matter resulted in the release of more nutrients that are beneficial to the plants. 5.Communicating alternatives, cost-returns in the rice straw and stubble utilization and the results of soil analysis under the participatory action research process through farmers' leaders and created a "Handbook of Rice Straw...What Can You Do", as a guideline for farmers' choice of rice straw utilization. 6.Communication strategy to promote rice straw utilization for achieving sustainable agriculture, key messages should highlight the clear steps of rice straw utilization, as well as the costs and benefits of each option in terms of economic, health, environmental and social perspectives. Moreover, messages designed to promote action knowledge and self-efficacy at the group level, to promote perceived responsibility via self-awareness and self-commitment, and convenient channels of communication to the farmers can help to achieve more effective non-burning rice straw and stubble management. 7.Development towards a zero-burn agricultural community consists of four strategies: 1)proactive: promote front-line farmers to be change agents; 2)corrective: promote knowledge and continuous training on systematic utilization of rice straw and concerning the limitations of farmers; 3)preventive: enhance rice straw utilization by farmers to be standardized and accepted; and 4)passive: create clearer returns on rice straw utilization and manage the incineration systematically.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

     

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน – เพื่อเป็นต้นแบบชุมชนเกษตรปลอดการเผาในระดับชุมชน เช่นในพื้นที่ศึกษา ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

    ระดับประเทศ – เพื่อผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา ที่สามารถนำไปปรับใช้กับเกษตรกรทั้งประเทศต่อไป

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    2

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    11

    รูปหน้าปก 

    รูปหน้ารายละเอียด

    ตามไฟล์แนบ

    Key Message

    (ระบุประโยคสรุปเรื่องหรือใจความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม ความยาว 3 บรรทัด เช่น “การแก้ปัญหาความแตกแยกร้าวลึกในสังคม ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความไว้วางใจ ชำระสิ่งค้างคาใจ และสร้างข้อตกลงใหม่ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล”)

    เป็นโครงการเพื่อผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อให้การขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผาเป็นรูปธรรมและยั่งยืนคู่วิถีเกษตรของสังคมไทย

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    https://drive.google.com/drive/folders/1VCBppHpkOl0b806U7mLr51allWrmYGpD

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    เกษตรกร

    ภาคสื่อมวลชน

    หน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอสรรพยา เทศบาลตำบลตลุก ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต5 สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอสรรพยา ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลตลุก กรมส่งเสริมการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ 

    ภาควิชาการ

    องค์กรอิสระที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผา

    ภาคธุรกิจที่รับอัดและจำหน่ายฟางอัดก้อน 

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    2.5.1, 2.5.2

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดลำปาง

    Development of Particulate Matter 2.5 Forecast and Warning System in Lampang Province

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

    นายศิรสิทธิ์  วงศ์วาสนา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    นายวรงค์ บุญเชิดชู คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ดร.วารินทร์ บุญเรียม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    นายธีรวุฒิ ชิยานนท์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    คำอธิบาย

     

    การประเมินสถานการณ์ของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม

    และการพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 ทำให้สามารถใช้ข้อมูลในการแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    ปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคกลางบางพื้นที่ในช่วงฤดูแล้งของทุกปี ซึ่งสาเหตุมาจากปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่ง ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากPM2.5 จะเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยโรคระบบทางเดินหายใจและโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือดเพิ่มขึ้นผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันจากการเผาไหม้ในจังหวัดลำปางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่จังหวัดลำปางมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ดำเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ 4 สถานี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมี 11 สถานี ดังนั้น โครงการการพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดลำปาง จึงมุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน (Hotspot) จากข้อมูลดาวเทียม 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5

    การดำเนินการ

    การประเมินสถานการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน (Hotspot) ใช้ข้อมูลดาวเทียม Landsat-8OLI และSentinel-2 ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีระดับรายละเอียดเพียงพอต่อการวิเคราะห์ข้อมูลให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลประเภทการใช้ที่ดินที่เกิดการเผาในพื้นที่และเป็นแหล่งกำเนิด PM2.5 รวมทั้งพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของPM2.5

    ผลการดำเนินงาน

    ผลการศึกษาสถานการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อนจากข้อมูลดาวเทียม พบว่า จุดความร้อนจากระบบVIIRS พบสูงที่สุดในช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะเดือนมีนาคม ซึ่งสอดคล้องกับค่าPM2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ สำหรับอำเภอที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดคือ อำเภอเถินและอำเภองาว ทั้งนี้ การใช้ที่ดินที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดคือป่าผลัดใบ รองลงมาคือพืชไร่ สำหรับการเผาในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พบว่า อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนและอุทยานแห่งชาติแม่วะ มีจุดความร้อนเฉลี่ยรายปีสูงที่สุด ส่วนป่าสงวนแห่งชาติแม่มอกและป่าแม่งาวฝั่งขวา พบจุดความร้อนสูงที่สุด

    ผลการศึกษาการพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 พบว่า การพัฒนาแบบจำลองกำลังสองจากข้อมูลHimawari-8 AOD มีประสิทธิภาพสูงที่สุด การพัฒนาแบบจำลองการการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุจากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาร่วมกับHimawari-8 AOD ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับแบบจำลองจากHimawari-8 AOD การพัฒนาแบบจำลองการถดถอยการใช้ที่ดินทำให้ได้แบบจำลองที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยมีค่าLOOCV Adjusted R2 เท่ากับ 54% และมีค่าLOOCV RMSE เท่ากับ 5.00 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

    ผลการศึกษาการพยากรณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 ล่วงหน้า ได้แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ในการใช้ข้อมูลพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในอนาคต มาใช้ในการพยากรณ์การแพร่กระจายเชิงพื้นที่ของPM2.5 ได้เช่นกัน

    การนำไปใช้ประโยชน์

    อบจ.ลำปาง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำข้อมูลบริเวณที่พบจุดความหนาแน่น ไปใช้ประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชน เพื่อลดปัญหาไฟป่า และการเผาในที่โล่ง

     

    Abstract

    The Development of Particulate Matter 2.5 Forecast and Warning System in Lampang Province project has two objectives: 1) to assess the situation and sources of PM2.5 distribution; 2) to develop a spatial model to assess and predict the distribution of PM2.5 concentration.

     

    The result of this study on sources and distribution of PM2.5 concentration revealed that the hotspot from the VIIRS sensor was highest during the dry season, especially March. This corresponds to the PM2.5 concentration data from the Pollution Control Department. The districts with the highest hotspots were Thoen and Ngao. The hotspots were mostly found in deciduous forests, followed by field crops. For burning in the protected forest area, it was found that Chae Son National Park and Mae Wa National Park have the highest average annual hotspots. Mae Mok National Reserved Forest and the east part of Mae Ngao Forest found the highest hotspots.

     

    The results of spatial model development study to assess and predict the spread of PM2.5 showed that the development of a quadratic model based on Himawari-8 AOD data was the most effective. The development of multiple linear regression model from meteorological data in conjunction with Himawari-8 AOD resulted in a 6% efficiency improvement compared to the model from Himawari-8 AOD. The most efficient model was the Land Use Regression model with LOOCV Adjusted R2 equal to 54% and LOOCV RMSE equal to 5.00 μg/m³.

     

    The results of PM2.5 distribution forecasting have further demonstrated the feasibility of utilizing weather forecast data from the Thai Meteorological Department, as well as projections of land use changes, to predict the spatial distribution of PM2.5.

     

    Policy recommendation for government agencies and communities is the monitoring of fire hot spots resulting from open burning, particularly in a) deciduous forest and field crops, especially in Thoen, Ngao, and Chae Hom, b) the conserved forest areas that comprise Chae Son National Park, Mae Wa National Park, and Doi Chong National Park, and c) the national reserved forests encompassing Mae Mok Forest Reserve, Right Mae Ngao Forest Reserve, Mae Suk and Mae Soi Forest Reserve, d) areas falling under the jurisdiction of the Agricultural Land Reform Act, and e) roadside areas along highways, predominantly exhibiting burning activities within forest areas. These areas hold significant importance as targets for the prevention and mitigation of smog and forest fire issues in Lampang province.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการประเมินสถานการณ์ของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน และการพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับคาดการณ์การแพร่กระจายของPM2.5 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมประเภทวงโคจรค้างฟ้า  

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    สถานการณ์แหล่งกำเนิดของ PM2.5 จากจุดความร้อน และแบบจำลองเชิงพื้นที่ในการประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของPM2.5 จะทำให้การติดตาม ประเมิน และคาดการณ์การแพร่กระจายของPM2.5 ในจังหวัดลำปางเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถใช้แจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    11

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    13

    รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

     

    รูปหน้ารายละเอียด

    การประเมินหาแหล่งกำเนิด PM2.5 ที่เกิดจากการเผาไหม้จากการใช้ที่ดินในจังหวัดลำปาง

    การประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จาก AOD บริเวณจังหวัดลำปาง

    Key Message

     

    การประเมินสถานการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดประเภทจุดความร้อน (Hotspot) โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม และพัฒนาแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับประเมินและคาดการณ์การแพร่กระจายของ PM2.5 จะทำให้สามารถใช้ข้อมูลแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในจังหวัดลำปาง

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.3, 13.3.4

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.