• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • Research title: Assessment of Factors Affecting Drinking Water Quality from Free Water Dispensers in the Higher Education Institution

    Researcher name: Chitsanuphong Pratum and Napharat Khananthai

    water dispenser

    Figure 1. A type of water dispenser was used in the area of the Mahidol University, Salaya Campus, Thailand.

    Water dispensers are popularly used in public areas and workplaces. Assessment of factors that affect the drinking water quality in water dispensers is important for the prevention of waterrelated diseases and other health risks. The aim of this study was to assess the bacteriological, physicochemical and sanitary parameters of drinking water in free water dispensers at Mahidol University, Thailand. Two models, namely, the bottled water dispensers (BWDs) and the bottle-less water dispensers (BLWDs), were used. The bacteriological results revealed a widespread of the coliform bacteria group in the BWDs while none were found in the BLWDs. Even so, the physicochemical results showed that 56.4% of the water samples from the BLWDs possessed the hardness value that exceeded the reference values of the drinking water regulation. For the assessment of the factors affecting drinking water quality, the number of faucets have an effect on the drinking water quality in the BWDs, of which the difference was statistically significant at p-value = 0.003 while the BLWDs have 3 factors that directly impacted the drinking water quality, namely, the location of water dispenser (p-value = 0.001), the drip tray water drainage system (pvalue = 0.026), and the pathogen source around the water dispenser (p-value = 0.022). Ultimately, the primary source of this problem may be due to a lack of routine maintenance and cleaning, some water dispensers could be considered unfit for use.

  • ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    (Water Security and Balance in Lower Part of Mae nam Phetchaburi Subbasin)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    6

    ชื่องานวิจัย:

    ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง (Water Security and Balance in Lower Part of Mae nam Phetchaburi Subbasin)

    ชื่อผู้วิจัย:

    รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ

    คณะ:

    ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพายากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ที่มาและความสำคัญ:

    ลุ่มน้ำเพชรบุรีมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี พ.ศ.2545-2552 พบพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ป่าไม้ลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณน้ำท่าและความสมดุลน้ำ รวมไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการของระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ การวิจัยเพื่อการประเมินความสมดุลน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ จะทำให้การใช้ทรัพยากรน้ำ รวมถึงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นไปอย่างยั่งยืนและมั่นคง

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    ศึกษาวิจัยความมั่นคงด้านน้ำ และมูลค่าการให้บริการของระบบนิเวศ ที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน รวมทั้งการประเมินทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อจำแนกและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประเมินความสมดุลน้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และประเมินความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงในพื้นที่ กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม และด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ (1 มกราคม 2563)

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    https://drive.google.com/drive/folders/1uwuld_Ao19L8nox3KQKRQ6Rv9AMTu3iT

    รูปภาพประกอบ:

    ความมั่นคงด้านน้ำ
    ความมั่นคงด้านน้ำ

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    SDG13 SDG15
  • การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

    Developing a Sustainability Evaluation Mechanism for Institution of Higher Education in Thailand (2019) 

    โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ดำเนินงานโดยคณะผู้วิจัย ได้แก่ อ. ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.อลิษา สหวัชรินทร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อ.ดร.สัณห์ รัฐวิบูลย์ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 ระยะเวลาระหว่างวันที่ 30 ส.ค. 2562 - 29 ส.ค. 2563 มีที่มาและความสำคัญจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยมีความหลากหลายทั้งในเชิงขนาด ที่ตั้ง และวัฒนธรรม ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการประเมินคะแนนความยั่งยืนที่ปรากฎใน UI Green Metric จึงมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น และสามารถนำไปประยุกต์ในบริบทความหลากหลายของสถาบันการศึกษา ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น สามารถนำไปประยุกต์ในบริบทความหลากหลายของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รวมทั้งเผยแพร่ระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาของโครงการสู่สาธารณะ

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่มีที่ตั้งทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง ได้แก่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการวิจัย มีรายละเอียดวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การพัฒนา (ร่าง) ระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา การทดสอบระบบประเมิน และการเผยแพร่ผลลัพธ์โครงการ

    ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม กล่าวคือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐขนาดใหญ่และขนาดกลางจะมีทางเลือกเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนซึ่งประกอบด้วย Best Practice หรือตัวชี้วัดสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ สถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็กมีระบบนำทางที่พิจารณาถึงข้อจำกัดสถาบันที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการประเมินความยั่งยืนสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชนสามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้ในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 6 7 และ 8 โดยพบว่าสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการองค์กร มีกลไกสนับสนุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดี การจัดการขยะและน้ำเสีย รวมทั้งมีระบบการศึกษาที่ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดด้านการจัดการน้ำและสุขาภิบาล ด้านพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ และด้านการจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ 

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อ.ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือรับชมได้ทางออนไลน์ที่ http://susathai.net/

  • การวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง

    Integrating Stakeholders on Solid Waste and Wastewater Management Plan Development in Sa Kaeo Special Economic Zone and Adjacent Districts

    โครงการวิจัย เรื่อง การวิจัยและพัฒนาแผนการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการทุกภาคส่วนบริเวณเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง ดำเนินการโดยคณะผู้วิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อาจารย์ ดร. พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ ดร.ชิษณุพงษ์ ประทุม และนายภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค. 2562 ถึงวันที่ 29 ส.ค. 2563 มีที่มาและความสำคัญจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว ขาดการจัดการแผนยุทธศาสตร์ นโยบาย หรือมาตรการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบในพื้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการขยะและน้ำเสีย จึงต้องมีกระบวนการที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาแผนงานเพี่อใช้ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านขยะและน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับพื้นที่มากที่สุด การศึกษาในครั้งนี้จึงมี     วัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์เชิงระบบเพื่อพัฒนาแผน และโปรแกรมของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการสิ่งแวดล้อมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลผักขะ ตำบลบ้านด่าน  ตำบลป่าไร่ ตำบลท่าข้าม และพื้นที่ใกล้เคียง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลอรัญประเทศ ตำบลฟากห้วย ตำบลบ้านใหม่ และตำบลหนองไทร มีรายละเอียดการดำเนินงาน ประกอบด้วยการสร้างความเข้าใจในความต้องการของนโยบายและแผนงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลนโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาแผนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) และการเสนอทางเลือกสำหรับการจัดการขยะและน้ำเสียแบบบูรณาการ

    ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล กล่าวคือ ทำให้เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในจังหวัดสระแก้วที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งมีส่วนต่อการทำให้เกิดขยะและน้ำเสีย เพื่อสร้างมาตรการกำกับดูแลควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ให้ไม่ก่อผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อมอันเกิดขีดความสามารถที่ระบบนิเวศในพื้นที่จะรองรับได้ นอกจากนั้นยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวคือ มีการถอดบทเรียนจากการศึกษาระยะแรกด้านผลกระทบด้านขยะและน้ำเสียพื้นที่ชายแดนบ้านคลองลึก มาสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมซึ่งนำมาสู่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ อันก่อให้เกิดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาการใช้ทรัพยากรในชุมชนสู่ความยั่งยืนได้

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อีเมล์:   This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และช่องทางออนไลน์ได้ที่https://en.mahidol.ac.th/EI/sustainableCity/Sa%20Kaeo/index.html หรือที่FB: https://www.facebook.com/ecoindustry.rtc/posts/575903676507130/

  • โครงการอบรมนานาชาติ หลักสูตรFood System: the Challenge to Changing the Global Environment

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG

    1,2,6,12

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    โครงการอบรมนานาชาติ หลักสูตร Food System: the Challenge to Changing the Global Environment

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    1 – 8 กันยายน 2564

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อให้แนวทางวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับบริบทของระบบอาหารในมิติต่าง ๆ และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับระบบอาหารตลอดจนเพื่อขจัดความหิวโหยจากมวลมนุษยชาติต่อไป

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    โครงการอบรมนานาชาติ หลักสูตร “Food System: the Challenge to Changing the Global Environment” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 – 8 กันยายน 2564 ผ่านระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม Zoom โดยความร่วมมือระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับบริบทของระบบอาหารในมิติต่าง ๆ และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับระบบอาหารตลอดจนเพื่อขจัดความหิวโหยจากมวลมนุษยชาติต่อไป ทั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 53 คน จากประเทศในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    ประเทศในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

    จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    53 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับระบบอาหารตลอดจนเพื่อขจัดความหิวโหยจากมวลมนุษยชาต

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

  • โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    หัวข้อ

    รายละเอียด 

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2564

    ที่มาและความสำคัญ:

    เป็นการฝึกอบรมให้ผู้ที่สนใจการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม” ซึ่งหน่วยงาน องค์กรต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นISO 14001, สำนักงาน สีเขียว (Green Office) เป็นต้น

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/th/RACEM

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ2304  โทรศัพท์มือถือ08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

      

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

    The application of green office standard towards office of Local Administrative Organization and educational organizations for reducing energy utilization and greenhouse gases (GHGs) in Thailand

    ชื่อผู้วิจัย:

    หัวหน้าการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.กิตติพงษ์  เกิดฤทธิ์

    ผู้ร่วมงานวิจัย ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2562

    ที่มาและความสำคัญ:

    สำนักงานมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอันเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปรากฏการณ์โลกร้อน (Global Warming) ที่กำลังกลายเป็นวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หน่วยงานภาครัฐจึงสนับสนุนและส่งเสริมของการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยการนำเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานสีเขียวมาใช้ในสำนักงาน เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน  ลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยGreen House Gases (GHGs) ในทุกภาคส่วน และตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริโภค อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสวนสาธารณะภายใต้การดูแลของกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง

    วัตถุประสงค์:

    1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนัก พร้อมทั้งนำความรู้เรื่องสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้สำนักงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    2. ศึกษาและลดปริมาณการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    ศึกษาวิจัยการลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษา โดยการนำมาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    -

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ 2304  โทรศัพท์มือถือ 08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
    การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย
     การประยุกต์ใช้มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office)  เพื่อลดการใช้พลังงานและก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานของสถาบันการศึกษาของประเทศไทย

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • Big Data Analytics from a Wastewater Treatment Plant

    ดร.แพรวา วงษ์บุรี

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำและประมาณการผลผลิตแบบแม่นยำสำหรับการปลูกอ้อย

    (Precision system of water resource management and yield estimation for sugarcane cultivation)

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

     

    อ.ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    1. บริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สาขา3

    2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    3. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     

    คำอธิบาย

     

    บูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนการเกษตร สำหรับการปลูกอ้อยเสริมแบบแม่นยำ ด้วยระบบสนับสนุนการตัดสินใจและโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT Infrastructure) ภายใต้แนวคิดการกำหนดความต้องการใช้น้ำของพืช ร่วมกับสามารถเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อยด้วยการพัฒนาวิธีการใช้ชีวภัณฑ์ระดับไร่นา และพัฒนาวิธีการผลิตชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยเชื่อมโยงกับการติดตามปริมาณการผลผลิตอ้อยด้วยอากาศยานไร้คนขับ

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ปริมาณผลผลิตอ้อยมีความผันแปรกับปริมาณน้ำในดินในทิศทางบวก ในสภาพการปลูกอ้อยที่มีการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพให้พอเพียงกับการคายระเหยน้ำของอ้อยตลอดการเพาะปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยจาก 8-10 ตันต่อไร่ เป็น 15-17 ตันต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ดังนั้นการจัดการระบบน้ำชุมชนและเกษตรสำหรับการปลูกอ้อยจึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยต่อพื้นที่และประสิทธิภาพเชิงนิเวศของทรัพยากรน้ำ (Eco-efficiency of water resource)  ชุมชนพึ่งตนเองได้ภายใต้การดำเนินการที่มีต้นทุนต่ำ ให้ผลตอบแทนสูง และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ด้วยการบูรณาการรูปแบบและวิธีการจัดการน้ำชุมชนของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยนอกเขตชลประทานและมีต้นทุนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินสำหรับใช้ในชุมชนอย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการวิจัยปริมาณความต้องการใช้น้ำของอ้อยเพื่อการคายระเหยตลอดช่วงเวลาการเจริญเติบโตของพืช สำหรับการหาจุดอุตมภาคการชลประทาน ณ ช่วงเวลาและปริมาณการใช้น้ำ หรือการให้น้ำเสริม ที่จะให้ผลผลิตและความเข้มข้นของน้ำตาล (%brix) มีค่าสูงสุด แต่ใช้ทรัพยากรน้ำประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้แนวคิดสมดุลน้ำและการกำหนดความต้องการใช้น้ำของพืชจากความสัมพันธ์ระหว่าง ดิน พืช และ ภูมิอากาศ  ในการณีที่เกิดภาวะแล้งหรือเกษตรที่ไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอ การเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อยด้วยแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต เป็นวิธีการที่จะลดผลกระทบจากภัยแล้งเพื่อคงผลิตอ้อยไม่ให้ลดลงหรือลดลงน้อยที่สุด นอกจากนี้ การประยุกต์อากาศยานไร้คนขับเพื่อประมาณการผลผลิตอ้อย จะสนับสนุนการวางแผนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายในระบบห่วงโซ่อุปทานการผลิตอ้อย

    ผลการดำเนินงาน

    1. จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์)  และ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด  เรื่อง การจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ระบบโครงสร้างพื้นฐาน Internet of things และระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำและประมาณการผลผลิตอ้อยแบบแม่นยำ

    2. การใช้ประโยชน์จากระบบโครงสร้างพื้นฐาน Internet of things และระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำแบบแม่นยำ ในพื้นที่นำร่องอำเภอเก้าเลี้ยวในรัศมี 10 กิโลเมตร

    3.  การใช้ IoT ดำเนินการวิจัยการให้น้ำอ้อยแบบประหยัด ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด  ซึ่งเป็นการวิจัยต่อเนื่อง

    4. การติดตามการเจริญเติบโตและผลผลิตอ้อย ในพื้นที่แปลงอ้อยตัวอย่าง ของหน่วยส่งเสริมการปลูกอ้อยของบริษัทฯ จำนวน 17 เขต ครอบคลุมจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร และกำแพงเพชร  โดยวางแปลงอ้อยตัวอย่าง ในการปลูกอ้อยแบบน้ำราด ข้ามแล้ง อ้อยตอ และอ้อยฝน อย่างละ 3 ซ้ำ ขนาดพื้นที่ 5-50 ไร่  สุ่มติดตามการเจริญเติบโต อย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อฤดูกาลผลิต และสุ่มประมาณการผลผลิตอ้อย 1 ครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน ผลจากการสุ่มตัวอย่างจะนำไปอนุมาณ สุขภาพและผลผลิตอ้อยในพื้นที่การปลูกอ้อยของบริษัททั้งหมด

    5. การจัดหาครุภัณฑ์ อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ยี่ห้อDJI จำนวน 2 ชุด ได้แก่ รุ่นPhantom 4 RTK และPhantom 4 Multispectral RTK สำหรับใช้ปฏิบัติการ

    6. การฝึกอบรม การประมาณการผลผลิตอ้อย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565

    7. การจัดหาการบริการ VPS server สำหรับการจัดเก็บข้อมูล การบริการข้อมูล ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำและประมาณการผลผลิตอ้อยแบบแม่นยำ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้น

    การดำเนินการปลูกอ้อยโดยการให้น้ำเสริมและแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต มีความสอดคล้องตามความต้องการของอ้อยและปริมาณน้ำต้นทุนของเกษตรกร นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตที่สูงขึ้น สำหรับ องค์ความรู้ด้านการประมาณการผลผลิตด้วย UAV ได้ประยุกต์ใช้เพื่อติดตามประเมินผล คุณภาพและผลผลิต ซึ่งให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำและสามารถทดแทนการสังเกตด้วยสายตา หรือ การประมาณการจากความชำนาญ 

    ระบบการให้น้ำอ้อยเสริมแบบแม่นยำและแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต ใช้ประโยชน์โดยกองวิชาการดงบ้านโพธิ์ บริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเกษตรกรที่ปลูกอ้อย จำนวนประมาณ 500 ราย ในรัศมีรอบสถานี IoT สำหรับการประยุกต์อากาศยานไร้คนขับเพื่อประมาณการผลผลิตอ้อย มีเป้าหมายในการประมาณใช้ข้อมูลการสุ่มตัวอย่างประมาณการผลผลิตอ้อย เพื่ออนุมานปริมาณผลผลิตทั้งหมดในเขตส่งเสริมการปลูกอ้อยของบริษัทฯ รวมพื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ ประมาณ 2,000 ราย

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    2

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    6

    Key Message

     

    บูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนการเกษตร สำหรับการปลูกอ้อยเสริมแบบแม่นยำด้วยระบบ IoT Infrastructure ร่วมกับเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อย และติดตามปริมาณการผลผลิตอ้อยด้วยอากาศยานไร้คนขับ

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

       

    Partners/Stakeholders

    1. นักวิจัยจากภาคเอกชน บริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนลฯ

    2. กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา ในพื้นที่ศึกษาแปลงอ้อย อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ 

    3. กรมการฝนหลวงและการบินเกษตร

    4. กรมชลประทาน

    5. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

    6. กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (Start – Up)

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    2.5.1, 2.5.2, 6.5.1

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน

    Internal Household Organic Waste Digester

    แหล่งทุน

    -

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    บริษัท เอ็นไวสมาร์ทเทค จำกัด

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ดร.นรินทร์ บุญตานนท์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

    หลักการทำงานโดยการเติมอากาศในระหว่างการย่อยสลาย เพื่อเร่งการย่อยสลายของจุลินทรีย์ โดยสามารถย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทาง

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบในวงกว้างโดยเฉพาะปัญหาด้านการจัดการขยะอินทรีย์ทั้งแบบเหลือทำและเหลือทานที่มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณขยะมูลฝอยจากครัวเรือน ชุมชน และสถานประกอบการ ในจำนวนนี้มีขยะอินทรีย์จำนวนมากถูกทิ้งปะปนกับขยะประเภทอื่นๆ ทำให้การจัดการขยะในภาพรวมไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน (อนุสิทธิบัตร เลขที่ 7860) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ณ ต้นทาง เพื่อลดปริมาณของเสียประเภทอาหาร และของเสียที่ต้องนำไปยังหลุมฝังกลบ อีกทั้งยังเป็นการลดภาระและงบประมาณในการจัดการของส่วนกลาง เพื่อมุ่งสู่วัฒนาธรรมการบริโภคอย่างยั่งยืน อีกทั้งการจัดการขยะอินทรีย์ที่ต้นกำเนิดโดยเฉพาะอาหารที่เหลือทิ้งและเศษอาหารจากการเตรียมจากบ้านเรือนจะทำให้สัดส่วนของขยะอินทรีย์ปนเปื้อนเข้าไปสู่ระบบการรวบรวมและจัดการขยะของส่วนกลางหรือเทศบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

    การดำเนินการ

    เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนมีหลักการทำงาน โดยมีการเติมอากาศในระหว่างการย่อยสลาย เพื่อเร่งกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศให้มากเกินพอ และเป็นการลดความร้อนในระบบ ทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศในระบบ และยังมีระบบการกวนผสมระหว่างขยะอินทรีย์ และ bulking agent ตลอดระยะเวลาการย่อยสลายเพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัสระหว่างจุลินทรีย์กับbulking agents ส่งผลให้การกำจัดขยะอินทรีย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถย่อยสลายขยะอินทรีย์ได้ภายในระยะเวลา48 ชั่วโมง โดยเครื่องนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ประชาชน และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะอินทรีย์ ณ ต้นทาง และส่งผลดีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในภาพรวมต่อไป

    โดยเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน สามารถทำงานได้โดย นำขยะอินทรีย์ที่ผ่านการกรองเอาน้ำออกบางส่วนแล้วเข้าเครื่องโดยผ่านทางฝาเปิดเพื่อนำขยะเข้าซึ่งจะอยู่บริเวณด้านบนของเครื่อง บริเวณกึ่งกลางภายในตัวเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนจะมีแกนหมุนที่ซึ่งมีแกนสำหรับกวนผสมยึดติดอยู่ โดยแกนหมุนจะทำงานได้โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ ทำหน้าที่กวนเพื่อให้ขยะผสมกับวัสดุที่ใช้เพื่อให้จุลินทรีย์ยึดเกาะ ที่ซึ่งสามารถเลือกได้จาก ส่วนผสมของขี้เลื่อย และมีการเติมอากาศโดยใช้ปั๊มลมขนาดเล็กต่อท่อผ่านไปยังแกนหมุนที่มีลักษณะเป็นท่อกลวง โดยอากาศจะถูกเติมเข้าไปในระบบผ่านทางปลายท่อเพื่อช่วยทำให้เกิดการเติมอากาศขณะการย่อยสลาย ทำให้กระบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถนำขยะที่ผ่านการย่อยสลายแล้วออกทางฝาเปิดด้านบน โดยตัวเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนสามารถติดตั้งในตำแหน่งพื้นที่ร่มและอากาศถ่ายเทสะดวก

    ผลการดำเนินงาน

    ปัจจุบันนวัตกรรมนี้ได้มีการผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท เอ็นไวสมาร์ทเทค จำกัด ซึ่งเริ่มผลิตและจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ปัจจุบันจำหน่ายไปแล้วกว่า200 เครื่อง โดยมีการจำหน่ายให้กับกลุ่มครัวเรือน ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร ที่พักอาศัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน วัด รวมถึงสถานศึกษาที่สนใจ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ ที่สามารถรีไซเคิลได้ โดยการเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นวัสดุปลูกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะถูกลำเลียงไปยังหลุมฝังกลบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    ปัจจุบันทาง บริษัท เอ็นไวสมาร์ทเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสิทธิ์ในการผลิตและจำหน่ายเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์ ได้ทำการผลิตเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ออกมาหลายขนาดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและข้อจำกัดด้านพื้นที่ของผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย เครื่องย่อยขยะอินทรีย์ขนาด 20, 35, 60 และ120 ลิตร

    จากข้อมูลการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ สามารถสรุปกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสนใจในการนำเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ไปใช้เพื่อจัดการขยะอินทรีย์ ดังนี้

    - ครัวเรือน: สำหรับภาคครัวเรือนได้ให้ความสนใจในการนำเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ไปใช้ในการจัดการขยะเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้บริโภคไม่เพียงแต่จะสามารถจัดการกับขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังได้ผลพลอยได้เป็นวัสดุปลูกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ด้วยเช่นกัน

    - หน่วยงานภาครัฐ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร, องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา, ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี, วัดถ้ำกระบอก, ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา โดยทางหน่วยงานภาครัฐได้มีการนำไปใช้ภายในหน่วยงาน และมีการจัดฝึกอบรมการประกอบเครื่องเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และได้นำไปใช้งานเพื่อให้เกิดการจัดการขยะอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

    - สถานศึกษา: สถานศึกษาได้ให้ความสนใจในการนำเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ไปใช้ในการจัดการกับขยะเศษอาหารที่เหลือทิ้งจากการรับประทานอาหารของโรงอาหารส่วนกลาง ไม่เพียงแต่จะสามารถจัดการกับขยะอินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับทั้งครูและนักเรียน ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ การเปลี่ยนรูปขยะให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้

    - สถานประกอบการประเภทร้านอาหาร: สถานประกอบการประเภทร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆของประเทศไทย ได้ให้ความสนใจในการนำเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ไปใช้ในการจัดการขยะอินทรีย์ที่ขยะอินทรีย์หลักๆมาจากกระบวนการเตรียมอาหาร เพื่อสามารถเปลี่ยนรูปขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นวัสดุปลูก หรือธาตุอาหารให้กับพืชได้ด้วยเช่นกัน

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์

    โครงการเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน เป็นการออกแบบกระบวนการย่อยสลายโดยเลียนแบบการย่อยสลายในธรรมชาติ และอาศัยกระบวนการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ในธรรมชาติที่ใช้อากาศ ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นการเร่งปฏิกิริยาการย่อยตามธรรมชาติ โดยการเติมอากาศเพื่อให้สามารถย่อยสลายได้ในระยเวลาภายใน 48 ชั่วโมง

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์เป็นการส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ ได้ตั้งแต่ต้นทาง และสามารถกำจัดอย่างถูกวิธี อีกทั้งยังได้ผลพลอยได้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งการแยกขยะและกำจัดอย่างถูกวิธีเป็นการลดปริมาณขยะที่จะถูกขนส่งไปยังแหล่งฝังกลบ สามารถลดการปนเปื้อนของน้ำชะขยะลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน และแหล่งธรรมชาติ ลดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิต หากทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะ และกำจัดอย่างถูกวิธี ก็จะสามารถลดปริมาณขยะ ลดการเผาไหม้ และลดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมค่อยๆเกิดการฟื้นฟู ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งชุมชน และโลกในระยะยาว

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    SDG 12

    12.3 ลดขยะเศษอาหารของโลกลงครึ่งหนึ่งในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค และลดการสูญเสียอาหารจากระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ภายในปี2573

    12.5 ลดการเกิดของเสียโดยให้มีการป้องกัน การลดปริมาณ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี2573

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

     

    6.3 ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านกระบวนการลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนทั่วโลก ภายในปี2573

    12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี2573

    รูปภาพประกอบ

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    “การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการคัดแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะประเภทอื่นๆตั้งแต่ต้นทาง และการกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะที่จะถูกฝังกลบ อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน”

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    https://www.youtube.com/watch?v=tAjl9vn8Amk&t=5s

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    -

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    -

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.