• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2565

MU Rangers ร่วมพิทักษ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ (ศทสล.) จังหวัดลำปาง จัดโครงการฝึกอบรม MU Rangers ร่วมพิทักษ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หัวข้อ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” วันที่ 9-11 กันยายน 2565 โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จำนวนทั้งสิ้น 82 คน เข้าร่วมโครงการฯ ณ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ (ศทสล.) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดลำปาง


ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจากศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ (ศทสล.) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.facebook.com/ennorthcenter


วันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ครบรอบ 32 ปี

29 สิงหาคม 2565 เวลา 08.00 น. อาจารย์ ดร.วีรฉัตร์ ฉัตรปัญญาเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและกายภาพ เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ครบรอบ 32 ปี ณ ห้องประชุม R-114 อาคาร 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


MU Social Engagement Forum (MUSEF) Executive Visit-65

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00-11.00 น. รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้การต้อนรับ รศ.ดร.ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ พร้อมด้วย คุณปวีณา ลาวัณย์ศิริ ผู้อำนวยการกองแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมงาน ในโอกาสเข้าเยี่ยมส่วนงานเพื่อรับฟังและปรึกษาหารือแนวทางความร่วมมือด้าน Social Engagement กับ Policy Advocacy ภายใต้กิจกรรม “MU Social Engagement Forum (MUSEF) Executive Visit-65” ในโอกาสนี้ รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี ได้นำเสนอภาพรวมโครงการและกิจกรรมของคณะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับใช้สังคมและนโยบายเพื่อชี้นำสังคม ซึ่งสอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 3 ของมหาวิทยาลัยมหิดล (Policy Advocacy and Leaders in Professional/ Academic Services) ทั้งด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการศึกษา โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของคณะเข้าร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุมนาฑตัณฑวิรุฬห์ 1103 อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล


ต้อนรับ Dr. Shinya Iwasaki จาก ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan International Research Center for Agricultural Sciences: JIRCAS)

11 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบาย แผน และการจัดการความรู้ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Dr. Shinya Iwasaki จาก ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การเกษตรนานาชาติแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan International Research Center for Agricultural Sciences: JIRCAS) ในโอกาสเข้าร่วมหารือแนวทางเบื้องต้นในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลโดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กับ JIRCAS ในการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยระหว่างประเทศระดับองค์กรใน 3 ด้านหลักได้แก่ 1. ด้านสิ่งแวดล้อม ในส่วนทีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2. ด้านสารสนเทศ ได้แก่ ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร ป่าไม้และการประมง และ 3. ด้านอาหาร ได้แก่ การสร้างสรรค์ระบบอาหารแนวใหม่เพื่อผลผลิตที่ดีขึ้น รวมถึงการพัฒนาพืชที่มีความสามารถในการฟื้นคืนสภาพและเทคโนโลยีการผลิต โดย JIRCAS เป็นสำนักงานการวิจัยและพัฒนาแห่งชาติเพียงแห่งเดียวภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการวิจัยที่สำคัญด้านเทคโนโลยีเกษตร ป่าไม้ และการประมง รวมถึงให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการวิจัยต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 


ลงพื้นที่ศึกษากิจกรรมที่กับการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวฯ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

10 สิงหาคม 2565 เวลา 10.30 – 14.00 น. ผศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบาย แผน และการจัดการความรู้ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำ Dr. Shinya Iwasaki จาก Japan International Research Center for Agricultural Sciences Rural Development Division ประเทศญี่ปุ่น ลงพื้นที่ศึกษา โดยมีคุณกฤษณ์กมล เปาทอง รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยคุณสุมนา มณีพิทักษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การต้อนรับพร้อมนำชมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าว รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร ณ ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


การประชุมเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพฯ

เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ระยะสิ้นสุดแผน : แนวทางปฏิบัติที่ดี ในการติดตามผลและการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้รับเกียรติจาก นายราชันย์ ซุ้นหั้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมประชุม นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการ สผ. กล่าวเปิดการประชุม และ ดร. จิตตินันท์ เรืองวีรยุทธ ผอ.กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวรายงาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ตลอดจน ผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมออนไลน์ และการถ่ายทอดสด ผ่าน Facebook Live: Biodiversity CHM Thailand โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการฯ และรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางปฏิบัติที่ดีฯ โดยมี “ทุเรียนนนท์” และ “นกแก้วโม่ง” เป็นต้นแบบของการจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดี เพื่อการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และระบบนิเวศในเมือง ตลอดจนขยายผลการดำเนินงานสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อให้ประชาชน ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สามารถใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

https://www.facebook.com/1107072654/posts/10227669525539474/


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.